xs
xsm
sm
md
lg

อย่าให้การนอนไม่หลับ ทำลายสุขภาพจนถึงกับหลับไม่ตื่น / พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

วันนี้เจ้าเก่งทำคุณชูสง่าหัวโน เนื่องจากกระทืบเบรกหยุดรถกะทันหัน ก่อนชนคันหน้า เพราะเจ้าอ้วนเกิดอาการ “หลับใน” ขณะขับรถกลับบ้านหลังออกรอบ “กูเห็นมันหาวน้ำหูน้ำตาไหลหลังกินข้าวอิ่ม สงสัยมันดูบอลเมื่อคืน” เฮียบ่นพลางคลำหน้าผากที่บวมแดงเกือบแตก “มันนอนดึกเป็นประจำจนสุขภาพแย่มากเลยครับเฮีย ช่วงนี้” พี่หมอฟ้องด้วยความห่วงใย “ผมกำลังจะปรับการหลับนอนให้มันใหม่ ไม่งั้นอายุสั้นแน่!” เจ้าอ้วนฟังแล้วสะดุ้ง หายง่วง หน้าเหลือสองนิ้ว

ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหานี้รบกวนชีวิตประจำวัน ทำให้การใช้ชีวิตในช่วงกลางวันเป็นไปอย่างขาดประสิทธิภาพ มีอาการง่วงหลับ รู้สึกไม่สดชื่น บางครั้งมีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว อ่อนเพลีย วิตกกังวล กลัวว่าจะนอนไม่หลับ เป็นเหตุเริ่มต้นของการติดยานอนหลับ ลักษณะทางสรีรวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไปในเรื่องของกานนอนหลับของผู้สูงอายุ

1ใช้เวลานานเมื่อหัวถึงหมอนก่อนจะหลับจริง

2ประสิทธิภาพการนอนลดลง เช่น ตื่นกลงดึกบ่อยๆ ตื่นเร็วกว่าปกติ ทำให้ง่วงกลางวัน

ปัจจัยที่ทำให้หลับยากอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน โรงทางอายุรกรรมหรือจิตเวชบางอย่าง ยาที่รับประทานอยู่ นิสัยการนอนที่ไม่ดี สำหรับปัจจัยที่หลายคนไม่ทราบ หรือมองข้ามไปมากที่สุดคือ “โรคของการนอนหลับโดยตรง ซึ่งมีรูปแบบดังนี้

-โรคหยุดหายใจในขณะหลับ มักมีอาการนอนกรน การหายใจมีการหยุดหายใจในขณะหลับโดยหยุดหายใจครั้งละ 10 วินาที เป็นต้นไป แพทย์จะใช้เครื่องมือเฉพาะที่เรียกว่า Polysomnography ในการวินิจฉัยโรค การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง การตอบสนองช้าลง ถ้าเป็นเรื้อรังนานจะเกิดภาวะความดันสูง

-ส่วนสาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับแบ่งเป็น 3 แบบ ตามสาเหตุ คือ

1โรคหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการด้านการหายใจ

2โรคหยุดหายใจขณะหลับที่เกิดจากการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ( Obstructive Sleep apnea) อาการเด่นคือนอนกรน หรือการสำลักขณะหลับ ซึ่งสัมพันธ์กับเสียงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ

3โรคหยุดหายใจขณะหลับจากสาเหตุร่วมกันทั้ง 2 อย่าง (Mixed Sleep apnea) ซึ่งมีสาเหตุสนับสนุนดังต่อไปนี้

-โรคอ้วน เนื่องจากไขมันที่มากขึ้นจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ

-การสูบบุหรี่ โดยสารนิโคตินทำให้เกิดผลเสียของระบบประสาทส่วนกลาง โดยจะเริ่มอัตราการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับสูงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า

-การดื่มสุราและการใช้ยานอนหลับ

-อายุที่เพิ่มขึ้น และโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ เช่น หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หอบหืด

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

1การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก ซึ่งมีประสิทธิภาพมากในปัจจุบัน

2การใส่อุปกรณ์ป้องกันการอุดตันทางเดินหายใจในปาก ในรายที่เป็นน้อยหรือนอนกรน การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หยุดบุหรี่ สุรา ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงหลับ ปรับเปลี่ยนท่านอนเลี่ยงการนอนหงาย เป็นต้น


กำลังโหลดความคิดเห็น