มูดีส์ อินเวสเตอร์ฯ ชี้หลุมดำถล่มศก.โลก มีศูนย์กลางอยู่ในสหรัฐ ระบุต้นตอสำคัญ การปรับลดดบ.แรงๆ 1.25% ในช่วงภาวะถดถอย และมีปัญหาเงินเฟ้อจากภาวะต้นทุนผลัก กำลังเป็นเงื่อนตายสำคัญที่ยังแก้ไม่ตก และจะกลายเป็นชนวนที่ทำให้ ศก.ทั่วโลก พังตามเป็นโดมิโน "เอสแอนด์พี" ส่งสัญญาณวิกฤติสถาบันการเงินล้ม
วันนี้(31 ม.ค.) บริษัท มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความเสี่ยงในระดับสูงมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะยังคงดูดี แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความพลิกผันนั้นมีอยู่สูง เพราะมีสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นที่จะทำให้แนวโน้มแย่ลง
รายงานของมูดีส์ อินเวสเตอร์สฯ ยังระบุอีกว่า ศูนย์กลางของความผันผวนและไม่แน่นอนนี้เห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ที่สหรัฐ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพคล่องและวิกฤตสินเชื่อที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงไม่ชัดเจน
นายปิแอร์ ไซเลโต หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สากลของมูดีส์ และเป็นผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ การวิเคราะห์สินเชื่อในระดับย่อยลงมาจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในมุมมองที่กว้างขึ้นด้วย รวมถึงการพิจารณาเรื่องความเกี่ยวโยงกันของความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ไม่น่าพอใจนัก
รายงานชื่อ "Mapping the Near Future: Macro Stress Scenarios for 2008-2009" และ "Global Financial Risk Perspectives" มูดีส์ได้ระบุถึงสถานการณ์ที่น่าจะเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2008-2009 โดยแบ่งตามความเสี่ยงเป็น 3 กรณี ได้แก่
กรณีแรก ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวที่มีต่อเศรษฐกิจโลก รายงานคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่น คงจะมีความแข็งแกร่งลดลง ขณะที่เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่จะยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ โดยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่ไม่ได้ผูกติดกับเงินดอลลาร์ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่สอง Stagflation คือการที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย พร้อมกับการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง โดยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินซึ่งมีผลให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ แม้ว่าการขยายตัวสดใสนั้นจะสูญหายไป
กรณีที่สาม Stagnation คือการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางประเทศ
ล่าสุด มีรายงานเพิ่มเติมว่า สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอส แอนด์ พี) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐ โดยระบุว่า เมื่อถึงที่สุดแล้ว สถาบันการเงินอาจมีผลขาดทุนจากปัญหาต่อเนื่องในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 265,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก เอส แอนด์ พี เปิดเผยว่า ได้ปรับลด หรืออาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐ มูลค่า 270,000 ล้านดอลลาร์ และทำการทบทวนโดยอาจมีแนวโน้มปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารซีดีโอ มูลค่า 264,000 ล้านดอลลาร์อีกด้วย
วันนี้(31 ม.ค.) บริษัท มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ได้เปิดเผยรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุด โดยระบุว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความเสี่ยงในระดับสูงมากขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะยังคงดูดี แต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความพลิกผันนั้นมีอยู่สูง เพราะมีสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากขึ้นที่จะทำให้แนวโน้มแย่ลง
รายงานของมูดีส์ อินเวสเตอร์สฯ ยังระบุอีกว่า ศูนย์กลางของความผันผวนและไม่แน่นอนนี้เห็นได้ชัดเจนว่าอยู่ที่สหรัฐ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพคล่องและวิกฤตสินเชื่อที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงไม่ชัดเจน
นายปิแอร์ ไซเลโต หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สากลของมูดีส์ และเป็นผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ การวิเคราะห์สินเชื่อในระดับย่อยลงมาจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในมุมมองที่กว้างขึ้นด้วย รวมถึงการพิจารณาเรื่องความเกี่ยวโยงกันของความเสี่ยงด้านสินเชื่อที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลกในทิศทางที่ไม่น่าพอใจนัก
รายงานชื่อ "Mapping the Near Future: Macro Stress Scenarios for 2008-2009" และ "Global Financial Risk Perspectives" มูดีส์ได้ระบุถึงสถานการณ์ที่น่าจะเป็นสำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2008-2009 โดยแบ่งตามความเสี่ยงเป็น 3 กรณี ได้แก่
กรณีแรก ผลกระทบของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวที่มีต่อเศรษฐกิจโลก รายงานคาดว่าเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่น คงจะมีความแข็งแกร่งลดลง ขณะที่เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่จะยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ โดยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศที่ไม่ได้ผูกติดกับเงินดอลลาร์ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่สอง Stagflation คือการที่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐถดถอย พร้อมกับการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง โดยการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนทางการเงินซึ่งมีผลให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำ แม้ว่าการขยายตัวสดใสนั้นจะสูญหายไป
กรณีที่สาม Stagnation คือการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและจะส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่บางประเทศ
ล่าสุด มีรายงานเพิ่มเติมว่า สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอส แอนด์ พี) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐ โดยระบุว่า เมื่อถึงที่สุดแล้ว สถาบันการเงินอาจมีผลขาดทุนจากปัญหาต่อเนื่องในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย คิดเป็นมูลค่าสูงกว่า 265,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ความเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจาก เอส แอนด์ พี เปิดเผยว่า ได้ปรับลด หรืออาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันโดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐ มูลค่า 270,000 ล้านดอลลาร์ และทำการทบทวนโดยอาจมีแนวโน้มปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารซีดีโอ มูลค่า 264,000 ล้านดอลลาร์อีกด้วย