คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
วงสวิงอันทรงพลังเหมือนกับที่บรรดาทัวร์ริ่งโปรทั้งหลายแสดงให้เราเห็นในจอโทรทัศน์เป็นแม่แบบที่ดีในการทำตามของนักกอล์ฟทั่วไป ปัจจัยสำคัญในวงสวิงเหล่านี้ก็คือการใช้เกลียวลำตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อได้ยินคำว่าเกลียวผมเชื่อว่าหลายคนพอจะนึกภาพออก เพราะคำว่าเกลียวมีให้เราสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปด้วยเช่นกัน เมื่อมีคำว่าเกลียวก็น่าจะมีการบิดหรือหมุนมาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน ปกติแล้วการบิดเกลียวจะทำให้แน่นหรือตึง และการคลายเกลียวเป็นการคลายความตึงที่เคยสร้างไว้ หลักการนี้ใช้กับการเล่นกอล์ฟได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเราแบ็คสวิงเพื่อสร้างและสะสมพลังงานเราจะบิดลำตัวรอบกระดูกสันหลังหรือแกนจนกระทั่งตึง ความตึงดังกล่าวก็ควรจะเพียงแค่พอประมาณไม่แน่นจนเกินไป ในชีวิตประจำวันไม่ว่าเราจะบิดเกลียวน็อตหรือฝาขวดน้ำ เราจะรู้ตัวดีว่าถ้าแน่นเกินไปของก็จะชำรุดหรือเปิดเพื่อใช้งานได้ยาก เช่นเดียวกันกับร่างกายเรา ถ้าตึงเกินไป แน่นเกินไป จะเกิดอาการเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้เวลาคลายเกลียวในช่วงดาวน์สวิง เพื่อใช้งานจะทำได้ไม่ดีและอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นความพอดีของคำว่าตึงของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ผมอยากให้ทุกคนมีโอกาสใช้เกลียวลำตัวของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ไม่เกินศักยภาพ พูดง่ายๆ ก็คือบิดจนกว่าจะตึง แต่เมื่อตึงแล้วต้องหยุด หลักการในการใช้เกลียวลำตัวในวงสวิงกอล์ฟจำง่ายๆ ครับ “บนลงล่าง แล้วค่อยล่างขึ้นบน” เราสร้างเกลียวจากข้างบนลงไปสู่ข้างล่างโดยการหมุนไหล่ เมื่อลำตัวเริ่มตึงสะโพกก็จะเริ่มหมุนตาม ในเมื่อสะโพกเริ่มตามแสดงว่าเราใกล้ที่จะถึงจุดตึงที่สุดของเกลียวแล้ว เมื่อรู้สึกได้ว่ามีความความตึงเกิดขึ้นที่หัวเข่าและฝ่าเท้าเมื่อไหร่หมายความว่าเกลียวเราสมบูรณ์แล้ว
ความรู้สึกของการคลายเกลียวจากล่างขึ้นบนก็คือการเริ่มโอนถ่ายพลังงานจากฝ่าเท้าฝั่งแบ็คสวิงขึ้นมาสู่เข่าผ่านกล้ามเนื้อด้านในของหน้าขาไปสู่ร่างกายท่อนบน ที่หลายคนยังพลาดอยู่คือการคลายเกลียวโดยเริ่มจากร่างกายท่อนบนก่อน ทำให้พลังงานสะสมจากท่อนล่างของร่างกายไม่มีบทบาทที่จะช่วยสร้างความเร็วให้แก่วงสวิง ในเมื่อใช้แรงบิดแค่ครึ่งตัวหลายคนก็เลยออกแรงเพิ่มเข้าไปในการ ตีกอล์ฟ แทนที่จะใช้ทั้งตัวในการ สวิงกอล์ฟ
วงสวิงอันทรงพลังเหมือนกับที่บรรดาทัวร์ริ่งโปรทั้งหลายแสดงให้เราเห็นในจอโทรทัศน์เป็นแม่แบบที่ดีในการทำตามของนักกอล์ฟทั่วไป ปัจจัยสำคัญในวงสวิงเหล่านี้ก็คือการใช้เกลียวลำตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อได้ยินคำว่าเกลียวผมเชื่อว่าหลายคนพอจะนึกภาพออก เพราะคำว่าเกลียวมีให้เราสัมผัสได้ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไปด้วยเช่นกัน เมื่อมีคำว่าเกลียวก็น่าจะมีการบิดหรือหมุนมาเกี่ยวข้องด้วยแน่นอน ปกติแล้วการบิดเกลียวจะทำให้แน่นหรือตึง และการคลายเกลียวเป็นการคลายความตึงที่เคยสร้างไว้ หลักการนี้ใช้กับการเล่นกอล์ฟได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเราแบ็คสวิงเพื่อสร้างและสะสมพลังงานเราจะบิดลำตัวรอบกระดูกสันหลังหรือแกนจนกระทั่งตึง ความตึงดังกล่าวก็ควรจะเพียงแค่พอประมาณไม่แน่นจนเกินไป ในชีวิตประจำวันไม่ว่าเราจะบิดเกลียวน็อตหรือฝาขวดน้ำ เราจะรู้ตัวดีว่าถ้าแน่นเกินไปของก็จะชำรุดหรือเปิดเพื่อใช้งานได้ยาก เช่นเดียวกันกับร่างกายเรา ถ้าตึงเกินไป แน่นเกินไป จะเกิดอาการเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อทำให้เวลาคลายเกลียวในช่วงดาวน์สวิง เพื่อใช้งานจะทำได้ไม่ดีและอาจเกิดอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นความพอดีของคำว่าตึงของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ผมอยากให้ทุกคนมีโอกาสใช้เกลียวลำตัวของตัวเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่ไม่เกินศักยภาพ พูดง่ายๆ ก็คือบิดจนกว่าจะตึง แต่เมื่อตึงแล้วต้องหยุด หลักการในการใช้เกลียวลำตัวในวงสวิงกอล์ฟจำง่ายๆ ครับ “บนลงล่าง แล้วค่อยล่างขึ้นบน” เราสร้างเกลียวจากข้างบนลงไปสู่ข้างล่างโดยการหมุนไหล่ เมื่อลำตัวเริ่มตึงสะโพกก็จะเริ่มหมุนตาม ในเมื่อสะโพกเริ่มตามแสดงว่าเราใกล้ที่จะถึงจุดตึงที่สุดของเกลียวแล้ว เมื่อรู้สึกได้ว่ามีความความตึงเกิดขึ้นที่หัวเข่าและฝ่าเท้าเมื่อไหร่หมายความว่าเกลียวเราสมบูรณ์แล้ว
ความรู้สึกของการคลายเกลียวจากล่างขึ้นบนก็คือการเริ่มโอนถ่ายพลังงานจากฝ่าเท้าฝั่งแบ็คสวิงขึ้นมาสู่เข่าผ่านกล้ามเนื้อด้านในของหน้าขาไปสู่ร่างกายท่อนบน ที่หลายคนยังพลาดอยู่คือการคลายเกลียวโดยเริ่มจากร่างกายท่อนบนก่อน ทำให้พลังงานสะสมจากท่อนล่างของร่างกายไม่มีบทบาทที่จะช่วยสร้างความเร็วให้แก่วงสวิง ในเมื่อใช้แรงบิดแค่ครึ่งตัวหลายคนก็เลยออกแรงเพิ่มเข้าไปในการ ตีกอล์ฟ แทนที่จะใช้ทั้งตัวในการ สวิงกอล์ฟ