“ปิคนิค”ล็อบบี้เจ้าหนี้ฝุ่นตลบ หวังไร้เสียงคัดค้านเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ แถมมีข่าวลือ เจ้าของเก่าเวิลด์แก๊ส กลุ่มทุนจากเนเธอร์แลนด์ สนใจเข้าเซ้งกิจการกลับคืน เหตุราคาถูกกว่าตอนปล่อยขาย และแนวโน้มธุรกิจยังเติบโต ด้าน “บลจ.กรุงไทย”ไม่ยอมหมดหวัง ขอเพียง 1 เสียงจากเจ้าหนี้9กองทุนไฟเขียว จะยื่นคัดค้านต่อศาลในวันที่ 12 มี.ค.ทันที ลั่นแม้มีเสียงน้อย แต่มั่นใจเหตุผลมีน้ำหนักจนทำให้แผนล่มได้
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการเรียกร้องให้บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI ชำระหนี้ตั๋วเงินระยะสั้น (B/E)หลังจากที่ผิดนัด ว่า บริษัทได้เตรียมความพร้อมในการยื่นคัดค้านเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ PICNI ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนทั้ง 9 กองทุนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของPICNI ไว้เรียบร้อยแล้ว รอเพียงแต่ความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ทั้ง 9 กองทุนเท่านั้น โดยหากเจ้าหนี้รายหนึ่งรายใด หรือทั้งหมดเห็นพ้องตรงว่าจะคัดค้านการฟื้นฟูฯ บริษัทจะทำการยื่นขอคัดค้านต่อศาลในวันที่ 12 มีนาคมนี้ทันที
“ศาลได้นัดให้ PICNI ฟังคำพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 17 มีนาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจะตรงกับวันจันทร์ และวันที่ 14 –15 มี.ค.เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องยื่นขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวในวันที่ 12 มี.ค. เพื่อเป็นไปตามเรียบของศาล ที่ระบุไว้ว่าจะต้องยื่นขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวต่อศาลล่วงหน้า 3 วันก่อนการพิจารณา โดยขณะนี้เรารอเพียงผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนกองใดที่เป็นเจ้าหนี้เห็นด้วย หรือทุกรายเห็นพ้องกันทั้งหมดก็จะยื่นคำร้องขอคัดค้านทันที”
**ล็อบบี้เจ้าหนี้ฝุ่นตลบ
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีเพียงผู้ถือหน่วยลงทุนทั้ง 9 กองทุนเท่านั้นที่จะยื่นคัดค้านการขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ PICNI เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า บริษัทฯได้ทำการติดต่อและเจรจากับเจ้ารายอื่นๆนอกเหนือจาก กองทุนทั้ง 9 โครงการภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีการยื่นข้อเสนอในเรื่องผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย หาก PICNI สามารถเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการได้ เห็นได้จากขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายอื่นออกมาปฏิเสธคัดค้านในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม บลจ.กรุงไทย ในฐานะผู้บริหารกองทุนทั้ง 9 โครงการที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ PICNI มั่นใจว่า ข้อมูลและเหตุผลที่จะนำเสนอต่อศาล จะมีน้ำหนักและได้รับความน่าเชื่อถือจนนำไปสู่การพิจารณาไม่อนุมัติให้ PICNI เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จ แม้อาจเป็นเพียงกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มเดียวหรือรายเดียวจากจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมด อีกทั้งการยื่นขอคัดค้านในครั้งนี้จะทำให้ได้รับทราบถึงข้อมูลตัวเลขการเงินที่แท้จริงของ PICNI หลังจากที่ไม่ได้ความร่วมมือดังกล่าวจากทางบริษัทในช่วงก่อนหน้านี้เลย
สำหรับผลประกอบการของ PICNI ในไตรมาส3/2550 และงวด 9 เดือนปี 2550ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า บริษัทฯมีรวมหนี้สินและสัดส่วนผู้ถือหน่วยจำนวน 8,034,612 ล้านบาท และมีหนี้สินรวมทั้งหมด 7,869,734 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 5,994,873 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,874,861 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทยังได้ทำการบันทึกในงบบัญชีกระแสเงินสดว่าเป็นหนี้สินผิดนัดชำระซึ่งมาจากการที่บริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายชำระเงินต้นตามสัญญาของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งได้ทำการจัดประเภทเป็นเงินกู้ยืมระยะยาว จำนวนเงิน 2,399.34 ล้านบาท และ 42.27 ล้านบาท ตามลำดับ
**เจ้าของเก่าเวิลด์แก๊สสนใจซื้อคืน
นอกจากนี้ มีกระแสข่าวว่า อดีตผู้ร่วมทุนในกิจการ เวิลด์แก๊ส ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ แสดงความสนใจที่จะเข้าขอซื้อกิจการ “เวิลด์แก๊ส”จาก PICNI กลับคืน เนื่องจากประเมินว่าธุรกิจการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติยังมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ อีกทั้งจากการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ณ ปัจจุบันส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ของเวิลด์แก๊ส มีมูลค่าน้อยลงจากช่วงที่ได้ขายกิจการให้กับ PICNI มาก
"ตอนนี้เราได้แจ้งให้ลูกค้าที่เป็นเจ้าหนี้ทั้งหมดทราบถึงการขอฟื้นฟูกิจการของปิคนิคแล้ว ส่วนจะคัดค้านหรือไม่คงต้องให้ลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้ตัดสินใจเอง แต่ความรู้สึกเราที่อยากบอกคือ เงินที่เราลงทุนไปทั้งหมดเป็นเงินของลูกค้า และเป็นเงินก้อนสุดท้ายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเอาเงินดังกล่าวมาคืนให้กับลูกค้าให้ได้ เราเองไม่ยอมอยู่แล้ว เพราะถือว่าเอาเงินของลูกค้าเราไปแล้วต้องใช้คืนด้วย" นายธีระพันธ์กล่าว
สำหรับบลจ.กรุงไทย มีมูลหนี้ที่ปิคนิคผิดชำระหนี้ทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านบาท จากจำนวนกองทุนทั้งหมด 1 กองทุน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้รับการชำระคืนไปแล้วประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งยังเหลือมูลหนี้ที่ค้างชำระอีกประมาณ 200 - 300 ล้านบาทจากจำนวนกองทุนทั้งหมด 9 กองทุน ซึ่งที่ผ่านมา บลจ.กรุงไทยเองก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้ปิคนิคชำระหนี้ดังกล่าวด้วย
**อยู่ดีๆงบการเงินติดลบ
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตของการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของปิคนิคในครั้งนี้ว่า อยู่ดีๆ งบการเงินของปิคนิคเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นบวกมาติดลบได้อย่างไร ซึ่งจากการที่งบการเงินติดลบดังกล่าวทำให้เข้าเงื่อนไขการฟื้นฟูกิจการได้
อนึ่ง บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 บริษัทได้ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในคดีหมายเลขดำที่ ฟ. 2/2551 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอให้ศาลพิจารณารับคำร้อง และศาลล้มละลายกลางได้กำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องในวันที่ 17 มีนาคม 2551 เวลา 9.00 น.
สำหรับสาเหตุที่ต้องนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ สืบเนื่องจาก PICNI มีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดและยึดทรัพย์สินของบริษัทอย่างต่อเนื่อง อาทิ เงินสด หุ้นของบริษัท เอ็นเนซอล จำกัด และหุ้นของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้บริษัทได้รับได้รับผลกระทบและขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ประกอบกับงบการเงินประจำปี 2550 ซึ่งเป็นงบภายในของบริษัทมีส่วนทุนติดลบเป็นเงินจำนวนประมาณ 1,258 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง รวมทั้งมีสินทรัพย์ลดลงจากการที่บริษัทถูกบังคับโอนหุ้นเวิลด์แก๊สให้กับเจ้าหนี้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่20 ก.พ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งให้ PICNI ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหุ้นของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (เวิลด์แก๊ส) ซึ่ง PICNI ถือหุ้นทั้งหมด 100% ให้กับเจ้าหนี้ แต่บริษัทยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าว ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าเป็นรายการที่มีสาระสำคัญและกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท โดยกำหนดให้ PICNI ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดยงบการเงินประจำไตรมาส 3 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 PICNI มีเงินลงทุนตามวิธีราคาทุนในเวิลด์แก๊สรวมทั้งสิ้น 1,611 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งให้ PICNI ชี้แจงประกอบด้วย 6 ประเด็นหลัก โดย 3 ประเด็นแรกเป็นประเด็นเดิมที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สอบถามไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 แต่บริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 หมายเลขคดีดำที่ ฟ2/2551 ซึ่งศาลล้มละลายกลายได้นัดพิจารณาไต่สวนคำร้องในวันที่ 17 มี.ค.51 ดังนั้นการดำเนินการใดๆ จะต้องรอศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องการฟื้นฟูกิจการก่อน บริษัทจึงจะดำเนินการชี้แจงเรื่องต่างๆ ต่อไปได้ แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่า เรื่องการบังค้บโอนหุ้นเป็นข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญและเกิดขึ้นแล้วซึ่งอยู่ในวิสัยที่ PICNI จะชี้แจงข้อมูลที่สอบถามได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ติดต่อขอให้ PICNI ชี้แจงเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ส่วนประเด็นหลักทั้ง 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นแรก ข้อมูลเกี่ยวกับการโอนหุ้นของเวิลด์แก๊ส ได้แก่ วันที่โอน จำนวนหุ้น มูลค่าเงินลงทุน และสัดส่วนการถือหุ้นในเวิลด์แก๊สภายหลังโอนหุ้น รวมทั้งเงื่อนไขการซื้อคืนหุ้นหรือเงื่อนไขสำคัญอื่นๆ (ถ้ามี)
ประเด็นที่สอง รายชื่อของเจ้าหนี้ที่รับโอนหุ้นพร้อมระบุความสัมพันธ์ อธิบายสาเหตุและที่มาของหนี้สินพร้อมวันเดือนปีที่เกิดรายการหนี้สิน มูลหนี้ เกณฑ์ในการกำหนดราคาทรัพย์สินที่โอนเพื่อชำระหนี้ และสาเหตุที่ถูกบังคับโอน
ประเด็นที่สาม สรุปฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของเวิลด์แก๊สตั้งแต่ปี 2549-2550 วันที่โอน และประเมินผลกระทบต่อรายได้ กำไร และสินทรัพย์ ของ PICNI หลังจากโอนเวิลด์แก๊สให้แก่เจ้าหนี้แล้ว
ประเด็นที่สี่ ให้บริษัทระบุว่ารายการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาโดยมติคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ ประเด็นที่ห้า หากรายการดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้ระบุชื่อบุคคลที่เป็นผู้อนุมัติรายการ และประเด็นสุดท้าย ในกรณีที่รายการดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ระบุวันที่คณะกรรมการมีมติ รายชื่อคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม มติคณะกรรมการ และความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของรายการ ความเป็นธรรมของการกำหนดราคา และประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและบริษัท
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินการเรียกร้องให้บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI ชำระหนี้ตั๋วเงินระยะสั้น (B/E)หลังจากที่ผิดนัด ว่า บริษัทได้เตรียมความพร้อมในการยื่นคัดค้านเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ PICNI ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนทั้ง 9 กองทุนซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของPICNI ไว้เรียบร้อยแล้ว รอเพียงแต่ความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ทั้ง 9 กองทุนเท่านั้น โดยหากเจ้าหนี้รายหนึ่งรายใด หรือทั้งหมดเห็นพ้องตรงว่าจะคัดค้านการฟื้นฟูฯ บริษัทจะทำการยื่นขอคัดค้านต่อศาลในวันที่ 12 มีนาคมนี้ทันที
“ศาลได้นัดให้ PICNI ฟังคำพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 17 มีนาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งจะตรงกับวันจันทร์ และวันที่ 14 –15 มี.ค.เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ทำให้เราจำเป็นที่จะต้องยื่นขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวในวันที่ 12 มี.ค. เพื่อเป็นไปตามเรียบของศาล ที่ระบุไว้ว่าจะต้องยื่นขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวต่อศาลล่วงหน้า 3 วันก่อนการพิจารณา โดยขณะนี้เรารอเพียงผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนกองใดที่เป็นเจ้าหนี้เห็นด้วย หรือทุกรายเห็นพ้องกันทั้งหมดก็จะยื่นคำร้องขอคัดค้านทันที”
**ล็อบบี้เจ้าหนี้ฝุ่นตลบ
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่า อาจมีเพียงผู้ถือหน่วยลงทุนทั้ง 9 กองทุนเท่านั้นที่จะยื่นคัดค้านการขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ PICNI เนื่องจากมีรายงานข่าวว่า บริษัทฯได้ทำการติดต่อและเจรจากับเจ้ารายอื่นๆนอกเหนือจาก กองทุนทั้ง 9 โครงการภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีการยื่นข้อเสนอในเรื่องผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างกันออกไปในแต่ละราย หาก PICNI สามารถเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการได้ เห็นได้จากขณะนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายอื่นออกมาปฏิเสธคัดค้านในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม บลจ.กรุงไทย ในฐานะผู้บริหารกองทุนทั้ง 9 โครงการที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ PICNI มั่นใจว่า ข้อมูลและเหตุผลที่จะนำเสนอต่อศาล จะมีน้ำหนักและได้รับความน่าเชื่อถือจนนำไปสู่การพิจารณาไม่อนุมัติให้ PICNI เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จ แม้อาจเป็นเพียงกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มเดียวหรือรายเดียวจากจำนวนเจ้าหนี้ทั้งหมด อีกทั้งการยื่นขอคัดค้านในครั้งนี้จะทำให้ได้รับทราบถึงข้อมูลตัวเลขการเงินที่แท้จริงของ PICNI หลังจากที่ไม่ได้ความร่วมมือดังกล่าวจากทางบริษัทในช่วงก่อนหน้านี้เลย
สำหรับผลประกอบการของ PICNI ในไตรมาส3/2550 และงวด 9 เดือนปี 2550ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า บริษัทฯมีรวมหนี้สินและสัดส่วนผู้ถือหน่วยจำนวน 8,034,612 ล้านบาท และมีหนี้สินรวมทั้งหมด 7,869,734 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียน 5,994,873 ล้านบาท และหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,874,861 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทยังได้ทำการบันทึกในงบบัญชีกระแสเงินสดว่าเป็นหนี้สินผิดนัดชำระซึ่งมาจากการที่บริษัทฯ ไม่สามารถจ่ายชำระเงินต้นตามสัญญาของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งได้ทำการจัดประเภทเป็นเงินกู้ยืมระยะยาว จำนวนเงิน 2,399.34 ล้านบาท และ 42.27 ล้านบาท ตามลำดับ
**เจ้าของเก่าเวิลด์แก๊สสนใจซื้อคืน
นอกจากนี้ มีกระแสข่าวว่า อดีตผู้ร่วมทุนในกิจการ เวิลด์แก๊ส ซึ่งเป็นกลุ่มทุนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ แสดงความสนใจที่จะเข้าขอซื้อกิจการ “เวิลด์แก๊ส”จาก PICNI กลับคืน เนื่องจากประเมินว่าธุรกิจการจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติยังมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจ อีกทั้งจากการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ณ ปัจจุบันส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ของเวิลด์แก๊ส มีมูลค่าน้อยลงจากช่วงที่ได้ขายกิจการให้กับ PICNI มาก
"ตอนนี้เราได้แจ้งให้ลูกค้าที่เป็นเจ้าหนี้ทั้งหมดทราบถึงการขอฟื้นฟูกิจการของปิคนิคแล้ว ส่วนจะคัดค้านหรือไม่คงต้องให้ลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้ตัดสินใจเอง แต่ความรู้สึกเราที่อยากบอกคือ เงินที่เราลงทุนไปทั้งหมดเป็นเงินของลูกค้า และเป็นเงินก้อนสุดท้ายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเอาเงินดังกล่าวมาคืนให้กับลูกค้าให้ได้ เราเองไม่ยอมอยู่แล้ว เพราะถือว่าเอาเงินของลูกค้าเราไปแล้วต้องใช้คืนด้วย" นายธีระพันธ์กล่าว
สำหรับบลจ.กรุงไทย มีมูลหนี้ที่ปิคนิคผิดชำระหนี้ทั้งหมดประมาณ 1,000 ล้านบาท จากจำนวนกองทุนทั้งหมด 1 กองทุน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้รับการชำระคืนไปแล้วประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งยังเหลือมูลหนี้ที่ค้างชำระอีกประมาณ 200 - 300 ล้านบาทจากจำนวนกองทุนทั้งหมด 9 กองทุน ซึ่งที่ผ่านมา บลจ.กรุงไทยเองก็ได้ดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้ปิคนิคชำระหนี้ดังกล่าวด้วย
**อยู่ดีๆงบการเงินติดลบ
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตของการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของปิคนิคในครั้งนี้ว่า อยู่ดีๆ งบการเงินของปิคนิคเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นบวกมาติดลบได้อย่างไร ซึ่งจากการที่งบการเงินติดลบดังกล่าวทำให้เข้าเงื่อนไขการฟื้นฟูกิจการได้
อนึ่ง บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PICNI รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551 บริษัทได้ยื่นต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในคดีหมายเลขดำที่ ฟ. 2/2551 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอให้ศาลพิจารณารับคำร้อง และศาลล้มละลายกลางได้กำหนดวันนัดพิจารณาคำร้องในวันที่ 17 มีนาคม 2551 เวลา 9.00 น.
สำหรับสาเหตุที่ต้องนำบริษัทเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ สืบเนื่องจาก PICNI มีภาระหนี้อยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ซึ่งเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดและยึดทรัพย์สินของบริษัทอย่างต่อเนื่อง อาทิ เงินสด หุ้นของบริษัท เอ็นเนซอล จำกัด และหุ้นของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้บริษัทได้รับได้รับผลกระทบและขาดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ประกอบกับงบการเงินประจำปี 2550 ซึ่งเป็นงบภายในของบริษัทมีส่วนทุนติดลบเป็นเงินจำนวนประมาณ 1,258 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง รวมทั้งมีสินทรัพย์ลดลงจากการที่บริษัทถูกบังคับโอนหุ้นเวิลด์แก๊สให้กับเจ้าหนี้
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่20 ก.พ. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีคำสั่งให้ PICNI ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหุ้นของบริษัท เวิลด์แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (เวิลด์แก๊ส) ซึ่ง PICNI ถือหุ้นทั้งหมด 100% ให้กับเจ้าหนี้ แต่บริษัทยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าว ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่าเป็นรายการที่มีสาระสำคัญและกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท โดยกำหนดให้ PICNI ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 โดยงบการเงินประจำไตรมาส 3 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 PICNI มีเงินลงทุนตามวิธีราคาทุนในเวิลด์แก๊สรวมทั้งสิ้น 1,611 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งให้ PICNI ชี้แจงประกอบด้วย 6 ประเด็นหลัก โดย 3 ประเด็นแรกเป็นประเด็นเดิมที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้สอบถามไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 แต่บริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 14 ม.ค.51 หมายเลขคดีดำที่ ฟ2/2551 ซึ่งศาลล้มละลายกลายได้นัดพิจารณาไต่สวนคำร้องในวันที่ 17 มี.ค.51 ดังนั้นการดำเนินการใดๆ จะต้องรอศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องการฟื้นฟูกิจการก่อน บริษัทจึงจะดำเนินการชี้แจงเรื่องต่างๆ ต่อไปได้ แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เห็นว่า เรื่องการบังค้บโอนหุ้นเป็นข้อเท็จจริงที่มีสาระสำคัญและเกิดขึ้นแล้วซึ่งอยู่ในวิสัยที่ PICNI จะชี้แจงข้อมูลที่สอบถามได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ติดต่อขอให้ PICNI ชี้แจงเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ส่วนประเด็นหลักทั้ง 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นแรก ข้อมูลเกี่ยวกับการโอนหุ้นของเวิลด์แก๊ส ได้แก่ วันที่โอน จำนวนหุ้น มูลค่าเงินลงทุน และสัดส่วนการถือหุ้นในเวิลด์แก๊สภายหลังโอนหุ้น รวมทั้งเงื่อนไขการซื้อคืนหุ้นหรือเงื่อนไขสำคัญอื่นๆ (ถ้ามี)
ประเด็นที่สอง รายชื่อของเจ้าหนี้ที่รับโอนหุ้นพร้อมระบุความสัมพันธ์ อธิบายสาเหตุและที่มาของหนี้สินพร้อมวันเดือนปีที่เกิดรายการหนี้สิน มูลหนี้ เกณฑ์ในการกำหนดราคาทรัพย์สินที่โอนเพื่อชำระหนี้ และสาเหตุที่ถูกบังคับโอน
ประเด็นที่สาม สรุปฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของเวิลด์แก๊สตั้งแต่ปี 2549-2550 วันที่โอน และประเมินผลกระทบต่อรายได้ กำไร และสินทรัพย์ ของ PICNI หลังจากโอนเวิลด์แก๊สให้แก่เจ้าหนี้แล้ว
ประเด็นที่สี่ ให้บริษัทระบุว่ารายการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาโดยมติคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ ประเด็นที่ห้า หากรายการดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้ระบุชื่อบุคคลที่เป็นผู้อนุมัติรายการ และประเด็นสุดท้าย ในกรณีที่รายการดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการ ระบุวันที่คณะกรรมการมีมติ รายชื่อคณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม มติคณะกรรมการ และความเห็นของคณะกรรมการเกี่ยวกับความสมเหตุสมผลของรายการ ความเป็นธรรมของการกำหนดราคา และประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและบริษัท