บ้านปู รายได้ปี 50 หลุดเป้า 7% จากประมาณการที่ 3.3 หมื่นล้านบาท หลังได้รับผลกระทบค่าเงินบาทแข็ง "ชนินท์" ลั่นรายได้ปี 51โตมากกว่า 12% จากความต้องการใช้ถ่านหินพุ่งหนุนราคาปรับตัวสูงกว่า 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน พร้อมตั้งงบลงทุนในจีน-อินโดนีเซีย รวมกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานในปี 2550 ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีรายได้จากการขายลดลงประมาณ 7% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้จะมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2549 ที่มีรายได้รวม 33,378.26 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ส่วนในปี 2551 นี้ บริษัทคาดว่ารายได้จากการขายจะขยายตัวประมาณ 12% เพราะราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสูงกว่า 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากที่ปี 2550 ราคาถ่านหินเฉลี่ยอยู่ที่ 40 เหรียญสหรัฐต่อตัน บวกกับความต้องการใช้ถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงได้ประโยชน์ทางการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ด้านสัดส่วนรายได้ในปีนี้ แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจถ่านหินเพิ่มเป็น 50 % และธุรกิจโรงไฟฟ้า 50% จากปี 2550 รายได้จากธุรกิจถ่านหินอยู่ที่ 30% และธุรกิจโรงไฟฟ้า 70% โดยบริษัทคาดว่าปีนี้จะมีการผลิตถ่านหินจำหน่ายได้จำนวน 20 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2550 เพราะมีการปิดเหมืองต่างๆ เป็นบางแห่ง และบริษัทคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มี 37%
"ในปี 50 บ้านปูได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้รายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 7% แต่ในปีนี้จากการลงทุนในต่างประเทศทำให้มีการซื้อขายเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ทำให้ลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินได้ บวกกับราคาถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยผลักดันให้รายได้ปีนี้ขยายตัวจากปีก่อนมากกว่า 12%" นายชนินท์ กล่าว
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 330 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 11,220 ล้านบาท (คำนวณอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 34 บาท) แบ่งเป็นลงทุนในต่างประเทศ 2 ประเทศ คือ จีน มูลค่า180 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย ลงทุนเหมืองถ่านหิน 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และสร้างโรงไฟฟ้า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีลูกค้ารายใหม่ในประเทศจีน และอินโดนีเซียอีก 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ การลงทุนขยายการลงทุนในเหมือง Basrinto และสร้างโรงงานไฟฟ้าขนาดเล็ก
สำหรับแหล่งเงินที่จะใช้ลงทุนในครั้งนี้ บริษัทจะนำมาจากการชำระคืนเงินกู้ของบริษัทย่อยประมาณ 110 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่บริษัทย่อยดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ส่วนที่เหลือจะนำมาจากกระแสเงินสดและกู้จากสถาบันการเงินที่บริษัทยังสามารถกู้ได้อีกจากที่มีหนี้สินต่อทุน (D/E) ที่ต่ำ
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานในปี 2550 ที่ผ่านมา ว่า บริษัทมีรายได้จากการขายลดลงประมาณ 7% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้จะมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2549 ที่มีรายได้รวม 33,378.26 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ส่วนในปี 2551 นี้ บริษัทคาดว่ารายได้จากการขายจะขยายตัวประมาณ 12% เพราะราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะสูงกว่า 50 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากที่ปี 2550 ราคาถ่านหินเฉลี่ยอยู่ที่ 40 เหรียญสหรัฐต่อตัน บวกกับความต้องการใช้ถ่านหินที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงได้ประโยชน์ทางการที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ด้านสัดส่วนรายได้ในปีนี้ แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจถ่านหินเพิ่มเป็น 50 % และธุรกิจโรงไฟฟ้า 50% จากปี 2550 รายได้จากธุรกิจถ่านหินอยู่ที่ 30% และธุรกิจโรงไฟฟ้า 70% โดยบริษัทคาดว่าปีนี้จะมีการผลิตถ่านหินจำหน่ายได้จำนวน 20 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นระดับเดียวกับปี 2550 เพราะมีการปิดเหมืองต่างๆ เป็นบางแห่ง และบริษัทคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นปีนี้จะทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มี 37%
"ในปี 50 บ้านปูได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ทำให้รายได้ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 7% แต่ในปีนี้จากการลงทุนในต่างประเทศทำให้มีการซื้อขายเป็นเงินสกุลดอลลาร์ ทำให้ลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินได้ บวกกับราคาถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะช่วยผลักดันให้รายได้ปีนี้ขยายตัวจากปีก่อนมากกว่า 12%" นายชนินท์ กล่าว
สำหรับแผนการลงทุนในปีนี้ บริษัทคาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 330 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 11,220 ล้านบาท (คำนวณอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐต่อ 34 บาท) แบ่งเป็นลงทุนในต่างประเทศ 2 ประเทศ คือ จีน มูลค่า180 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย ลงทุนเหมืองถ่านหิน 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และสร้างโรงไฟฟ้า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีลูกค้ารายใหม่ในประเทศจีน และอินโดนีเซียอีก 150 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ การลงทุนขยายการลงทุนในเหมือง Basrinto และสร้างโรงงานไฟฟ้าขนาดเล็ก
สำหรับแหล่งเงินที่จะใช้ลงทุนในครั้งนี้ บริษัทจะนำมาจากการชำระคืนเงินกู้ของบริษัทย่อยประมาณ 110 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่บริษัทย่อยดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย ส่วนที่เหลือจะนำมาจากกระแสเงินสดและกู้จากสถาบันการเงินที่บริษัทยังสามารถกู้ได้อีกจากที่มีหนี้สินต่อทุน (D/E) ที่ต่ำ