คอลัมน์ “Final Quarter” โดย “ลุงแซม”
ถึงแม้ “ซูเปอร์โบว์ล” ครั้งที่ 47 ไม่ใช่คู่ชิงในฝันของใครหลายคน รวมถึงตัวผู้เขียน แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อ บัลติมอร์ เรฟเวนส์ เจ๋งจริงบุกเฆี่ยน นิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ ราบคาบคาถิ่น ก็คู่ควรแล้วที่ จอห์น ฮาร์บอห์ จะตีตั๋วไปนิวออร์ลีนส์ ตามน้องชาย (จิม ฮาร์บอห์) ไปชิงชัย “วินซ์ ลอมบาร์ดี โทรฟี” กับ ซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส เช้าวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 อย่างที่ทราบกันว่านี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ที่หัวหน้าโค้ชพี่น้องพานพบกันเองในเกมชิงแชมป์ประเทศ
ไม่ว่าใครจะขนานนามว่าเป็นศึก “ฮาร์โบว์ล” หรือ “ซูเปอร์บอห์” แต่เกมนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะการประชันกันระหว่าง “ควอเตอร์แบ็ก” ที่กำลังร้อนแรงด้วยกันทั้งคู่ โจ แฟล็กโก ขว้างไปแล้ว 853 หลา 8 ทัชดาวน์ ไม่เสียแม้แต่อินเทอร์เซปต์เดียวตลอด 3 เกมที่ผ่านมาในเพลย์ออฟ ลบทุกคำสบประมาท จากที่เคยพูดกันไปว่ายุคสมัยที่ เรฟเวนส์ มีจอมทัพที่ชื่อ โจ แฟล็กโก หลายทีมจับทางได้ไม่ยาก ป้องกันเกมวิ่งเอาไว้ บีบให้ควอเตอร์แบ็กดราฟท์รอบแรก คนที่ 18 ของปี 2008 ต้องเงื้อมือขว้างมากเท่าไหร่ยิ่งดี แล้วค่อยฉกฉวยความผิดพลาดจากการขว้างบอลไม่แม่นเป็นทุนเดิม แต่ ณ เวลานี้ดูเหมือนความมั่นใจของผู้เล่นวัย 28 ปี กำลังเปี่ยมล้น แต่ละไดรฟ์ที่สร้างขึ้นไปก่อนถึงเอ็นด์โซนล้วนเป็นเพลย์คุณภาพที่แหวกอากาศเข้ามือเพื่อนร่วมทีม
คงต้องให้เครดิต ออสซี นิวซัม ผู้จัดการทั่วไป รวมถึง จอห์น ฮาร์บอห์ ที่คงปรึกษากันแล้วว่า ต้องเติมอาวุธครบมือให้แก่ แฟล็กโก หากยังไม่ประสบความสำเร็จในปีนี้คงต้องทางใครทางมัน ซึ่งการทำงานในการดราฟท์ 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นผลชัดเจน เดนนิส พิตตา ปีกในดราฟท์รอบ 4 ปี 2010 ทำให้แฟนๆ “อีกาพญายม” ลืมชื่อ ท็อดด์ ฮีป ไปเลย ด้าน ทอร์เรย์ สมิธ ใช้เวลาเจียระไนแค่ปีเดียว ก็เริ่มสาดประกายแห่งความเป็นเพชรแท้ออกมา ขณะที่ อันควาน โบลดิน สยายปีกจากจากร่มเงา แลร์รี ฟิตซ์เจอรัลด์ เทรดจาก อริโซนา คาร์ดินัลส์ มาเป็นปีกนอกตัวโปรดของ แฟล็กโก ถึงวันนี้คงพูดได้ว่าเกมบุกของทีมมิใช่พึ่ง เรย์ ไรซ์ วิ่งตะลุยอย่างเดียว ในทางตรงกันข้ามเป็น แฟล็กโก ด้วยซ้ำที่ใช้เกมการขว้างเปิดทางให้รันนิงแบ็กโกยระยะกันฉลุย
มาดูคู่ประชันของ แฟล็กโก กันบ้างที่มุมแดง ชื่อของ โคลิน เคเปอร์นิค เป็นที่กล่าวขานในแต่ละเกมที่ลงสนาม จนกระทั่งมาทุบสถิติการวิ่งของควอเตอร์แบ็กในประวัติศาสตร์ โกยอ้าวไปได้ 181 หลา เกมดิวิชันนัล เพลย์ออฟ ที่ไล่ขยี้ กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส ใครว่า แอรอน ร็อดเจอร์ส ซูเปอร์สตาร์ กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส วิ่งเก่งแล้ว เห็นจอมทัพ โฟร์ตีไนเนอร์ส ตะลุยแล้วคงต้องอ้าปากค้าง ดูเหมือน “อ๊อปชั่น” แบบนี้กำลังฮิตในลีก ไล่ตั้งแต่ โรเบิร์ต กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด, รัสเซล วิลสัน มาจนถึง เคเปอร์นิค อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นดราฟท์รอบสอง ปี 2011 แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของควอเตอร์แบ็กที่ดีออกมา เกมคัมแบ็กใส่ แอตแลนตา ฟอลคอนส์ รอบชิงแชมป์สาย NFC ที่ผ่านมา ใครได้ชมเกมคงประจักษ์กับตาว่าพลังแขนของหมอนี่มีมากน้อยแค่ไหน และแม่นยำเพียงใด บอลที่ถูกสะบัดออกพูดตามประสา (อเมริกัน) ฟุตบอล ก็คือพุ่งเสียบอกเพื่อน
ที่สำคัญ เคเปอร์นิค สามารถซื้อใจเพื่อนร่วมทีม โดยเฉพาะรุ่นพี่อย่าง เวอร์นอน เดวิส ได้แล้ว ก่อนหน้านี้ ปีกในตัวเก่งเคยแขวะควอเตอร์แบ็กรุ่นน้องเอาแต่วิ่ง ขว้างไกลให้ ไมเคิล แคร็บทรี แต่ถึงวันนี้ทุกอ๊อปชั่นที่ เคเปอร์นิค ใส่ลงไปในสนาม ทำให้ทีมรับคู่แข่งตาลาย เดี๋ยวหลอกวิ่งเองบ้าง ยัดบอลให้ แฟรงค์ กอร์ ตะลุยตามแนวโกยระยะบ้าง มีขว้างสั้นให้ เดวิส บอมบ์ยาวให้ แคร็บทรี งานนี้เห็นที เอ็ด หรีด เซฟตี้ตัวเก๋า เรฟเวนส์ คอยซ้อนตัวคุมปีกให้ดี เรย์ ลูอิส กับ เทอร์เรลล์ ซักก์ส ต้องช่วยคีย์กันให้ดี มิเช่นนั้นอาจเป็นเหยื่อรายต่อไป พร้อมกับส่ง เคเปอร์นิค กลายเป็นควอเตอร์แบ็กคนที่ 3 ต่อจาก โจ มอนทานา และสตีฟ ยัง ที่นำพาเกียรติยศสมัยที่ 6 มาสู่ซานฟรานซิสโก ก็เป็นได้
ในส่วนแฟล็กโก จะก้าวขึ้นมาเป็นควอเตอร์แบ็กระดับท็อป 5 ของลีกได้อย่างเต็มภาคภูมิ ดั่งที่ตัวเองเคยประกาศกร้าวก่อนฤดูกาล 2012/13 เปิดฉาก ถ้านำ เรฟเวนส์ ชูแชมป์หนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ สัญญางามๆ รอให้เซ็นอยู่ตรงหน้าแล้ว แต่ถ้าไม่สามารถฝ่าบททดสอบการเป็น “ซูเปอร์สตาร์” จากบรรดาทีมรับสุดแกร่งของโฟร์ตีไนเนอร์ส ซึ่งนำมาโดย แพทริค วิลลิส ไปได้ สถิติเด่นๆ ของรองแชมป์คงไม่ค่อยมีใครพูดถึงนัก นี่จึงถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งความก้าวหน้าของผู้เล่นที่ชื่อว่า โจ แฟล็กโก อย่างแท้จริง
ถึงแม้ “ซูเปอร์โบว์ล” ครั้งที่ 47 ไม่ใช่คู่ชิงในฝันของใครหลายคน รวมถึงตัวผู้เขียน แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อ บัลติมอร์ เรฟเวนส์ เจ๋งจริงบุกเฆี่ยน นิวอิงแลนด์ แพทริออตส์ ราบคาบคาถิ่น ก็คู่ควรแล้วที่ จอห์น ฮาร์บอห์ จะตีตั๋วไปนิวออร์ลีนส์ ตามน้องชาย (จิม ฮาร์บอห์) ไปชิงชัย “วินซ์ ลอมบาร์ดี โทรฟี” กับ ซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส เช้าวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 อย่างที่ทราบกันว่านี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อเมริกัน ฟุตบอล เอ็นเอฟแอล (NFL) ที่หัวหน้าโค้ชพี่น้องพานพบกันเองในเกมชิงแชมป์ประเทศ
ไม่ว่าใครจะขนานนามว่าเป็นศึก “ฮาร์โบว์ล” หรือ “ซูเปอร์บอห์” แต่เกมนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะการประชันกันระหว่าง “ควอเตอร์แบ็ก” ที่กำลังร้อนแรงด้วยกันทั้งคู่ โจ แฟล็กโก ขว้างไปแล้ว 853 หลา 8 ทัชดาวน์ ไม่เสียแม้แต่อินเทอร์เซปต์เดียวตลอด 3 เกมที่ผ่านมาในเพลย์ออฟ ลบทุกคำสบประมาท จากที่เคยพูดกันไปว่ายุคสมัยที่ เรฟเวนส์ มีจอมทัพที่ชื่อ โจ แฟล็กโก หลายทีมจับทางได้ไม่ยาก ป้องกันเกมวิ่งเอาไว้ บีบให้ควอเตอร์แบ็กดราฟท์รอบแรก คนที่ 18 ของปี 2008 ต้องเงื้อมือขว้างมากเท่าไหร่ยิ่งดี แล้วค่อยฉกฉวยความผิดพลาดจากการขว้างบอลไม่แม่นเป็นทุนเดิม แต่ ณ เวลานี้ดูเหมือนความมั่นใจของผู้เล่นวัย 28 ปี กำลังเปี่ยมล้น แต่ละไดรฟ์ที่สร้างขึ้นไปก่อนถึงเอ็นด์โซนล้วนเป็นเพลย์คุณภาพที่แหวกอากาศเข้ามือเพื่อนร่วมทีม
คงต้องให้เครดิต ออสซี นิวซัม ผู้จัดการทั่วไป รวมถึง จอห์น ฮาร์บอห์ ที่คงปรึกษากันแล้วว่า ต้องเติมอาวุธครบมือให้แก่ แฟล็กโก หากยังไม่ประสบความสำเร็จในปีนี้คงต้องทางใครทางมัน ซึ่งการทำงานในการดราฟท์ 2-3 ปีที่ผ่านมาเห็นผลชัดเจน เดนนิส พิตตา ปีกในดราฟท์รอบ 4 ปี 2010 ทำให้แฟนๆ “อีกาพญายม” ลืมชื่อ ท็อดด์ ฮีป ไปเลย ด้าน ทอร์เรย์ สมิธ ใช้เวลาเจียระไนแค่ปีเดียว ก็เริ่มสาดประกายแห่งความเป็นเพชรแท้ออกมา ขณะที่ อันควาน โบลดิน สยายปีกจากจากร่มเงา แลร์รี ฟิตซ์เจอรัลด์ เทรดจาก อริโซนา คาร์ดินัลส์ มาเป็นปีกนอกตัวโปรดของ แฟล็กโก ถึงวันนี้คงพูดได้ว่าเกมบุกของทีมมิใช่พึ่ง เรย์ ไรซ์ วิ่งตะลุยอย่างเดียว ในทางตรงกันข้ามเป็น แฟล็กโก ด้วยซ้ำที่ใช้เกมการขว้างเปิดทางให้รันนิงแบ็กโกยระยะกันฉลุย
มาดูคู่ประชันของ แฟล็กโก กันบ้างที่มุมแดง ชื่อของ โคลิน เคเปอร์นิค เป็นที่กล่าวขานในแต่ละเกมที่ลงสนาม จนกระทั่งมาทุบสถิติการวิ่งของควอเตอร์แบ็กในประวัติศาสตร์ โกยอ้าวไปได้ 181 หลา เกมดิวิชันนัล เพลย์ออฟ ที่ไล่ขยี้ กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส ใครว่า แอรอน ร็อดเจอร์ส ซูเปอร์สตาร์ กรีนเบย์ แพ็คเกอร์ส วิ่งเก่งแล้ว เห็นจอมทัพ โฟร์ตีไนเนอร์ส ตะลุยแล้วคงต้องอ้าปากค้าง ดูเหมือน “อ๊อปชั่น” แบบนี้กำลังฮิตในลีก ไล่ตั้งแต่ โรเบิร์ต กริฟฟิน เดอะ เธิร์ด, รัสเซล วิลสัน มาจนถึง เคเปอร์นิค อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นดราฟท์รอบสอง ปี 2011 แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของควอเตอร์แบ็กที่ดีออกมา เกมคัมแบ็กใส่ แอตแลนตา ฟอลคอนส์ รอบชิงแชมป์สาย NFC ที่ผ่านมา ใครได้ชมเกมคงประจักษ์กับตาว่าพลังแขนของหมอนี่มีมากน้อยแค่ไหน และแม่นยำเพียงใด บอลที่ถูกสะบัดออกพูดตามประสา (อเมริกัน) ฟุตบอล ก็คือพุ่งเสียบอกเพื่อน
ที่สำคัญ เคเปอร์นิค สามารถซื้อใจเพื่อนร่วมทีม โดยเฉพาะรุ่นพี่อย่าง เวอร์นอน เดวิส ได้แล้ว ก่อนหน้านี้ ปีกในตัวเก่งเคยแขวะควอเตอร์แบ็กรุ่นน้องเอาแต่วิ่ง ขว้างไกลให้ ไมเคิล แคร็บทรี แต่ถึงวันนี้ทุกอ๊อปชั่นที่ เคเปอร์นิค ใส่ลงไปในสนาม ทำให้ทีมรับคู่แข่งตาลาย เดี๋ยวหลอกวิ่งเองบ้าง ยัดบอลให้ แฟรงค์ กอร์ ตะลุยตามแนวโกยระยะบ้าง มีขว้างสั้นให้ เดวิส บอมบ์ยาวให้ แคร็บทรี งานนี้เห็นที เอ็ด หรีด เซฟตี้ตัวเก๋า เรฟเวนส์ คอยซ้อนตัวคุมปีกให้ดี เรย์ ลูอิส กับ เทอร์เรลล์ ซักก์ส ต้องช่วยคีย์กันให้ดี มิเช่นนั้นอาจเป็นเหยื่อรายต่อไป พร้อมกับส่ง เคเปอร์นิค กลายเป็นควอเตอร์แบ็กคนที่ 3 ต่อจาก โจ มอนทานา และสตีฟ ยัง ที่นำพาเกียรติยศสมัยที่ 6 มาสู่ซานฟรานซิสโก ก็เป็นได้
ในส่วนแฟล็กโก จะก้าวขึ้นมาเป็นควอเตอร์แบ็กระดับท็อป 5 ของลีกได้อย่างเต็มภาคภูมิ ดั่งที่ตัวเองเคยประกาศกร้าวก่อนฤดูกาล 2012/13 เปิดฉาก ถ้านำ เรฟเวนส์ ชูแชมป์หนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ สัญญางามๆ รอให้เซ็นอยู่ตรงหน้าแล้ว แต่ถ้าไม่สามารถฝ่าบททดสอบการเป็น “ซูเปอร์สตาร์” จากบรรดาทีมรับสุดแกร่งของโฟร์ตีไนเนอร์ส ซึ่งนำมาโดย แพทริค วิลลิส ไปได้ สถิติเด่นๆ ของรองแชมป์คงไม่ค่อยมีใครพูดถึงนัก นี่จึงถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งความก้าวหน้าของผู้เล่นที่ชื่อว่า โจ แฟล็กโก อย่างแท้จริง