ตลท.น้อมรับนำรายชื่อหุ้นติด Turnover list มาพิจารณาใช้มาตรการดับร้อน ชี้เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกว่า ตลท.เลือกปฏิบัติ ย้ำการดูแลหุ้นปั่นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย “ภัทรียา” จี้โบรกฯต้องให้ข้อมูลลูกค้าให้ครบถ้วน พร้อมเป็นแม่งานเรียกโบรกฯหารือสร้างความเข้าใจขั้นตอนยื่นไฟลิ่ง บจ.ใหม่ เชื่อหากทำได้จริงลดเวลาระดมทุนได้มาก
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณานำรายชื่อที่ติดอยู่ใน Turnover list ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาใช้ประกอบในการพิจารณาใช้มาตรการห้ามการซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (net settlement) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (margin trading) กับหุ้นบริษัทนั้นๆ
ทั้งนี้ การพิจารณาในเรื่องดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตลท.ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับหุ้นกลุ่มใดหรือหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ประกอบกับถือว่าเป็นการใช้แหล่งอ้างอิงเดียวกันจากเดิมที่จะใช้ข้อมูลปริมาณการซื้อขายรวมถึงราคาซื้อขายที่ผิดปกติมาให้พิจารณาเพียงอย่างเดียว
“ที่ผ่านมามี บจ.บางแห่งกล่าวหาว่าตลาดปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันหรือเลือกปฏิบัติต่อหุ้นบางบริษัทเท่านั้น ซึ่งหาก ตลท.นำข้อมูลการรายงาน Turnover list ของก.ล.ต. มาประกอบการพิจารณาก็จะทำให้เห็นภาพมากขึ้น” นางภัทรียา กล่าว
นอกจากนี้ การออกมาตรการต่างๆ ถือว่าเป็นการเน้นย้ำถึงการร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งในส่วนของบริษัทหลักทรัพย์ก็มีหน้าที่จะต้องดูแลและให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่ดูเฉพาะในเรื่องความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบนักลงทุน รวมทั้งต้องอธิบาย และแนะนำให้นักลงทุนพิจารณาเทียบปัจจัยพื้นฐานประกอบก่อนการลงทุนด้วย
ในส่วนของที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) การตัดแต้มในกรณีการทำผิดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) รวมถึงการให้ความเห็นในกรณีต่างๆ นั้น จะมีการเชิญที่ปรึกษาทางการเงินทั้งหมดเพื่อจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดรวมถึงเพื่อตกลงในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นไปในมาตรฐานที่กำหนดซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพิจารณาของ ก.ล.ต.ด้วย
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การเชิญที่ปรึกษาทางการเงินให้มาพบกัน ก.ล.ต.จะทำหน้าที่ในการประสานงานเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของ ตลท.ที่จะต้องดูแล เพื่อสร้างทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นไฟลิ่งอยู่แล้ว โดยในเรื่องของการตัดคะแนนก็เป็นเรื่องที่มีใช้อยู่แล้วแต่เป็นการนำมาใช้และทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นมากขึ้น
ทั้งนี้ การนำ บจ.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นได้มีการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ที่มีความพร้อมเตรียมตัว และใช้เวลาไม่นานในการเข้ามาจะจดทะเบียน เช่น ระบบบัญชีที่จะต้องมีมาตรฐานและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างจากการเป็นบริษัทนอกตลาดหรือทำธุรกิจแบบครอบครัว และจะต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างเงินส่วนตัวหรือเงินบริษัท นอกจากนี้จะมีเรื่องการควบคุมภายใน มาตรฐานและระบบต่างๆ ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เป็นบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี รวมถึงการสร้างความเข้าใจต่อบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารบริษัท
“การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คล้ายกับการแต่งงาน ต้องมีการวางแผนอนาคตหลังการแต่งงานให้ครบถ้วนไม่ใช่วางแผนเฉพาะวันแต่งงาน โดยปัจจุบันมี บจ.ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาประมาณ 14 บริษัท” นายชาลี กล่าว
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการพิจารณานำรายชื่อที่ติดอยู่ใน Turnover list ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มาใช้ประกอบในการพิจารณาใช้มาตรการห้ามการซื้อขายในลักษณะหักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (net settlement) และห้ามสมาชิกให้ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (margin trading) กับหุ้นบริษัทนั้นๆ
ทั้งนี้ การพิจารณาในเรื่องดังกล่าวเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตลท.ไม่ได้เลือกปฏิบัติกับหุ้นกลุ่มใดหรือหุ้นบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ประกอบกับถือว่าเป็นการใช้แหล่งอ้างอิงเดียวกันจากเดิมที่จะใช้ข้อมูลปริมาณการซื้อขายรวมถึงราคาซื้อขายที่ผิดปกติมาให้พิจารณาเพียงอย่างเดียว
“ที่ผ่านมามี บจ.บางแห่งกล่าวหาว่าตลาดปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันหรือเลือกปฏิบัติต่อหุ้นบางบริษัทเท่านั้น ซึ่งหาก ตลท.นำข้อมูลการรายงาน Turnover list ของก.ล.ต. มาประกอบการพิจารณาก็จะทำให้เห็นภาพมากขึ้น” นางภัทรียา กล่าว
นอกจากนี้ การออกมาตรการต่างๆ ถือว่าเป็นการเน้นย้ำถึงการร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งในส่วนของบริษัทหลักทรัพย์ก็มีหน้าที่จะต้องดูแลและให้ข้อมูลแก่หน่วยงานที่ดูเฉพาะในเรื่องความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบนักลงทุน รวมทั้งต้องอธิบาย และแนะนำให้นักลงทุนพิจารณาเทียบปัจจัยพื้นฐานประกอบก่อนการลงทุนด้วย
ในส่วนของที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) การตัดแต้มในกรณีการทำผิดเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) รวมถึงการให้ความเห็นในกรณีต่างๆ นั้น จะมีการเชิญที่ปรึกษาทางการเงินทั้งหมดเพื่อจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดรวมถึงเพื่อตกลงในรายละเอียดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นไปในมาตรฐานที่กำหนดซึ่งจะช่วยลดเวลาในการพิจารณาของ ก.ล.ต.ด้วย
นายชาลี จันทนยิ่งยง ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า การเชิญที่ปรึกษาทางการเงินให้มาพบกัน ก.ล.ต.จะทำหน้าที่ในการประสานงานเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของ ตลท.ที่จะต้องดูแล เพื่อสร้างทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นไฟลิ่งอยู่แล้ว โดยในเรื่องของการตัดคะแนนก็เป็นเรื่องที่มีใช้อยู่แล้วแต่เป็นการนำมาใช้และทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นมากขึ้น
ทั้งนี้ การนำ บจ.เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นั้นได้มีการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ที่มีความพร้อมเตรียมตัว และใช้เวลาไม่นานในการเข้ามาจะจดทะเบียน เช่น ระบบบัญชีที่จะต้องมีมาตรฐานและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างจากการเป็นบริษัทนอกตลาดหรือทำธุรกิจแบบครอบครัว และจะต้องแยกแยะให้ได้ระหว่างเงินส่วนตัวหรือเงินบริษัท นอกจากนี้จะมีเรื่องการควบคุมภายใน มาตรฐานและระบบต่างๆ ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เป็นบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี รวมถึงการสร้างความเข้าใจต่อบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารบริษัท
“การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คล้ายกับการแต่งงาน ต้องมีการวางแผนอนาคตหลังการแต่งงานให้ครบถ้วนไม่ใช่วางแผนเฉพาะวันแต่งงาน โดยปัจจุบันมี บจ.ที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาประมาณ 14 บริษัท” นายชาลี กล่าว