คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”
“แวะปั๊มข้างหน้าด้วยนะเก่ง” คุณชูสง่าสั่งพลขับ “ครับเฮีย” เจ้าอ้วนรับคำโดยไม่ต้องถามว่าแวะทำไม? เพราะระยะหลงนี้เฮียชูปวดฉี่บ่อยขึ้นกว่าเก่า และใช้เวลานานกว่าจะฉี่เสร็จ พอให้เจ้าเก่งวิ่งไปซื้อกาแฟร้านคุณอาที่มักตั้งอยู่ใกล้ๆห้องน้ำเกือบทุกครั้ง “ผมว่า...”พี่หมอพูดกับเฮีย “เฮียต้องไปตรวจต่อมลูกหมากดูหน่อยแล้วครับ สว.มักจะต่อมลูกหมากโตทำให้ฉี่ลำบาก” “เออ..ดีเหมือนกัน ยังไม่เคยตรวจเลย เดี๋ยวนี้พอนึกปวดฉี่ก็วิ่งเข้าห้องน้ำไม่ค่อยจะทัน”
ภาวการณ์กลั้นปัสสาวะลำบากหรือปัสสาวะเล็ดในผู้สูงวัย นับเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และก่อให้เกิดความกังวลใจในการเข้าสังม
ความรุนแรงของอาการ เริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริมาณที่ไม่มากนัก ไปจนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาในปริมาณมาก บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ดร่วมด้วย ผู้สูงวัยบางท่านแม้ยังไม่เริ่มมีอาการดังกล่าว แต่ก็อาจเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น
-ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางงคืน
-ปัสสาวะไม่สุด
-รู้สึกอยากจะปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา
การทำงานของกระเพาะปัสสาวะในผู้สูงวัย
-เมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของกระเพาะปัสสาวะเริ่มเสื่อมลง บางรายจะมีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะบ่อยเกินไป โดยไม่สามารถควบคุมได้ หรือในทางกลับกันอาจบีบตัวได้น้อยเกินไปก็เป็นได้
-กล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน และหูรูดเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่สามารถหดตัวหรือคลายตัวได้ตามปกติ
-ปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างหลังปัสสาวะมีปริมาณมากกว่าปกติ
-ในเพศชายภาวะที่พบบ่อยในการเกิดปัสสาวะเล็ด คือต่อมลูกหมากโต
-ในผู้สูงอายุจะมีการสร้างปัสสาวะมากในช่วงกลางคืน
ประเภทของอาการปัสสาวะเล็ด
-อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีอาการไอ จาม เบ่ง (Stress Incontinence) เกิดจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานและหูรูดลดลง แม้ความจุของกระเพาะปัสสาวะยังไม่เต็มที่ก็เกิดการปัสสาวะเล็ดได้
-อาการปัสสาวะเล็ดช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Urge Incontinence) สาเหตุมักเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะบับตัวบ่อยครั้งเกินไป โดยควบคุมไม่ได้ จากปัญหาของระบบประสาทสั่งการผิดปกติ เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม หรือปัญหาที่เกิดจากระบบทางเดินปัสสาวะเอง เช่น นิ่ว เนื้องอก หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
-อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อมีอาการ ไอ จาม เบ่ง และช่วงที่มีอาการอยากปัสสาวะ (Mixed Incontinence) สาเหตุเกิดจากโรคทางระบบประสาท และสมอง ภาวะความจำเสื่อมขั้นรุนแรง หรือปัญหาโรคทางจิตเวช
-อาการปัสสาวะเล็ดเมื่อความจุของกระเพาะปัสสาวะขยายตัวเต็มที่แล้ว (Overflow Incontinence) อาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบ โรคเบาหวาน ปัญหาทางระบบประสาท + ผลข้างเคียงจากยา
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูด
ควรฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูดครั้งละประมาณ 5 วินาที และหยุดขมิบ 10 วินาที โยทำซ้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยแบ่งทำในช่วงเช้า กลางวัน และเย็น เป็นประจำทุกวัน แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้มากขึ้น เพราะจะสามารถช่วยป้องกัน และลดอาการปัสสาวะเล็ดราดได้ แต่หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ