คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ในวันพรุ่งนี้ พฤหัสบดีที่ 17 กันยายน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ โดยส่งร่างข้อบังคับลักษณะปกครองของสมาคมฯ ฉบับใหม่ ที่อ้างว่าได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้สโมสรสมาชิกพิจารณา เพื่อจะได้นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การกีฬาแห่งประเทศไทย ทำให้ผมมีข้อสงสัยและเกิดคำถามขึ้นบางประการ
ข้อแรกเลยคือ เรื่องตัวแทนและการออกเสียงลงคะแนน ที่บอกว่า การออกเสียงลงคะแนนใดๆในที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยตัวแทนจำนวน 72 คน ซึ่งจัดสรรให้สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขัน โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย 18 เสียง อันนี้เขามี 18 ทีมก็มีตัวแทนสโมสรละ 1 คน ออกเสียงได้คนละ 1 เสียง ไม่มีปัญหาอะไร
ในระดับดิวิเชิ่น 1 ก็หลักเดียวกัน มีการกำหนดให้ 18 สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันมีสิทธิ์มีเสียง แต่ทว่าในปีนี้ ยามาฮ่า ลีก วัน มีสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันอยู่ถึง 20 ทีม คำถามจึงเกิดขึ้นว่า แล้ว 2 สโมสรไหนจะไม่มีสิทธิ์ สโมสรดังกล่าวมีอะไรที่ด้อยกว่าหรือไม่ถูกต้องอย่างไรเมื่อเปรียบกับอีก 18 สโมสร ถ้าจะไปตัดสิทธิ์เขา มันจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
ประการต่อมาก็คือ สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิเชิ่น 2 ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 โซน และกำหนดให้แต่ละลีกภูมิภาคเลือกตัวแทน ภาคละ 5 สโมสร เข้ามาลงคะแนนได้สโมสรละ 1 คน รวมเป็น 30 สโมสร อันนี้ผมว่า เราเคยได้ข้อสรุปที่การให้สิทธิ์ทีมที่จบการแข่งขันที่ 5 อันดับแรกของแต่ละโซนมิใช่หรือ แม้ ฟีฟ่า เองยังเห็นว่า วิธีนี้เป็นธรรมดีนะ อันนี้จะคล้ายกับเสียงที่เหลืออีก 6 เสียงที่จัดสรรให้ทีมที่คว้า 2 อันดับแรกใน ถ้วย ข. ค. และ ง.
ผมกังวัลเรื่องนี้เป็นพิเศษก็เพราะ การให้สิทธิ์โซนละ 5 เสียงนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนๆด้วยการลดจำนวนตัวแทนในระดับนี้ลง เนื่องจากมีสโมสรสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่มาแต่ชื่อ ตลอดทั้งปีแทบจะไม่ได้ร่วมกิจกรรมอะไรในวงการฟุตบอลเลย พอถึงคราวเลือกตั้งก็โผล่หัวมาให้เห็น หรือดันมอบฉันทะ ขายตัว ขายสิทธิ์ ซะงั้น
แต่ถ้าจะให้แฟร์จริงๆ เป็นไปด้วยความยุติธรรม ไม่ได้เลือกที่รักมักที่ชัง ก็ควรจะให้สิทธิ์ทีมที่ติด 5 อันดับแรกของแต่ละโซนมากกว่า จะได้ไม่มีใครรู้ได้ว่าทีมไหนที่จะได้สิทธิ์นั้นบ้าง แต่ถ้าเอ็งให้แต่ละโซนลงคะแนนเลือกกันเอง อย่างนี้มันก็เตี๊ยมกันได้ คนที่มีอำนาจควบคุม ลีกภูมิภาค นั่นแหละที่สามารถบงการได้ จะเอาทีมไหน อยากได้ทีมที่อยู่ฝั่งใคร ก็จัดการให้ร่วมกันโหวทเลือก 5 ทีมดังกล่าว อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวแทน ภาคละ 5 สโมสร ในแต่ละโซน รวมกันก็ 30 เสียงแล้ว พวกนี้นอกจากจะลงคะแนนรับรองข้อบังคับลักษณะปกครองสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่ ซึ่งจะเขียนอย่างไรก็ได้ เพราะกุมเสียงในมือซะอย่าง พวกนี้นี่เองที่ยังจะไปทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคมนี้อีก อย่างนี้ ใครบงการ ลีกภูมิภาค ดิวิเชิ่น 2 ได้ก็จัดสรรคะแนนเนื้อๆให้คนสนิทเป็นนายกสมาคมฯ อย่างเบ็ดเสร็จ
ผมได้ยินการส่งเสียงไม่ชอบใจในเรื่องนี้ออกมาแล้ว บางคนบอกว่า มันเป็นการเอาเปรียบ และทำให้ยากที่การบริหารสมาคมฯ จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หากการลงมติรับรอง ข้อบังคับลักษณะปกครองสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ผ่านไปได้ มันจะหมายถึงการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ในอีก 1 เดือน เราก็จะมีนายกสมาคมฯ ที่คุณก็รู้ว่าเป็นใครอย่างแน่นอน ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่การประชุมวันที่ 17 กันยายนนี้ จะเกิดเหตุการณ์สักอย่างสองอย่างที่จะทำให้ไม่มีการรับรองข้อบังคับฉบับใหม่ และเมื่อถึงวันที่ 17 ตุลาคม ก็อาจต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยเข้ามาดูแลการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติ ครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!***
ในวันพรุ่งนี้ พฤหัสบดีที่ 17 กันยายน สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดให้มีการประชุมใหญ่พิเศษ โดยส่งร่างข้อบังคับลักษณะปกครองของสมาคมฯ ฉบับใหม่ ที่อ้างว่าได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้สโมสรสมาชิกพิจารณา เพื่อจะได้นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน การกีฬาแห่งประเทศไทย ทำให้ผมมีข้อสงสัยและเกิดคำถามขึ้นบางประการ
ข้อแรกเลยคือ เรื่องตัวแทนและการออกเสียงลงคะแนน ที่บอกว่า การออกเสียงลงคะแนนใดๆในที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยตัวแทนจำนวน 72 คน ซึ่งจัดสรรให้สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขัน โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของไทย 18 เสียง อันนี้เขามี 18 ทีมก็มีตัวแทนสโมสรละ 1 คน ออกเสียงได้คนละ 1 เสียง ไม่มีปัญหาอะไร
ในระดับดิวิเชิ่น 1 ก็หลักเดียวกัน มีการกำหนดให้ 18 สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันมีสิทธิ์มีเสียง แต่ทว่าในปีนี้ ยามาฮ่า ลีก วัน มีสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันอยู่ถึง 20 ทีม คำถามจึงเกิดขึ้นว่า แล้ว 2 สโมสรไหนจะไม่มีสิทธิ์ สโมสรดังกล่าวมีอะไรที่ด้อยกว่าหรือไม่ถูกต้องอย่างไรเมื่อเปรียบกับอีก 18 สโมสร ถ้าจะไปตัดสิทธิ์เขา มันจะถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
ประการต่อมาก็คือ สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิเชิ่น 2 ซึ่งในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 6 โซน และกำหนดให้แต่ละลีกภูมิภาคเลือกตัวแทน ภาคละ 5 สโมสร เข้ามาลงคะแนนได้สโมสรละ 1 คน รวมเป็น 30 สโมสร อันนี้ผมว่า เราเคยได้ข้อสรุปที่การให้สิทธิ์ทีมที่จบการแข่งขันที่ 5 อันดับแรกของแต่ละโซนมิใช่หรือ แม้ ฟีฟ่า เองยังเห็นว่า วิธีนี้เป็นธรรมดีนะ อันนี้จะคล้ายกับเสียงที่เหลืออีก 6 เสียงที่จัดสรรให้ทีมที่คว้า 2 อันดับแรกใน ถ้วย ข. ค. และ ง.
ผมกังวัลเรื่องนี้เป็นพิเศษก็เพราะ การให้สิทธิ์โซนละ 5 เสียงนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนๆด้วยการลดจำนวนตัวแทนในระดับนี้ลง เนื่องจากมีสโมสรสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่มาแต่ชื่อ ตลอดทั้งปีแทบจะไม่ได้ร่วมกิจกรรมอะไรในวงการฟุตบอลเลย พอถึงคราวเลือกตั้งก็โผล่หัวมาให้เห็น หรือดันมอบฉันทะ ขายตัว ขายสิทธิ์ ซะงั้น
แต่ถ้าจะให้แฟร์จริงๆ เป็นไปด้วยความยุติธรรม ไม่ได้เลือกที่รักมักที่ชัง ก็ควรจะให้สิทธิ์ทีมที่ติด 5 อันดับแรกของแต่ละโซนมากกว่า จะได้ไม่มีใครรู้ได้ว่าทีมไหนที่จะได้สิทธิ์นั้นบ้าง แต่ถ้าเอ็งให้แต่ละโซนลงคะแนนเลือกกันเอง อย่างนี้มันก็เตี๊ยมกันได้ คนที่มีอำนาจควบคุม ลีกภูมิภาค นั่นแหละที่สามารถบงการได้ จะเอาทีมไหน อยากได้ทีมที่อยู่ฝั่งใคร ก็จัดการให้ร่วมกันโหวทเลือก 5 ทีมดังกล่าว อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวแทน ภาคละ 5 สโมสร ในแต่ละโซน รวมกันก็ 30 เสียงแล้ว พวกนี้นอกจากจะลงคะแนนรับรองข้อบังคับลักษณะปกครองสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่ ซึ่งจะเขียนอย่างไรก็ได้ เพราะกุมเสียงในมือซะอย่าง พวกนี้นี่เองที่ยังจะไปทำหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคมนี้อีก อย่างนี้ ใครบงการ ลีกภูมิภาค ดิวิเชิ่น 2 ได้ก็จัดสรรคะแนนเนื้อๆให้คนสนิทเป็นนายกสมาคมฯ อย่างเบ็ดเสร็จ
ผมได้ยินการส่งเสียงไม่ชอบใจในเรื่องนี้ออกมาแล้ว บางคนบอกว่า มันเป็นการเอาเปรียบ และทำให้ยากที่การบริหารสมาคมฯ จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี หากการลงมติรับรอง ข้อบังคับลักษณะปกครองสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ผ่านไปได้ มันจะหมายถึงการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ในอีก 1 เดือน เราก็จะมีนายกสมาคมฯ ที่คุณก็รู้ว่าเป็นใครอย่างแน่นอน ดังนั้น อาจเป็นไปได้ที่การประชุมวันที่ 17 กันยายนนี้ จะเกิดเหตุการณ์สักอย่างสองอย่างที่จะทำให้ไม่มีการรับรองข้อบังคับฉบับใหม่ และเมื่อถึงวันที่ 17 ตุลาคม ก็อาจต้องอาศัยเจ้าหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยเข้ามาดูแลการเลือกตั้งนายกสมาคมฯ ตามที่กำหนดใน พระราชบัญญัติ ครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!***