โกลว์ เตรียมงบ 500 ล้านบาท พัฒนาปรับปรุงเทคโนโลยีลดการปล่อยมลสาร เพื่อผลักดันให้เป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าถ่านหินที่สุดอาดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก พร้อมเร่งงานประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่
สำหรับการลงทุนเพื่อลดการปล่อยมลสารดังกล่าว จะทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกะทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กลายเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก โดยจะมีระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOX) ต่ำกว่าระดับที่ธนาคารโลกและระเบียบของประเทศไทยกำหนดเป็นอย่างมาก
นายปจงวิช พงษ์ศิวาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการผลิต บริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมงบการจัดการสิ่งแวดล้อมจำนวน 500 ล้านบาท สำหรับลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยมลสารจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
สำหรับการลงทุนเพื่อลดการปล่อยมลสารดังกล่าว จะทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกะทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กลายเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก โดยจะมีระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOX) ต่ำกว่าระดับที่ธนาคารโลกและระเบียบของประเทศไทยกำหนดเป็นอย่างมาก
ส่วนสาระสำคัญของการลงทุนประกอบด้วย 4 ประการหลัก คือ ประการแรก บริษัทจะใช้ถ่านหินคุณภาพดี ชนิดบิทูมินัส นำเข้าจากอินโดนีเซียหรือออสเตรเลีย ซึ่งมีกำมะถันต่ำ (ไม่เกินร้อยละ 1) เป็นเชื้อเพลิง โดยจะถูกลำเลียงจากท่าเทียบเรือผ่านสายพานลำเลียงแบบปิด ประการที่สอง ไอน้ำที่ผ่านกังหันไอน้ำแล้วจะถูกส่งเข้าสู่ระบบหล่อเย็นโดยใช้น้ำทะเลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยน้ำทะเลซึ่งใช้หล่อเย็นจะถูกควบคุมอุณหภูมิก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเล ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำดิบได้
ประการที่สาม ก๊าซร้อนจากการเผาไหม้ในหม้อต้มไอน้ำจะถูกส่งไปยังระบบควบคุมมลภาวะ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดักจับออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน (SCR) เครื่องดักจับฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิต (ESP) และเครื่องดักจับออกไซด์ของซัลเฟอร์ (FGD) ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศทางปล่อยซึ่งมีความสูง 150 เมตร ซึ่งเป็นระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับการยอมรับในระดับสากล และประการสุดท้าย เถ้าถ่านหินที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งหมดจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในไซโล ก่อนจัดส่งให้กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์/อุตสาหกรรมคอนกรีตผสม เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
"ขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ระหว่างการพิจารณา EIA แต่บริษัทมีความมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถผ่านขั้นตอนของ EIA ได้ภายในปีนี้แน่นอน ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าโครงการของบริษัทจะได้รับการสนับสนุนและยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดที่สุดในโลก มีการระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ในปริมาณที่ต่ำ ขณะเดียวกันบริษัทจะพยายามประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจและรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงให้ได้มากที่สุด" นายปจงวิช กล่าว
นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยระหว่างก่อสร้างปีละประมาณ 33 ล้านบาท และเมื่อเริ่มผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มเงินสมทบเป็นปีละประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าโครงการทั้ง 2 โครงการจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 51 และแล้วเสร็จประมาณกลางปี 54 ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของกลุ่มบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 จากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ 1,800 เมกะวัตต์
สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าของบริษัทนั้น ประกอบด้วย โดรงการแรกของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด (โกล์ถือหุ้น 65% และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดินจำกัด (มหาชน) 35%) ได้รับคัดเลือกให้ชนะการประมูลโครงการไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ภายใต้โครงการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รอบใหม่ คาดว่าจะใช้เงินในการลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกำลังการผลิตสุทธิ 397 เมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 13,000 ล้านบาท
สำหรับการลงทุนเพื่อลดการปล่อยมลสารดังกล่าว จะทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกะทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กลายเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก โดยจะมีระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOX) ต่ำกว่าระดับที่ธนาคารโลกและระเบียบของประเทศไทยกำหนดเป็นอย่างมาก
นายปจงวิช พงษ์ศิวาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการผลิต บริษัท โกลว์พลังงาน จำกัด (มหาชน) หรือ GLOW เปิดเผยว่า บริษัทได้เตรียมงบการจัดการสิ่งแวดล้อมจำนวน 500 ล้านบาท สำหรับลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยมลสารจากโรงไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
สำหรับการลงทุนเพื่อลดการปล่อยมลสารดังกล่าว จะทำให้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกะทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กลายเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดและมีประสิทธิภาพที่สุดในโลก โดยจะมีระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOX) ต่ำกว่าระดับที่ธนาคารโลกและระเบียบของประเทศไทยกำหนดเป็นอย่างมาก
ส่วนสาระสำคัญของการลงทุนประกอบด้วย 4 ประการหลัก คือ ประการแรก บริษัทจะใช้ถ่านหินคุณภาพดี ชนิดบิทูมินัส นำเข้าจากอินโดนีเซียหรือออสเตรเลีย ซึ่งมีกำมะถันต่ำ (ไม่เกินร้อยละ 1) เป็นเชื้อเพลิง โดยจะถูกลำเลียงจากท่าเทียบเรือผ่านสายพานลำเลียงแบบปิด ประการที่สอง ไอน้ำที่ผ่านกังหันไอน้ำแล้วจะถูกส่งเข้าสู่ระบบหล่อเย็นโดยใช้น้ำทะเลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยน้ำทะเลซึ่งใช้หล่อเย็นจะถูกควบคุมอุณหภูมิก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเล ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำดิบได้
ประการที่สาม ก๊าซร้อนจากการเผาไหม้ในหม้อต้มไอน้ำจะถูกส่งไปยังระบบควบคุมมลภาวะ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องดักจับออกไซด์ของก๊าซไนโตรเจน (SCR) เครื่องดักจับฝุ่นระบบไฟฟ้าสถิต (ESP) และเครื่องดักจับออกไซด์ของซัลเฟอร์ (FGD) ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศทางปล่อยซึ่งมีความสูง 150 เมตร ซึ่งเป็นระบบควบคุมที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับการยอมรับในระดับสากล และประการสุดท้าย เถ้าถ่านหินที่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งหมดจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในไซโล ก่อนจัดส่งให้กับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์/อุตสาหกรรมคอนกรีตผสม เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
"ขณะนี้ขั้นตอนยังอยู่ระหว่างการพิจารณา EIA แต่บริษัทมีความมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถผ่านขั้นตอนของ EIA ได้ภายในปีนี้แน่นอน ขณะเดียวกันยังเชื่อว่าโครงการของบริษัทจะได้รับการสนับสนุนและยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สะอาดที่สุดในโลก มีการระดับการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOX) และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ในปริมาณที่ต่ำ ขณะเดียวกันบริษัทจะพยายามประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้เข้าใจและรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงให้ได้มากที่สุด" นายปจงวิช กล่าว
นอกจากนี้ โครงการโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะจ่ายเงินสมทบกองทุนพัฒนาพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยระหว่างก่อสร้างปีละประมาณ 33 ล้านบาท และเมื่อเริ่มผลิตไฟฟ้าจะเพิ่มเงินสมทบเป็นปีละประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้ คาดว่าโครงการทั้ง 2 โครงการจะเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 51 และแล้วเสร็จประมาณกลางปี 54 ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตของกลุ่มบริษัทเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 จากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ 1,800 เมกะวัตต์
สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าของบริษัทนั้น ประกอบด้วย โดรงการแรกของบริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด (โกล์ถือหุ้น 65% และบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดินจำกัด (มหาชน) 35%) ได้รับคัดเลือกให้ชนะการประมูลโครงการไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตสุทธิ 660 เมกะวัตต์ ภายใต้โครงการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รอบใหม่ คาดว่าจะใช้เงินในการลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมกำลังการผลิตสุทธิ 397 เมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 13,000 ล้านบาท