พลัสฯเผยผลสำรวจตลาดอสังหาฯ ปี 50 ชี้จัดสรรเข็นซับพลายใหม่เข้าตลาดอื้ส่งผลยอดพัฒนาโครงการใหม่เติบโตกว่าปี 49 แจงซับพลายใหม่ยังโตสะท้อนความเชื่อมั่นจัดสรรที่มีต่อตลาดอสังหาฯ คาดปี 51 ซับพลายเข้าสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 40,000 หน่วย จับตาคอนโดฯ-ทาวน์เฮาส์ขยับสูงแซงบ้านเดี่ยว
นายเมธา จันทร์แจ่มจรัส ประธานอำนวยการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าว่าตลาดอสังหาฯแนวราบในปี51 ซับพลายที่เสนอขายในตลาดจะมีไม่ต่ำกว่า 40,000 ยูนิต โดยคาดว่าจะมียูนิตจากโครงการเปิดใหม่ใกล้เคียงกับปี50 ซึ่งโครงการทาวน์เฮาส์น่าจะมีการพัฒนามากกว่าบ้านเดี่ยว ส่วนด้านดีมานด์ในตลาดรวมคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากการมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศจะขยายตัวขึ้น
ส่วนราคาเสนอขายที่อยู่อาศัยน่าจะมีการปรับตัวขึ้น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้าง และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถขายในระดับราคาต่ำกว่าเดิมได้ ในขณะที่ภาวะการแข่งขันรุนแรงเพิ่มขึ้น จากการทำโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการขายและ การสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเน้นการรับรู้ในแบรนด์ ทั้งออกแบรนด์ใหม่หรือการรีแบรนด์ดิ้ง ให้ดูทันสมัย เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการรีแบรนด์ดิ้งของผุ้ประกอบการบางรายที่เริ่มดำเนินการไปบางส่วนในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากการสำหรวจตลาดคอนโดมิเนียมในปี 50 พบว่ามีซับพลายที่เสนอขายสูงขึ้นถึง 42%หรือประมาณ 11,651 ยูนิต โดย ณ สิ้นปี50 มีซับพลายในตลาดรวม 39,341 ยูนิต จากการเปิดขายในช่วงครึ่งปีแรก16,933 ยูนิต และในช่วงครึ่งปีหลัง22,408 ยูนิต โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้จำนวนยูนิตส่วนใหญ่เปิดขายในพื้นที่ธนบุรีกว่า 5,423 ยูนิต รองมา คือ พื้นที่รัชดาภิเษก 3,826 ยูนิต และพื้นที่พหลโยธิน 2,539 ยูนิต โดยโครงการส่วนใหญ่ยังเกาะกลุ่มตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นหลักเนื่องจากยังมีดีมานด์อยู่มาก
อย่างไรก็ตามยังมีโครงการบางส่วนที่กระจายไปในพื้นที่พหลโยธินสูงขึ้นจากปี49 เนื่องจากเป็นพื้นที่มีส่วนงานราชการ และเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้ประกอบการหลายรายจึงคาดว่ายังมีดีมานด์แฝงในกลุ่มคนวัยทำงานและคนในพื้นที่ ทำให้มีการเตรียมพัฒนาโครงการเพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้น
สำหรับพื้นที่สุขุมวิท มีจำนวน 1,643 ยูนิต, พื้นที่พระราม 3 จำนวน 1,268 ยูนิต, พื้นที่สุขุมวิทรอบนอก จำนวน 1,211 ยูนิต, พื้นที่เพลินจิต-ชิดลม จำนวน 382 ยูนิต, พื้นที่สีลม-สาทร จำนวน 370 ยูนิต, พื้นที่พญาไท จำนวน 284 ยูนิต และพื้นที่อื่นๆ เช่น รามคำแหง,สุวรรณภูมิ, นนทบุรี, พระราม 2 ฯลฯ มีจำนวน 5,462 ยูนิต จาก9 โครงการ โดยการพัฒนาโครงการในพื้นที่ดังกล่าวจะเน้นจำนวนยูนิตมาก แต่ราคาขายต่ำเริ่มโดยราคาขายต้นเพียง 0.6 ล้านบาท เพื่อเป็นสินค้าทดแทน อพาร์ทเมนต์ให้เช่าในพื้นที่โดยใช้กลไกด้านราคาในการแข่งขันแทนทำเล
อย่างไรก็ตามราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรในช่วงครึ่งปีหลัง 2550 มีการปรับเพิ่มราคาค่อนข้างชัดเจน โดยพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เช่นเพลินจิต–ชิดลมและสีลม-สาทร มีราคาขายต่อตารางเมตรสูงสุดจากทุกพื้นที่อยู่ที่ 103,557 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 14% จากปี 2549 รองลงมาคือ พื้นที่สุขุมวิท อยู่ที่ 86,741 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 4%, พื้นที่พญาไท อยู่ที่ 81,667 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 8%, พื้นที่พระราม 3 อยู่ที่ 70,625 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 31% และพื้นที่พหลโยธิน 64,671 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 21%
ส่วนในปี50 ที่ผ่านพที่อยู่อาศัยแนวราบว่ามียูนิตเสนอขาย36,917 ยูนิต โดยโซนด้านเหนือมีการพัฒนาโครงการมากที่สุด12,818 ยูนิต คิดเป็น 35% ของยูนิตที่มีการเปิดตัว โซนทิศตะวันตกมี 8,888 ยูนิต คิดเป็น24%และโซนทิศตะวันออก 6,608 ยูนิต คิดเป็น18%
สำหรับจำนวนยูนิตที่เสนอขายทั้งหมดสามารถแบ่งออกที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว22,921 ยูนิต จาก429โครงการ และทาวน์เฮาส์ 13,996 ยูนิต จาก196 โครงการ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนการพัฒนาของผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มขึ้น3%หรือมีจำนวน 20,100 ยูนิต จาก 270 โครงการคิดเป็น 54% ของยูนิตเสนอขายทั้งหมด สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้ประกอบการว่ายังมีดีมานด์สะสมจากปีที่ผ่านมา
นายเมธา จันทร์แจ่มจรัส ประธานอำนวยการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าว่าตลาดอสังหาฯแนวราบในปี51 ซับพลายที่เสนอขายในตลาดจะมีไม่ต่ำกว่า 40,000 ยูนิต โดยคาดว่าจะมียูนิตจากโครงการเปิดใหม่ใกล้เคียงกับปี50 ซึ่งโครงการทาวน์เฮาส์น่าจะมีการพัฒนามากกว่าบ้านเดี่ยว ส่วนด้านดีมานด์ในตลาดรวมคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย จากการมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจมีสภาพคล่องมากขึ้น ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศจะขยายตัวขึ้น
ส่วนราคาเสนอขายที่อยู่อาศัยน่าจะมีการปรับตัวขึ้น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้าง และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถขายในระดับราคาต่ำกว่าเดิมได้ ในขณะที่ภาวะการแข่งขันรุนแรงเพิ่มขึ้น จากการทำโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการขายและ การสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเน้นการรับรู้ในแบรนด์ ทั้งออกแบรนด์ใหม่หรือการรีแบรนด์ดิ้ง ให้ดูทันสมัย เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าหลัก เพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากการรีแบรนด์ดิ้งของผุ้ประกอบการบางรายที่เริ่มดำเนินการไปบางส่วนในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ จากการสำหรวจตลาดคอนโดมิเนียมในปี 50 พบว่ามีซับพลายที่เสนอขายสูงขึ้นถึง 42%หรือประมาณ 11,651 ยูนิต โดย ณ สิ้นปี50 มีซับพลายในตลาดรวม 39,341 ยูนิต จากการเปิดขายในช่วงครึ่งปีแรก16,933 ยูนิต และในช่วงครึ่งปีหลัง22,408 ยูนิต โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้จำนวนยูนิตส่วนใหญ่เปิดขายในพื้นที่ธนบุรีกว่า 5,423 ยูนิต รองมา คือ พื้นที่รัชดาภิเษก 3,826 ยูนิต และพื้นที่พหลโยธิน 2,539 ยูนิต โดยโครงการส่วนใหญ่ยังเกาะกลุ่มตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นหลักเนื่องจากยังมีดีมานด์อยู่มาก
อย่างไรก็ตามยังมีโครงการบางส่วนที่กระจายไปในพื้นที่พหลโยธินสูงขึ้นจากปี49 เนื่องจากเป็นพื้นที่มีส่วนงานราชการ และเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้ประกอบการหลายรายจึงคาดว่ายังมีดีมานด์แฝงในกลุ่มคนวัยทำงานและคนในพื้นที่ ทำให้มีการเตรียมพัฒนาโครงการเพื่อรองรับความต้องการที่จะเพิ่มขึ้น
สำหรับพื้นที่สุขุมวิท มีจำนวน 1,643 ยูนิต, พื้นที่พระราม 3 จำนวน 1,268 ยูนิต, พื้นที่สุขุมวิทรอบนอก จำนวน 1,211 ยูนิต, พื้นที่เพลินจิต-ชิดลม จำนวน 382 ยูนิต, พื้นที่สีลม-สาทร จำนวน 370 ยูนิต, พื้นที่พญาไท จำนวน 284 ยูนิต และพื้นที่อื่นๆ เช่น รามคำแหง,สุวรรณภูมิ, นนทบุรี, พระราม 2 ฯลฯ มีจำนวน 5,462 ยูนิต จาก9 โครงการ โดยการพัฒนาโครงการในพื้นที่ดังกล่าวจะเน้นจำนวนยูนิตมาก แต่ราคาขายต่ำเริ่มโดยราคาขายต้นเพียง 0.6 ล้านบาท เพื่อเป็นสินค้าทดแทน อพาร์ทเมนต์ให้เช่าในพื้นที่โดยใช้กลไกด้านราคาในการแข่งขันแทนทำเล
อย่างไรก็ตามราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรในช่วงครึ่งปีหลัง 2550 มีการปรับเพิ่มราคาค่อนข้างชัดเจน โดยพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ เช่นเพลินจิต–ชิดลมและสีลม-สาทร มีราคาขายต่อตารางเมตรสูงสุดจากทุกพื้นที่อยู่ที่ 103,557 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 14% จากปี 2549 รองลงมาคือ พื้นที่สุขุมวิท อยู่ที่ 86,741 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 4%, พื้นที่พญาไท อยู่ที่ 81,667 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 8%, พื้นที่พระราม 3 อยู่ที่ 70,625 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 31% และพื้นที่พหลโยธิน 64,671 บาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้น 21%
ส่วนในปี50 ที่ผ่านพที่อยู่อาศัยแนวราบว่ามียูนิตเสนอขาย36,917 ยูนิต โดยโซนด้านเหนือมีการพัฒนาโครงการมากที่สุด12,818 ยูนิต คิดเป็น 35% ของยูนิตที่มีการเปิดตัว โซนทิศตะวันตกมี 8,888 ยูนิต คิดเป็น24%และโซนทิศตะวันออก 6,608 ยูนิต คิดเป็น18%
สำหรับจำนวนยูนิตที่เสนอขายทั้งหมดสามารถแบ่งออกที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว22,921 ยูนิต จาก429โครงการ และทาวน์เฮาส์ 13,996 ยูนิต จาก196 โครงการ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนการพัฒนาของผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มขึ้น3%หรือมีจำนวน 20,100 ยูนิต จาก 270 โครงการคิดเป็น 54% ของยูนิตเสนอขายทั้งหมด สะท้อนถึงความมั่นใจของผู้ประกอบการว่ายังมีดีมานด์สะสมจากปีที่ผ่านมา