เมื่อยุคสงครามเย็นนั้น คำว่าสังคมนิยมเป็นคำต้องห้าม เพราะว่าเป็นคำศัพท์ที่ผนวกไว้กับชื่อประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์นำโดยอดีตประเทศโซเวียตรัสเซีย ซึ่งกลุ่มปฏิวัติบอลเชวิคได้อำนาจการปกครองประเทศในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 และประกาศกับโลกว่ารัสเซียยุคเก่าหมดไปจากโลกนี้แล้ว แต่เข้าสู่ศักราชใหม่ เลิกวิธีการมีเจ้าชีวิต เจ้าครองนคร ระบบคฤหบดี หรือระบบนายทุน แต่กลายเป็นระบอบเผด็จการของชนกรรมาชีพ โดยเฉพาะในยุคสตาลินที่มีการบังคับแรงงานเพื่อให้ได้เป้าหมายการผลิต แต่เคราะห์ร้ายในห้วงยุค 1920 นั้น เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง และภูมิอากาศไม่เป็นใจ ทำให้ผลิตผลการเกษตรไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ประชาชนเข้าสู่ภาวการณ์อดอยาก เป็นผลให้มีประชากรล้มตายเป็นล้านคน
เมื่อ คาร์ลส์ มาร์กซ์ เขียนทฤษฎีลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือ Communism และพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1869 นั้น เขาพูดถึงสังคมมนุษย์แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ เอเชียติก หรือสังคมที่ไม่มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน พวกทาส กลุ่มศักดินา กลุ่มนายทุน และกลุ่มคอมมิวนิสต์
คำว่าลัทธิ หรือมาจากภาษาอังกฤษ Ideology นั้น มีความหมายตามนัยของพจนานุกรมอังกฤษว่า Science of Idea จึงหมายถึงทฤษฎีแห่งความคิด หรือพูดอย่างกว้างๆ ตลาดๆ ว่า ลัทธินี้คือ “ความรู้สึกนึกคิด” ที่คนทั้งหลายนิยม
หลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 17 นั้น เป็นโลกของนายทุนที่เอารัดเอาเปรียบสังคมกรรมาชีพ รวมทั้งการใช้แรงงานเด็ก จึงเกิดการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมและเสมอภาค ซึ่งคาร์ลส์ มาร์กซ์ เรียกว่า "การดิ้นรนของชนชั้น”
มนุษยชาติมีความปรารถนาที่จะได้รับความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมาช้านานแล้ว แต่ต้องไม่ใช่การบังคับหรือการควบคุมการผลิตเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่รัฐกำหนด แต่สังคมต้องการเสรีภาพในการผลิต การบริโภค และการดูแลของรัฐ
ความรู้สึกนึกคิดของสังคมในเรื่องเสรีภาพในการผลิต การบริโภค และการดูแลของรัฐจึงเป็นแนวคิดในเรื่องสังคมนิยมและรัฐสวัสดิการ ซึ่งในปัจจุบันเราอาจจะพูดได้ว่าสังคมทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมควรเป็นสังคมการผลิตอย่างมีวินัย การบริโภคอย่างมีวินัย และรัฐจัดการให้เกิดสวัสดิการเพื่อความเสมอภาคและความมั่นใจในส่วนรวม
ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้พสกนิกรได้ปฏิบัติ เพื่อดำรงชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ก็คือการผลิตอย่างมีวินัย ให้เหมาะสมพอเพียงแก่กำลังของตน และการบริโภคอย่างมีวินัย หรือการที่บริโภคให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นจริงและพอเพียง
หลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คือ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ นั้น ต่างมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แต่เป็นสังคมนิยมรัฐ ที่รัฐจัดการให้สวัสดิการแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยการดำรงชีพ
ฮีฟอร์ดิง ลูกศิษย์ชาวเยอรมันของคาร์ลส์ มาร์กซ์ ได้ขยายความลัทธิคอมมิวนิสต์ในเชิงนายทุนการเงินเข้ามาแทนที่นายทุนอุตสาหกรรม การเปลี่ยนการควบคุมอุตสาหกรรมตกไปอยู่ในมือของธนาคาร และธนาคารเข้าถือกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ธุรกิจทุกอย่างเป็นการหากำไรทางการเงิน มุ่งแต่ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่น ฮีฟอร์ดิงยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อธนาคารทั้งหลายมีอำนาจมากขึ้น ก็สามารถควบคุมรัฐบาลให้ดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มนายทุนฝ่ายเดียว
เลนินได้ขยายความของฮีฟอร์ดิง ลักษณะอุตสาหกรรมมีความโน้มเอียงไปในทางการผูกขาดที่ให้ประโยชน์แก่นักการเงิน ไม่ยุติเพียงแค่ตลาดในประเทศ แต่สามารถครอบครองและกอบโกยเอาประโยชน์ด้านการเงินจากตลาดทั่วโลกซึ่งเป็นจริงและเห็นชัดเจนในปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่สังคมมนุษย์บริโภคข่าวสารเพื่อความอยู่รอด ความบันเทิง และการเอากำไร และธนาคารเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการหากำไรจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นแหล่งที่ทำกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว อุตสาหกรรมการผลิตสามารถขยายทุนหรือการระดมทุนได้จากตลาดทุน หรือมีการปั่นหุ้นให้มีค่าสูงได้ เป็นระบบนายทุนยุคใหม่
ดังนั้น ทฤษฎีความเชื่อของฮีฟอร์ดิงเมื่อ 150 ปีมาแล้ว ถูกต้องเสมอในเรื่องอำนาจเงินที่สามารถควบคุมการเมืองได้ การครอบครองอำนาจรัฐด้วยอำนาจเงินนั้นรุนแรงกว่าระบบนายทุนเชิงคลาสสิกยุคศตวรรษที่ 19 เพราะฐานล่างของสังคมถูกควบคุมไว้แล้ว
นโยบายประชานิยม คือ คำตอบของวิธีการควบคุมประชาชนในระบอบการเมือง และชัดเจนมากในกรณีที่รัฐบาลปูแดงประกาศหลักการซื้อรถยนต์คันแรก แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว ผลพวงในอนาคตน่าวิตกมาก และเป็นวิถีสู่หายนะของสังคมไทย อุตสาหกรรมรถยนต์ที่แท้จริงของไทยนั้นไม่มี มีแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วน และโรงงานประกอบรถยนต์ออกแบบและสร้างเองไม่ได้ ประกอบกับกลุ่มอุตสาหกรรมนี้อยู่ในวงแคบมีลักษณะกึ่งผูกขาด สัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่ำมากหากเทียบกับเกษตรกร
โครงการเอื้ออาทรรถยนต์คันแรก หมายถึงรถยนต์ที่ผู้ขับขี่เป็นเจ้าของเพิ่งได้ใบขับขี่ เพิ่งจบการศึกษาและเพิ่งมีงานทำ ยังไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่ อาจเกิดอุบัติเหตุบ่อย ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในขบวนการนี้ คือ โรงงานประกอบรถยนต์ ธนาคาร ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ธุรกิจพลังงาน และบริษัทประกัน ต่างได้ประโยชน์ทั้งสิ้นในรูปแบบต่างๆ แต่เป็นการสร้างกำไรในกลุ่มธุรกิจการเงินทั้งสิ้น
แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ จำนวนรถยนต์บนท้องถนนจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่ผิวการจราจรเท่าเดิม ในอนาคตปรากฏการณ์รถติดจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาที่จอดรถขาดแคลนทำให้เกิดนายทุนที่จอดรถและค้ากำไรมากขึ้น
ภาวะมลพิษเพิ่มขึ้น พร้อมกับปริมาณการบริโภคพลังงานสูงขึ้น ขาดดุลการค้ามากขึ้นในกรณีซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์และแหล่งอื่นๆ ส่วนทรัพยากรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหมดเร็วขึ้น
ค่านิยมในการใช้ระบบขนส่งมวลชนลดน้อยลง ทำให้การพัฒนาการขนส่งมวลชนไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ค่านิยมในการมีรถยนต์ส่วนตัวสูงขึ้น จึงเป็นสังคมบริโภคนิยมเบ็ดเสร็จ
ค่านิยมในการบริโภคความสะดวกสบาย จนคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักความลำบาก กลายเป็นค่านิยมของสังคมบริโภคอย่างสมบูรณ์แบบ
ธุรกิจรถยนต์มือสองประสบความล่มจม เพราะมือใหม่ไม่ขับแล้วรถมือสอง เกิดภาวะรถมือสองล้นตลาด ธุรกิจ Recycle รถยนต์ล่มจมไปด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวของลัทธิประชานิยมที่นำชาติบ้านเมืองสู่หายนะได้ และคนไทยทั้งมวลจะต้องรับกรรม มีข้อสงสัยว่าทำไมรัฐบาลไม่คิดในเรื่องรัฐสวัสดิการแบบยั่งยืนโดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยการดำรงชีพ
เมื่อ คาร์ลส์ มาร์กซ์ เขียนทฤษฎีลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือ Communism และพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1869 นั้น เขาพูดถึงสังคมมนุษย์แบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ เอเชียติก หรือสังคมที่ไม่มีสิทธิในการครอบครองที่ดิน พวกทาส กลุ่มศักดินา กลุ่มนายทุน และกลุ่มคอมมิวนิสต์
คำว่าลัทธิ หรือมาจากภาษาอังกฤษ Ideology นั้น มีความหมายตามนัยของพจนานุกรมอังกฤษว่า Science of Idea จึงหมายถึงทฤษฎีแห่งความคิด หรือพูดอย่างกว้างๆ ตลาดๆ ว่า ลัทธินี้คือ “ความรู้สึกนึกคิด” ที่คนทั้งหลายนิยม
หลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 17 นั้น เป็นโลกของนายทุนที่เอารัดเอาเปรียบสังคมกรรมาชีพ รวมทั้งการใช้แรงงานเด็ก จึงเกิดการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมและเสมอภาค ซึ่งคาร์ลส์ มาร์กซ์ เรียกว่า "การดิ้นรนของชนชั้น”
มนุษยชาติมีความปรารถนาที่จะได้รับความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมาช้านานแล้ว แต่ต้องไม่ใช่การบังคับหรือการควบคุมการผลิตเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่รัฐกำหนด แต่สังคมต้องการเสรีภาพในการผลิต การบริโภค และการดูแลของรัฐ
ความรู้สึกนึกคิดของสังคมในเรื่องเสรีภาพในการผลิต การบริโภค และการดูแลของรัฐจึงเป็นแนวคิดในเรื่องสังคมนิยมและรัฐสวัสดิการ ซึ่งในปัจจุบันเราอาจจะพูดได้ว่าสังคมทั้งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมควรเป็นสังคมการผลิตอย่างมีวินัย การบริโภคอย่างมีวินัย และรัฐจัดการให้เกิดสวัสดิการเพื่อความเสมอภาคและความมั่นใจในส่วนรวม
ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้พสกนิกรได้ปฏิบัติ เพื่อดำรงชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ก็คือการผลิตอย่างมีวินัย ให้เหมาะสมพอเพียงแก่กำลังของตน และการบริโภคอย่างมีวินัย หรือการที่บริโภคให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นจริงและพอเพียง
หลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คือ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ นั้น ต่างมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ แต่เป็นสังคมนิยมรัฐ ที่รัฐจัดการให้สวัสดิการแก่ประชาชนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยการดำรงชีพ
ฮีฟอร์ดิง ลูกศิษย์ชาวเยอรมันของคาร์ลส์ มาร์กซ์ ได้ขยายความลัทธิคอมมิวนิสต์ในเชิงนายทุนการเงินเข้ามาแทนที่นายทุนอุตสาหกรรม การเปลี่ยนการควบคุมอุตสาหกรรมตกไปอยู่ในมือของธนาคาร และธนาคารเข้าถือกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ธุรกิจทุกอย่างเป็นการหากำไรทางการเงิน มุ่งแต่ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอื่น ฮีฟอร์ดิงยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อธนาคารทั้งหลายมีอำนาจมากขึ้น ก็สามารถควบคุมรัฐบาลให้ดำเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มนายทุนฝ่ายเดียว
เลนินได้ขยายความของฮีฟอร์ดิง ลักษณะอุตสาหกรรมมีความโน้มเอียงไปในทางการผูกขาดที่ให้ประโยชน์แก่นักการเงิน ไม่ยุติเพียงแค่ตลาดในประเทศ แต่สามารถครอบครองและกอบโกยเอาประโยชน์ด้านการเงินจากตลาดทั่วโลกซึ่งเป็นจริงและเห็นชัดเจนในปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่สังคมมนุษย์บริโภคข่าวสารเพื่อความอยู่รอด ความบันเทิง และการเอากำไร และธนาคารเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะการหากำไรจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นแหล่งที่ทำกำไรทางการเงินเพียงอย่างเดียว อุตสาหกรรมการผลิตสามารถขยายทุนหรือการระดมทุนได้จากตลาดทุน หรือมีการปั่นหุ้นให้มีค่าสูงได้ เป็นระบบนายทุนยุคใหม่
ดังนั้น ทฤษฎีความเชื่อของฮีฟอร์ดิงเมื่อ 150 ปีมาแล้ว ถูกต้องเสมอในเรื่องอำนาจเงินที่สามารถควบคุมการเมืองได้ การครอบครองอำนาจรัฐด้วยอำนาจเงินนั้นรุนแรงกว่าระบบนายทุนเชิงคลาสสิกยุคศตวรรษที่ 19 เพราะฐานล่างของสังคมถูกควบคุมไว้แล้ว
นโยบายประชานิยม คือ คำตอบของวิธีการควบคุมประชาชนในระบอบการเมือง และชัดเจนมากในกรณีที่รัฐบาลปูแดงประกาศหลักการซื้อรถยนต์คันแรก แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว ผลพวงในอนาคตน่าวิตกมาก และเป็นวิถีสู่หายนะของสังคมไทย อุตสาหกรรมรถยนต์ที่แท้จริงของไทยนั้นไม่มี มีแต่โรงงานผลิตชิ้นส่วน และโรงงานประกอบรถยนต์ออกแบบและสร้างเองไม่ได้ ประกอบกับกลุ่มอุตสาหกรรมนี้อยู่ในวงแคบมีลักษณะกึ่งผูกขาด สัดส่วนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่ำมากหากเทียบกับเกษตรกร
โครงการเอื้ออาทรรถยนต์คันแรก หมายถึงรถยนต์ที่ผู้ขับขี่เป็นเจ้าของเพิ่งได้ใบขับขี่ เพิ่งจบการศึกษาและเพิ่งมีงานทำ ยังไม่มีประสบการณ์ในการขับขี่ อาจเกิดอุบัติเหตุบ่อย ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในขบวนการนี้ คือ โรงงานประกอบรถยนต์ ธนาคาร ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ ธุรกิจพลังงาน และบริษัทประกัน ต่างได้ประโยชน์ทั้งสิ้นในรูปแบบต่างๆ แต่เป็นการสร้างกำไรในกลุ่มธุรกิจการเงินทั้งสิ้น
แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ จำนวนรถยนต์บนท้องถนนจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว แต่ผิวการจราจรเท่าเดิม ในอนาคตปรากฏการณ์รถติดจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาที่จอดรถขาดแคลนทำให้เกิดนายทุนที่จอดรถและค้ากำไรมากขึ้น
ภาวะมลพิษเพิ่มขึ้น พร้อมกับปริมาณการบริโภคพลังงานสูงขึ้น ขาดดุลการค้ามากขึ้นในกรณีซื้อน้ำมันจากสิงคโปร์และแหล่งอื่นๆ ส่วนทรัพยากรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยหมดเร็วขึ้น
ค่านิยมในการใช้ระบบขนส่งมวลชนลดน้อยลง ทำให้การพัฒนาการขนส่งมวลชนไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ค่านิยมในการมีรถยนต์ส่วนตัวสูงขึ้น จึงเป็นสังคมบริโภคนิยมเบ็ดเสร็จ
ค่านิยมในการบริโภคความสะดวกสบาย จนคนรุ่นใหม่ไม่รู้จักความลำบาก กลายเป็นค่านิยมของสังคมบริโภคอย่างสมบูรณ์แบบ
ธุรกิจรถยนต์มือสองประสบความล่มจม เพราะมือใหม่ไม่ขับแล้วรถมือสอง เกิดภาวะรถมือสองล้นตลาด ธุรกิจ Recycle รถยนต์ล่มจมไปด้วย
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวของลัทธิประชานิยมที่นำชาติบ้านเมืองสู่หายนะได้ และคนไทยทั้งมวลจะต้องรับกรรม มีข้อสงสัยว่าทำไมรัฐบาลไม่คิดในเรื่องรัฐสวัสดิการแบบยั่งยืนโดยเฉพาะในเรื่องปัจจัยการดำรงชีพ