คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
หลังจากจมปลักบักโกรกอยู่กับความเสื่อมเสียนาน วงการฟุตบอลของไทยยังไงมันก็ต้องมีโอกาสโงหัวขึ้นมาได้บ้าง ไม่ว่าใครจะกุมบังเหียน เริ่มเข้าสู่ปี 2014 นี้ ฟุตบอลไทยคงขยับเขยื้อนขึ้นมาในทางดีบ้าง แม้ว่าจะดีจากพัฒนาการของบรรดาสโมสรสมาชิกต่างๆที่ต้องดิ้นรนด้วยตนเองมาตลอด ท่ามกลางการฝ่าฟันต่อสู้กับการบริหารจัดการที่ทำให้หลายคนต้องประหลาดใจอยู่เสมอ รวมทั้งความอยุติธรรมของการตัดสินที่แทรกสอดเป็นรอยเปื้อนให้เสียอารมณ์ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภาคีต่างหากที่เป็นผู้ลงแรงทั้งกาย ใจ และทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดพัฒนาการ แล้วสิ่งนี้แหละที่ส่งผลต่อผลงานของฟุตบอลทีมชาติไทย
นอกจากรายการย่อยๆแล้ว การแข่งขันรายการสำคัญหลักๆที่รอทีมชาติไทยอยู่ในปีนี้ก็คงมี ฟุตบอลชิงแช้มพ์ อาเซียน ( 2014 AFF Suzuki Cup ) ที่ ซิงคโปร์ เวียตนาม ฟิลิปปีนส์ และ อินโดเนเซีย กำลังขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และ ฟุตบอล เอเชียน เกมส์ ครั้งที่ 17 ที่ อินชอน เกาหลีใต้
ส่วนในระดับสโมสร นอกจากลีกระดับต่างๆภายในประเทศแล้ว รายการที่น่าจะเป็นความหวังและชวนให้ติดตามเชียร์เป็นอย่างยิ่งก็คือ ฟุตบอลชิงแช้มพ์สโมสรทวีปเอเชีย ( 2014 AFC Champions League ) ที่เรามีตัวแทน 3 สโมสรคือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งได้เข้าไปในรอบแบ่งกลุ่ม และ เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ ชลบุรี เอฟซี ที่ต้องไปเตะ เพลย์-อ็อฟ รอบ 2 เสียก่อน
สำหรับเงินรางวัลและเงินอุดหนุนการเดินทางไปแข่งขันในฐานะทีมเยือน ( Travel Subsidy ) ที่ทาง สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ( Asian Football Confederation - AFC ) จัดไว้ให้ก็มีการเพิ่มงบประมาณมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2008 ที่ เอเอฟซี เคยใช้เงินเพียงแค่ประมาณ 4 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส แต่ในปี 2014 นี้ คาดว่า เงินรางวัล และเงินอุดหนุนการเดินทางจะถูกเพิ่มอีกไม่น้อย รวมแล้วเหยียบ 10 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส เลยทีเดียว
วันนี้ ผมนำรายละเอียดเงินรางวัลและค่าเดินทางของเก่ามาให้ดูเป็นตัวอย่าง ตั้งแต่รอบ เพลย์-อ็อฟ ทีมใดต้องเดินทางไปแข่งในฐานะทีมเยือนก็จะได้รับเงิน 20,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ต่อนัด พอเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม มีการแข่งขันทีมละ 6 นัด ถ้านัดไหนชนะก็ได้เงินรางวัลนัดละ 40,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส เสมอได้รับ 20,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส แต่ถ้าแพ้จะไม่ได้รับเงิน ทั้งนี้ ยังมีรายได้จากการเดินทางไปแข่งในฐานะทีมเยือนอีกนัดละ 30,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส
เมื่อผ่านเข้าไปเล่นในรอบ 16 ทีม ไม่ว่าผลการแข่งขันจะเป็นอย่างไร รอบนี้ได้รางวัลแบบเหมาจ่าย 50,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส และเงินอุดหนุนการเดินทางอีก 40,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ถ้าเป็นรอบ 8 ทีม เงินรายได้ทั้ง 2 อย่างก็จะขยับเป็น 80,000 กับ 50,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ตามลำดับ และในรอบรองชนะเลิศ กลายเป็น 120,000 และ 60,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ตามลำดับ
ส่วนรอบชิงชนะเลิศ ใครได้แช้มพ์จะได้รับเงินรางวัล 1.5 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส ในขณะที่ทีมแพ้ได้เพียงครึ่งเดียว ทั้งนี้ ยังมีเงินอุดหนุนค่าเดินทางในฐานะทีมเยือนอีก 60,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส
ผมขอยกตัวอย่าง สมมุติว่าปีนี้ เมืองทอง ยูไนเต็ด ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ รอบ เพลย์-อ็อฟ ทำผลงานสวยหรูเก็บชัยชนะได้ทุกนัดจนคว้าแช้มพ์ และหากมีการจับสลากเลือกเจ้าบ้านก็ต้องไปเยือนนั้น กิเลนผยอง จะได้รับเงินทั้งสิ้นอย่างน้อย 2,850,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส หรือประมาณ 94 ล้าน บาท อันนี้ยังไม่ได้รวมรายได้จากการขายบัตรเข้าชมการแข่งขันและสินค้าที่ระลึกที่เจ้าบ้านจะโกยเงินได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วยนะครับ
หลังจากจมปลักบักโกรกอยู่กับความเสื่อมเสียนาน วงการฟุตบอลของไทยยังไงมันก็ต้องมีโอกาสโงหัวขึ้นมาได้บ้าง ไม่ว่าใครจะกุมบังเหียน เริ่มเข้าสู่ปี 2014 นี้ ฟุตบอลไทยคงขยับเขยื้อนขึ้นมาในทางดีบ้าง แม้ว่าจะดีจากพัฒนาการของบรรดาสโมสรสมาชิกต่างๆที่ต้องดิ้นรนด้วยตนเองมาตลอด ท่ามกลางการฝ่าฟันต่อสู้กับการบริหารจัดการที่ทำให้หลายคนต้องประหลาดใจอยู่เสมอ รวมทั้งความอยุติธรรมของการตัดสินที่แทรกสอดเป็นรอยเปื้อนให้เสียอารมณ์ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ภาคีต่างหากที่เป็นผู้ลงแรงทั้งกาย ใจ และทรัพย์สิน เพื่อให้เกิดพัฒนาการ แล้วสิ่งนี้แหละที่ส่งผลต่อผลงานของฟุตบอลทีมชาติไทย
นอกจากรายการย่อยๆแล้ว การแข่งขันรายการสำคัญหลักๆที่รอทีมชาติไทยอยู่ในปีนี้ก็คงมี ฟุตบอลชิงแช้มพ์ อาเซียน ( 2014 AFF Suzuki Cup ) ที่ ซิงคโปร์ เวียตนาม ฟิลิปปีนส์ และ อินโดเนเซีย กำลังขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน และ ฟุตบอล เอเชียน เกมส์ ครั้งที่ 17 ที่ อินชอน เกาหลีใต้
ส่วนในระดับสโมสร นอกจากลีกระดับต่างๆภายในประเทศแล้ว รายการที่น่าจะเป็นความหวังและชวนให้ติดตามเชียร์เป็นอย่างยิ่งก็คือ ฟุตบอลชิงแช้มพ์สโมสรทวีปเอเชีย ( 2014 AFC Champions League ) ที่เรามีตัวแทน 3 สโมสรคือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งได้เข้าไปในรอบแบ่งกลุ่ม และ เมืองทอง ยูไนเต็ด กับ ชลบุรี เอฟซี ที่ต้องไปเตะ เพลย์-อ็อฟ รอบ 2 เสียก่อน
สำหรับเงินรางวัลและเงินอุดหนุนการเดินทางไปแข่งขันในฐานะทีมเยือน ( Travel Subsidy ) ที่ทาง สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ( Asian Football Confederation - AFC ) จัดไว้ให้ก็มีการเพิ่มงบประมาณมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 2008 ที่ เอเอฟซี เคยใช้เงินเพียงแค่ประมาณ 4 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส แต่ในปี 2014 นี้ คาดว่า เงินรางวัล และเงินอุดหนุนการเดินทางจะถูกเพิ่มอีกไม่น้อย รวมแล้วเหยียบ 10 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส เลยทีเดียว
วันนี้ ผมนำรายละเอียดเงินรางวัลและค่าเดินทางของเก่ามาให้ดูเป็นตัวอย่าง ตั้งแต่รอบ เพลย์-อ็อฟ ทีมใดต้องเดินทางไปแข่งในฐานะทีมเยือนก็จะได้รับเงิน 20,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ต่อนัด พอเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม มีการแข่งขันทีมละ 6 นัด ถ้านัดไหนชนะก็ได้เงินรางวัลนัดละ 40,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส เสมอได้รับ 20,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส แต่ถ้าแพ้จะไม่ได้รับเงิน ทั้งนี้ ยังมีรายได้จากการเดินทางไปแข่งในฐานะทีมเยือนอีกนัดละ 30,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส
เมื่อผ่านเข้าไปเล่นในรอบ 16 ทีม ไม่ว่าผลการแข่งขันจะเป็นอย่างไร รอบนี้ได้รางวัลแบบเหมาจ่าย 50,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส และเงินอุดหนุนการเดินทางอีก 40,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ถ้าเป็นรอบ 8 ทีม เงินรายได้ทั้ง 2 อย่างก็จะขยับเป็น 80,000 กับ 50,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ตามลำดับ และในรอบรองชนะเลิศ กลายเป็น 120,000 และ 60,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส ตามลำดับ
ส่วนรอบชิงชนะเลิศ ใครได้แช้มพ์จะได้รับเงินรางวัล 1.5 ล้าน ยูเอส ดอลเล่อร์ส ในขณะที่ทีมแพ้ได้เพียงครึ่งเดียว ทั้งนี้ ยังมีเงินอุดหนุนค่าเดินทางในฐานะทีมเยือนอีก 60,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส
ผมขอยกตัวอย่าง สมมุติว่าปีนี้ เมืองทอง ยูไนเต็ด ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันตั้งแต่ รอบ เพลย์-อ็อฟ ทำผลงานสวยหรูเก็บชัยชนะได้ทุกนัดจนคว้าแช้มพ์ และหากมีการจับสลากเลือกเจ้าบ้านก็ต้องไปเยือนนั้น กิเลนผยอง จะได้รับเงินทั้งสิ้นอย่างน้อย 2,850,000 ยูเอส ดอลเล่อร์ส หรือประมาณ 94 ล้าน บาท อันนี้ยังไม่ได้รวมรายได้จากการขายบัตรเข้าชมการแข่งขันและสินค้าที่ระลึกที่เจ้าบ้านจะโกยเงินได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วยนะครับ