คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในการแข่งขันกีฬาบางชนิด เขามีวิธีการช่วยให้นักกีฬาบางคนหรือบางทีมที่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ ยังได้ไปต่อ ซึ่งเรียกว่า เรอแปชาช ( Repechage ) คำนี้เขาเอามาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ช่วยกู้ชีพ เป็นการเปิดทางให้คนที่แพ้ไปแล้วยังมีโอกาส
เรอแปชาช ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่ โดยเฉพาะรายการที่แข่งกันในสเตเดียม มักจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันมากเกินกว่าจะแข่งรอบเดียวได้ เขาต้องแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือก รอบสอง รอบสาม จนถึงรอบสุดท้าย ซึ่งในแต่ละรอบจะแบ่งกลุ่มนักกรีฑาออกเป็นหลายสาย อันนี้ในภาษากรีฑาเรียกว่า พวก หรือ ฮีท ( Heat ) เมื่อแข่งกันเสร็จรอบหนึ่งก็คัดเอาเฉพาะผู้ที่ได้อันดับต้นๆเข้ารอบไป และแน่นอนครับ ตัวเลขมันไม่ลงตัวสำหรับ 8 ช่องวิ่ง จึงต้องไปควานหามาเพิ่มจากบรรดาผู้แพ้ โดยมีหลักเกณฑ์ง่ายๆก็คือ คัดเอาผู้แพ้ที่ทำเวลาดีที่สุด ระบบนี้มีการจัดทำเป็นตารางให้เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน บอกชัดเจนว่า คัดเอากี่อันดับแรกเข้ารอบต่อไป และที่เหลือเป็นผู้แพ้ที่ทำเวลาดีที่สุดได้สิทธิเข้ารอบด้วยอีกกี่คน
ผมขอยกตัวอย่างรายการวิ่ง 100 เมตรที่มีนักกรีฑาเข้าร่วมแข่งขันระหว่าง 9 ถึง 16 คน เขาจะแบ่งออกเป็น 2 รอบคือ รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบคัดเลือกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฮีท หลังจากแข่งกันเสร็จทราบผลแล้ว ให้คัดเอาผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 3 ของแต่ละฮีทเข้ารอบต่อไป ทั้งนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงเวลาที่พวกเขาทำได้ รวมแล้วก็จะมี 6 คน ยังขาดอีก 2 คน ก็ให้คัดผู้แพ้จากทั้ง 2 ฮีทที่ทำเวลาดีที่สุดอีก 2 คนเข้ารอบไปด้วย ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้อันดับ 4 ของแต่ละฮีท หรืออาจเป็นอันดับ 4 และ 5 จากฮีทใดฮีทหนึ่งเท่านั้นก็เป็นได้
เรอแปชาช ในฟุตบอลก็มีตัวอย่างเช่น การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในยุคที่มี 24 ทีม แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆละ 4 ทีม คัดเอา 2 อันดับแรกเข้ารอบสอง ทำให้ได้จำนวนเพียง 12 ทีมไม่ลงตัวนักสำหรับการแบ่งกลุ่มหรือการใช้ระบบแพ้คัดออก จึงต้องใช้ เรอแปชาช มาช่วยนั่นคือ ให้สิทธิอีก 4 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุด คราวนี้เมื่อมี 16 ทีม อะไรๆก็ง่ายขึ้น
ในกีฬาชนิดอื่นก็นิยมใช้ ระบบเรอแปชาช ด้วย เช่น คาราเต้ ยูโด เทควันโด และมวยปล้ำ เพราะการจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมักใช้ระบบแพ้คัดออกที่เรียกว่า Single Elimination Brackets เพื่อหาผู้ชนะ 2 คนสุดท้ายมาชิงชนะเลิศกัน ซึ่งก็มีคนให้ความเห็นว่า นักกีฬาที่แพ้ตกรอบไป แม้ความปราชัยจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่คู่ควรกับเหรียญทอง แต่เขาหรือเธอก็อาจมีฝีมือถึงระดับสมควรได้เหรียญรางวัลเหมือนกัน ซึ่งนักกีฬารายนี้โชคไม่ดี ตอนจับสลากประกบคู่ ดวงซวย ต้องมาเจอของแข็งตั้งแต่แรก ดังนั้น เรอแปชาช ในกีฬาเหล่านี้จึงหมายถึง การให้โอกาสผู้ที่แพ้ได้กลับมาชิงเหรียญบรอนซ์ โดยเอาเฉพาะนักกีฬา 2 คนที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นตัวตั้ง แล้วไล่ย้อนกลับไปเรื่อยจนถึงแมตช์แรกเลย ดูว่า 2 คนนี้ผ่านเส้นทางมาด้วยการคว่ำใครมาบ้าง ก็ให้สิทธินักกีฬาที่แพ้คนที่ได้ชิงชนะเลิศ 2 คนนี้ กลับมาสู้กันเอง ก่อนที่จะไปชิงเหรียญบรอนซ์กับผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศ ทั้งนี้ผู้ที่แพ้ต่อคนที่ไม่ได้เข้าชิงชนะเลิศไม่เกี่ยวครับ
ตัวอย่างที่ชัดเจนของ เรอแปชาช ก็คือ น้องวิว เยาวภา บุรพลชัย นักเทควันโดเหรียญบรอนซ์ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี 2004 โดยตอนนั้นเธอชนะนักเทควันโดจากสเปนในรอบคัดเลือก แต่มาแพ้คิวบาในรอบ 8 คนสุดท้าย แล้วคิวบาไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ทำให้ น้องวิว ได้สิทธิเข้าระบบ เรอแปชาช ซึ่งเธอก็ชนะหมด กรุยทางไปจนได้เหรียญบรอนซ์
ในการแข่งขันกีฬาบางชนิด เขามีวิธีการช่วยให้นักกีฬาบางคนหรือบางทีมที่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ ยังได้ไปต่อ ซึ่งเรียกว่า เรอแปชาช ( Repechage ) คำนี้เขาเอามาจากภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ช่วยกู้ชีพ เป็นการเปิดทางให้คนที่แพ้ไปแล้วยังมีโอกาส
เรอแปชาช ในการแข่งขันกรีฑาประเภทลู่ โดยเฉพาะรายการที่แข่งกันในสเตเดียม มักจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันมากเกินกว่าจะแข่งรอบเดียวได้ เขาต้องแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือก รอบสอง รอบสาม จนถึงรอบสุดท้าย ซึ่งในแต่ละรอบจะแบ่งกลุ่มนักกรีฑาออกเป็นหลายสาย อันนี้ในภาษากรีฑาเรียกว่า พวก หรือ ฮีท ( Heat ) เมื่อแข่งกันเสร็จรอบหนึ่งก็คัดเอาเฉพาะผู้ที่ได้อันดับต้นๆเข้ารอบไป และแน่นอนครับ ตัวเลขมันไม่ลงตัวสำหรับ 8 ช่องวิ่ง จึงต้องไปควานหามาเพิ่มจากบรรดาผู้แพ้ โดยมีหลักเกณฑ์ง่ายๆก็คือ คัดเอาผู้แพ้ที่ทำเวลาดีที่สุด ระบบนี้มีการจัดทำเป็นตารางให้เป็นหลักเกณฑ์แน่นอน บอกชัดเจนว่า คัดเอากี่อันดับแรกเข้ารอบต่อไป และที่เหลือเป็นผู้แพ้ที่ทำเวลาดีที่สุดได้สิทธิเข้ารอบด้วยอีกกี่คน
ผมขอยกตัวอย่างรายการวิ่ง 100 เมตรที่มีนักกรีฑาเข้าร่วมแข่งขันระหว่าง 9 ถึง 16 คน เขาจะแบ่งออกเป็น 2 รอบคือ รอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ โดยในรอบคัดเลือกนั้นแบ่งออกเป็น 2 ฮีท หลังจากแข่งกันเสร็จทราบผลแล้ว ให้คัดเอาผู้ที่ได้อันดับ 1 ถึง 3 ของแต่ละฮีทเข้ารอบต่อไป ทั้งนี้ ไม่ต้องคำนึงถึงเวลาที่พวกเขาทำได้ รวมแล้วก็จะมี 6 คน ยังขาดอีก 2 คน ก็ให้คัดผู้แพ้จากทั้ง 2 ฮีทที่ทำเวลาดีที่สุดอีก 2 คนเข้ารอบไปด้วย ซึ่งอาจเป็นผู้ที่ได้อันดับ 4 ของแต่ละฮีท หรืออาจเป็นอันดับ 4 และ 5 จากฮีทใดฮีทหนึ่งเท่านั้นก็เป็นได้
เรอแปชาช ในฟุตบอลก็มีตัวอย่างเช่น การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในยุคที่มี 24 ทีม แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มๆละ 4 ทีม คัดเอา 2 อันดับแรกเข้ารอบสอง ทำให้ได้จำนวนเพียง 12 ทีมไม่ลงตัวนักสำหรับการแบ่งกลุ่มหรือการใช้ระบบแพ้คัดออก จึงต้องใช้ เรอแปชาช มาช่วยนั่นคือ ให้สิทธิอีก 4 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุด คราวนี้เมื่อมี 16 ทีม อะไรๆก็ง่ายขึ้น
ในกีฬาชนิดอื่นก็นิยมใช้ ระบบเรอแปชาช ด้วย เช่น คาราเต้ ยูโด เทควันโด และมวยปล้ำ เพราะการจัดการแข่งขันกีฬาดังกล่าวมักใช้ระบบแพ้คัดออกที่เรียกว่า Single Elimination Brackets เพื่อหาผู้ชนะ 2 คนสุดท้ายมาชิงชนะเลิศกัน ซึ่งก็มีคนให้ความเห็นว่า นักกีฬาที่แพ้ตกรอบไป แม้ความปราชัยจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าไม่คู่ควรกับเหรียญทอง แต่เขาหรือเธอก็อาจมีฝีมือถึงระดับสมควรได้เหรียญรางวัลเหมือนกัน ซึ่งนักกีฬารายนี้โชคไม่ดี ตอนจับสลากประกบคู่ ดวงซวย ต้องมาเจอของแข็งตั้งแต่แรก ดังนั้น เรอแปชาช ในกีฬาเหล่านี้จึงหมายถึง การให้โอกาสผู้ที่แพ้ได้กลับมาชิงเหรียญบรอนซ์ โดยเอาเฉพาะนักกีฬา 2 คนที่ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นตัวตั้ง แล้วไล่ย้อนกลับไปเรื่อยจนถึงแมตช์แรกเลย ดูว่า 2 คนนี้ผ่านเส้นทางมาด้วยการคว่ำใครมาบ้าง ก็ให้สิทธินักกีฬาที่แพ้คนที่ได้ชิงชนะเลิศ 2 คนนี้ กลับมาสู้กันเอง ก่อนที่จะไปชิงเหรียญบรอนซ์กับผู้แพ้ในรอบรองชนะเลิศ ทั้งนี้ผู้ที่แพ้ต่อคนที่ไม่ได้เข้าชิงชนะเลิศไม่เกี่ยวครับ
ตัวอย่างที่ชัดเจนของ เรอแปชาช ก็คือ น้องวิว เยาวภา บุรพลชัย นักเทควันโดเหรียญบรอนซ์ โอลิมปิค เกมส์ ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ในปี 2004 โดยตอนนั้นเธอชนะนักเทควันโดจากสเปนในรอบคัดเลือก แต่มาแพ้คิวบาในรอบ 8 คนสุดท้าย แล้วคิวบาไปถึงรอบชิงชนะเลิศ ทำให้ น้องวิว ได้สิทธิเข้าระบบ เรอแปชาช ซึ่งเธอก็ชนะหมด กรุยทางไปจนได้เหรียญบรอนซ์