กรรมการสางปัญหาส่วนแบ่งค่าเช่าท่อก๊าซปตท.ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแบ่งเงินรายได้ให้กระทรวงการคลัง 5.7 พันล้านบาทต่อปีจากรายได้รวมค่าผ่านท่อก๊าซทั้งระบบ 1.9 หมื่นล้านบาทต่อปี “ฉลองภพ” ย้ำต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายพร้อมแนะแนวทางนำรายได้ส่วนเกินไปเป็นส่วนลดค่าก๊าซให้กับประชาชน เตรียมเสนอครม.อังคารที่ 22 ม.ค.ต่อไป
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าเช่าท่อก๊าซจากบมจ.ปตท. PTT ได้ข้อสรุปในเบื้อต้นว่า แนวทางการแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าผ่านท่อที่โอนกรรมสิทธิ์คืนมาให้กับกระทรวงการคลังนั้น ปตท.จะส่งรายได้ในส่วนดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังในอัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 5,700 ล้านบาท จากเดิมที่เสนอมา 3.6 พันล้านบาท/ปี
ซึ่งจากข้อมูลที่ปตท.ได้รายงานให้กับที่ประชุมนั้นรายได้ที่เกิดขึ้นจากค่าผ่านท่อทั้งระบบมีประมาณ 19,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อคำนวณสิทธิของกระทรวงการคลังตามการการถือครองท่อก๊าซปตท.จะต้องแบ่งรายได้ให้กับกระทรวงการคลังปีละ 5,700 ล้านบาท ซึ่งส่วนแบ่งดังกล่าวเป็นรายได้รวมทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของระบบท่อ
โดยจะนำตัวเลขดังกล่าวมาเป็นฐานคำนวณค่าเช่าท่อก๊าซที่กรมธนารักษ์จะคิดกับ ปตท.หลังจากที่โอนทรัพย์สินทั้งท่อก๊าซและที่ดินเวนคืนกลับมาให้กับทางการตามคำสั่งของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการพิจารณาเรื่องค่าเช่าท่อก๊าซ ปตท.จะนำข้อเสนอดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง
“การคำนวณรายได้ตามสูตรนี้คิดจากรายได้ส่วนเกินเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงหนี้สินที่ปตท.ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้แล้วส่วนที่เหลือก็จะนำมาแบ่งกันระหว่ากระทรวงการคลัง ปตท. และให้แนวทางไปศึกษาว่าจะช่วยลดภาระให้กับผู้บริโภคโดยวิธีใด ซึ่งการคำนวนตามสูตรนี้คณะทำงานได้พิจารณาถึงความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะปตท.ที่เขาเป็นผู้ลงทุนสร้างท่อก๊าซขึ้นมาจึงควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เหมาะสม” นายฉลองภพกล่าว
รมว.คลังกล่าวว่า ทั้งนี้ในการหารือในครั้งนี้กระทรวงการคลังไม่ต้องการที่จะบีบปตท.ให้จ่ายเงินให้กับกระทรวงการคลังมากที่สุด แต่ต้องการสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายโดยสูตรการคำนวณส่วนแบ่งรายได้นี้เป็นการคิดจากรายได้ส่วนเกินที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปตท.มีรายได้ส่วนเกินมากขึ้นก็จะทำให้ปตท.ได้รับผลตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามหากมีการโอนท่อให้กับกระทรงการคลังเพิ่มเติมในอนาคตก็จะนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการคิดคำนวณ ซึ่งสัดส่วนการแบ่งรายได้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ส่วนเกินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเร่งหาข้อสรุปกรณีดังกล่าวและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2551 ต่อไป
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาค่าเช่าท่อก๊าซจากบมจ.ปตท. PTT ได้ข้อสรุปในเบื้อต้นว่า แนวทางการแบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าผ่านท่อที่โอนกรรมสิทธิ์คืนมาให้กับกระทรวงการคลังนั้น ปตท.จะส่งรายได้ในส่วนดังกล่าวให้กับกระทรวงการคลังในอัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 5,700 ล้านบาท จากเดิมที่เสนอมา 3.6 พันล้านบาท/ปี
ซึ่งจากข้อมูลที่ปตท.ได้รายงานให้กับที่ประชุมนั้นรายได้ที่เกิดขึ้นจากค่าผ่านท่อทั้งระบบมีประมาณ 19,000 ล้านบาทต่อปี เมื่อคำนวณสิทธิของกระทรวงการคลังตามการการถือครองท่อก๊าซปตท.จะต้องแบ่งรายได้ให้กับกระทรวงการคลังปีละ 5,700 ล้านบาท ซึ่งส่วนแบ่งดังกล่าวเป็นรายได้รวมทั้งหมดที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของระบบท่อ
โดยจะนำตัวเลขดังกล่าวมาเป็นฐานคำนวณค่าเช่าท่อก๊าซที่กรมธนารักษ์จะคิดกับ ปตท.หลังจากที่โอนทรัพย์สินทั้งท่อก๊าซและที่ดินเวนคืนกลับมาให้กับทางการตามคำสั่งของศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการพิจารณาเรื่องค่าเช่าท่อก๊าซ ปตท.จะนำข้อเสนอดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง
“การคำนวณรายได้ตามสูตรนี้คิดจากรายได้ส่วนเกินเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงหนี้สินที่ปตท.ต้องจ่ายให้กับเจ้าหนี้แล้วส่วนที่เหลือก็จะนำมาแบ่งกันระหว่ากระทรวงการคลัง ปตท. และให้แนวทางไปศึกษาว่าจะช่วยลดภาระให้กับผู้บริโภคโดยวิธีใด ซึ่งการคำนวนตามสูตรนี้คณะทำงานได้พิจารณาถึงความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายโดยเฉพาะปตท.ที่เขาเป็นผู้ลงทุนสร้างท่อก๊าซขึ้นมาจึงควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เหมาะสม” นายฉลองภพกล่าว
รมว.คลังกล่าวว่า ทั้งนี้ในการหารือในครั้งนี้กระทรวงการคลังไม่ต้องการที่จะบีบปตท.ให้จ่ายเงินให้กับกระทรวงการคลังมากที่สุด แต่ต้องการสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายโดยสูตรการคำนวณส่วนแบ่งรายได้นี้เป็นการคิดจากรายได้ส่วนเกินที่เกิดขึ้น ซึ่งหากปตท.มีรายได้ส่วนเกินมากขึ้นก็จะทำให้ปตท.ได้รับผลตอบแทนมากขึ้นตามไปด้วย
อย่างไรก็ตามหากมีการโอนท่อให้กับกระทรงการคลังเพิ่มเติมในอนาคตก็จะนำแนวทางดังกล่าวมาใช้ในการคิดคำนวณ ซึ่งสัดส่วนการแบ่งรายได้ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามรายได้ส่วนเกินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเร่งหาข้อสรุปกรณีดังกล่าวและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 22 มกราคม 2551 ต่อไป