ฝ่ายจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ออกมาประกาศความพร้อมมุ่งหวังจัดมหกรรมกีฬาแห่งชาวเอเชียให้ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กีฬาโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา
เมื่อช่วงสายวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน มร.เหยิน เทียนหัว รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการจัดการกว่างโจว เอเชียนเกมส์ (GAGOC) นำทีมงานฝ่ายจัดการแข่งขันเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมสำหรับมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียที่จะมีขึ้นที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
โดย มร.เหยิน เทียนหัว พร้อมด้วน นพ.วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ กรรมการและรองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ณ ห้องมณฑาทิพย์ 1 โรงแรมโฟร์ซีซั่น
ซึ่ง มร.เหยิน เทียนหัว ยืนยันแม้ต้องเจอปัญหาเรื่องสภาพเศรษฐกิจส่งผลกระทบอยู่บ้าง แต่การได้สปอนเซอร์ทั้งหมด 28 เจ้าเข้ามาช่วยเหลือทำให้ทุกอย่างเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาที่หลายฝ่ายกังวลใจเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ H1N1 มร.เหยิน เทียนหัว ให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจีนคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และได้วางมาตรการไว้แล้วอย่างเข้มแข็งจะไม่ส่งผลอย่างแน่นอน
ส่วนประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น เนื่องด้วยจีนจัดมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ “โอลิมปิกเกมส์” ที่นครปักกิ่ง ไว้อย่างน่าทึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวโลกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จึงมีคำถามตามมาว่า “กว่างโจวเกมส์” จะสามารถดำเนินงานได้เทียบเคียงมากน้อยแค่ไหน
ซึ่ง มร.เหยิน เทียนหัว ยอมรับว่ากีฬาโอลิมปิก เป็นโปรเจคใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ในส่วนของเอเชียนเกมส์ เป็นแผนงานที่เล็กลงมา อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายจัดการแข่งขันพร้อมจัดงานให้ยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า “ปักกิ่งเกมส์” แน่นอน เน้นในส่วนของการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย นั่นจึงสามารถลดงบประมาณการใช้จ่ายลงมาได้อีก สำหรับพิธีเปิด-ปิดจะมีแบบแผนความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร มีความเป็นตัวของตัวเอง
ตอนนี้ทีมงานได้วางแผนงาน “Road of Asia” หรือการเดินทางเพื่อประชาสัมพันธ์งานเอเชียนเกมส์ “กว่างโจว” เอาไว้แล้วและได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว ซึ่งมีการปล่อยเรือ “โคคาชิน” ที่เป็นเรือแห่งตำนานล่องผ่าน “เส้นทางสายไหม” ผ่านทางอ่าวเปอร์เซีย, ปากีสถาน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และก็ได้มาพักที่เวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสถานีปลายทางของเรือลำนี้คือการกลับไปยัง กว่างโจว ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2010 พอดี ซึ่งก็หวังว่าจะได้พบทุกท่านที่นั่น
ด้านนักข่าวจีนที่มาร่วมงานแถลงข่าวด้วย มีการสอบถามไปยัง นพ.วารินทร์ ถึงความคาดหวังใน “กว่างโจวเกมส์” ซึ่งก็ได้คำตอบดังนี้ “สิ่งที่คนไทยคาดหวัง แน่นอนว่าต้องเป็นผลงานการทำหน้าที่ของทัพนักกีฬาไทยที่อยากให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เรายังหวังเห็นทางกว่างโจวจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ให้ประสบผลสำเร็จเช่นกัน อีกทั้งยังอยากเห็นพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ หลังจากที่ประทับใจกันมาแล้วในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง”
สุดท้ายทัพนักข่าวแดนมังกรอยากให้ นพ.วารินทร์ แนะนำการเป็นเจ้าภาพสำหรับ “กว่างโจเกมส์” เนื่องจากครั้งจัดที่กรุงเทพ เมื่อปี 1998 ไทยต้องเจอปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกคุกคามเช่นกัน ซึ่งคุณหมอกล่าวดังต่อไปนี้ “คิดว่าการจัดแข่งกีฬาถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งทางเจ้าภาพเองการมีจัดกีฬาขึ้นในประเทศ ถือเป็นการช่วยบรรเทาสภาพเศรษฐกิจได้ ทั้งยังได้การกระตุ้นเรื่องการท่องเที่ยวเข้ามาด้วย ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว”
สำหรับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 มี 45 ชาติสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขัน คาดว่าครั้งนี้จะมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่กว่า 2 หมื่นคนเดินทางมายังกว่างโจว เพื่อลงทำการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 42 ประเภท ประกอบด้วยกีฬาสากลที่ใช้ในระดับโอลิมปิก 28 ประเภท และไม่ใช่กีฬาที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกอีก 14 ชนิดกีฬาด้วยกัน
เมื่อช่วงสายวันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน มร.เหยิน เทียนหัว รองผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารมวลชนของคณะกรรมการจัดการกว่างโจว เอเชียนเกมส์ (GAGOC) นำทีมงานฝ่ายจัดการแข่งขันเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมสำหรับมหกรรมกีฬาของชาวเอเชียที่จะมีขึ้นที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 12-27 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
โดย มร.เหยิน เทียนหัว พร้อมด้วน นพ.วารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ กรรมการและรองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ณ ห้องมณฑาทิพย์ 1 โรงแรมโฟร์ซีซั่น
ซึ่ง มร.เหยิน เทียนหัว ยืนยันแม้ต้องเจอปัญหาเรื่องสภาพเศรษฐกิจส่งผลกระทบอยู่บ้าง แต่การได้สปอนเซอร์ทั้งหมด 28 เจ้าเข้ามาช่วยเหลือทำให้ทุกอย่างเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาที่หลายฝ่ายกังวลใจเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ H1N1 มร.เหยิน เทียนหัว ให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจีนคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี และได้วางมาตรการไว้แล้วอย่างเข้มแข็งจะไม่ส่งผลอย่างแน่นอน
ส่วนประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้น เนื่องด้วยจีนจัดมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติ “โอลิมปิกเกมส์” ที่นครปักกิ่ง ไว้อย่างน่าทึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวโลกเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จึงมีคำถามตามมาว่า “กว่างโจวเกมส์” จะสามารถดำเนินงานได้เทียบเคียงมากน้อยแค่ไหน
ซึ่ง มร.เหยิน เทียนหัว ยอมรับว่ากีฬาโอลิมปิก เป็นโปรเจคใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ในส่วนของเอเชียนเกมส์ เป็นแผนงานที่เล็กลงมา อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายจัดการแข่งขันพร้อมจัดงานให้ยิ่งใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า “ปักกิ่งเกมส์” แน่นอน เน้นในส่วนของการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย นั่นจึงสามารถลดงบประมาณการใช้จ่ายลงมาได้อีก สำหรับพิธีเปิด-ปิดจะมีแบบแผนความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร มีความเป็นตัวของตัวเอง
ตอนนี้ทีมงานได้วางแผนงาน “Road of Asia” หรือการเดินทางเพื่อประชาสัมพันธ์งานเอเชียนเกมส์ “กว่างโจว” เอาไว้แล้วและได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว ซึ่งมีการปล่อยเรือ “โคคาชิน” ที่เป็นเรือแห่งตำนานล่องผ่าน “เส้นทางสายไหม” ผ่านทางอ่าวเปอร์เซีย, ปากีสถาน, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และก็ได้มาพักที่เวียดนามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสถานีปลายทางของเรือลำนี้คือการกลับไปยัง กว่างโจว ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2010 พอดี ซึ่งก็หวังว่าจะได้พบทุกท่านที่นั่น
ด้านนักข่าวจีนที่มาร่วมงานแถลงข่าวด้วย มีการสอบถามไปยัง นพ.วารินทร์ ถึงความคาดหวังใน “กว่างโจวเกมส์” ซึ่งก็ได้คำตอบดังนี้ “สิ่งที่คนไทยคาดหวัง แน่นอนว่าต้องเป็นผลงานการทำหน้าที่ของทัพนักกีฬาไทยที่อยากให้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เรายังหวังเห็นทางกว่างโจวจัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ให้ประสบผลสำเร็จเช่นกัน อีกทั้งยังอยากเห็นพิธีเปิด-ปิดการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ หลังจากที่ประทับใจกันมาแล้วในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง”
สุดท้ายทัพนักข่าวแดนมังกรอยากให้ นพ.วารินทร์ แนะนำการเป็นเจ้าภาพสำหรับ “กว่างโจเกมส์” เนื่องจากครั้งจัดที่กรุงเทพ เมื่อปี 1998 ไทยต้องเจอปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกคุกคามเช่นกัน ซึ่งคุณหมอกล่าวดังต่อไปนี้ “คิดว่าการจัดแข่งกีฬาถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย ซึ่งทางเจ้าภาพเองการมีจัดกีฬาขึ้นในประเทศ ถือเป็นการช่วยบรรเทาสภาพเศรษฐกิจได้ ทั้งยังได้การกระตุ้นเรื่องการท่องเที่ยวเข้ามาด้วย ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว”
สำหรับกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 มี 45 ชาติสมาชิกเข้าร่วมการแข่งขัน คาดว่าครั้งนี้จะมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่กว่า 2 หมื่นคนเดินทางมายังกว่างโจว เพื่อลงทำการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 42 ประเภท ประกอบด้วยกีฬาสากลที่ใช้ในระดับโอลิมปิก 28 ประเภท และไม่ใช่กีฬาที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกอีก 14 ชนิดกีฬาด้วยกัน