คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
การเลือกตั้งประธาน สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า คนใหม่ ที่ถูกกำหนดไว้ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016 นั้น จนถึงตอนนี้มีผู้ประกาศตัวที่น่าสนใจ 3 คนคือ มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ๊ฟฟ่า ชาวฝรั่งเศส เจ้าชาย อาลี บิน ฮุสเซน (Ali bin Hussein) แห่ง จอร์แดน และล่าสุด ช็อง มง จุน (Chung Mong-joon) นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ ที่เพิ่งประกาศตัวในการแถลงข่าวที่กรุงปารี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้เอง
นอกจากที่กล่าวมา ยังมีอีกหลายรายที่เปรยๆออกมา เช่น อารตูร อ็องตูเน้ช โกอิมบรา (Arthur Antunes Coimbra) อดีตตำนานนักเตะชาวบราซิวในยุค 80-90 วัย 62 ปี ซึ่งถ้าบอกแค่นี้คนคงไม่รู้จัก หมอนี่คือนักเตะที่ใช้ชื่อในอาชีพค้าแข้งว่า ซิโก้ (Zico) นั่นเอง เดวิด แน็คขิด (David Nakhid) อดีตนักเตะทีมชาติ ทรีนีแดด แอนด์ โทเบโก มูซา บิลิตี (Musa Bility) นายกสมาคมฟุตบอลแห่งไลบีเรีย และ โตเกียว เซ็กซเวล (Tokyo Sexwale) นักการเมืองชาวอัฟริกาใต้ ซึ่งล้วนแต่ไม่น่าจะได้รับเสียงโหวทอย่างเป็นกอบเป็นกำจนมีความโดดเด่นเท่ากับ 3 รายข้างต้น
เมื่อตอนที่ เจ้าชาย อาลี บิน ฮุสเซน ลงชิงชัยกับ โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ (Joseph Blatter) ที่ ซูริค เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น เขาได้รับคะแนนเสียง 73 คะแนน ส่วน เซ้พ ได้ 133 แม้ว่าคะแนนของ เซ้พ ยังไม่ได้ถึง 2 ใน 3 ตามข้อบังคับก็ต้องมีการลงคะแนนกันอีกในรอบที่สอง แต่เจ้าชายแห่งจอร์แดนก็ขอยอมแพ้ซะก่อน ซึ่งจากตัวเลขที่เห็นนั้น คะแนนที่เจ้าชายได้รับร่วม 50 คะแนนมาจากการสนับสนุนของ ยูเอ๊ฟฟ่า ของ มีเชล ปลาตีนี แล้วนี่คราวนี้ เซ้พ ประกาศลาออก ก็เหลือให้แข่งกันเอง เจ้าชายจึงออกมาประกาศตัดเยื่อใยไปเลยว่า มีเชล เป็นรากเหง้า ใกล้ชิดกับผู้บริหารเก่าที่จะต้องยกชุดออกไป ไม่เช่นนั้นการปฏิรูปเนื่องด้วยปัญหาทุจริตในองค์กรจะไม่อาจกระทำได้อย่างสัมฤทธิ์ผล อันนี้ ผมเชื่อว่า เมื่อ มีเชล ลงชิงชัยเสียเอง คะแนนจาก ยูเอ๊ฟฟ่า ที่หมอนี่เป็นประธานอยู่ก็จะกลับมาทางเขา เจ้าชายคงเหลือเพียงคะแนนเปาะแปะครับ
ช็อง มง จุน มหาเศรษฐีวัย 63 ปี เป็นทายาทของ เชินแด หรือที่พี่ไทยเรียกว่า ฮุนได ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกและเป็นสปอนเซ่อร์ของ ฟีฟ่า เคยเป็นรองประธาน ฟีฟ่า ในช่วงปี 1994 - 2011 เคยเป็นนายกสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้ ในช่วงปี 1993 - 2009 ซึ่งในปัจจุบันได้รับโหวทให้เป็นรองประธานกิตติมศักดิ์ของ ฟีฟ่า เขาพูดถึง นาโปเลองลูกหนังแบบเดียวกันกับเจ้าชายแห่งจอร์แดน โดยบอกว่า ปลาตีนี มีความใกล้ชิดกับ เซ้พ เกินไป แล้วจะไปปฏิรูปได้อย่างไร
นักธุรกิจผู้มีดีกรีปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาบอกว่า ฟีฟ่า กลายเป็นองค์กรที่มีการทุจริตก็เพราะว่ามีผู้บริหารที่เป็นแก๊งค์เป็นก๊วนเดียวกันมาอย่างยาวนานร่วม 40 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1974-1998 ที่ โจเอา อาเวลั้นช์ (Joao Havelange) เป็นประธาน ฟีฟ่า แล้วต่อด้วยเลขาธิการคู่ใจ โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ ขึ้นชั้นมาเป็นประธานคนต่อไป การเลือกตั้งหนนี้แหละจะชี้ว่าเราจะให้ระบบทุจริตอย่างนี้ยังคงอยู่ต่อไปอีกหรือไม่
ในเรื่องนโยบายของ ช็อง ทั่วๆไปก็ดูท่าว่าจะเป็นการเอาใจชาติสมาชิกเล็กๆหรือหาเสียง หาพวก ก็คือ เรื่องเพิ่มโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาติสมาชิก ทำให้เวทีอภิปรายปัญหาต่างๆเป็นเวทีเปิด และให้สตรีมีส่วนในการบริหารในทุกระดับของ ฟีฟ่า ให้มากกว่านี้
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องความโปร่งใส ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือผลประโยชน์ส่วนตนที่ ฟีฟ่า ขาด อันนี้ความจริง สมาคมฟุตบอลของไทย ก็ขาดอย่างมากด้วยคือ นอกจากจะยืนยันว่า หากเขาได้รับเลือกเป็นประธาน ฟีฟ่า เขาจะอยู่ในตำแหน่งเพียงวาระเดียว ไม่อยู่ยาวดักดานอย่างแน่นอน เขายังจะดำเนินการให้ ตัวประธาน คณะกรรมการบริหาร และฝ่ายตุลาการ มีอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้ พวกเงินเดือน โบนัส ค่าใช้จ่ายของคนเป็นประธาน ฟีฟ่า นั้น ต้องถูกเปิดเผยต่อสาธารณะครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
การเลือกตั้งประธาน สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า คนใหม่ ที่ถูกกำหนดไว้ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2016 นั้น จนถึงตอนนี้มีผู้ประกาศตัวที่น่าสนใจ 3 คนคือ มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานสหสมาคมฟุตบอลยุโรป หรือ ยูเอ๊ฟฟ่า ชาวฝรั่งเศส เจ้าชาย อาลี บิน ฮุสเซน (Ali bin Hussein) แห่ง จอร์แดน และล่าสุด ช็อง มง จุน (Chung Mong-joon) นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ ที่เพิ่งประกาศตัวในการแถลงข่าวที่กรุงปารี ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานี้เอง
นอกจากที่กล่าวมา ยังมีอีกหลายรายที่เปรยๆออกมา เช่น อารตูร อ็องตูเน้ช โกอิมบรา (Arthur Antunes Coimbra) อดีตตำนานนักเตะชาวบราซิวในยุค 80-90 วัย 62 ปี ซึ่งถ้าบอกแค่นี้คนคงไม่รู้จัก หมอนี่คือนักเตะที่ใช้ชื่อในอาชีพค้าแข้งว่า ซิโก้ (Zico) นั่นเอง เดวิด แน็คขิด (David Nakhid) อดีตนักเตะทีมชาติ ทรีนีแดด แอนด์ โทเบโก มูซา บิลิตี (Musa Bility) นายกสมาคมฟุตบอลแห่งไลบีเรีย และ โตเกียว เซ็กซเวล (Tokyo Sexwale) นักการเมืองชาวอัฟริกาใต้ ซึ่งล้วนแต่ไม่น่าจะได้รับเสียงโหวทอย่างเป็นกอบเป็นกำจนมีความโดดเด่นเท่ากับ 3 รายข้างต้น
เมื่อตอนที่ เจ้าชาย อาลี บิน ฮุสเซน ลงชิงชัยกับ โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ (Joseph Blatter) ที่ ซูริค เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมานั้น เขาได้รับคะแนนเสียง 73 คะแนน ส่วน เซ้พ ได้ 133 แม้ว่าคะแนนของ เซ้พ ยังไม่ได้ถึง 2 ใน 3 ตามข้อบังคับก็ต้องมีการลงคะแนนกันอีกในรอบที่สอง แต่เจ้าชายแห่งจอร์แดนก็ขอยอมแพ้ซะก่อน ซึ่งจากตัวเลขที่เห็นนั้น คะแนนที่เจ้าชายได้รับร่วม 50 คะแนนมาจากการสนับสนุนของ ยูเอ๊ฟฟ่า ของ มีเชล ปลาตีนี แล้วนี่คราวนี้ เซ้พ ประกาศลาออก ก็เหลือให้แข่งกันเอง เจ้าชายจึงออกมาประกาศตัดเยื่อใยไปเลยว่า มีเชล เป็นรากเหง้า ใกล้ชิดกับผู้บริหารเก่าที่จะต้องยกชุดออกไป ไม่เช่นนั้นการปฏิรูปเนื่องด้วยปัญหาทุจริตในองค์กรจะไม่อาจกระทำได้อย่างสัมฤทธิ์ผล อันนี้ ผมเชื่อว่า เมื่อ มีเชล ลงชิงชัยเสียเอง คะแนนจาก ยูเอ๊ฟฟ่า ที่หมอนี่เป็นประธานอยู่ก็จะกลับมาทางเขา เจ้าชายคงเหลือเพียงคะแนนเปาะแปะครับ
ช็อง มง จุน มหาเศรษฐีวัย 63 ปี เป็นทายาทของ เชินแด หรือที่พี่ไทยเรียกว่า ฮุนได ธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลกและเป็นสปอนเซ่อร์ของ ฟีฟ่า เคยเป็นรองประธาน ฟีฟ่า ในช่วงปี 1994 - 2011 เคยเป็นนายกสมาคมฟุตบอลเกาหลีใต้ ในช่วงปี 1993 - 2009 ซึ่งในปัจจุบันได้รับโหวทให้เป็นรองประธานกิตติมศักดิ์ของ ฟีฟ่า เขาพูดถึง นาโปเลองลูกหนังแบบเดียวกันกับเจ้าชายแห่งจอร์แดน โดยบอกว่า ปลาตีนี มีความใกล้ชิดกับ เซ้พ เกินไป แล้วจะไปปฏิรูปได้อย่างไร
นักธุรกิจผู้มีดีกรีปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาบอกว่า ฟีฟ่า กลายเป็นองค์กรที่มีการทุจริตก็เพราะว่ามีผู้บริหารที่เป็นแก๊งค์เป็นก๊วนเดียวกันมาอย่างยาวนานร่วม 40 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 1974-1998 ที่ โจเอา อาเวลั้นช์ (Joao Havelange) เป็นประธาน ฟีฟ่า แล้วต่อด้วยเลขาธิการคู่ใจ โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ ขึ้นชั้นมาเป็นประธานคนต่อไป การเลือกตั้งหนนี้แหละจะชี้ว่าเราจะให้ระบบทุจริตอย่างนี้ยังคงอยู่ต่อไปอีกหรือไม่
ในเรื่องนโยบายของ ช็อง ทั่วๆไปก็ดูท่าว่าจะเป็นการเอาใจชาติสมาชิกเล็กๆหรือหาเสียง หาพวก ก็คือ เรื่องเพิ่มโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาติสมาชิก ทำให้เวทีอภิปรายปัญหาต่างๆเป็นเวทีเปิด และให้สตรีมีส่วนในการบริหารในทุกระดับของ ฟีฟ่า ให้มากกว่านี้
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องความโปร่งใส ไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือผลประโยชน์ส่วนตนที่ ฟีฟ่า ขาด อันนี้ความจริง สมาคมฟุตบอลของไทย ก็ขาดอย่างมากด้วยคือ นอกจากจะยืนยันว่า หากเขาได้รับเลือกเป็นประธาน ฟีฟ่า เขาจะอยู่ในตำแหน่งเพียงวาระเดียว ไม่อยู่ยาวดักดานอย่างแน่นอน เขายังจะดำเนินการให้ ตัวประธาน คณะกรรมการบริหาร และฝ่ายตุลาการ มีอำนาจตรวจสอบและถ่วงดุลกันได้ พวกเงินเดือน โบนัส ค่าใช้จ่ายของคนเป็นประธาน ฟีฟ่า นั้น ต้องถูกเปิดเผยต่อสาธารณะครับ
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *