คอลัมน์ “The Golf Touch” โดย “วันปีย์ สัจจมาร์ค”
บ่อยครั้งที่ท่านนักกอล์ฟจะโดนความผิดพลาดพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ เล่นงาน อาจเป็นเพราะว่าบางทีดูเป็นเรื่องที่เรามองข้ามไป และไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราที่เล่นกอล์ฟมากว่า 10 ปี แต่รู้หรือไม่ว่าหลายต่อหลายครั้งที่ความผิดพลาดระดับ "อนุบาล” สามารถย้อนกลับมาเล่นงานเราได้อย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน ซึ่งในวันนี้สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงก็คือเรื่องของการ "ถ่ายน้ำหนัก"
การถ่ายเทน้ำหนักของร่างกายขณะสวิงนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมาก ทุกๆ วันในการฝึกซ้อมท่านนักกอล์ฟหลายๆ ท่านมักจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวงสวิงให้ดีขึ้นในจุดนั้นหรือจุดนี้ และแน่นอนว่าเรามักจะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องพื้นฐานอย่างเช่น การถ่ายน้ำหนัก เนื่องจากว่าเราชินและคิดว่าร่างกายของเราทำงานเป็นระบบออโต้ไปแล้ว แต่บางครั้งปัญหาของวงสวิงที่กำลังแก้อยู่นั้น ก็มาจากความผิดเพี้ยนของเรื่องที่ดูง่ายๆ เหล่านี้แบบที่เราไม่รู้ตัว วันนี้ผมมีแบบฝึกง่ายๆ ที่จะทำให้ร่างกายสามารถรับรู้ ซึมซับ กับการถ่ายน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพมาฝากกันครับ
ในวันที่เราเข้าสนามไดร์ฟเพื่อทำการฝึกซ้อม ขอให้ท่านนักกอล์ฟลองย้อนกลับไปในวันที่เราเริ่มเล่นกอล์ฟวันแรกๆ วันที่เรายังไร้เดียงสา ไม่รู้เคล็ดลับวิชาอะไรมากนัก แล้วหันมาสนใจกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักมากขึ้น เริ่มต้นที่เหล็กใดก็ได้ที่เจ้าตัวรู้สึกถนัด จากนั้นทำการเข้าเซ็ทอัพโดยมีลูกกอล์ฟอยู่ตามปกติ ความกว้างของเท้าประมาณช่วงไหล่ ต่อไปให้เริ่มทำการแบ็คสวิงขึ้นโดยขณะที่กำลังลากไม้ขึ้นไปนั้น ให้ท่านนักกอล์ฟก้าวเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา(ในกรณีถนัดขวา) โดยจังหวะที่เท้าก้าวมาชิดกันนั้นจะเป็นจังหวะที่ตำแหน่งไม้กอล์ฟขึ้นไปอยู่บนจุดท็อปสวิงพอดี เมื่อจัดลำตัวทุกอย่างได้นิ่งแล้วให้เริ่มต้นการดาวน์สวิงโดยการสืบเท้าซ้ายกลับเข้าไปยึดมั่นที่ตำแหน่งเดิมเหมือนตอนเซ็ทอัพ พร้อมทั้งทำการดาวน์สวิงลงมาตีลูกได้เลย แรกๆ อาจจะมีตีแป้กบ้าง หรือไม่โดนลูกเลยบ้าง มันเป็นเรื่องของจังหวะสวิงของเราซึ่งต้องลองฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ แล้วสิ่งที่ท่านจะได้กลับมาคือเรื่องของความรู้สึก ความชัดเจนของการถ่ายน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
ระวังนะครับ! แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับนักกอล์ฟทุกระดับ กระทั่งนักกอล์ฟประสบการณ์สูงก็ตาม แต่อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดระดับอนุบาลมาเป็นสาเหตุของการพัฒนาวงสวิงแบบที่เราไม่รู้ตัวบ่อยๆ หมั่นเช็คเรื่องเบสิคกับตัวเองเสมอนะครับ
บ่อยครั้งที่ท่านนักกอล์ฟจะโดนความผิดพลาดพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ เล่นงาน อาจเป็นเพราะว่าบางทีดูเป็นเรื่องที่เรามองข้ามไป และไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราที่เล่นกอล์ฟมากว่า 10 ปี แต่รู้หรือไม่ว่าหลายต่อหลายครั้งที่ความผิดพลาดระดับ "อนุบาล” สามารถย้อนกลับมาเล่นงานเราได้อย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน ซึ่งในวันนี้สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงก็คือเรื่องของการ "ถ่ายน้ำหนัก"
การถ่ายเทน้ำหนักของร่างกายขณะสวิงนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมาก ทุกๆ วันในการฝึกซ้อมท่านนักกอล์ฟหลายๆ ท่านมักจะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงวงสวิงให้ดีขึ้นในจุดนั้นหรือจุดนี้ และแน่นอนว่าเรามักจะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องพื้นฐานอย่างเช่น การถ่ายน้ำหนัก เนื่องจากว่าเราชินและคิดว่าร่างกายของเราทำงานเป็นระบบออโต้ไปแล้ว แต่บางครั้งปัญหาของวงสวิงที่กำลังแก้อยู่นั้น ก็มาจากความผิดเพี้ยนของเรื่องที่ดูง่ายๆ เหล่านี้แบบที่เราไม่รู้ตัว วันนี้ผมมีแบบฝึกง่ายๆ ที่จะทำให้ร่างกายสามารถรับรู้ ซึมซับ กับการถ่ายน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพมาฝากกันครับ
ในวันที่เราเข้าสนามไดร์ฟเพื่อทำการฝึกซ้อม ขอให้ท่านนักกอล์ฟลองย้อนกลับไปในวันที่เราเริ่มเล่นกอล์ฟวันแรกๆ วันที่เรายังไร้เดียงสา ไม่รู้เคล็ดลับวิชาอะไรมากนัก แล้วหันมาสนใจกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักมากขึ้น เริ่มต้นที่เหล็กใดก็ได้ที่เจ้าตัวรู้สึกถนัด จากนั้นทำการเข้าเซ็ทอัพโดยมีลูกกอล์ฟอยู่ตามปกติ ความกว้างของเท้าประมาณช่วงไหล่ ต่อไปให้เริ่มทำการแบ็คสวิงขึ้นโดยขณะที่กำลังลากไม้ขึ้นไปนั้น ให้ท่านนักกอล์ฟก้าวเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา(ในกรณีถนัดขวา) โดยจังหวะที่เท้าก้าวมาชิดกันนั้นจะเป็นจังหวะที่ตำแหน่งไม้กอล์ฟขึ้นไปอยู่บนจุดท็อปสวิงพอดี เมื่อจัดลำตัวทุกอย่างได้นิ่งแล้วให้เริ่มต้นการดาวน์สวิงโดยการสืบเท้าซ้ายกลับเข้าไปยึดมั่นที่ตำแหน่งเดิมเหมือนตอนเซ็ทอัพ พร้อมทั้งทำการดาวน์สวิงลงมาตีลูกได้เลย แรกๆ อาจจะมีตีแป้กบ้าง หรือไม่โดนลูกเลยบ้าง มันเป็นเรื่องของจังหวะสวิงของเราซึ่งต้องลองฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ แล้วสิ่งที่ท่านจะได้กลับมาคือเรื่องของความรู้สึก ความชัดเจนของการถ่ายน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ
ระวังนะครับ! แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับนักกอล์ฟทุกระดับ กระทั่งนักกอล์ฟประสบการณ์สูงก็ตาม แต่อย่าปล่อยให้ความผิดพลาดระดับอนุบาลมาเป็นสาเหตุของการพัฒนาวงสวิงแบบที่เราไม่รู้ตัวบ่อยๆ หมั่นเช็คเรื่องเบสิคกับตัวเองเสมอนะครับ