กรมธนารักษ์เล็งขอคืนที่ดินจากหน่วยงานราชการ 2 แปลง ย่านดอนเมือง พัฒนาทำอาคารจอดรถเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดง และสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย-ปานกลาง ในราคาไม่แพงติดเส้นทางรถไฟฟ้า ขณะที่ที่ดินแปลงหมอชิตยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร
นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์เตรียมเสนอแนวทางในการนำที่ดินราชพัสดุมาพัฒนาเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการให้บริการระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลเพื่อลดความกระจุกตัวของจราจรต่อกระทรวงการคลัง โดยกรมได้สำรวจที่ดินราชพัสดุในบริเวณตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย ว่า มีที่ดินราชพัสดุแปลงใดที่ไม่มีหน่วยงานใดครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถนำมาพัฒนาให้รองรับระบบขนส่งมวลชนได้
ทั้งนี้ จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า มีที่ดิน 2 แปลงที่มีศักยภาพ คือ แปลงแรกตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณตรงข้ามกองทัพอากาศ จำนวน 100 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นที่ของส่วนราชการครอบครองไว้แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ โดยทำเป็นสนามบินสำหรับเฮลิคคอปเตอร์ และ กองการสัตว์ของกองทัพ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสามารถทำเรื่องขอคืนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นที่จอดรถสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า (Park & Ride) สายสีแดง บางซื่อ- รังสิต เพื่อความสะดวกในการต่อรถ
ส่วนที่ดินอีกแปลงนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณตรงข้ามสนามบินดอนเมือง จำนวน 20 ไร่ เป็นที่ดินว่างเปล่าที่อยู่ระหว่างแฟลตทหารอากาศ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนา เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย -ปานกลาง เพื่อให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาไม่แพงมาก และติดกับระบบขนส่งมวลชน สามารถไปมาได้สะดวก โดยไม่ต้องพึ่งพารถยนต์
“กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลที่ราชพัสดุทั่วประเทศ ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวมีมากถึง 12.5 ล้านไร่ แต่เป็นที่ที่หน่วยงานราชการใช้งานอยู่ 12.4 ล้านไร่ ส่วนที่เหลือให้เอกชนเช่า 1 แสนไร่ ซึ่งจาการสำรวจทั่วกทม.แล้วปรากฏว่าที่ในแนวรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย ล้วนแล้วแต่มีส่วนราชการครอบครองและใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาล และโรงเรียน ที่เหลือแปลงที่ว่าง และมีพื้นที่มากพอมีเพียง 2 แปลงเท่านั้น ซึ่งก็คงจะนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำเรื่องขอคืนเพื่อนำมาพัฒนาต่อหรือไม่” นายอำนวย กล่าว
นอกจากนี้ กรมยังที่ดินที่อยู่ในความดูแล คือ โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต ซึ่งมีจำนวน 63 ไร่เศษ ปัจจุบันได้จัดให้กรุงเทพมหานครเช่าพื้นที่ด้านหลังบางส่วนเนื้อที่ 40 ไร่เพื่อสร้างลานจอดรถและอู่ซ่อมรถไฟฟ้าของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายว่าจะมีการเปิดประมูลหาผู้ลงทุน ด้านหน้า 23 ไร่เศษเมื่อไหร่ และอย่างไร
นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมธนารักษ์เตรียมเสนอแนวทางในการนำที่ดินราชพัสดุมาพัฒนาเพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการให้บริการระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลเพื่อลดความกระจุกตัวของจราจรต่อกระทรวงการคลัง โดยกรมได้สำรวจที่ดินราชพัสดุในบริเวณตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย ว่า มีที่ดินราชพัสดุแปลงใดที่ไม่มีหน่วยงานใดครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถนำมาพัฒนาให้รองรับระบบขนส่งมวลชนได้
ทั้งนี้ จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า มีที่ดิน 2 แปลงที่มีศักยภาพ คือ แปลงแรกตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณตรงข้ามกองทัพอากาศ จำนวน 100 ไร่ ซึ่งเดิมเป็นที่ของส่วนราชการครอบครองไว้แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ โดยทำเป็นสนามบินสำหรับเฮลิคคอปเตอร์ และ กองการสัตว์ของกองทัพ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสามารถทำเรื่องขอคืนเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นที่จอดรถสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า (Park & Ride) สายสีแดง บางซื่อ- รังสิต เพื่อความสะดวกในการต่อรถ
ส่วนที่ดินอีกแปลงนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต บริเวณตรงข้ามสนามบินดอนเมือง จำนวน 20 ไร่ เป็นที่ดินว่างเปล่าที่อยู่ระหว่างแฟลตทหารอากาศ ซึ่งสามารถนำมาพัฒนา เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย -ปานกลาง เพื่อให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในราคาไม่แพงมาก และติดกับระบบขนส่งมวลชน สามารถไปมาได้สะดวก โดยไม่ต้องพึ่งพารถยนต์
“กรมธนารักษ์เป็นผู้ดูแลที่ราชพัสดุทั่วประเทศ ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวมีมากถึง 12.5 ล้านไร่ แต่เป็นที่ที่หน่วยงานราชการใช้งานอยู่ 12.4 ล้านไร่ ส่วนที่เหลือให้เอกชนเช่า 1 แสนไร่ ซึ่งจาการสำรวจทั่วกทม.แล้วปรากฏว่าที่ในแนวรถไฟฟ้าทั้ง 7 สาย ล้วนแล้วแต่มีส่วนราชการครอบครองและใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาล และโรงเรียน ที่เหลือแปลงที่ว่าง และมีพื้นที่มากพอมีเพียง 2 แปลงเท่านั้น ซึ่งก็คงจะนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาตัดสินใจว่าจะทำเรื่องขอคืนเพื่อนำมาพัฒนาต่อหรือไม่” นายอำนวย กล่าว
นอกจากนี้ กรมยังที่ดินที่อยู่ในความดูแล คือ โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต ซึ่งมีจำนวน 63 ไร่เศษ ปัจจุบันได้จัดให้กรุงเทพมหานครเช่าพื้นที่ด้านหลังบางส่วนเนื้อที่ 40 ไร่เพื่อสร้างลานจอดรถและอู่ซ่อมรถไฟฟ้าของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แต่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนโยบายว่าจะมีการเปิดประมูลหาผู้ลงทุน ด้านหน้า 23 ไร่เศษเมื่อไหร่ และอย่างไร