คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
แม้ว่า ทีมชาติไทย จะมีอันดับฟีฟ่าโหล่สุดในบรรดาทีมที่ได้เข้ารอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2018 โซนเอเชีย รอบสุดท้าย แต่คู่แข่งร่วมกลุ่มก็ไม่ได้ประมาท มองข้าม หรือคิดว่าเป็นเพียงทางผ่านง่ายๆแต่อย่างใดทั้งสิ้น กลับเฝ้าคิดอ่านหาแผนการที่จะทำให้พวกเขาได้เปรียบ ทีมชาติไทย มากที่สุด ในขณะที่ฝ่ายเราเองก็ยังต้องค้นหาจุดอ่อนและใช้เวลาในช่วงการเตรียมทีมที่เหลืออยู่อีก 2 เดือนกว่านี้เร่ง “อั๊พเกรด” เป็นเวอร์เชิ่นใหม่ๆเพื่อผ่านเข้าไปเล่น ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ให้ได้
เปิดฉากมาวันที่ 1 กันยายนนี้ ซาอูดี อาราเบีย จัดสนามกษัตริย์ฟาฮัด (King Fahd International Stadium) ในกรุงริย้าด (Riyadh) ที่จุแฟนบอลได้ถึง 68,752 คนไว้ต้อนรับ ไทย เรื่องสำคัญคือถึงตอนนั้นที่นั่นอากาศจะร้อนแห้ง อุณหภูมิสูง 45-47 องศา เซลเซียส ผมเคยพำนักอยู่ ฝรั่งเศส ซึ่งอากาศแห้ง ไม่มีความชื้นมาช่วย แม้อุณหภูมิแค่ 30 องศา แต่มันก็ทำให้รู้สึกร้อนแสบคอได้เท่าๆกับอากาศขนาด 40 องศาใน ประเทศไทย เลยทีเดียว ดังนั้น อากาศที่ร้อนแห้งเกือบ 50 องศาจะเป็นอย่างไร น่าจะเดาออกนะครับ ทีมนักเตะไทยคงต้องไปปักหลักเพื่อปรับตัวกันนานทีเดียว ตลอดจนหาหนทางดับร้อนให้ดี หา อินทผลัม มากินให้มากๆแบบคนท้องถิ่นด้วยก็แล้วกันครับ
อีรัก ซึ่งยังถูก ฟีฟ่า แบนสนามแข่งขันในบ้านตนเองกำลังเล็ง อีหม่าม เรซา สเตเดี้ยม (Imam Reza Stadium) ซึ่งสร้างใหม่สดๆซิงๆ ตั้งอยู่ในเมืองมัชฮ้าด (Mashhad) ทางตอนเหนือของ อีหร่าน ไว้ต้อนรับ ทีมชาติไทย ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ อากาศมันจะหนาวเย็นเล็กน้อย แฟนบอลเข้ามาเชียร์ได้มากกว่าสนามเดิมที่เขาเคยใช้ถึง 4 เท่าตัว เนื่องจากจุผู้ชมได้ 35,800 คน แต่ปัญหาใหญ่คือการเดินทางหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันที่ สหรัฐ อาหรับ เอมีเรทส์ ในวันที่ 6 ตุลาคมที่เขาว่าต้องนั่งเครื่องบิน มีการต่อเครื่อง แล้วนั่งรถบัสต่ออีก ซึ่งเรื่องนี้ผู้จัดการทีมคงต้องจัดเตรียมการให้ดี หาหนทางมิให้นักเตะของเราต้องเหนื่อยล้า บักโกรก จากการเดินทาง
เรื่องฝีเท้าและแผนการเล่น แฟนบอลไม่น้อยคงมองเห็นว่าหากเราคงนำสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ไปแข่งกับเขา น่าจะผ่านลำบาก มีหลายประการที่จะต้อง “อั๊พเกรด” เรื่องแรกคือสร้างความฟิท อันนี้เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่นักเตะแต่ละคนต้องมีวินัย เพื่อให้มีเรี่ยวแรงตลอดเกม และที่สำคัญ หากจะกดดันคู่แข่งไม่ให้สร้างสรรค์เกมได้อย่างสะดวกด้วยการเพร้สซิ่ง (Pressing) ปรี่เข้าถึงตัวคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วตลอด ทำให้เขาต้องคายบอลอย่างรวดเร็ว ไม่อาจมีเวลาปั้นเกมให้เป็นรูปเป็นร่างได้ อันตรายก็จะน้อยลง
เรื่องทักษะส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่จะต้องเพิ่มพูนอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะ การจับบอล ฝึกส่ง ฝึกยิง ฝึกโหม่งให้ตรงเป้าหมาย และใช้จังหวะให้น้อยที่สุด หรือระบบ “วัน ทัช” ผมไม่เคยเห็นด้วยกับการฝึกซ้อมฟุตบอลแบบไทยๆที่มักปล่อยให้นักเตะจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าเอาเองโดยไม่ได้คิดมาก่อน ไม่ได้ฝึกซ้อมมาก่อน ไม่มีลูกทีเด็ดไม้ตาย เป็นการด้นเอาสดๆแล้วแต่บุญแต่กรรม เรียกว่า อิมโพรว้ายส์ (Improvise) แต่เราควรฝึกซ้อมแบบมีการชี้เป้าเอาไว้หลายๆทางเลือก แล้วนักเตะค่อยตัดสินใจเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์
การซ้อมลูกสูตรเก็บไว้หลายๆแพ็คเกจให้มีทางเลือก 2-3 ทางเสมอ เป็นสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า ค็อมบายน์ด ทีม เพลย์ (Combined team play) โดยเฉพาะการเข้าทำประตูแบบ 3 คน (Three-man move) และการบุกสวนกลับอย่างรวดเร็ว (Quick counter-attack) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทีมชั้นนำระดับโลกเขาฝึกซ้อมกันเป็นประจำ โดยเฉพาะปรัชญาของฟุตบอลที่ผมอยากให้นักเตะไทยยึดถือก็คือ “เอ็งต้องรู้ก่อนนะว่าจะส่งบอลให้ใคร ก่อนที่เอ็งจะได้รับบอล”
ผมอยากให้เราใช้เวลาในการเตรียมตัว 5 เดือนซึ่งตอนนี้เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้ว นำสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปปรับจูนทีมให้เป็นประโยชน์ ถูกจุด ถูกเป้า มากที่สุด สิ่งใดที่ทีมชาติไทยหรือนักเตะแต่ละคนขาด ทำไม่ได้เหมือนนักเตะระดับโลก เราก็เติมมันตรงนั้น ฝึกมันตรงนั้น แม้ไม่ได้ 100 เพอร์เซ็นท์ มันก็ยังเป็นการ “อั๊พเกรด” ขึ้นมาได้ดีกว่าสภาพเดิมอย่างแน่นอน แล้วแทนที่ ทีมชาติไทย จะทำได้แค่ไปเก็บแต้มเปาะแปะ แต่มันจะกลับกลายเป็นมีลุ้นเข้าไปเล่นใน ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย อย่างทีมเต็งที่น่ากลัวจริงๆทีมหนึ่งทีเดียว
แม้ว่า ทีมชาติไทย จะมีอันดับฟีฟ่าโหล่สุดในบรรดาทีมที่ได้เข้ารอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก 2018 โซนเอเชีย รอบสุดท้าย แต่คู่แข่งร่วมกลุ่มก็ไม่ได้ประมาท มองข้าม หรือคิดว่าเป็นเพียงทางผ่านง่ายๆแต่อย่างใดทั้งสิ้น กลับเฝ้าคิดอ่านหาแผนการที่จะทำให้พวกเขาได้เปรียบ ทีมชาติไทย มากที่สุด ในขณะที่ฝ่ายเราเองก็ยังต้องค้นหาจุดอ่อนและใช้เวลาในช่วงการเตรียมทีมที่เหลืออยู่อีก 2 เดือนกว่านี้เร่ง “อั๊พเกรด” เป็นเวอร์เชิ่นใหม่ๆเพื่อผ่านเข้าไปเล่น ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย ให้ได้
เปิดฉากมาวันที่ 1 กันยายนนี้ ซาอูดี อาราเบีย จัดสนามกษัตริย์ฟาฮัด (King Fahd International Stadium) ในกรุงริย้าด (Riyadh) ที่จุแฟนบอลได้ถึง 68,752 คนไว้ต้อนรับ ไทย เรื่องสำคัญคือถึงตอนนั้นที่นั่นอากาศจะร้อนแห้ง อุณหภูมิสูง 45-47 องศา เซลเซียส ผมเคยพำนักอยู่ ฝรั่งเศส ซึ่งอากาศแห้ง ไม่มีความชื้นมาช่วย แม้อุณหภูมิแค่ 30 องศา แต่มันก็ทำให้รู้สึกร้อนแสบคอได้เท่าๆกับอากาศขนาด 40 องศาใน ประเทศไทย เลยทีเดียว ดังนั้น อากาศที่ร้อนแห้งเกือบ 50 องศาจะเป็นอย่างไร น่าจะเดาออกนะครับ ทีมนักเตะไทยคงต้องไปปักหลักเพื่อปรับตัวกันนานทีเดียว ตลอดจนหาหนทางดับร้อนให้ดี หา อินทผลัม มากินให้มากๆแบบคนท้องถิ่นด้วยก็แล้วกันครับ
อีรัก ซึ่งยังถูก ฟีฟ่า แบนสนามแข่งขันในบ้านตนเองกำลังเล็ง อีหม่าม เรซา สเตเดี้ยม (Imam Reza Stadium) ซึ่งสร้างใหม่สดๆซิงๆ ตั้งอยู่ในเมืองมัชฮ้าด (Mashhad) ทางตอนเหนือของ อีหร่าน ไว้ต้อนรับ ทีมชาติไทย ในวันที่ 11 ตุลาคมนี้ อากาศมันจะหนาวเย็นเล็กน้อย แฟนบอลเข้ามาเชียร์ได้มากกว่าสนามเดิมที่เขาเคยใช้ถึง 4 เท่าตัว เนื่องจากจุผู้ชมได้ 35,800 คน แต่ปัญหาใหญ่คือการเดินทางหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันที่ สหรัฐ อาหรับ เอมีเรทส์ ในวันที่ 6 ตุลาคมที่เขาว่าต้องนั่งเครื่องบิน มีการต่อเครื่อง แล้วนั่งรถบัสต่ออีก ซึ่งเรื่องนี้ผู้จัดการทีมคงต้องจัดเตรียมการให้ดี หาหนทางมิให้นักเตะของเราต้องเหนื่อยล้า บักโกรก จากการเดินทาง
เรื่องฝีเท้าและแผนการเล่น แฟนบอลไม่น้อยคงมองเห็นว่าหากเราคงนำสภาพที่เป็นอยู่ขณะนี้ไปแข่งกับเขา น่าจะผ่านลำบาก มีหลายประการที่จะต้อง “อั๊พเกรด” เรื่องแรกคือสร้างความฟิท อันนี้เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่นักเตะแต่ละคนต้องมีวินัย เพื่อให้มีเรี่ยวแรงตลอดเกม และที่สำคัญ หากจะกดดันคู่แข่งไม่ให้สร้างสรรค์เกมได้อย่างสะดวกด้วยการเพร้สซิ่ง (Pressing) ปรี่เข้าถึงตัวคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วตลอด ทำให้เขาต้องคายบอลอย่างรวดเร็ว ไม่อาจมีเวลาปั้นเกมให้เป็นรูปเป็นร่างได้ อันตรายก็จะน้อยลง
เรื่องทักษะส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่จะต้องเพิ่มพูนอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะ การจับบอล ฝึกส่ง ฝึกยิง ฝึกโหม่งให้ตรงเป้าหมาย และใช้จังหวะให้น้อยที่สุด หรือระบบ “วัน ทัช” ผมไม่เคยเห็นด้วยกับการฝึกซ้อมฟุตบอลแบบไทยๆที่มักปล่อยให้นักเตะจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าเอาเองโดยไม่ได้คิดมาก่อน ไม่ได้ฝึกซ้อมมาก่อน ไม่มีลูกทีเด็ดไม้ตาย เป็นการด้นเอาสดๆแล้วแต่บุญแต่กรรม เรียกว่า อิมโพรว้ายส์ (Improvise) แต่เราควรฝึกซ้อมแบบมีการชี้เป้าเอาไว้หลายๆทางเลือก แล้วนักเตะค่อยตัดสินใจเลือกใช้ได้ตามสถานการณ์
การซ้อมลูกสูตรเก็บไว้หลายๆแพ็คเกจให้มีทางเลือก 2-3 ทางเสมอ เป็นสิ่งที่ฝรั่งเรียกว่า ค็อมบายน์ด ทีม เพลย์ (Combined team play) โดยเฉพาะการเข้าทำประตูแบบ 3 คน (Three-man move) และการบุกสวนกลับอย่างรวดเร็ว (Quick counter-attack) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทีมชั้นนำระดับโลกเขาฝึกซ้อมกันเป็นประจำ โดยเฉพาะปรัชญาของฟุตบอลที่ผมอยากให้นักเตะไทยยึดถือก็คือ “เอ็งต้องรู้ก่อนนะว่าจะส่งบอลให้ใคร ก่อนที่เอ็งจะได้รับบอล”
ผมอยากให้เราใช้เวลาในการเตรียมตัว 5 เดือนซึ่งตอนนี้เวลาผ่านไปครึ่งหนึ่งแล้ว นำสิ่งต่างๆเหล่านี้ไปปรับจูนทีมให้เป็นประโยชน์ ถูกจุด ถูกเป้า มากที่สุด สิ่งใดที่ทีมชาติไทยหรือนักเตะแต่ละคนขาด ทำไม่ได้เหมือนนักเตะระดับโลก เราก็เติมมันตรงนั้น ฝึกมันตรงนั้น แม้ไม่ได้ 100 เพอร์เซ็นท์ มันก็ยังเป็นการ “อั๊พเกรด” ขึ้นมาได้ดีกว่าสภาพเดิมอย่างแน่นอน แล้วแทนที่ ทีมชาติไทย จะทำได้แค่ไปเก็บแต้มเปาะแปะ แต่มันจะกลับกลายเป็นมีลุ้นเข้าไปเล่นใน ฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย อย่างทีมเต็งที่น่ากลัวจริงๆทีมหนึ่งทีเดียว