คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ครั้งที่ 65 (the 65th FIFA Congress) ในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคมนี้ ที่ ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีวาระสำคัญคือการเลือกตั้งประธานฟีฟ่า คนใหม่ แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมท้าชิงตำแหน่งอีกหลายคนจาก โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ (Joseph "Sepp" Blatter) ประธานคนปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งนี้มา 4 สมัยแล้วตั้งแต่ปี 1998 และประกาศตัวลงสมัครชิงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 5 โดยตลอดระยะเวลา 17 ปีของหมอนี่นั้นเต็มไปด้วยข้อครหาเรื่องทุจริต แต่ผลสุดท้าย เราก็ยังคงจะมีผู้นำองค์กรสูงสุดของวงการฟุตบอลเป็นคนหน้าเดิมอยู่ดี
เหตุผลแรกก็คือ บุคคลที่ต่อต้าน เซ้พ หลายคนต่างก็ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอต้องค่อยๆถอนตัวออกไป อย่างเช่น เชโรม ช็อมปาญ (Jerome Champagne) อดีตกรรมการบริหาร ฟีฟ่า ที่ทำงานใกล้ชิดกับ เซ้พ และล่วงรู้เรื่องราวที่ปกปิดมากมาย แต่ก็ถูกเขี่ยออกไปให้พ้นทางมาหลายปีแล้ว ดาวิด ชีโนลา (David Ginola) อดีตกองหน้าทีมชาติ ฝรั่งเศส รวมทั้ง ฮาโรลด์ เมน-นิโคลส์ (Harold Mayne-Nicholls) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของ ฟีฟ่า ชาวชิเล ที่ไม่เห็นด้วยอย่างแรงที่ รัสเซีย และ กาตาร์ ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่ทั้ง 3 คนนี้ไม่ได้รับหนังสือยืนยันการให้การสนับสนุนจากสมาคมฟุตบอลชาติสมาชิกครบ 5 ชาติ ส่วน มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานยูเอ๊ฟฟ่า นี่ก็สงสัยจะโดนแหวกแผลเรื่องทุจริตถึงกับต้องยอมถอนตัว
ในการเลือกตั้งสิ้นเดือนนี้ เซ้พ ก็เหลือคู่แข่งเพียง มายเคิ่ล ฟัน พราก (Michael van Praag) ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ส วัย 67 ปี ลูอิ๊ช ฟิโก (Luis Figo) อดีตนักเตะทีมชาติ ปอรตูเกา เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร ปี 2000 และ เจ้าชาย อาลี บิน อัล ฮุสเซน (Prince Ali bin Al-Hussein) รองประธาน ฟีฟ่า คนปัจจุบัน วัย 39 ปี จาก จอร์แดน โดยรายหลังนี้น่าจะดูดีที่สุด ด้วยชื่อเสียงและประวัติความเป็นมาที่เพรียบพร้อมสมบูรณ์แบบและไม่เคยมีรอยด่างพร้อย และเป็นผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายชาติในทวีปยุโรป ยกเว้น รัสเซีย ที่ถือว่าการได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 นั้นต้องตอบแทนความกรุณาของ เซ้พ รวมทั้งอีกหลายชาติในยุโรปตะวันออกด้วยที่ยังต้องเดินตามรอย รัสเซีย อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งของ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดเรียงตัวกันใหม่ให้เหลือเฉพาะตัวละครที่ภักดีต่อ เซ้พ และมีศักยภาพเท่านั้น ดังนั้น หาก เจ้าชายจากจอร์แดน วืดตำแหน่งประธานฟีฟ่า ที่ยืนในวงการฟุตบอลระดับทวีปหรือระดับโลกอาจจะไม่สดใสอีกต่อไป
ประการต่อมา สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation - FBI) ของ สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการสืบสวนเรื่องการทุจริตในวงการฟุตบอลมาตลอดช่วง 3-4 ปีมานี้ และยิ่งเข้มข้นขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการโหวทเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งมีรายละเอียดและชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่แล้วก็ถูกสกัดด้วยการอนุญาตให้เผยแพร่รายงานได้เฉพาะบางส่วนที่ไม่อาจกระทบกระเทือนบรรดาหัวคะแนนของ เซ้พ อีกทั้งยังให้การยืนยันการันตีความเป็นเจ้าภาพของทั้ง รัสเซีย และ กาตาร์ อย่างหนักแน่นอีกด้วย อันนี้ ทาง อีเอสพีเอ็น (ESPN) สำนักข่าวกีฬาชื่อดังของโลกสัญชาติอเมริกาถึงกับเผยว่า จากเรื่องการสืบสวนของ FBI นี้ เซ้พ อย่าโง่ดันเผลอไปเหยียบแผ่นดินอเมริกาเข้าก็แล้วกัน
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือผลประโยชน์ทางการเงินที่ เซ้พ โปรยปรายให้ชาติสมาชิกทั่วโลกและผู้ที่เข้ามาสู่วงการฟุตบอล จนแต่ละคนเช็ดน้ำลายกันแทบไม่ทัน ก็ในช่วงที่ เซ้พ เป็นผู้นำ ฟีฟ่า เขาหาเงินได้มากจริงๆ โดยจากรายงานสิ้นปี 2014 รายได้รอบ 4 ปีนั้น ฟีฟ่า มีรายได้จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์และสปอนเซ่อร์ประมาณ 5,720 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส ลำพังแต่ละปี ชาติสมาชิกก็จะได้เงิน 250,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส อยู่แล้ว ส่วนกรรมการบริหารรับกันไปคนละ 300,000 ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส แต่ยังมีตัวเลขบ่งบอกอีกว่า ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา เงินก้อนใหญ่จำนวน 1,560 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส ได้ถูกแจกจ่ายให้แก่ทั้ง 209 ชาติสมาชิก ไม่ว่าชาติเล็กชาติใหญ่ ต่างก็ได้กันหมด ที่สำคัญ ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ประธานฟีฟ่า นั้น ชาติเล็กชาติใหญ่ ชาติไหนจะมีประชากรมากน้อยเพียงใด ไม่สำคัญ ไม่ต้องนำมาคิด มีสิทธิ์ 1 เสียงเท่ากัน อย่างเช่น หมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งมีประชากรเพียง 5 หมื่นกว่าคนและไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกเลยกลับได้รับเงินในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาราว 2 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส แถมยังมี 1 เสียงเท่ากับชาติใหญ่อย่าง จีน ที่มีประชากรร่วม 1,400 ล้านคนอีกด้วย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ครั้งที่ 65 (the 65th FIFA Congress) ในวันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคมนี้ ที่ ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีวาระสำคัญคือการเลือกตั้งประธานฟีฟ่า คนใหม่ แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมท้าชิงตำแหน่งอีกหลายคนจาก โชเซ้ฟ บลั๊ทเท่อร์ (Joseph "Sepp" Blatter) ประธานคนปัจจุบันที่ดำรงตำแหน่งนี้มา 4 สมัยแล้วตั้งแต่ปี 1998 และประกาศตัวลงสมัครชิงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 5 โดยตลอดระยะเวลา 17 ปีของหมอนี่นั้นเต็มไปด้วยข้อครหาเรื่องทุจริต แต่ผลสุดท้าย เราก็ยังคงจะมีผู้นำองค์กรสูงสุดของวงการฟุตบอลเป็นคนหน้าเดิมอยู่ดี
เหตุผลแรกก็คือ บุคคลที่ต่อต้าน เซ้พ หลายคนต่างก็ไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอต้องค่อยๆถอนตัวออกไป อย่างเช่น เชโรม ช็อมปาญ (Jerome Champagne) อดีตกรรมการบริหาร ฟีฟ่า ที่ทำงานใกล้ชิดกับ เซ้พ และล่วงรู้เรื่องราวที่ปกปิดมากมาย แต่ก็ถูกเขี่ยออกไปให้พ้นทางมาหลายปีแล้ว ดาวิด ชีโนลา (David Ginola) อดีตกองหน้าทีมชาติ ฝรั่งเศส รวมทั้ง ฮาโรลด์ เมน-นิโคลส์ (Harold Mayne-Nicholls) อดีตเจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบของ ฟีฟ่า ชาวชิเล ที่ไม่เห็นด้วยอย่างแรงที่ รัสเซีย และ กาตาร์ ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่ทั้ง 3 คนนี้ไม่ได้รับหนังสือยืนยันการให้การสนับสนุนจากสมาคมฟุตบอลชาติสมาชิกครบ 5 ชาติ ส่วน มีเชล ปลาตีนี (Michel Platini) ประธานยูเอ๊ฟฟ่า นี่ก็สงสัยจะโดนแหวกแผลเรื่องทุจริตถึงกับต้องยอมถอนตัว
ในการเลือกตั้งสิ้นเดือนนี้ เซ้พ ก็เหลือคู่แข่งเพียง มายเคิ่ล ฟัน พราก (Michael van Praag) ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ส วัย 67 ปี ลูอิ๊ช ฟิโก (Luis Figo) อดีตนักเตะทีมชาติ ปอรตูเกา เจ้าของรางวัล บัลลง ดอร ปี 2000 และ เจ้าชาย อาลี บิน อัล ฮุสเซน (Prince Ali bin Al-Hussein) รองประธาน ฟีฟ่า คนปัจจุบัน วัย 39 ปี จาก จอร์แดน โดยรายหลังนี้น่าจะดูดีที่สุด ด้วยชื่อเสียงและประวัติความเป็นมาที่เพรียบพร้อมสมบูรณ์แบบและไม่เคยมีรอยด่างพร้อย และเป็นผู้ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากหลายชาติในทวีปยุโรป ยกเว้น รัสเซีย ที่ถือว่าการได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 นั้นต้องตอบแทนความกรุณาของ เซ้พ รวมทั้งอีกหลายชาติในยุโรปตะวันออกด้วยที่ยังต้องเดินตามรอย รัสเซีย อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งของ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดเรียงตัวกันใหม่ให้เหลือเฉพาะตัวละครที่ภักดีต่อ เซ้พ และมีศักยภาพเท่านั้น ดังนั้น หาก เจ้าชายจากจอร์แดน วืดตำแหน่งประธานฟีฟ่า ที่ยืนในวงการฟุตบอลระดับทวีปหรือระดับโลกอาจจะไม่สดใสอีกต่อไป
ประการต่อมา สำนักงานสอบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation - FBI) ของ สหรัฐอเมริกา ได้ดำเนินการสืบสวนเรื่องการทุจริตในวงการฟุตบอลมาตลอดช่วง 3-4 ปีมานี้ และยิ่งเข้มข้นขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการโหวทเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 และ 2022 ซึ่งมีรายละเอียดและชื่อของบุคคลที่เกี่ยวข้องมากมาย แต่แล้วก็ถูกสกัดด้วยการอนุญาตให้เผยแพร่รายงานได้เฉพาะบางส่วนที่ไม่อาจกระทบกระเทือนบรรดาหัวคะแนนของ เซ้พ อีกทั้งยังให้การยืนยันการันตีความเป็นเจ้าภาพของทั้ง รัสเซีย และ กาตาร์ อย่างหนักแน่นอีกด้วย อันนี้ ทาง อีเอสพีเอ็น (ESPN) สำนักข่าวกีฬาชื่อดังของโลกสัญชาติอเมริกาถึงกับเผยว่า จากเรื่องการสืบสวนของ FBI นี้ เซ้พ อย่าโง่ดันเผลอไปเหยียบแผ่นดินอเมริกาเข้าก็แล้วกัน
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือผลประโยชน์ทางการเงินที่ เซ้พ โปรยปรายให้ชาติสมาชิกทั่วโลกและผู้ที่เข้ามาสู่วงการฟุตบอล จนแต่ละคนเช็ดน้ำลายกันแทบไม่ทัน ก็ในช่วงที่ เซ้พ เป็นผู้นำ ฟีฟ่า เขาหาเงินได้มากจริงๆ โดยจากรายงานสิ้นปี 2014 รายได้รอบ 4 ปีนั้น ฟีฟ่า มีรายได้จากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดโทรทัศน์และสปอนเซ่อร์ประมาณ 5,720 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส ลำพังแต่ละปี ชาติสมาชิกก็จะได้เงิน 250,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส อยู่แล้ว ส่วนกรรมการบริหารรับกันไปคนละ 300,000 ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส แต่ยังมีตัวเลขบ่งบอกอีกว่า ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา เงินก้อนใหญ่จำนวน 1,560 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส ได้ถูกแจกจ่ายให้แก่ทั้ง 209 ชาติสมาชิก ไม่ว่าชาติเล็กชาติใหญ่ ต่างก็ได้กันหมด ที่สำคัญ ในการลงคะแนนเลือกตั้ง ประธานฟีฟ่า นั้น ชาติเล็กชาติใหญ่ ชาติไหนจะมีประชากรมากน้อยเพียงใด ไม่สำคัญ ไม่ต้องนำมาคิด มีสิทธิ์ 1 เสียงเท่ากัน อย่างเช่น หมู่เกาะเคย์แมน ซึ่งมีประชากรเพียง 5 หมื่นกว่าคนและไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกเลยกลับได้รับเงินในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาราว 2 ล้าน ยูเอ๊ส ดอลเล่อร์ส แถมยังมี 1 เสียงเท่ากับชาติใหญ่อย่าง จีน ที่มีประชากรร่วม 1,400 ล้านคนอีกด้วย
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *