สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เตรียมส่งวิทยากรมาอบรมทีมไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชัน 1 เพื่อให้ความรู้เรื่องระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์ในเดือนพฤษภาคมนี้
เมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เชิญตัวแทนทุกสโมสรทั้งในศึกไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชัน 1 เข้าร่วมการอบรมเรื่องระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์ (FIFA Transfer Matching System – TMS) ที่ห้องประชุม 222 การกีฬาแห่งประเทศไทย เนื่องจากทีมจากทั้ง 2 ลีกมีลักษณะการดำเนินงานแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพตามระเบียบฟีฟ่า (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) ซึ่งระบบดังกล่าวจะมีการบังคับใช้กับชาติสมาชิกทั่วโลกในเดือนตุลาคม
ก่อนหน้านี้ ฟีฟ่า ได้แจ้งมายังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่าให้ทีมไทยพรีเมียร์ลีกและดิวิชัน 1 ส่งข้อมูลและรายละเอียดสัญญาของผู้เล่น รวมถึงใบโอนย้ายระหว่างประเทศหรือ ITC (สำหรับนักเตะต่างชาติ) มายังสมาคมเพื่อส่งไปขึ้นทะเบียนกับฟีฟ่า ทว่ามี 6 ทีมที่ส่งข้อมูลมาไม่ทันเส้นตายที่กำหนดไว้ 15 วัน จึงทำให้ยังไม่ส่งวิทยากรมาอบรมอย่างเต็มรูปแบบในวันนี้ แต่ก็มีการให้ความรู้เบื้องต้นแทน
ทั้งนี้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติจะส่งวิทยากรมาอบรมเรื่องระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์อย่างละเอียดในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งตัวแทนสโมสรที่เข้าร่วมอบรมจะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี รวมถึงใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้คล่องด้วย
สำหรับการอบรมเรื่องระบบ TMS ในเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ไทยพรีเมียร์ลีกได้อธิบายว่า สโมสรที่ส่งข้อมูลนักเตะเข้าระบบแล้วจะได้รับ User Name และรหัสผ่านเฉพาะทีม เมื่อลงชื่อเข้าใช้แล้วจะสามารถเข้าไปดูข้อมูลของนักเตะที่สนใจได้ทั่วโลก แต่เมื่อมีการติดต่อซื้อขายไปยังสโมสรต้นสังกัดของผู้เล่นเกิดขึ้น ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับให้รู้เฉพาะ 2 สโมสรที่ติดต่อกันเท่านั้น
ซึ่งการโอนย้ายจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่ตกลงกันในระบบ เช่น วันที่ซื้อขาย, ค่าตัว เป็นต้น ตรงกันทั้งหมด จากนั้นระบบจะออกใบ ITC ให้กับสโมสรผู้ซื้อทันทีโดยไม่ต้องรอขั้นตอนจากสมาคมฟุตบอลของทีมผู้ขายตามแบบเดิม เนื่องจากถือว่าได้รับการรับรองจากฟีฟ่าแล้ว ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการจ่ายเงินค่าตัวตามที่บรรลุข้อตกลงกันไว้เป็นอันสิ้นสุดการซื้อขาย โดยในการโอนย้ายจะมีช่องให้ระบุว่าติดต่อซื้อขายผ่านทางเอเยนต์หรือไม่ด้วย ซึ่งเอเยนต์ที่มีข้อมูลในระบบจะมีใบอนุญาตที่ได้รับรองอย่างถูกต้อง
ขณะที่สมาคมฟุตบอลของแต่ละชาติที่เป็นสมาชิกจะมีบทบาทในระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์ในการจัดอบรมให้ความรู้, รักษาข้อมูลต้นฉบับที่สโมสรส่งมา, ลงโทษสโมสรที่ดำเนินการโอนย้ายผิดระเบียบ ตลอดจนนักเตะและเอเยนต์ด้วย
เมื่อวันพุธที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีก จำกัด เชิญตัวแทนทุกสโมสรทั้งในศึกไทยพรีเมียร์ลีก และดิวิชัน 1 เข้าร่วมการอบรมเรื่องระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์ (FIFA Transfer Matching System – TMS) ที่ห้องประชุม 222 การกีฬาแห่งประเทศไทย เนื่องจากทีมจากทั้ง 2 ลีกมีลักษณะการดำเนินงานแบบสโมสรฟุตบอลอาชีพตามระเบียบฟีฟ่า (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) ซึ่งระบบดังกล่าวจะมีการบังคับใช้กับชาติสมาชิกทั่วโลกในเดือนตุลาคม
ก่อนหน้านี้ ฟีฟ่า ได้แจ้งมายังสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ว่าให้ทีมไทยพรีเมียร์ลีกและดิวิชัน 1 ส่งข้อมูลและรายละเอียดสัญญาของผู้เล่น รวมถึงใบโอนย้ายระหว่างประเทศหรือ ITC (สำหรับนักเตะต่างชาติ) มายังสมาคมเพื่อส่งไปขึ้นทะเบียนกับฟีฟ่า ทว่ามี 6 ทีมที่ส่งข้อมูลมาไม่ทันเส้นตายที่กำหนดไว้ 15 วัน จึงทำให้ยังไม่ส่งวิทยากรมาอบรมอย่างเต็มรูปแบบในวันนี้ แต่ก็มีการให้ความรู้เบื้องต้นแทน
ทั้งนี้ สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติจะส่งวิทยากรมาอบรมเรื่องระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์อย่างละเอียดในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งตัวแทนสโมสรที่เข้าร่วมอบรมจะต้องมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี รวมถึงใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้คล่องด้วย
สำหรับการอบรมเรื่องระบบ TMS ในเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ไทยพรีเมียร์ลีกได้อธิบายว่า สโมสรที่ส่งข้อมูลนักเตะเข้าระบบแล้วจะได้รับ User Name และรหัสผ่านเฉพาะทีม เมื่อลงชื่อเข้าใช้แล้วจะสามารถเข้าไปดูข้อมูลของนักเตะที่สนใจได้ทั่วโลก แต่เมื่อมีการติดต่อซื้อขายไปยังสโมสรต้นสังกัดของผู้เล่นเกิดขึ้น ข้อมูลจะถูกเก็บเป็นความลับให้รู้เฉพาะ 2 สโมสรที่ติดต่อกันเท่านั้น
ซึ่งการโอนย้ายจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายกรอกรายละเอียดต่างๆ ที่ตกลงกันในระบบ เช่น วันที่ซื้อขาย, ค่าตัว เป็นต้น ตรงกันทั้งหมด จากนั้นระบบจะออกใบ ITC ให้กับสโมสรผู้ซื้อทันทีโดยไม่ต้องรอขั้นตอนจากสมาคมฟุตบอลของทีมผู้ขายตามแบบเดิม เนื่องจากถือว่าได้รับการรับรองจากฟีฟ่าแล้ว ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการจ่ายเงินค่าตัวตามที่บรรลุข้อตกลงกันไว้เป็นอันสิ้นสุดการซื้อขาย โดยในการโอนย้ายจะมีช่องให้ระบุว่าติดต่อซื้อขายผ่านทางเอเยนต์หรือไม่ด้วย ซึ่งเอเยนต์ที่มีข้อมูลในระบบจะมีใบอนุญาตที่ได้รับรองอย่างถูกต้อง
ขณะที่สมาคมฟุตบอลของแต่ละชาติที่เป็นสมาชิกจะมีบทบาทในระบบโอนย้ายนักเตะออนไลน์ในการจัดอบรมให้ความรู้, รักษาข้อมูลต้นฉบับที่สโมสรส่งมา, ลงโทษสโมสรที่ดำเนินการโอนย้ายผิดระเบียบ ตลอดจนนักเตะและเอเยนต์ด้วย