ฉะเชิงเทรา - ชาวแปดริ้วอ่วมอีกรอบ หลังผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนเตรียมผุดโรงงานผลิตไฟฟ้าน้อยใหญ่ อีก 4 โรง หวังปั่นไฟขายให้ กฟฝ., กระทรวงพลังงาน ขณะชาวบ้านผู้รักผืนแผ่นดินเกิดเตรียมรวมตัวต่อต้าน หวั่นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตความเป็นอยู่
วันนี้ (8 ก.พ.) น.ส.สมฤทัย นาคนพคุณ อายุ 38 ปี ชาวบ้านสนามช้าง ม.4 ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบางคล้า เปิดเผยว่า หลังจากช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองอวยพรปีใหม่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อต้นเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่ ม.4 ต.เสม็ดใต้ และชาวตำบลเสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา อีกหลายหมู่บ้านต้องพากันแตกตื่นฝันผวา เดือดเนื้อร้อนใจจนกินนอนไม่หลับ หลังจากได้ทราบข่าวจากกระเช้าของขวัญอวยพรวันปีใหม่ จากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนที่จะเข้ามาสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ ส่งมาอวยพรปีใหม่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เมื่อชาวบ้านได้เข้าไปสอบถามข้อมูลความจริงจากส่วนราชการของสำนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นดังกล่าวในพื้นที่ และได้รับคำตอบยืนยันว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ขนาดใหญ่กำลังผลิต 1,600 เมกะวัตต์ โดยบริษัท สยามเอนเนอร์ยี่ (ในกลุ่มเจเพาเวอร์ ของญี่ปุ่น) เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ จึงทำให้คนในพื้นที่ต่างเกิดความหวาดกลัวต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้น และจึงได้มีการเคลื่อนไหวที่จะต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวขึ้น
ในตอนแรกบริษัทดังกล่าว ได้แอบเข้ามากว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านไปได้แล้วจำนวนกว่า 350 ไร่ โดยอ้างว่าซื้อไว้เป็นสถานที่เก็บรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ (โตโยต้า) ที่มีโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึง 2 แห่งใช้เป็นสถานที่สร้างโกดังเก็บรถ โดยมีเป้าหมายใช้พื้นที่ก่อสร้าง 500 ไร่ ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ ชาวบ้านยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก และยังไม่รู้ว่าโรงไฟฟ้าจะมาปล่อยมลภาวะ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้แก่คนพื้นที่บ้าง
เพราะหลายฝ่ายต่างพยายามช่วยกันปกปิดข้อมูลไม่ให้ชาวบ้านได้รับรู้ แต่เท่าที่ทราบมา ขณะนี้ได้มีบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกำลังเตรียมเข้ามาก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเพิ่มมากขึ้นอีกถึง 4 แห่ง โดยทราบสถานที่แน่ชัดแล้ว 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าสนามช้าง อ.บางคล้า และโรงไฟฟ้าฉะเชิงเทรา โคเจนเนอเรชั่น ต.คลองนครเนื่องเขต อ.เมืองฉะเชิงเทรา
หลังจากชาวบ้านเริ่มเคลื่อนไหว ทางบริษัทดังกล่าวได้พยายามหยิบยื่นข้อเสนอให้แก่ชาวบ้านด้วยการที่จะจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านให้เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างก่อสร้าง เป็นเงินปีละ 80 ล้านบาท และตลอดระยะเวลาดำเนินการรวม 28 ปี จะมีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมทั้งโรงพยาบาลรองรับหากคนในพื้นที่เกิดการเจ็บป่วยจากปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมเป็นเงินกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่บอกว่าขออยู่จนแก่ตายดีกว่า หากจะเจ็บป่วยตายด้วยมลพิษจากโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้มีการนำพาชาวบ้านไปดูงานภายในโรงไฟฟ้า ที่ อ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี และโรงไฟฟ้าราชบุรี
ที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการรวมตัวนัดพูดคุยกันแล้ว 1 ครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่วัดสนามช้าง และได้มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าว และส่วนราชการระดับอำเภอ เข้ามาพยามข่มขู่ชาวบ้านไม่ให้มีการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะปลัดอำเภอ ที่เข้ามาข่มขู่ข้าราชการที่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวด้วยคำถามที่ว่า “รับราชการอยู่ไม่ใช่เหรอ” พร้อมแสดงกิริยาแข็งกร้าวใส่ เพื่อไม่ให้ข้าราชการเข้ามาร่วมเคลื่อนไหว และในวันพรุ่งนี้ (9 ก.พ.) เวลา 08.00 น. ทางกลุ่มของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ได้นัดรวมตัวชุมนุมกันที่บริเวณวัดสนามช้างอีก เพื่อต่อต้านโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้ น.ส.สมฤทัย กล่าว
ขณะที่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.คลองนครเนื่องเขต อ.เมืองฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า หลังได้ทราบเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม แห่งใหม่ กำลังผลิต 115 เม็กวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ บนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ของบริษัท ฉะเชิงเทรา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด เมื่อไม่นานมานี้ จากสมาชิก อบต.ในหมู่บ้านที่คุ้นเคยกัน มีความรู้สึกวิตกกังวนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้างเช่นกัน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดแน่ชัดว่าชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร หรือได้รับผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้างในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมายังไม่นี้หน่วยงานใดออกมาชี้แจงให้ความกระจ่างชัดแก่ชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ที่กำลังผลิตสูงที่สุดในประเทศตั้งอยู่แล้ว 1 โรง มีกำลังการผลิต 3,674.6 เมกะวัตต์ และยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุดที่ 5 ประกอบด้วยเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูง 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ 1 เครื่อง มีกำลังการผลิตรวมอีก 725 เมกะวัตต์ เพิ่มเติมอีก 1 ชุด โดยใช้เงินทุนรัฐบาลที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 16,740 ล้านบาท และมีกำหนดส่งจ่ายไฟฟ้าขายเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมีนาคม 52 นี้
วันนี้ (8 ก.พ.) น.ส.สมฤทัย นาคนพคุณ อายุ 38 ปี ชาวบ้านสนามช้าง ม.4 ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา แกนนำกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบางคล้า เปิดเผยว่า หลังจากช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองอวยพรปีใหม่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อต้นเดือน ม.ค.51 ที่ผ่านมา ชาวบ้านในพื้นที่ ม.4 ต.เสม็ดใต้ และชาวตำบลเสม็ดเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา อีกหลายหมู่บ้านต้องพากันแตกตื่นฝันผวา เดือดเนื้อร้อนใจจนกินนอนไม่หลับ หลังจากได้ทราบข่าวจากกระเช้าของขวัญอวยพรวันปีใหม่ จากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนที่จะเข้ามาสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ ส่งมาอวยพรปีใหม่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เมื่อชาวบ้านได้เข้าไปสอบถามข้อมูลความจริงจากส่วนราชการของสำนักงานองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นดังกล่าวในพื้นที่ และได้รับคำตอบยืนยันว่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ขนาดใหญ่กำลังผลิต 1,600 เมกะวัตต์ โดยบริษัท สยามเอนเนอร์ยี่ (ในกลุ่มเจเพาเวอร์ ของญี่ปุ่น) เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ จึงทำให้คนในพื้นที่ต่างเกิดความหวาดกลัวต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตที่จะเกิดขึ้น และจึงได้มีการเคลื่อนไหวที่จะต่อต้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวขึ้น
ในตอนแรกบริษัทดังกล่าว ได้แอบเข้ามากว้านซื้อที่ดินจากชาวบ้านไปได้แล้วจำนวนกว่า 350 ไร่ โดยอ้างว่าซื้อไว้เป็นสถานที่เก็บรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ (โตโยต้า) ที่มีโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึง 2 แห่งใช้เป็นสถานที่สร้างโกดังเก็บรถ โดยมีเป้าหมายใช้พื้นที่ก่อสร้าง 500 ไร่ ซึ่งรายละเอียดอื่นๆ ชาวบ้านยังไม่ทราบรายละเอียดมากนัก และยังไม่รู้ว่าโรงไฟฟ้าจะมาปล่อยมลภาวะ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรให้แก่คนพื้นที่บ้าง
เพราะหลายฝ่ายต่างพยายามช่วยกันปกปิดข้อมูลไม่ให้ชาวบ้านได้รับรู้ แต่เท่าที่ทราบมา ขณะนี้ได้มีบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกำลังเตรียมเข้ามาก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเพิ่มมากขึ้นอีกถึง 4 แห่ง โดยทราบสถานที่แน่ชัดแล้ว 2 แห่ง คือ โรงไฟฟ้าสนามช้าง อ.บางคล้า และโรงไฟฟ้าฉะเชิงเทรา โคเจนเนอเรชั่น ต.คลองนครเนื่องเขต อ.เมืองฉะเชิงเทรา
หลังจากชาวบ้านเริ่มเคลื่อนไหว ทางบริษัทดังกล่าวได้พยายามหยิบยื่นข้อเสนอให้แก่ชาวบ้านด้วยการที่จะจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านให้เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างก่อสร้าง เป็นเงินปีละ 80 ล้านบาท และตลอดระยะเวลาดำเนินการรวม 28 ปี จะมีการจัดตั้งกองทุนสนับสนุนในด้านต่างๆ รวมทั้งโรงพยาบาลรองรับหากคนในพื้นที่เกิดการเจ็บป่วยจากปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมเป็นเงินกว่า 3 พันล้านบาท ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่บอกว่าขออยู่จนแก่ตายดีกว่า หากจะเจ็บป่วยตายด้วยมลพิษจากโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ยังได้มีการนำพาชาวบ้านไปดูงานภายในโรงไฟฟ้า ที่ อ.แก่งคอย จังหวัดสระบุรี และโรงไฟฟ้าราชบุรี
ที่ผ่านมาชาวบ้านได้มีการรวมตัวนัดพูดคุยกันแล้ว 1 ครั้งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่วัดสนามช้าง และได้มีเจ้าหน้าที่ของบริษัทดังกล่าว และส่วนราชการระดับอำเภอ เข้ามาพยามข่มขู่ชาวบ้านไม่ให้มีการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะปลัดอำเภอ ที่เข้ามาข่มขู่ข้าราชการที่ออกมาร่วมเคลื่อนไหวด้วยคำถามที่ว่า “รับราชการอยู่ไม่ใช่เหรอ” พร้อมแสดงกิริยาแข็งกร้าวใส่ เพื่อไม่ให้ข้าราชการเข้ามาร่วมเคลื่อนไหว และในวันพรุ่งนี้ (9 ก.พ.) เวลา 08.00 น. ทางกลุ่มของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ได้นัดรวมตัวชุมนุมกันที่บริเวณวัดสนามช้างอีก เพื่อต่อต้านโรงไฟฟ้าแห่งใหม่นี้ น.ส.สมฤทัย กล่าว
ขณะที่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ ต.คลองนครเนื่องเขต อ.เมืองฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า หลังได้ทราบเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม แห่งใหม่ กำลังผลิต 115 เม็กวัตต์ โดยใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ บนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ของบริษัท ฉะเชิงเทรา โคเจนเนอเรชั่น จำกัด เมื่อไม่นานมานี้ จากสมาชิก อบต.ในหมู่บ้านที่คุ้นเคยกัน มีความรู้สึกวิตกกังวนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ้างเช่นกัน แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดแน่ชัดว่าชาวบ้านจะได้ประโยชน์อะไร หรือได้รับผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้างในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมายังไม่นี้หน่วยงานใดออกมาชี้แจงให้ความกระจ่างชัดแก่ชาวบ้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับจังหวัดฉะเชิงเทรานั้นมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง ที่กำลังผลิตสูงที่สุดในประเทศตั้งอยู่แล้ว 1 โรง มีกำลังการผลิต 3,674.6 เมกะวัตต์ และยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุดที่ 5 ประกอบด้วยเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส 2 เครื่อง เครื่องผลิตไอน้ำแรงดันสูง 2 เครื่อง และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ 1 เครื่อง มีกำลังการผลิตรวมอีก 725 เมกะวัตต์ เพิ่มเติมอีก 1 ชุด โดยใช้เงินทุนรัฐบาลที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 16,740 ล้านบาท และมีกำหนดส่งจ่ายไฟฟ้าขายเชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมีนาคม 52 นี้