เซปป์ แบลตเตอร์ หนุ่มใหญ่ชาวสวิสวัย 75 ปี ได้รับการโหวตจากชาติสมาชิกถึง 186 จาก 203 เสียงที่ลงคะแนน ทำให้ได้ดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) สมัยที่ 4 อย่างเป็นเอกฉันท์ พร้อมทั้งประกาศว่าจะขจัดภาพลักษณ์อื้อฉาวให้หมดสิ้น
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี (ฟีฟ่า คองเกรส) ครั้งที่ 61 ที่สำนักงานใหญ่ในนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2554 โดยมีวาระสำคัญอยู่ที่การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าคนใหม่ อย่างไรก็ตาม จากการที่ โมฮาเหม็ด บิน ฮัมมัม ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ชาวกาตาร์ วัย 62 ปีถอนตัวออกไป หลังจากโดนข้อกล่าวหาซื้อเสียงเลือกตั้งและถูกพักงานชั่วคราว ทำให้ แบลตเตอร์ กลายเป็นตัวเต็งจากการเป็นผู้ลงสมัครเพียงรายเดียว
ซึ่งภายหลังจากผู้แทนของสมาคมฟุตบอลชาติต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่าที่มาเข้าร่วมประชุม 206 ชาติจากจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 208 ชาติลงคะแนนแบบลับ โดยให้ทยอยเข้าไปลงคะแนนในคูหาทีละ 2 คน ปรากฏว่ามีสมาชิกลงคะแนนเสียง 203 ชาติ ซึ่ง 186 ชาติในจำนวนดังกล่าวเลือกให้ แบลตเตอร์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานฟีฟ่าต่อไปเป็นสมัยที่ 4 หลังจากครองเก้าอี้มานับตั้งแต่ปี 1998 ต่อจาก โจอัว ฮาเวลานจ์ และจะทำหน้าที่ต่อไปอีก 4 ปี
ด้าน แบลตเตอร์ ออกมาแถลงภายหลังได้รับความไว้วางใจให้นั่งบัลลังก์ประมุขแห่งวงการลูกหนังโลกต่อไปว่า “เราจะนำนาวาที่ชื่อว่าฟีฟ่ากลับมาอยู่ในทิศทางที่เหมาะสมบนความขาวสะอาดและโปร่งใส ซึ่งมันอาจจะต้องใช้เวลาแต่ก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำ อย่างไรก็ตาม รากฐานของเราแข็งแกร่งอยู่แล้ว เนื่องจากองค์กรมีความมั่นคง”
สำหรับความเปลี่ยนแปลงลำดับแรกภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น คือ การปรับรูปแบบการโหวตเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก ซึ่งแต่เดิมจะให้คณะกรรมการบริหารของฟีฟ่าทั้ง 24 รายเป็นผู้ลงคะแนน แต่นับจากนี้ไปจะให้ชาติสมาชิกทั้งหมด 208 ชาติเป็นผู้ลงคะแนน โดยแนวทางนี้ได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมถึง 176 เสียง หลังจากมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า บอร์ดฟีฟ่านับสิบรายพัวพันกับการติดสินบนหรือเรียกร้องขอรับผลประโยชน์ในการเลือกเจ้าภาพศึกลูกหนังเวิลด์คัพ ปี 2018 และปี 2022
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี (ฟีฟ่า คองเกรส) ครั้งที่ 61 ที่สำนักงานใหญ่ในนครซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2554 โดยมีวาระสำคัญอยู่ที่การเลือกตั้งประธานฟีฟ่าคนใหม่ อย่างไรก็ตาม จากการที่ โมฮาเหม็ด บิน ฮัมมัม ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (เอเอฟซี) ชาวกาตาร์ วัย 62 ปีถอนตัวออกไป หลังจากโดนข้อกล่าวหาซื้อเสียงเลือกตั้งและถูกพักงานชั่วคราว ทำให้ แบลตเตอร์ กลายเป็นตัวเต็งจากการเป็นผู้ลงสมัครเพียงรายเดียว
ซึ่งภายหลังจากผู้แทนของสมาคมฟุตบอลชาติต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของฟีฟ่าที่มาเข้าร่วมประชุม 206 ชาติจากจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 208 ชาติลงคะแนนแบบลับ โดยให้ทยอยเข้าไปลงคะแนนในคูหาทีละ 2 คน ปรากฏว่ามีสมาชิกลงคะแนนเสียง 203 ชาติ ซึ่ง 186 ชาติในจำนวนดังกล่าวเลือกให้ แบลตเตอร์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานฟีฟ่าต่อไปเป็นสมัยที่ 4 หลังจากครองเก้าอี้มานับตั้งแต่ปี 1998 ต่อจาก โจอัว ฮาเวลานจ์ และจะทำหน้าที่ต่อไปอีก 4 ปี
ด้าน แบลตเตอร์ ออกมาแถลงภายหลังได้รับความไว้วางใจให้นั่งบัลลังก์ประมุขแห่งวงการลูกหนังโลกต่อไปว่า “เราจะนำนาวาที่ชื่อว่าฟีฟ่ากลับมาอยู่ในทิศทางที่เหมาะสมบนความขาวสะอาดและโปร่งใส ซึ่งมันอาจจะต้องใช้เวลาแต่ก็เป็นสิ่งที่เราพึงกระทำ อย่างไรก็ตาม รากฐานของเราแข็งแกร่งอยู่แล้ว เนื่องจากองค์กรมีความมั่นคง”
สำหรับความเปลี่ยนแปลงลำดับแรกภายหลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น คือ การปรับรูปแบบการโหวตเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลก ซึ่งแต่เดิมจะให้คณะกรรมการบริหารของฟีฟ่าทั้ง 24 รายเป็นผู้ลงคะแนน แต่นับจากนี้ไปจะให้ชาติสมาชิกทั้งหมด 208 ชาติเป็นผู้ลงคะแนน โดยแนวทางนี้ได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมถึง 176 เสียง หลังจากมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า บอร์ดฟีฟ่านับสิบรายพัวพันกับการติดสินบนหรือเรียกร้องขอรับผลประโยชน์ในการเลือกเจ้าภาพศึกลูกหนังเวิลด์คัพ ปี 2018 และปี 2022