คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ตามประวัติศาสตร์นั้นถือว่า ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเมรีกาใต้ ( Campeonato Sudamericano Copa America ) หรือเรียกกันสั้นๆว่า โกปา อาเมรีกา ( Copa America ) เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1916 โดย อารเกนตีนา เป็นเจ้าภาพครั้งแรก ระหว่างวันที่ 2-17 กรกฎาคม ทั้งนี้ก็เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 1 ศตวรรษแห่งการประกาศอิสรภาพ 9 กรกฎาคม 1816 ซึ่งตอนนั้นมีเพียง 4 ชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันคือ อารเกนตีนา ชีเล อูรูกวัย และ บราซิว โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า กัมเปโอนาโต ซุดดาเมรีกาโน เด เซเล็กซิโอเนส ( Campeonato Sudamericano de Selecciones ) และ อูรูกวัย คว้าแชมป์สมัยแรกไปครอง
เมื่อการจัดการแข่งขันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เอ็กตอร รีวาดาวิอา ( Hector Rivadavia ) กรรมการบริหารของ สมาคมฟุตบอล อูรูกวัย จึงเสนอให้จัดตั้ง สมาพันธ์ฟุตบอล อารเกนตีนา ชีเล อูรูกวัย และ บราซิว ซึ่งในวันที่ 9 กรกฎาคมนั้นเอง สมาพันธ์ฟุตบอล อาเมรีกาใต้ ( CONMEBOL ) จึงถือกำเนิดขึ้น
การแข่งขันสะดุดลงบ้าง เมื่อมีการระบาดของเชื้อวายรัสไข้หวัดใหญ่ใน รีโอ เดอ จาไนโร ประเทศบราซิล ทำให้ต้องยกเลิกการแข่งขันในปี 1918 ในระหว่างนั้น นับตั้งแต่ปี 1921 ชาติอื่นๆก็เริ่มทะยอยเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก CONMEBOL เริ่มจาก ปารากวัย โบลีวิอา และ เปรู
หลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 1930 ที่ อูรูกวัย ซึ่งเจ้าภาพคว้าแชมป์โลกโดยเอาชนะ อารเกนตีนา ในนัดชิงชนะเลิศ 4-2 ทำให้ความสัมพันธ์ของ 2 สมาคมเริ่มเกิดปัญหา จากมิตรกลายเป็นศัตรู โกปา อาเมรีกา ต้องหยุดชะงักไปจนถึงปี 1935 จึงได้กลับมาจัดการแข่งขันอีกครั้งที่ เปรู และในปี 1939 CONMEBOL ได้ เอกวาดอร เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มอีกหนึ่งชาติ
ในยุคนั้น การแข่งขันยังถูกจัดขึ้นทุกๆปี จนกระทั่งในช่วงปี 1945-47 อารเกนตีนา คว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน จึงเริ่มมีการแยกการแข่งขันออกเป็น 2 ปีครั้ง 3 ปีครั้ง และในที่สุด กลายเป็นจัดทุกๆ 4 ปี อย่างไรก็ตาม บางครั้งมี โกปา อาเมรีกา ถึง 2 หนในปีเดียวกันก็มี อย่างเช่นในปี 1959 ทั้ง อารเกนตีนา และ เอกวาดอร ต่างคนต่างก็เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันของตนเอง ซึ่งก็ทำให้แต่ละชาติต้องแยกส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน บางครั้งต้องส่งทีมเล็กหรือทีมจังหวัดไปแข่ง
เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค 60 เริ่มมีการจัดการแข่งขัน โกปา ลีแบรตาโดเรส ( Copa Libertadores ) ฟุตบอลสโมสร อาเมรีกาใต้ ทำให้หลายชาติให้ความสำคัญกับ โกปา อาเมรีกา น้อยลงไปมาก จากหนสุดท้ายในปี 1967 ก็ต้องว่างเว้นไปอีกร่วม 8 ปี จนกลับมาจัดการแข่งขันขึ้นใหม่ในปี 1975 พร้อมกับการใช้ชื่อ โกปา อาเมรีกา อย่างเป็นทางการ และไม่มีการกำหนดประเทศเจ้าภาพ แต่แข่งกันแบบ เหย้า-เยือน
ตั้งแต่ปี 1986 CONMEBOL เริ่มมาคิดกันว่า ควรจะจัดการแข่งขัน 2 ปีครั้งและให้ชาติสมาชิกซึ่งตอนนั้นมี 10 ชาติได้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในปัจจุบัน ท้ายสุดมีการเรียงลำดับชาติเจ้าภาพตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ และใช้ระบบการจัดการแข่งขัน 4 ปีหน นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1993 ยังมีการเชิญทีมจากนอกทวีปอีก 2 ทีมเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย โดยเฉพาะจาก สมาพันธ์ฟุตบอล อาเมรีกาเหนือ กลาง และแคริบเบียน ( CONCACAF ) เนื่องจากมีความใกล้ชิดกัน ทั้งที่ตั้งและวัฒนธรรม เช่น กอสตารีกา ออนดูรัส เมฮีโก สหรัฐอเมรีกา แคนาดาก็เคยได้รับเชิญ หรืออาจจะอยู่ไกลโพ้นไปเลยอย่าง ญี่ปุ่น ก็ยังได้รับเชิญอย่างสม่ำเสมอ
ในปีนี้ โกปา อาเมรีกา 1 ในรายการฟุตบอลที่มีผู้ชมทั่วโลกมากที่สุด นับเป็นครั้งที่ 43 แล้ว โดย อารเกนตีนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-24 กรกฎาคมนี้ มี 12 ชาติเข้าร่วมการแข่งขันคือ 10 ชาติจากทวีปอาเมรีกาใต้ และอีก 2 ชาติที่ได้รับเชิญคือ เมฮีโก กับ กอสตารีกา ที่มาแทน ญี่ปุ่น ซึ่ง บราซิว แชมป์เก่าในปี 2007 จะรักษาแชมป์ได้หรือไม่ ติดตามชมกันครับ
ตามประวัติศาสตร์นั้นถือว่า ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเมรีกาใต้ ( Campeonato Sudamericano Copa America ) หรือเรียกกันสั้นๆว่า โกปา อาเมรีกา ( Copa America ) เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1916 โดย อารเกนตีนา เป็นเจ้าภาพครั้งแรก ระหว่างวันที่ 2-17 กรกฎาคม ทั้งนี้ก็เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 1 ศตวรรษแห่งการประกาศอิสรภาพ 9 กรกฎาคม 1816 ซึ่งตอนนั้นมีเพียง 4 ชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันคือ อารเกนตีนา ชีเล อูรูกวัย และ บราซิว โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า กัมเปโอนาโต ซุดดาเมรีกาโน เด เซเล็กซิโอเนส ( Campeonato Sudamericano de Selecciones ) และ อูรูกวัย คว้าแชมป์สมัยแรกไปครอง
เมื่อการจัดการแข่งขันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เอ็กตอร รีวาดาวิอา ( Hector Rivadavia ) กรรมการบริหารของ สมาคมฟุตบอล อูรูกวัย จึงเสนอให้จัดตั้ง สมาพันธ์ฟุตบอล อารเกนตีนา ชีเล อูรูกวัย และ บราซิว ซึ่งในวันที่ 9 กรกฎาคมนั้นเอง สมาพันธ์ฟุตบอล อาเมรีกาใต้ ( CONMEBOL ) จึงถือกำเนิดขึ้น
การแข่งขันสะดุดลงบ้าง เมื่อมีการระบาดของเชื้อวายรัสไข้หวัดใหญ่ใน รีโอ เดอ จาไนโร ประเทศบราซิล ทำให้ต้องยกเลิกการแข่งขันในปี 1918 ในระหว่างนั้น นับตั้งแต่ปี 1921 ชาติอื่นๆก็เริ่มทะยอยเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก CONMEBOL เริ่มจาก ปารากวัย โบลีวิอา และ เปรู
หลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 1930 ที่ อูรูกวัย ซึ่งเจ้าภาพคว้าแชมป์โลกโดยเอาชนะ อารเกนตีนา ในนัดชิงชนะเลิศ 4-2 ทำให้ความสัมพันธ์ของ 2 สมาคมเริ่มเกิดปัญหา จากมิตรกลายเป็นศัตรู โกปา อาเมรีกา ต้องหยุดชะงักไปจนถึงปี 1935 จึงได้กลับมาจัดการแข่งขันอีกครั้งที่ เปรู และในปี 1939 CONMEBOL ได้ เอกวาดอร เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มอีกหนึ่งชาติ
ในยุคนั้น การแข่งขันยังถูกจัดขึ้นทุกๆปี จนกระทั่งในช่วงปี 1945-47 อารเกนตีนา คว้าแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน จึงเริ่มมีการแยกการแข่งขันออกเป็น 2 ปีครั้ง 3 ปีครั้ง และในที่สุด กลายเป็นจัดทุกๆ 4 ปี อย่างไรก็ตาม บางครั้งมี โกปา อาเมรีกา ถึง 2 หนในปีเดียวกันก็มี อย่างเช่นในปี 1959 ทั้ง อารเกนตีนา และ เอกวาดอร ต่างคนต่างก็เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันของตนเอง ซึ่งก็ทำให้แต่ละชาติต้องแยกส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน บางครั้งต้องส่งทีมเล็กหรือทีมจังหวัดไปแข่ง
เมื่อก้าวเข้าสู่ยุค 60 เริ่มมีการจัดการแข่งขัน โกปา ลีแบรตาโดเรส ( Copa Libertadores ) ฟุตบอลสโมสร อาเมรีกาใต้ ทำให้หลายชาติให้ความสำคัญกับ โกปา อาเมรีกา น้อยลงไปมาก จากหนสุดท้ายในปี 1967 ก็ต้องว่างเว้นไปอีกร่วม 8 ปี จนกลับมาจัดการแข่งขันขึ้นใหม่ในปี 1975 พร้อมกับการใช้ชื่อ โกปา อาเมรีกา อย่างเป็นทางการ และไม่มีการกำหนดประเทศเจ้าภาพ แต่แข่งกันแบบ เหย้า-เยือน
ตั้งแต่ปี 1986 CONMEBOL เริ่มมาคิดกันว่า ควรจะจัดการแข่งขัน 2 ปีครั้งและให้ชาติสมาชิกซึ่งตอนนั้นมี 10 ชาติได้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ซึ่งในปัจจุบัน ท้ายสุดมีการเรียงลำดับชาติเจ้าภาพตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ และใช้ระบบการจัดการแข่งขัน 4 ปีหน นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1993 ยังมีการเชิญทีมจากนอกทวีปอีก 2 ทีมเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย โดยเฉพาะจาก สมาพันธ์ฟุตบอล อาเมรีกาเหนือ กลาง และแคริบเบียน ( CONCACAF ) เนื่องจากมีความใกล้ชิดกัน ทั้งที่ตั้งและวัฒนธรรม เช่น กอสตารีกา ออนดูรัส เมฮีโก สหรัฐอเมรีกา แคนาดาก็เคยได้รับเชิญ หรืออาจจะอยู่ไกลโพ้นไปเลยอย่าง ญี่ปุ่น ก็ยังได้รับเชิญอย่างสม่ำเสมอ
ในปีนี้ โกปา อาเมรีกา 1 ในรายการฟุตบอลที่มีผู้ชมทั่วโลกมากที่สุด นับเป็นครั้งที่ 43 แล้ว โดย อารเกนตีนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 1-24 กรกฎาคมนี้ มี 12 ชาติเข้าร่วมการแข่งขันคือ 10 ชาติจากทวีปอาเมรีกาใต้ และอีก 2 ชาติที่ได้รับเชิญคือ เมฮีโก กับ กอสตารีกา ที่มาแทน ญี่ปุ่น ซึ่ง บราซิว แชมป์เก่าในปี 2007 จะรักษาแชมป์ได้หรือไม่ ติดตามชมกันครับ