เชื่อว่านักกอล์ฟบางท่านรู้จักคำศัพท์ “เออร์กอนอมิกส์” นี้แล้ว แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นหู “Ergonomics” หรือ “Human Factors Engineering” (วิศวกรรมมนุษยปัจจัย) มีความหมายสรุปง่ายๆคือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบอุปกรณ์ เครื่องจักรกล เครื่องมือ ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อม และระบบ ให้เข้ากับมนุษย์ (ผู้ปฏิบัติงาน) ในแง่ของความสามารถ ลักษณะทางกายภาพ สรีรวิทยา กลศาสตร์ชีวภาพ และจิตวิทยา มาเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อให้มีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในระบบงานนั้น
พูดให้สั้นกว่านี้ก็คือ เป็นหลักการที่มีแนวคิดที่จะออกแบบงานหรือเครื่องจักรให้เหมาะกับคน ซึ่งเป็นแนวคิดที่กลับตาลปัดกับแนวคิดเดิม ที่พยายามจัดคนให้เหมาะกับเครื่องจักรกลหรืองาน ซึ่งเป็นหลักการในช่วงแรกของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนเป็นกรณีศึกษาในเรื่องนี้คือ เรื่องของนักบินรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศต่างๆรีบเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อสร้างแสนยานุภาพทางทหารของตนเองอย่างเร่งด่วน ซึ่งทำให้บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทัน เรื่องก็มีอยู่ว่า นักบินทหารที่จบจากการฝึกบินกับเครื่องบินรบรุ่นเก่า (ที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น) เมื่อถูกบรรจุเข้าเป็นนักบินประจำการแล้วกลับกลายเป็นว่าต้องขึ้นบินกับเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาเสร็จทันใช้งานพอดี
นักบินจึงเกิดปัญหาความไม่คุ้นเคยกับแผงควบคุม อุปกรณ์การบินใหม่ๆ รวมทั้งสมรรถนะของเครื่องบินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของความเร็ว ท่าทางการบินผาดแผลงที่ยากมากขึ้นและอื่นๆ จึงทำให้เกิดปัญหาเป็นผลเสียกับตัวนักบินเป็นอย่างมาก
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์บางอย่างซึ่งมีการระบุคุณสมบัติทางวิศวกรรมไว้ว่า มีความแม่นยำและเชื่อถือได้สูง มีประสิทธิภาพการใช้งานเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ วัดได้จากการทดลองกับเครื่องต้นแบบ (Prototype) แต่เมื่อมีการผลิตออกมาจำหน่ายแล้วได้ถูกนำเอาไปใช้งานจริงในสนาม (Field Operation) หรือในโรงงาน (Factory) ปรากฏว่า ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล ที่ได้จากการประเมินผลออกมานั้น มีค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามที่ระบุเอาไว้เป็นอย่างมาก
จากตัวอย่างทั้ง 2 กรณีนี้ แสดงให้เห็นถึงการเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจนผู้คนไม่สามารถก้าวตามได้ทัน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในวงการกอล์ฟขณะนี้ใช่หรือไม่? ถึงยุคที่เราต้องวัดตัวสั่งทำไม้กอล์ฟเฉพาะตัวกันแล้วหรือ? ….ไปหาคำตอบกันในสัปดาห์หน้านะครับ
พูดให้สั้นกว่านี้ก็คือ เป็นหลักการที่มีแนวคิดที่จะออกแบบงานหรือเครื่องจักรให้เหมาะกับคน ซึ่งเป็นแนวคิดที่กลับตาลปัดกับแนวคิดเดิม ที่พยายามจัดคนให้เหมาะกับเครื่องจักรกลหรืองาน ซึ่งเป็นหลักการในช่วงแรกของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
ตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนเป็นกรณีศึกษาในเรื่องนี้คือ เรื่องของนักบินรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศต่างๆรีบเร่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อสร้างแสนยานุภาพทางทหารของตนเองอย่างเร่งด่วน ซึ่งทำให้บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทัน เรื่องก็มีอยู่ว่า นักบินทหารที่จบจากการฝึกบินกับเครื่องบินรบรุ่นเก่า (ที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น) เมื่อถูกบรรจุเข้าเป็นนักบินประจำการแล้วกลับกลายเป็นว่าต้องขึ้นบินกับเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ผลิตออกมาเสร็จทันใช้งานพอดี
นักบินจึงเกิดปัญหาความไม่คุ้นเคยกับแผงควบคุม อุปกรณ์การบินใหม่ๆ รวมทั้งสมรรถนะของเครื่องบินที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในเรื่องของความเร็ว ท่าทางการบินผาดแผลงที่ยากมากขึ้นและอื่นๆ จึงทำให้เกิดปัญหาเป็นผลเสียกับตัวนักบินเป็นอย่างมาก
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ได้มีการพัฒนาอุปกรณ์บางอย่างซึ่งมีการระบุคุณสมบัติทางวิศวกรรมไว้ว่า มีความแม่นยำและเชื่อถือได้สูง มีประสิทธิภาพการใช้งานเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ วัดได้จากการทดลองกับเครื่องต้นแบบ (Prototype) แต่เมื่อมีการผลิตออกมาจำหน่ายแล้วได้ถูกนำเอาไปใช้งานจริงในสนาม (Field Operation) หรือในโรงงาน (Factory) ปรากฏว่า ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล ที่ได้จากการประเมินผลออกมานั้น มีค่าน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามที่ระบุเอาไว้เป็นอย่างมาก
จากตัวอย่างทั้ง 2 กรณีนี้ แสดงให้เห็นถึงการเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีจนผู้คนไม่สามารถก้าวตามได้ทัน เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในวงการกอล์ฟขณะนี้ใช่หรือไม่? ถึงยุคที่เราต้องวัดตัวสั่งทำไม้กอล์ฟเฉพาะตัวกันแล้วหรือ? ….ไปหาคำตอบกันในสัปดาห์หน้านะครับ