คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
เมื่อสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า เพิ่งตกลงใจใช้ ระบบตรวจวัดที่เส้นประตู ที่เรียกว่า โกล ลายน์ เท็คนอลลอจี้ หรือ จีแอลที ซิสทึม (Goal-line Technology - GLT System) จาก ค่ายฮ๊อคอาย (Hawk-Eye) ใน ฟุตบอลหญิงชิงแช้มพ์โลก ครั้งที่ 7 ที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นที่ ประเทศแคนาดา ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้
ระบบ จีแอลที นั้น ในปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่หลายค่าย เช่น ไคโรส (Cairos) ของ เจอรมานี อันนี้ต้องมีการวางสายไฟใต้พื้นสนามฟุตบอลตรงบริเวณกรอบเขตโทษและด้านหลังประตูเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก เขาเคยนำไปทดลองใช้ใน ฟุตบอลเยาวชนชิงแช้มพ์โลก อายุ 17 ปี ที่ ประเทศเปรู ในปี 2005 แต่ตอนนั้นหลายฝ่ายลงความเห็นว่ายังอืดอาดและไม่แม่นยำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม หลังจากได้พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ฟีฟ่า ก็ได้ให้การรับรองตั้งแต่ต้นปี 2013 สามารถนำไปใช้ได้ในการแข่งขันของ ฟีฟ่า
ค่ายต่อมาคือ โกลมายน์เดอร์ (Goalminder) อันนี้ใช้กล้องจับภาพความเร็วสูงฝังเข้าไปในเสาและคานประตู บันทึกภาพด้วยอัตรา 2,000 เฟรมต่อวินาที เป็นแค่การจำลองภาพ ระบบนี้ถือว่าราคาถูกจริง เพราะใช้กล้องราคาไม่แพง แถมยังไม่ต้องขุดสนามอีกด้วย
โกลเร๊ฟ (GoalRef) ก็เป็นอีกค่ายหนึ่ง ค่ายนี้ใช้วิธีใส่วงจรไฟฟ้าเข้าไปในลูกบอลและสร้างสนามแม่เหล็กความถี่ต่ำตรงบริเวณรอบๆเสาประตู เป็นเหมือนการสร้างม่านแสง เมื่อลูกบอลผ่านเส้นประตูไปทั้งใบ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสนามแม่เหล็กก็จะถูกตรวจจับและส่งค่าเป็นคลื่นวิทยุไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีข้อความไปยังนาฬิกาข้อมือของผู้ตัดสิน
แต่ค่ายที่ได้รับเลือกคือ ฮ๊อคอาย ถูกคิดค้นโดย ด็อกเตอร์ โพล ฮ็อคคินส์ ( Paul Hawkins ) อดีตนักกีฬาคริกเก็ตทีมบัคกิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นระบบ “ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ" (3D computer simulation) โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 7 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล แถมยังประมวลผลอื่นๆได้อีกด้วย เช่น ความเร็วของลูกบอล หรือแม้กระทั่งคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ลูกบอลจะไป ณ จุดใด มันมีความแม่นยำถึง 3.6 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าจะมีโอกาสผิดเพี้ยนก็เพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยมีการส่งสัญญาณไปยังนาฬิกาข้อมือของผู้ตัดสินได้แทบจะทันที ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที หลังจากลูกบอลผ่านเส้นประตูเข้าไปทั้งใบ
ฟีฟ่า เคยใช้บริการของ ฮ๊อคอาย ในการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแช้มพ์สโมสรโลก ที่ประเทศญี่ปุ่น มาแล้วตั้งแต่ปี 2012 นี่จึงเป็นหนที่ 2 ที่ ฮ๊อคอาย กลับมาทวงความเป็นเลิศในการตรวจจับและสร้างความถูกต้องแม่นยำให้กับวงการฟุตบอล
การจะเอาเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้งานใน ฟุตบอลหญิงชิงแช้มพ์โลก แคนาดา 2015 นั้น มีขั้นตอนที่ถือเป็นมาตรฐานอันเป็นส่วนหนึ่งในข้อกำหนดในการออกใบรับรองว่าผ่านการทดสอบของ ระบบ จีแอลที อีกนิดหน่อย คือเมื่อดำเนินการติดตั้งในทั้ง 6 สนามแล้ว ต้องทดสอบให้ทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่มีที่ติ ซึ่งก็ใช่ว่าจะติดตั้งเอง ทดสอบกันเอง เซ็นอนุมัติกันเอง เขาต้องให้ผู้ตรวจสอบอิสระเข้ามาทดสอบ นอกจากนั้น ก่อนการแข่งขันแต่ละเกมเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันก็จะต้องลงมือทดสอบด้วยตนเองอีกทุกนัดไป
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
เมื่อสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า เพิ่งตกลงใจใช้ ระบบตรวจวัดที่เส้นประตู ที่เรียกว่า โกล ลายน์ เท็คนอลลอจี้ หรือ จีแอลที ซิสทึม (Goal-line Technology - GLT System) จาก ค่ายฮ๊อคอาย (Hawk-Eye) ใน ฟุตบอลหญิงชิงแช้มพ์โลก ครั้งที่ 7 ที่กำลังจะเปิดฉากขึ้นที่ ประเทศแคนาดา ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้
ระบบ จีแอลที นั้น ในปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่หลายค่าย เช่น ไคโรส (Cairos) ของ เจอรมานี อันนี้ต้องมีการวางสายไฟใต้พื้นสนามฟุตบอลตรงบริเวณกรอบเขตโทษและด้านหลังประตูเพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก เขาเคยนำไปทดลองใช้ใน ฟุตบอลเยาวชนชิงแช้มพ์โลก อายุ 17 ปี ที่ ประเทศเปรู ในปี 2005 แต่ตอนนั้นหลายฝ่ายลงความเห็นว่ายังอืดอาดและไม่แม่นยำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม หลังจากได้พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ฟีฟ่า ก็ได้ให้การรับรองตั้งแต่ต้นปี 2013 สามารถนำไปใช้ได้ในการแข่งขันของ ฟีฟ่า
ค่ายต่อมาคือ โกลมายน์เดอร์ (Goalminder) อันนี้ใช้กล้องจับภาพความเร็วสูงฝังเข้าไปในเสาและคานประตู บันทึกภาพด้วยอัตรา 2,000 เฟรมต่อวินาที เป็นแค่การจำลองภาพ ระบบนี้ถือว่าราคาถูกจริง เพราะใช้กล้องราคาไม่แพง แถมยังไม่ต้องขุดสนามอีกด้วย
โกลเร๊ฟ (GoalRef) ก็เป็นอีกค่ายหนึ่ง ค่ายนี้ใช้วิธีใส่วงจรไฟฟ้าเข้าไปในลูกบอลและสร้างสนามแม่เหล็กความถี่ต่ำตรงบริเวณรอบๆเสาประตู เป็นเหมือนการสร้างม่านแสง เมื่อลูกบอลผ่านเส้นประตูไปทั้งใบ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสนามแม่เหล็กก็จะถูกตรวจจับและส่งค่าเป็นคลื่นวิทยุไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและมีข้อความไปยังนาฬิกาข้อมือของผู้ตัดสิน
แต่ค่ายที่ได้รับเลือกคือ ฮ๊อคอาย ถูกคิดค้นโดย ด็อกเตอร์ โพล ฮ็อคคินส์ ( Paul Hawkins ) อดีตนักกีฬาคริกเก็ตทีมบัคกิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นระบบ “ภาพจำลองเชิงคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติ" (3D computer simulation) โดยใช้กล้องวีดิโอความเร็วสูงถึง 7 ตัวในการเก็บภาพจากมุมต่างๆ ซึ่งจะทำให้เห็นทิศทางการวิ่ง จุดตกของลูกบอล แถมยังประมวลผลอื่นๆได้อีกด้วย เช่น ความเร็วของลูกบอล หรือแม้กระทั่งคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ลูกบอลจะไป ณ จุดใด มันมีความแม่นยำถึง 3.6 มิลลิเมตร ซึ่งถ้าจะมีโอกาสผิดเพี้ยนก็เพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยมีการส่งสัญญาณไปยังนาฬิกาข้อมือของผู้ตัดสินได้แทบจะทันที ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที หลังจากลูกบอลผ่านเส้นประตูเข้าไปทั้งใบ
ฟีฟ่า เคยใช้บริการของ ฮ๊อคอาย ในการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแช้มพ์สโมสรโลก ที่ประเทศญี่ปุ่น มาแล้วตั้งแต่ปี 2012 นี่จึงเป็นหนที่ 2 ที่ ฮ๊อคอาย กลับมาทวงความเป็นเลิศในการตรวจจับและสร้างความถูกต้องแม่นยำให้กับวงการฟุตบอล
การจะเอาเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวไปใช้งานใน ฟุตบอลหญิงชิงแช้มพ์โลก แคนาดา 2015 นั้น มีขั้นตอนที่ถือเป็นมาตรฐานอันเป็นส่วนหนึ่งในข้อกำหนดในการออกใบรับรองว่าผ่านการทดสอบของ ระบบ จีแอลที อีกนิดหน่อย คือเมื่อดำเนินการติดตั้งในทั้ง 6 สนามแล้ว ต้องทดสอบให้ทำงานได้เป็นอย่างดี ไม่มีที่ติ ซึ่งก็ใช่ว่าจะติดตั้งเอง ทดสอบกันเอง เซ็นอนุมัติกันเอง เขาต้องให้ผู้ตรวจสอบอิสระเข้ามาทดสอบ นอกจากนั้น ก่อนการแข่งขันแต่ละเกมเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขันก็จะต้องลงมือทดสอบด้วยตนเองอีกทุกนัดไป
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *