คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน ราชวังสัน
ยามาฮ่า ลีก วัน ( YAMAHA LEAGUE 1 ) ฟุตบอลลีกระดับ 2 ของไทยกำลังจะเปิดฉากนัดแรกในวันที่ 2 และ 3 มีนาคมนี้แล้วพร้อมๆกับ ไทย พรีเมียร์ ลีก ซึ่งผมว่าความจริงแต่ละทีมใน ยามาฮ่า ลีก วัน ล้วนมีฝีมือเฉียดๆไม่ห่างไกลจากลีกสูงสุดของประเทศนัก บางสโมสรมีนักเตะที่ย้ายไปย้ายมาจากสโมสรบิ๊กๆใน ไทย พรีเมียร์ ลีก บางสโมสรก็เคยเวียนว่ายอยู่ใน ไทย พรีเมียร์ ลีก มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น บีบีซียู เอฟซี บางกอก เอฟซี ราชนาวี สิงห์ท่าเรือ นครปฐม ยูไนเต็ด ทีทีเอ็ม หรือ ศรีราชา เอฟซี
ในปีนี้ทางฝ่ายจัดการแข่งขันได้ ยามาฮ่า เข้ามาให้การสนับสนุนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นปีที่ 2 ซึ่งจำนวนเงินที่ให้การสนับสนุนนั้น ส่วนมากเขาจะรู้สึกเขินๆ ไม่ค่อยเปิดเผยกัน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอด 3 ฤดูกาล เป็นจำนวน 60 กว่าล้านบาท
ด้วยความที่ผมรู้จัก ยามาฮ่า ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ผมจึงสงสัยมานานว่า ตราสัญลักษณ์ของ ยามาฮ่า มันคือขาตะเกียบของรถจักรยานยนต์หรือไร ซึ่งต่อมาก็ได้รับคำอธิบายว่า เดิมทีเดียวคนที่ก่อตั้ง ยามาฮ่า คือ โทรากุสึ ยามาฮ่า ( Torakusu Yamaha ) เป็นเพียงช่างซ่อมออร์แกนที่เดินทางไปตั้งรกรากอยู่ที่ เมืองฮามามัทสึ ( Hamamatsu ) และต่อมาเขาได้เปิดบริษัทเพื่อผลิตเครื่องดนตรีขึ้นในชื่อบริษัท นิปปง งักกิ จำกัด ( Nippon Gakki ) ตั้งแต่ปี 1887 และใช้สัญลักษณ์เป็น ส้อมเสียง ที่ฝรั่งเรียกว่า ทูนิ่ง ฟอร์ค ( Tuning fork ) สามอันไขว้กัน
กิจการของ ยามาฮ่า ทั้งเจริญรุ่งเรือง ทั้งฝ่าวิกฤตสารพัด แต่ก็อยู่รอดมาได้ จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น บริษัทก็ต้องหันไปผลิตเครื่องจักรด้วย จนหลังสงคราม โทมิโกะ เกงอิชิ คาวากามิ ( Tomiko Genichi Kawakami ) คนนี้เป็นประธานบริษัทคนที่ 4 แล้ว ได้เล็งเห็นว่า ด้วยความชำนาญในเท็คนอลลอจี้เกี่ยวกับโลหะ จึงน่าจะหันไปผลิต มอเตอร์ซายเคิ่ล และก็ถือว่าเขาเป็นคนแรกที่นำธุรกิจจักรยานยนต์มาเปิดตลาดใน ประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิต มอเตอร์ซายเคิ่ล รุ่น YA-1 เป็นรุ่นแรกในปี 1958 และความสำเร็จอันนั้นเองทำให้ในที่สุด บริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด จึงถือกำเนิดขึ้นในปีต่อมา ตราสัญลักษณ์ส้อมเสียงสามอัน ถูกเพิ่มด้วยภาพของ ล้อจักรยานยนต์ เป็นสัญลักษณ์ใหม่เพื่อแสดงถึงความสำคัญของการประสานกันระหว่างการผลิต การขาย และโครงสร้างทางวิศวกรรม
มาถึงตอนนี้ ยามาฮ่า อยู่กับประเทศไทยมาร่วมครึ่งศตวรรษแล้ว และก็ได้มีส่วนในการสนับสนุนวงการกีฬามาโดยตลอด ในส่วนของฟุตบอล ผมยังคุ้นชื่อ ยามาฮ่า สเตเดี้ยม ของ เมืองทอง ยูไนเต็ด เมื่อ 2-3 ปีก่อน และเห็นตราส้อมเสียงบนหน้าอกเสื้อของทีมในระดับลีกสูงสุดของไทยอีกหลายทีม
สำหรับ ยามาฮ่า ลีก วัน 2013 นี้ คุณพิทักษ์ ทับทิม ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บอกกับผมว่า นอกจากการให้การสนับสนุนวงเงินจำนวนดังกล่าวที่เริ่มตั้งแต่ฤดูกาลที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีแล้ว เนื่องจากความนิยมในฟุตบอล ลีก วัน มันแผ่ซ่านไปทั่วประเทศ ดังนั้น ในฤดูกาลนี้ก็จะมีการมอบรางวัลให้แก่ นักเตะยอดเยี่ยม ดาวซัลโว ผู้ฝึกสอน โดยจัดเป็นประจำทุกเดือนและพอถึงสิ้นปีก็มีรางวัลเป็นรถจักรยานยนต์มอบให้ อันนี้รวมทั้งทีมแฟร์เพลย์ที่จะได้รับเป็นเงินรางวัลเพื่อนำไปแบ่งกันอีกด้วย
ความมันประจำสัปดาห์กำลังจะกลับมาอีกครั้ง ซึ่งทีมใน ยามาฮ่า ลีก วัน ก็มีกระจายอยู่เกือบทุกภาค จะขาดก็แต่ในภาคเหนือเท่านั้น เพราะ ทีทีเอ็ม ดันย้ายจาก เชียงใหม่ มาอยู่ที่ ลพบุรี แฟนบอลอยู่ใกล้แถบไหนก็จับจองเป็นแฟนทีมนั้น ช่วยกันจ่ายค่าบำรุงสโมสร พาครอบครัวไปซื้อตั๋วเข้าชมกันเยอะๆ ยามาฮ่า เป็นบริษัทใหญ่ ให้เป็นล้าน เราแฟนบอลตัวเล็กๆช่วยฟุตบอลไทยได้ก็ตรงนี้แหละครับ ให้หลักร้อย สโมสรบ้านเกิดของท่านจะได้มีเงินทองมาพัฒนาทีม เติบโตก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุด ถ้าเราหวังให้ทีมชาติไทยไปฟุตบอลโลก เราก็ต้องช่วยกันสร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง แล้วบนหัวพีรามิดมันก็ย่อมจะดีไปเองครับ
ยามาฮ่า ลีก วัน ( YAMAHA LEAGUE 1 ) ฟุตบอลลีกระดับ 2 ของไทยกำลังจะเปิดฉากนัดแรกในวันที่ 2 และ 3 มีนาคมนี้แล้วพร้อมๆกับ ไทย พรีเมียร์ ลีก ซึ่งผมว่าความจริงแต่ละทีมใน ยามาฮ่า ลีก วัน ล้วนมีฝีมือเฉียดๆไม่ห่างไกลจากลีกสูงสุดของประเทศนัก บางสโมสรมีนักเตะที่ย้ายไปย้ายมาจากสโมสรบิ๊กๆใน ไทย พรีเมียร์ ลีก บางสโมสรก็เคยเวียนว่ายอยู่ใน ไทย พรีเมียร์ ลีก มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น บีบีซียู เอฟซี บางกอก เอฟซี ราชนาวี สิงห์ท่าเรือ นครปฐม ยูไนเต็ด ทีทีเอ็ม หรือ ศรีราชา เอฟซี
ในปีนี้ทางฝ่ายจัดการแข่งขันได้ ยามาฮ่า เข้ามาให้การสนับสนุนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวเป็นปีที่ 2 ซึ่งจำนวนเงินที่ให้การสนับสนุนนั้น ส่วนมากเขาจะรู้สึกเขินๆ ไม่ค่อยเปิดเผยกัน แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า ตลอด 3 ฤดูกาล เป็นจำนวน 60 กว่าล้านบาท
ด้วยความที่ผมรู้จัก ยามาฮ่า ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ผมจึงสงสัยมานานว่า ตราสัญลักษณ์ของ ยามาฮ่า มันคือขาตะเกียบของรถจักรยานยนต์หรือไร ซึ่งต่อมาก็ได้รับคำอธิบายว่า เดิมทีเดียวคนที่ก่อตั้ง ยามาฮ่า คือ โทรากุสึ ยามาฮ่า ( Torakusu Yamaha ) เป็นเพียงช่างซ่อมออร์แกนที่เดินทางไปตั้งรกรากอยู่ที่ เมืองฮามามัทสึ ( Hamamatsu ) และต่อมาเขาได้เปิดบริษัทเพื่อผลิตเครื่องดนตรีขึ้นในชื่อบริษัท นิปปง งักกิ จำกัด ( Nippon Gakki ) ตั้งแต่ปี 1887 และใช้สัญลักษณ์เป็น ส้อมเสียง ที่ฝรั่งเรียกว่า ทูนิ่ง ฟอร์ค ( Tuning fork ) สามอันไขว้กัน
กิจการของ ยามาฮ่า ทั้งเจริญรุ่งเรือง ทั้งฝ่าวิกฤตสารพัด แต่ก็อยู่รอดมาได้ จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น บริษัทก็ต้องหันไปผลิตเครื่องจักรด้วย จนหลังสงคราม โทมิโกะ เกงอิชิ คาวากามิ ( Tomiko Genichi Kawakami ) คนนี้เป็นประธานบริษัทคนที่ 4 แล้ว ได้เล็งเห็นว่า ด้วยความชำนาญในเท็คนอลลอจี้เกี่ยวกับโลหะ จึงน่าจะหันไปผลิต มอเตอร์ซายเคิ่ล และก็ถือว่าเขาเป็นคนแรกที่นำธุรกิจจักรยานยนต์มาเปิดตลาดใน ประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิต มอเตอร์ซายเคิ่ล รุ่น YA-1 เป็นรุ่นแรกในปี 1958 และความสำเร็จอันนั้นเองทำให้ในที่สุด บริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด จึงถือกำเนิดขึ้นในปีต่อมา ตราสัญลักษณ์ส้อมเสียงสามอัน ถูกเพิ่มด้วยภาพของ ล้อจักรยานยนต์ เป็นสัญลักษณ์ใหม่เพื่อแสดงถึงความสำคัญของการประสานกันระหว่างการผลิต การขาย และโครงสร้างทางวิศวกรรม
มาถึงตอนนี้ ยามาฮ่า อยู่กับประเทศไทยมาร่วมครึ่งศตวรรษแล้ว และก็ได้มีส่วนในการสนับสนุนวงการกีฬามาโดยตลอด ในส่วนของฟุตบอล ผมยังคุ้นชื่อ ยามาฮ่า สเตเดี้ยม ของ เมืองทอง ยูไนเต็ด เมื่อ 2-3 ปีก่อน และเห็นตราส้อมเสียงบนหน้าอกเสื้อของทีมในระดับลีกสูงสุดของไทยอีกหลายทีม
สำหรับ ยามาฮ่า ลีก วัน 2013 นี้ คุณพิทักษ์ ทับทิม ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด บอกกับผมว่า นอกจากการให้การสนับสนุนวงเงินจำนวนดังกล่าวที่เริ่มตั้งแต่ฤดูกาลที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีแล้ว เนื่องจากความนิยมในฟุตบอล ลีก วัน มันแผ่ซ่านไปทั่วประเทศ ดังนั้น ในฤดูกาลนี้ก็จะมีการมอบรางวัลให้แก่ นักเตะยอดเยี่ยม ดาวซัลโว ผู้ฝึกสอน โดยจัดเป็นประจำทุกเดือนและพอถึงสิ้นปีก็มีรางวัลเป็นรถจักรยานยนต์มอบให้ อันนี้รวมทั้งทีมแฟร์เพลย์ที่จะได้รับเป็นเงินรางวัลเพื่อนำไปแบ่งกันอีกด้วย
ความมันประจำสัปดาห์กำลังจะกลับมาอีกครั้ง ซึ่งทีมใน ยามาฮ่า ลีก วัน ก็มีกระจายอยู่เกือบทุกภาค จะขาดก็แต่ในภาคเหนือเท่านั้น เพราะ ทีทีเอ็ม ดันย้ายจาก เชียงใหม่ มาอยู่ที่ ลพบุรี แฟนบอลอยู่ใกล้แถบไหนก็จับจองเป็นแฟนทีมนั้น ช่วยกันจ่ายค่าบำรุงสโมสร พาครอบครัวไปซื้อตั๋วเข้าชมกันเยอะๆ ยามาฮ่า เป็นบริษัทใหญ่ ให้เป็นล้าน เราแฟนบอลตัวเล็กๆช่วยฟุตบอลไทยได้ก็ตรงนี้แหละครับ ให้หลักร้อย สโมสรบ้านเกิดของท่านจะได้มีเงินทองมาพัฒนาทีม เติบโตก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุด ถ้าเราหวังให้ทีมชาติไทยไปฟุตบอลโลก เราก็ต้องช่วยกันสร้างรากฐานให้แข็งแกร่ง แล้วบนหัวพีรามิดมันก็ย่อมจะดีไปเองครับ