คอลัมน์ "The Golf Touch" โดย "วันปีย์ สัจจมาร์ค"
สนามกอล์ฟในสมัยนี้มักจะมีองค์ประกอบที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสูตรสำเร็จอยู่แล้ว ทั้งคลับเฮ้าส์ กรีนซ้อมชิพซ้อมพัตต์ สนามไดร์ฟ รวมไปถึงห้องอาหารติดแอร์ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้สนามส่วนมากจะคอยพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ แต่ถ้าพูดถึงในส่วนของมาตรฐานระยะแต่ละสนามแล้ว คำว่าสนามสั้นกับสนามยาว สำหรับแต่ละคนคงจะมีความหมายไม่เหมือนกัน
โดยเฉพาะในระดับมือสมัครเล่น บางคนสนามระยะ 6,800 หลา ก็อาจจะยาวเกินไปก็ได้ แต่ถ้าในมุมมองของนักกอล์ฟอาชีพแล้ว สามารถคิดง่ายๆว่า ถ้าสนามพาร์ 72 แล้วมีระยะ 7,200 หลา เฉลี่ยแล้วตกพาร์ละ 100 หลา ถือว่าโอเค แฟร์สำหรับการเล่น แน่นอนว่าระยะที่สั้นหรือยาวกว่าเกณฑ์นี้ ก็คือคำว่าสนามสั้น-ยาว สำหรับบรรดาโปรนั่นเอง แต่ก็ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีอุปกรณ์สมัยนี้ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของร่างกายนักกอล์ฟ จึงทำให้หลายๆสนามมีการเพิ่มระยะเพื่อรองรับในส่วนนี้
ถ้าเราลองเปรียบเทียบกับสนามที่ใช้จัดแข่งในรายการต่างๆทั้งในรายการเมเจอร์และพีจีเอทัวร์แล้วเป็นอย่างไร เราลองมาดูกันนะครับ
สนามกลุ่มนี้คือบรรดาสนามที่มีความจำเป็นต้องยาว เพราะรองรับรายการใหญ่ที่ต้องมีความท้าทายสูง หลายสนามสมัยนี้จึงต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อปรับสภาพสนามให้ยาวขึ้นให้เหมาะสมกับความท้าทายของสมรรถภาพนักกอล์ฟในสมัยปัจจุบัน แต่อันที่จริงแล้ว บางสนามที่มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถเพิ่มเนื้อที่ได้แล้ว ก็ยังสามารถปรับอัตราความท้าทายให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้ เพราะถึงแม้จะเป็นสนามยาวเพียงแค่ 7,000 หลา แต่ก็สามารถลดจำนวนพาร์ให้เป็นสนามพาร์ 70 โดยยกเลิกพาร์ 5 ซัก 2 หลุม ก็สามารถพอที่จะเพิ่มความท้าทายให้มีระยะเฉลี่ยต่อพาร์พอๆกันกับสนามที่ใช้แข่งรายการเมเจอร์เช่นกัน
สนามกอล์ฟในสมัยนี้มักจะมีองค์ประกอบที่ถือว่าเป็นมาตรฐานสูตรสำเร็จอยู่แล้ว ทั้งคลับเฮ้าส์ กรีนซ้อมชิพซ้อมพัตต์ สนามไดร์ฟ รวมไปถึงห้องอาหารติดแอร์ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้สนามส่วนมากจะคอยพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ แต่ถ้าพูดถึงในส่วนของมาตรฐานระยะแต่ละสนามแล้ว คำว่าสนามสั้นกับสนามยาว สำหรับแต่ละคนคงจะมีความหมายไม่เหมือนกัน
โดยเฉพาะในระดับมือสมัครเล่น บางคนสนามระยะ 6,800 หลา ก็อาจจะยาวเกินไปก็ได้ แต่ถ้าในมุมมองของนักกอล์ฟอาชีพแล้ว สามารถคิดง่ายๆว่า ถ้าสนามพาร์ 72 แล้วมีระยะ 7,200 หลา เฉลี่ยแล้วตกพาร์ละ 100 หลา ถือว่าโอเค แฟร์สำหรับการเล่น แน่นอนว่าระยะที่สั้นหรือยาวกว่าเกณฑ์นี้ ก็คือคำว่าสนามสั้น-ยาว สำหรับบรรดาโปรนั่นเอง แต่ก็ด้วยเหตุผลหลายๆประการ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีอุปกรณ์สมัยนี้ รวมไปถึงวิทยาศาสตร์การกีฬาที่เข้ามาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของร่างกายนักกอล์ฟ จึงทำให้หลายๆสนามมีการเพิ่มระยะเพื่อรองรับในส่วนนี้
ถ้าเราลองเปรียบเทียบกับสนามที่ใช้จัดแข่งในรายการต่างๆทั้งในรายการเมเจอร์และพีจีเอทัวร์แล้วเป็นอย่างไร เราลองมาดูกันนะครับ
สนามกลุ่มนี้คือบรรดาสนามที่มีความจำเป็นต้องยาว เพราะรองรับรายการใหญ่ที่ต้องมีความท้าทายสูง หลายสนามสมัยนี้จึงต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อปรับสภาพสนามให้ยาวขึ้นให้เหมาะสมกับความท้าทายของสมรรถภาพนักกอล์ฟในสมัยปัจจุบัน แต่อันที่จริงแล้ว บางสนามที่มีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถเพิ่มเนื้อที่ได้แล้ว ก็ยังสามารถปรับอัตราความท้าทายให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้ เพราะถึงแม้จะเป็นสนามยาวเพียงแค่ 7,000 หลา แต่ก็สามารถลดจำนวนพาร์ให้เป็นสนามพาร์ 70 โดยยกเลิกพาร์ 5 ซัก 2 หลุม ก็สามารถพอที่จะเพิ่มความท้าทายให้มีระยะเฉลี่ยต่อพาร์พอๆกันกับสนามที่ใช้แข่งรายการเมเจอร์เช่นกัน