คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะทำจำนวนเบอร์ดี้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ก็ควรปล่อยให้ผ่านไป ถึงแม้ว่าในบางครั้งก็มีคำถามผ่านเข้ามาในหัวหลังจากที่เพิ่งจะได้เบอร์ดี้มาหมาดๆ ว่า "ทำไมกว่าจะแต่ละเบอร์ดี้มันยากจัง" เพราะเวลานึกจะเสียกลับง่ายเหมือนมีพรสวรรค์อย่างไรอย่างนั้น ยิ่งในวันที่สถานการณ์ย่ำแย่ ความรู้สึกไม่มา จังหวะไม่มีแล้วล่ะก็ เหมือนยิ่งยากเป็นสองเท่ากว่าจะได้จดตัวเลขแล้วมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมกำกับอยู่ในสกอร์การ์ด
แต่ในมุมมองความเป็นจริงโดยยิ่งถ้ามองในแง่ของตรรกะแล้ว เบอร์ดี้นั้นสามารถได้มาจากสองสถานการณ์ แบบแรกก็คือตามตำราเลยครับ ตีตามเรคกูเลชั่นออนตามที่เค้ากำหนดแล้วสามารถทำหนึ่งพัตต์ได้สำเร็จ หรืออีกแบบหนึ่งก็คือไม่มีโอกาสได้พัตต์เบอร์ดี้ แต่ตีหรือชิพลงไปจากที่ไหนสักแห่งนอกเหนือจากผิวกรีน แต่ยังต่ำกว่าพาร์อยู่หนึ่งช็อตก็ได้เบอร์ดี้เช่นกัน ความน่าจะเป็นที่ดูแล้วเป็นไปได้มากกว่าก็คือแบบแรก ในกรณีพาร์ 4 ก็เพียงแค่ไดร์ฟออกไปอย่าให้เสียหายมากนัก ตีช็อตต่อไปให้ออนแล้วไปลุ้นทำพัตต์เดียวให้ได้ เพียงเท่านี้ก็ได้เบอร์ดี้แล้ว
พอพูดในมุมมองของหลักการณ์แล้วมันดูง่ายเหลือเกินใช่ไหมครับ เพราะในสถานการณ์จริงมักจะมีเรื่องของปัจจัยภายนอกต่างๆเข้ามาท้าทายให้ว้าวุ่นใจเล่นๆอยู่เสมอ จึงทำให้หลักการง่ายๆ กลายเป็นเรื่องยากไปเสียอย่างนั้น หรือบางคนที่ตีออนเยอะเหลือเกิน แต่พัตต์เท่าไหร่ก็ไม่ลง เก็บพัตต์เดียวไม่ได้เลย ความรู้สึกเปรียบได้ดั่งทีมฟุตบอลที่มีโอกาสยิงทั้งเกมร่วม 30 ครั้ง แต่ได้มาเพียงประตูเดียวหรือไม่ได้เลย สถานการณ์เช่นนี้มักพาลเอาหงุดหงิดจนบางครั้งเหนื่อยใจเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน
แต่สิ่งหนึ่งที่ควรบอกกับตัวเองและยึดมั่นเอาไว้ให้ได้ก็คือ "อย่าท้อถอย" ให้ลองมองในอีกมุมหนึ่งดู เมื่อใดที่เรายังสามารถสร้างสรรค์โอกาสพัตต์เบอร์ดี้ได้อยู่เรื่อยๆ... เดี๋ยวมันก็มาเอง! เพราะกอล์ฟเองก็เหมือนกับกีฬาอื่นทั่วไปที่ "เมื่อใดที่ใจไม่สู้...ก็จบ!"
ขึ้นปีใหม่แล้ว มาตั้งเป้าใหม่และสู้ต่อไปนะครับ สวัสดีปีใหม่ครับ
ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะทำจำนวนเบอร์ดี้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ก็ควรปล่อยให้ผ่านไป ถึงแม้ว่าในบางครั้งก็มีคำถามผ่านเข้ามาในหัวหลังจากที่เพิ่งจะได้เบอร์ดี้มาหมาดๆ ว่า "ทำไมกว่าจะแต่ละเบอร์ดี้มันยากจัง" เพราะเวลานึกจะเสียกลับง่ายเหมือนมีพรสวรรค์อย่างไรอย่างนั้น ยิ่งในวันที่สถานการณ์ย่ำแย่ ความรู้สึกไม่มา จังหวะไม่มีแล้วล่ะก็ เหมือนยิ่งยากเป็นสองเท่ากว่าจะได้จดตัวเลขแล้วมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมกำกับอยู่ในสกอร์การ์ด
แต่ในมุมมองความเป็นจริงโดยยิ่งถ้ามองในแง่ของตรรกะแล้ว เบอร์ดี้นั้นสามารถได้มาจากสองสถานการณ์ แบบแรกก็คือตามตำราเลยครับ ตีตามเรคกูเลชั่นออนตามที่เค้ากำหนดแล้วสามารถทำหนึ่งพัตต์ได้สำเร็จ หรืออีกแบบหนึ่งก็คือไม่มีโอกาสได้พัตต์เบอร์ดี้ แต่ตีหรือชิพลงไปจากที่ไหนสักแห่งนอกเหนือจากผิวกรีน แต่ยังต่ำกว่าพาร์อยู่หนึ่งช็อตก็ได้เบอร์ดี้เช่นกัน ความน่าจะเป็นที่ดูแล้วเป็นไปได้มากกว่าก็คือแบบแรก ในกรณีพาร์ 4 ก็เพียงแค่ไดร์ฟออกไปอย่าให้เสียหายมากนัก ตีช็อตต่อไปให้ออนแล้วไปลุ้นทำพัตต์เดียวให้ได้ เพียงเท่านี้ก็ได้เบอร์ดี้แล้ว
พอพูดในมุมมองของหลักการณ์แล้วมันดูง่ายเหลือเกินใช่ไหมครับ เพราะในสถานการณ์จริงมักจะมีเรื่องของปัจจัยภายนอกต่างๆเข้ามาท้าทายให้ว้าวุ่นใจเล่นๆอยู่เสมอ จึงทำให้หลักการง่ายๆ กลายเป็นเรื่องยากไปเสียอย่างนั้น หรือบางคนที่ตีออนเยอะเหลือเกิน แต่พัตต์เท่าไหร่ก็ไม่ลง เก็บพัตต์เดียวไม่ได้เลย ความรู้สึกเปรียบได้ดั่งทีมฟุตบอลที่มีโอกาสยิงทั้งเกมร่วม 30 ครั้ง แต่ได้มาเพียงประตูเดียวหรือไม่ได้เลย สถานการณ์เช่นนี้มักพาลเอาหงุดหงิดจนบางครั้งเหนื่อยใจเอาได้ง่ายๆ เหมือนกัน
แต่สิ่งหนึ่งที่ควรบอกกับตัวเองและยึดมั่นเอาไว้ให้ได้ก็คือ "อย่าท้อถอย" ให้ลองมองในอีกมุมหนึ่งดู เมื่อใดที่เรายังสามารถสร้างสรรค์โอกาสพัตต์เบอร์ดี้ได้อยู่เรื่อยๆ... เดี๋ยวมันก็มาเอง! เพราะกอล์ฟเองก็เหมือนกับกีฬาอื่นทั่วไปที่ "เมื่อใดที่ใจไม่สู้...ก็จบ!"
ขึ้นปีใหม่แล้ว มาตั้งเป้าใหม่และสู้ต่อไปนะครับ สวัสดีปีใหม่ครับ