คอลัมน์ สุดฟากสนาม โดย ธีรพัฒน์ อัครเศรณี
ว่าจะเขียนถึงการพยายามขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ของอังกฤษมาหลายหน แต่ยังไม่มีโอกาสเหมาะๆ เสียที สัปดาห์นี้ปะเหมาะก่อนฤดูกาลพรีเมียร์ลีกจะเริ่มต้นขึ้น มาติดตามรายละเอียดเรื่อง Back the Bid "ENGLAND 2018" กันดีกว่าครับ
สำหรับคอชมกีฬาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเภทแบกเป้ไปเองหรือซื้อแพ็คเกจทัวร์ เชื่อว่ามหกรรมสุดยิ่งใหญ่อย่าง "เวิลด์คัพ"คือความใฝ่ฝันที่ทุกคนอยากไปเห็นกับตาตัวเองให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปและอยากไป แต่ยังลังเลเรื่องการเดินทางภายในค่อนข้างลำบาก กลัวปัญหาต่างๆในแอฟริกาใต้ 2010 หรืออาจจะหวั่นการเดินทางแบบก้นระบมของ บราซิล 2014 รอลุ้นข้อเสนอของอังกฤษ กันดีกว่าครับ
เดือนมกราคม 2009 ที่ผ่านมา ฟีฟ่าประกาศเป็นจุดเริ่มต้นของระยะเวลา 24 เดือนแห่งการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2018 และ 2022 โดยฟีฟ่าเองให้โอกาสทุกชาติที่อยากจัดงานใหญ่ได้ไปวางแผนและเสนอรายระเอียดโปรเจ็คต์การเป็นเจ้าภาพของตัวเอง จนถึงวันที่ 14 พ.ค. ปี 2010 สรุปแล้วมี 9 ชาติยื่นความจำนงสำหรับปี 2018 และ 11 ชาติสำหรับปี 2022 โดยองค์กรโต้โผใหญ่แห่งวงการฟุตบอลจะทำการตัดสินในเดือนธันวาคม 2010
18 พ.ค. 2009 อังกฤษโดยการสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ประกาศแผนการ Back the Bid World Cup 2018 โดยมี 15 เมืองที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งก็มี 1 เบอร์มิงแฮม 2 บริสตอล 3 ดาร์บี้ 4 ฮัลล์ 5 ลีดส์ 6 เลสเตอร์ 7 ลิเวอร์พูล 8 ลอนดอน 9 แมนเชสเตอร์ 10 มิลตัน คีย์นส์ 11 นิวคาสเซิล 12 น็อตติ้งแฮม 13 พอร์ตสมัธ 14 เชฟฟิลด์ 15 ซันเดอร์แลนด์
มาตรฐานขั้นต่ำเรื่องสนามแข่งขันของเจ้าภาพนั้น ฟีฟ่ากำหนดไว้ว่าต้องการสเตเดี้ยมที่มีความจุขั้นต่ำ 6 หมื่นคนอย่างน้อย 2 สนาม เพื่อเกมรอบรองฯ พิธีเปิด และปิด และต้องมีอีก 10 แห่งที่จุได้เกินกว่า 4 หมื่นคน นอกจากนั้นยังมีข้อแม้ว่า เพียง 2 สนามเท่านั้นที่อยู่ในเมืองเดียวกันได้ซึ่งสำหรับอังกฤษแล้วเดาเอาว่าคงเป็น เวมบลีย์ กับ เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม ในกรุงลอนดอน
ส่วนอีก 2 สนามที่เมืองผู้ดีเขาเตรียมเสนอไว้จัดรอบ 2, รอบควอเตอร์และเซมิ ไฟนัล นั่นก็คือโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ในเมืองแมนเชสเตอร์ความจุราว 7.6 หมื่นคน และ นิว แอนฟิลด์ ของลิเวอร์พูล 6.1 หมื่น (ยังไม่ได้สร้าง)
แห่งอื่นๆ ที่น่าสนใจก็มี เซนต์เจมส์ พาร์ค 5.2 หมื่นคน, สเตเดี้ยม ออฟไลท์ 4.8 วิลล่าพาร์ค 4.3 หมื่น นอกจากนั้นก็ยังมี เอ็มเค ดอนส์ สเตเดี้ยม กับไพรด์ พาร์ค ความจุ 3 หมื่นคน ส่วนสแตมฟอร์ด บริดจ์ ของเชลซี และ ซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ สนามค่อนข้างใหญ่ก็จริง แต่จะติดปัญหาโควต้าอยู่เมืองเดียวกับเอมิเรตส์ สเตเดี้ยม และ โอลด์แทรฟฟอร์ด
เมืองผู้ดีนี้นอกจากจะปวารณาตัวเองเป็น Home of Football แล้ว ยังเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวและนักช็อปปิ้ง แถมการเดินทางไประหว่างเมืองก็สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะใช้เครื่องบิน, รถไฟระหว่างเมือง หรือรถโค้ช หรือแม้กระทั่งเช่ารถขับเหมากันไปเอง อย่างที่ อ.จ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เขาทำ (ถ้าเกณฑ์กันไปได้ถึง 4 คนก็คุ้ม)
เช็คจากแนวโน้มล่าสุดก็เชื่อว่าอังกฤษซึ่งมีความพร้อมค่อนข้างมาก โอกาสค่อนข้างสูงทีเดียวในการกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากที่จัดครั้งแรกเมื่อ 1966 ได้ทั้งเงินทั้งกล่อง คือคว้าถ้วย จูลิเมต์ ไปครอง เที่ยวนี้ลองจัดซะเองอีกหน อาจจะพอมีหวังเป็นแชมป์ครั้งที่ 2 บ้าง เพราะเล่นที่อื่นทีไรเป็นตัวเต็งเกือบทุกครั้ง แต่ตกม้าตายเสียทุกที กินแห้วมากว่า 40 ปีแล้วพี่น้องเอ๋ย
ว่าจะเขียนถึงการพยายามขอเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 ของอังกฤษมาหลายหน แต่ยังไม่มีโอกาสเหมาะๆ เสียที สัปดาห์นี้ปะเหมาะก่อนฤดูกาลพรีเมียร์ลีกจะเริ่มต้นขึ้น มาติดตามรายละเอียดเรื่อง Back the Bid "ENGLAND 2018" กันดีกว่าครับ
สำหรับคอชมกีฬาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเภทแบกเป้ไปเองหรือซื้อแพ็คเกจทัวร์ เชื่อว่ามหกรรมสุดยิ่งใหญ่อย่าง "เวิลด์คัพ"คือความใฝ่ฝันที่ทุกคนอยากไปเห็นกับตาตัวเองให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปและอยากไป แต่ยังลังเลเรื่องการเดินทางภายในค่อนข้างลำบาก กลัวปัญหาต่างๆในแอฟริกาใต้ 2010 หรืออาจจะหวั่นการเดินทางแบบก้นระบมของ บราซิล 2014 รอลุ้นข้อเสนอของอังกฤษ กันดีกว่าครับ
เดือนมกราคม 2009 ที่ผ่านมา ฟีฟ่าประกาศเป็นจุดเริ่มต้นของระยะเวลา 24 เดือนแห่งการคัดเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2018 และ 2022 โดยฟีฟ่าเองให้โอกาสทุกชาติที่อยากจัดงานใหญ่ได้ไปวางแผนและเสนอรายระเอียดโปรเจ็คต์การเป็นเจ้าภาพของตัวเอง จนถึงวันที่ 14 พ.ค. ปี 2010 สรุปแล้วมี 9 ชาติยื่นความจำนงสำหรับปี 2018 และ 11 ชาติสำหรับปี 2022 โดยองค์กรโต้โผใหญ่แห่งวงการฟุตบอลจะทำการตัดสินในเดือนธันวาคม 2010
18 พ.ค. 2009 อังกฤษโดยการสนับสนุนของนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ ประกาศแผนการ Back the Bid World Cup 2018 โดยมี 15 เมืองที่พร้อมจะสนับสนุนซึ่งก็มี 1 เบอร์มิงแฮม 2 บริสตอล 3 ดาร์บี้ 4 ฮัลล์ 5 ลีดส์ 6 เลสเตอร์ 7 ลิเวอร์พูล 8 ลอนดอน 9 แมนเชสเตอร์ 10 มิลตัน คีย์นส์ 11 นิวคาสเซิล 12 น็อตติ้งแฮม 13 พอร์ตสมัธ 14 เชฟฟิลด์ 15 ซันเดอร์แลนด์
มาตรฐานขั้นต่ำเรื่องสนามแข่งขันของเจ้าภาพนั้น ฟีฟ่ากำหนดไว้ว่าต้องการสเตเดี้ยมที่มีความจุขั้นต่ำ 6 หมื่นคนอย่างน้อย 2 สนาม เพื่อเกมรอบรองฯ พิธีเปิด และปิด และต้องมีอีก 10 แห่งที่จุได้เกินกว่า 4 หมื่นคน นอกจากนั้นยังมีข้อแม้ว่า เพียง 2 สนามเท่านั้นที่อยู่ในเมืองเดียวกันได้ซึ่งสำหรับอังกฤษแล้วเดาเอาว่าคงเป็น เวมบลีย์ กับ เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม ในกรุงลอนดอน
ส่วนอีก 2 สนามที่เมืองผู้ดีเขาเตรียมเสนอไว้จัดรอบ 2, รอบควอเตอร์และเซมิ ไฟนัล นั่นก็คือโอลด์ แทร็ฟฟอร์ด ในเมืองแมนเชสเตอร์ความจุราว 7.6 หมื่นคน และ นิว แอนฟิลด์ ของลิเวอร์พูล 6.1 หมื่น (ยังไม่ได้สร้าง)
แห่งอื่นๆ ที่น่าสนใจก็มี เซนต์เจมส์ พาร์ค 5.2 หมื่นคน, สเตเดี้ยม ออฟไลท์ 4.8 วิลล่าพาร์ค 4.3 หมื่น นอกจากนั้นก็ยังมี เอ็มเค ดอนส์ สเตเดี้ยม กับไพรด์ พาร์ค ความจุ 3 หมื่นคน ส่วนสแตมฟอร์ด บริดจ์ ของเชลซี และ ซิตี้ ออฟ แมนเชสเตอร์ สนามค่อนข้างใหญ่ก็จริง แต่จะติดปัญหาโควต้าอยู่เมืองเดียวกับเอมิเรตส์ สเตเดี้ยม และ โอลด์แทรฟฟอร์ด
เมืองผู้ดีนี้นอกจากจะปวารณาตัวเองเป็น Home of Football แล้ว ยังเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวและนักช็อปปิ้ง แถมการเดินทางไประหว่างเมืองก็สะดวกที่สุด ไม่ว่าจะใช้เครื่องบิน, รถไฟระหว่างเมือง หรือรถโค้ช หรือแม้กระทั่งเช่ารถขับเหมากันไปเอง อย่างที่ อ.จ.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์เขาทำ (ถ้าเกณฑ์กันไปได้ถึง 4 คนก็คุ้ม)
เช็คจากแนวโน้มล่าสุดก็เชื่อว่าอังกฤษซึ่งมีความพร้อมค่อนข้างมาก โอกาสค่อนข้างสูงทีเดียวในการกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง หลังจากที่จัดครั้งแรกเมื่อ 1966 ได้ทั้งเงินทั้งกล่อง คือคว้าถ้วย จูลิเมต์ ไปครอง เที่ยวนี้ลองจัดซะเองอีกหน อาจจะพอมีหวังเป็นแชมป์ครั้งที่ 2 บ้าง เพราะเล่นที่อื่นทีไรเป็นตัวเต็งเกือบทุกครั้ง แต่ตกม้าตายเสียทุกที กินแห้วมากว่า 40 ปีแล้วพี่น้องเอ๋ย