"บิ๊กเอพี" ปี 51 ไม่แต่กต่างจากปี 50 จัดสรรแบกต้นทุนอ่วม เชื่อหลังไตรมาส 3 งบเงินผู้ประกอบการในตลาดออกมาแย่ จัดสรรรายกลาง - รายเล็กลำบาก โดยเฉพาะคอนโดฯในซอยขายยากแถมคู่แข่งเพียบ ระบุปีนี้เป็นปีของรายใหญ่ วอนรัฐบาลใหม่สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ไม่ทำให้เศรษฐกิจแย่กว่าเดิมก็พอแล้ว ปีนี้เอพีเล็งเปิดใหม่ 13 โครงการ มูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขาย 15,000 ล้านบาท แจงมี Backlog ตุนในมือกว่า 17,550 ล้านบาท ทะยอยรับรู้รายได้ต่อเนื่องถึงปี 2554
นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ระหว่างปี 2551 กับปี 2550 ในแง่ของปัจจัยภาพนอกที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างและน่ากังวลแทนผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กในตลาดคือ เรื่องของการแข่งขัน ซึ่งในปีนี้จะรุนแรงและดุเดือดกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าประเภทคอนโดมิเนียม
ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ปี2 2550 โครงการบ้านเดี่ยวจัดสรรเปิดขายลดลงถึง 15% ในขณะที่ในเขตปริมณฑลเปิดตัวเพิ่มขึ้น 20%, ทาวน์เฮาส์ ติดลบ 1% ส่วนคอนโดมิเนียมเปิดขายเพิ่มขึ้นถึง 53% โดยเฉพาะโครงการภายในซอย ทำให้ในปีที่ผ่านมายอดขายช้าลงหรือบางโครงการขายยาก โดยเฉพาะโครงการภายในซอยเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็ก
ปี 2006 และปี 2007 มีคอนโดฯออกสู่ตลาดจำนวนมาก ปีนี้โครงการในซอยย่อยๆจะลำบาก ขายยาก เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ จะเน้นพัฒนาโครงการติดถนนใหญ่เป็นหลัก ทำให้ขายได้เร็วกว่าและเมื่อมีสินค้ามากผู้ซื้อก็เลือกโครงการที่มีทำเลดีกว่า ผู้ประกอบการน่าเชื่อถือ และปีนี้จะไม่ค่อยมีผู้ประกอบการเปิดโครงการใหม่ในซอย
ในปีนี้จะเป็นเวทีของผู้ประกอบการรายใหญ่ (Big Player) ที่พร้อมกระโดดลงแข่งขันเพื่อชิงเค้กในตลาด ด้วยจุดแข็งที่ได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ (Economy Of Scale) ที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ความน่าเชื่อถือของบริษัทในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ตลอดจนความสามารถในการบริหารค่าใช้จ่ายบริการหลังการขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นกำแพงที่ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กยากจะก้าวผ่าน ดังนั้น ภาพรวมของตลาดอสังหาฯในปีจึงเป็นปีแห่งการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่พร้อมงัดไม้เด็ดมาแย่งเค้กในตลาด กันอย่างดุเดือด ซึ่งท้ายสุดผลประโยชน์ก็จะเป็นของผู้บริโภคที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ มีฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
"ต้นทุนก่อสร้างที่มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7% โดยเฉพาะเหล็กขึ้นราคา 17-27% แต่ก็มีวัสดุหลายอย่างขึ้นไม่ได้มาก เพราะไปชนกับสินค้าราคาถูกจากจีน ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับราคาขายสินค้าไม่สามารถทำได้ทุกตลาดเพราะหากตลาดใดมีการแข่งขันสูงก็ไม่สามารถปรับขึ้นได้ ซึ่งภาพดังกล่าวจะไปสะท้อนให้งบการเงินออกมาไม่ดีในช่วงหลังไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนในไตรมาส 1-2 งบการเงินของผูป้ระกอบการยังดีอยู่เพราะเป็นต้นทุนก่อสร้างเดิมที่มีการล็อคราคาค่าก่อสร้างไปหมดแล้ว" นายอนุพงษ์กล่าวและว่า
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2551 บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายยอดขายไว้ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท และมีแผนการรับรู้รายได้ในอัตราที่เติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 15% โดยบริษัทฯ มีแผนการพัฒนาโครงการใหม่ในปี 2551 จำนวน 13 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 14,250 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการพัฒนาโครงการแนวราบ 50% และแนวสูง 50%
ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนพัฒนาสินค้าประเภททาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวในเมืองให้มากยิ่งขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 1. ทาวน์เฮาส์ จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 3,870 ล้านบาท, 2. คอนโดมิเนียม จำนวน 5 โครงการ มูลค่าประมาณ 8,380 ล้านบาท โดย 2 ใน 3 เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการร่วมทุนกับกลุ่ม แปซิฟิค สตาร์ และ 3. บ้านเดี่ยว จำนวน 2 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
โดยในไตรมาสแรก บริษัทฯ พร้อมเปิดตัวโครงการบ้านกลางเมือง Urbanion ลาดพร้าว-โชคชัย 4 ทาวน์เฮาส์ จำนวน 79 ยูนิต มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 3.79 ล้านบาท และไตรมาส 2 เตรียมเปิด Life Condo จำนวน 2 โครงการ คือ Life @ สุขุมวิท 67 มูลค่า 330 ล้านบาท และ Life @ MRT รัชดา มูลค่า 3,000 ล้านบาท และมีแผนเปิดตัวอีก 7 โครงการในไตรมาส 3 และอีก 3 โครงการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
"ทั้งนี้ ความคืบหน้าของโครงการที่เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ กับกลุ่มแปซิฟิค สตาร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนร่วมกัน โดยคาดว่าพร้อมเปิดตัวโครงการ ภายใต้ชื่อ Life @ MRT รัชดา มูลค่า 3,000 ล้านบาท และ The Address สาทร 12 ภายในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปี 2551 ตามลำดับ" นายอนุพงษ์ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การตลาดในปีนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งสร้างความพิเศษและแตกต่างในธุรกิจด้วยวิธีการนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำเทรนด์ในการอยู่อาศัย (Trend Setter) ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่โดนใจผู้บริโภค เช่นในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด ในการเป็นผลิตเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้แบรนด์ Trend Design ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการของคน Gen Y ด้วยรูปแบบงานดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะลูกค้า AP เท่านั้น รวมถึง บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ ที่โฟกัสเฉพาะทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง เป็นทำเลที่ดีเยี่ยม เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ "Location in Location" ตลอดจนการกำหนดแพ็คเกจราคาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค
สำหรับผลประกอบการปี 2550 ว่า บริษัทฯ สามารถสร้างยอดขายได้ จำนวน 15,675 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 2549 ที่มียอดขาย จำนวน 8,072 ล้านบาท ถึง 94 % และคาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ประมาณ 7,000 -7,500 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 ที่มีรายได้รวม 6,344 ล้านบาท 18% โดย ณ สิ้นปี 2550 บริษัทฯ มีสินค้ารอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมประมาณ 17,550 ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวสูง มูลค่า 14,545 ล้านบาท และโครงการแนวราบ มูลค่า 3,005 ล้านบาท ส่งผลให้ระหว่างปี 2550-2554 บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องจากการทยอยโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการข้างต้น
"สำหรับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งปัญหาที่รัฐบาลต้องเผชิญคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซัปไพรม์ ซึ่งรัฐบาลรูอยู่แล้วว่าต้องเร่งแก้ไขอะไร ไม่ได้คาดหวังมาก เพียงแต่ต้องการให้ประคับประครองเศรษฐกิจให้มีอัตราการเติบโตในระดับ 4-4.5% ตามที่ตั้งไว้และไม่ให้แย่ลงไปอีกก็ดีแล้ว" นายอนุพงษ์กล่าว
นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ระหว่างปี 2551 กับปี 2550 ในแง่ของปัจจัยภาพนอกที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่แตกต่างและน่ากังวลแทนผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กในตลาดคือ เรื่องของการแข่งขัน ซึ่งในปีนี้จะรุนแรงและดุเดือดกว่าในปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสินค้าประเภทคอนโดมิเนียม
ทั้งนี้จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า ปี2 2550 โครงการบ้านเดี่ยวจัดสรรเปิดขายลดลงถึง 15% ในขณะที่ในเขตปริมณฑลเปิดตัวเพิ่มขึ้น 20%, ทาวน์เฮาส์ ติดลบ 1% ส่วนคอนโดมิเนียมเปิดขายเพิ่มขึ้นถึง 53% โดยเฉพาะโครงการภายในซอย ทำให้ในปีที่ผ่านมายอดขายช้าลงหรือบางโครงการขายยาก โดยเฉพาะโครงการภายในซอยเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายกลาง-รายเล็ก
ปี 2006 และปี 2007 มีคอนโดฯออกสู่ตลาดจำนวนมาก ปีนี้โครงการในซอยย่อยๆจะลำบาก ขายยาก เพราะผู้ประกอบการรายใหญ่ จะเน้นพัฒนาโครงการติดถนนใหญ่เป็นหลัก ทำให้ขายได้เร็วกว่าและเมื่อมีสินค้ามากผู้ซื้อก็เลือกโครงการที่มีทำเลดีกว่า ผู้ประกอบการน่าเชื่อถือ และปีนี้จะไม่ค่อยมีผู้ประกอบการเปิดโครงการใหม่ในซอย
ในปีนี้จะเป็นเวทีของผู้ประกอบการรายใหญ่ (Big Player) ที่พร้อมกระโดดลงแข่งขันเพื่อชิงเค้กในตลาด ด้วยจุดแข็งที่ได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ (Economy Of Scale) ที่เป็นหัวใจสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ความน่าเชื่อถือของบริษัทในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ตลอดจนความสามารถในการบริหารค่าใช้จ่ายบริการหลังการขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นกำแพงที่ผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็กยากจะก้าวผ่าน ดังนั้น ภาพรวมของตลาดอสังหาฯในปีจึงเป็นปีแห่งการแข่งขันของผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่พร้อมงัดไม้เด็ดมาแย่งเค้กในตลาด กันอย่างดุเดือด ซึ่งท้ายสุดผลประโยชน์ก็จะเป็นของผู้บริโภคที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ มีฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
"ต้นทุนก่อสร้างที่มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-7% โดยเฉพาะเหล็กขึ้นราคา 17-27% แต่ก็มีวัสดุหลายอย่างขึ้นไม่ได้มาก เพราะไปชนกับสินค้าราคาถูกจากจีน ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการปรับขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับราคาขายสินค้าไม่สามารถทำได้ทุกตลาดเพราะหากตลาดใดมีการแข่งขันสูงก็ไม่สามารถปรับขึ้นได้ ซึ่งภาพดังกล่าวจะไปสะท้อนให้งบการเงินออกมาไม่ดีในช่วงหลังไตรมาส 3 เป็นต้นไป ส่วนในไตรมาส 1-2 งบการเงินของผูป้ระกอบการยังดีอยู่เพราะเป็นต้นทุนก่อสร้างเดิมที่มีการล็อคราคาค่าก่อสร้างไปหมดแล้ว" นายอนุพงษ์กล่าวและว่า
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2551 บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายยอดขายไว้ที่ประมาณ 15,000 ล้านบาท และมีแผนการรับรู้รายได้ในอัตราที่เติบโตขึ้นจากปีก่อนประมาณ 15% โดยบริษัทฯ มีแผนการพัฒนาโครงการใหม่ในปี 2551 จำนวน 13 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 14,250 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการพัฒนาโครงการแนวราบ 50% และแนวสูง 50%
ในปีนี้บริษัทฯ มีแผนพัฒนาสินค้าประเภททาวน์เฮ้าส์และบ้านเดี่ยวในเมืองให้มากยิ่งขึ้นกว่าในปีที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 1. ทาวน์เฮาส์ จำนวน 6 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 3,870 ล้านบาท, 2. คอนโดมิเนียม จำนวน 5 โครงการ มูลค่าประมาณ 8,380 ล้านบาท โดย 2 ใน 3 เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการร่วมทุนกับกลุ่ม แปซิฟิค สตาร์ และ 3. บ้านเดี่ยว จำนวน 2 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
โดยในไตรมาสแรก บริษัทฯ พร้อมเปิดตัวโครงการบ้านกลางเมือง Urbanion ลาดพร้าว-โชคชัย 4 ทาวน์เฮาส์ จำนวน 79 ยูนิต มูลค่าโครงการ 500 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 3.79 ล้านบาท และไตรมาส 2 เตรียมเปิด Life Condo จำนวน 2 โครงการ คือ Life @ สุขุมวิท 67 มูลค่า 330 ล้านบาท และ Life @ MRT รัชดา มูลค่า 3,000 ล้านบาท และมีแผนเปิดตัวอีก 7 โครงการในไตรมาส 3 และอีก 3 โครงการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2551
"ทั้งนี้ ความคืบหน้าของโครงการที่เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ กับกลุ่มแปซิฟิค สตาร์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนร่วมกัน โดยคาดว่าพร้อมเปิดตัวโครงการ ภายใต้ชื่อ Life @ MRT รัชดา มูลค่า 3,000 ล้านบาท และ The Address สาทร 12 ภายในช่วงไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปี 2551 ตามลำดับ" นายอนุพงษ์ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การตลาดในปีนี้ บริษัทฯ ยังคงมุ่งสร้างความพิเศษและแตกต่างในธุรกิจด้วยวิธีการนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำเทรนด์ในการอยู่อาศัย (Trend Setter) ด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่โดนใจผู้บริโภค เช่นในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับบริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด ในการเป็นผลิตเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้แบรนด์ Trend Design ให้มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการของคน Gen Y ด้วยรูปแบบงานดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะลูกค้า AP เท่านั้น รวมถึง บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ ที่โฟกัสเฉพาะทำเลที่อยู่ใจกลางเมือง เป็นทำเลที่ดีเยี่ยม เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ "Location in Location" ตลอดจนการกำหนดแพ็คเกจราคาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค
สำหรับผลประกอบการปี 2550 ว่า บริษัทฯ สามารถสร้างยอดขายได้ จำนวน 15,675 ล้านบาท โตขึ้นจากปี 2549 ที่มียอดขาย จำนวน 8,072 ล้านบาท ถึง 94 % และคาดว่าจะมียอดรับรู้รายได้ประมาณ 7,000 -7,500 ล้านบาท สูงกว่าปี 2549 ที่มีรายได้รวม 6,344 ล้านบาท 18% โดย ณ สิ้นปี 2550 บริษัทฯ มีสินค้ารอรับรู้รายได้ (Backlog) มูลค่ารวมประมาณ 17,550 ล้านบาท โดยเป็นโครงการแนวสูง มูลค่า 14,545 ล้านบาท และโครงการแนวราบ มูลค่า 3,005 ล้านบาท ส่งผลให้ระหว่างปี 2550-2554 บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้อย่างต่อเนื่องจากการทยอยโอนกรรมสิทธิ์ในโครงการข้างต้น
"สำหรับรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศสิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งปัญหาที่รัฐบาลต้องเผชิญคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซัปไพรม์ ซึ่งรัฐบาลรูอยู่แล้วว่าต้องเร่งแก้ไขอะไร ไม่ได้คาดหวังมาก เพียงแต่ต้องการให้ประคับประครองเศรษฐกิจให้มีอัตราการเติบโตในระดับ 4-4.5% ตามที่ตั้งไว้และไม่ให้แย่ลงไปอีกก็ดีแล้ว" นายอนุพงษ์กล่าว