คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
สนามเทนนิสในปัจจุบันมีสภาพแตกต่างกัน 4 แบบ คือ คอร์ทหญ้า ( Grass court ) คอร์ทดิน ( Clay court ) คอร์ทปูน ( Hard court ) และ คอร์ทพรม ( Carpet court ) ซึ่งรายการของ เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ หรือ ดับเบิลยูทีเอ ทัวร์ ที่มีการแข่งขันตลอดปี ยังไงนักเทนนิสอาชีพก็จะต้องมีโอกาสได้เล่นในสนามครบทั้ง 4 ชนิดอย่างแน่นอน
คอร์ทหญ้า ซึ่งมีมากในประเทศอังกฤษ ส่วนมากจะใช้หญ้าพันธุ์ที่เรียกว่า รายกราส ( Ryegrass ) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้บอลกระดอนช้ากว่าหญ้าพันธุ์อื่นๆ คอร์ทหญ้ามีค่าดูแลรักษาสูงกว่า ฮาร์ด คอร์ท และ เคลย์คอร์ท ต้องมีการหว่านเมล็ด ปลูกใหม่ทุกปี และเวลาสนามเปียกก็จะค่อนข้างลื่น ดังนั้น สมัยนี้พอฝนมา เขาก็ต้องรีบเอาผ้าใบคลุมทันที ไม่เช่นนั้นกว่าหญ้าจะแห้ง รอเป็นวันครับ
การแข่งขันที่ใช้ สนามหญ้า ก็คือ วิมเบิลดัน รายการระดับ แกรนด์ สแลม ของประเทศอังกฤษที่เป็นทอร์นาเมนท์ที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มกันตั้งแต่ปี 1877 นอกจากนั้น ก็ยังมีรายการอื่นๆอีก เช่น อารตัว แชมเปียนชิพ ( Artois Championship ) รายการ ออร์ดีนา โอเพน ( Ordina Open ) และคนที่เล่นได้ดีในสนามลักษณะนี้ ก็คือ วีนัส วิลเลียมส์ โรเจอร์ เฟเดเรอร์ พีท แซมพรัส ชเตฟี กราฟ เป็นต้น
ฮาร์ด คอร์ท เป็นคอร์ทปูน มีอยู่ทั่วโลก มักปูพื้นผิวด้วยยางแอสฟัลท์ ( asphalt ) มีคุณสมบัติทำให้บอลกระดอนเร็วกว่า คอร์ทดิน แต่ช้ากว่า คอร์ทหญ้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของเม็ดทรายที่ผสมเข้าไปในปูนเพื่อฉาบผิวพื้น ถ้ายิ่งมีทรายน้อย บอลก็จะยิ่งกระดอนเร็ว อย่างรายการระดับ แกรนด์ สแลม ก็มี ยู เอส โอเพน เขาเรียกว่า อคริลิค ฮาร์ด คอร์ท ( Acrylic hard court ) ส่วน ออสตราเลียน โอเพน เป็น ซินเธทิค ฮาร์ด คอร์ท ( Synthetic hard court )
คอร์ทพรม อันนี้จะใช้ได้ก็เฉพาะสนามในร่ม เป็นพวกยางหรือวัสดุสังเคราะห์ รายการที่ใช้ คอร์ทพรม ก็มีตัวอย่าง เช่น เบแอ็นเป ปารีบา มาสเตอร์ส ( BNP Paribas Masters ) ที่กรุงปารี ประเทศฝรั่งเศส
สนามเทนนิสอีกชนิดหนึ่ง คือ คอร์ทดิน ทำจากพวกอิฐ หินบด ซึ่งแม้ว่าค่าก่อสร้างสนามแบบนี้จะดูราคาไม่สูงเท่ากับสนามแบบอื่นๆ แต่ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า มันจะมาหนักที่ค่าดูแลรักษา อย่างน้อยก็ใช้เงินมากกว่า ฮาร์ด คอร์ท เขาต้องใช้ลูกกลิ้งไถพื้นผิวให้เรียบอยู่เสมอ แล้ว คอร์ทดิน ก็ยังมี 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ ดินสีแดง อย่างที่ใช้ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มีคุณสมบัติไม่ดูดซับน้ำง่ายๆ ที่เขาไม่ใช้ดินแท้ๆก็เพราะเวลามีน้ำเฉอะแฉะ กว่าจะแห้งนั้นกินเวลาร่วม 2-3 วันครับ อันนี้ผิดกับ ดินสีเขียว ที่ส่วนมากจะใช้ในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า ฮาร์-ทรู ( Har-Tru ) หรือ อเมริกัน เคลย์ ( American clay ) ซึ่งพื้นผิวจะมีคุณสมบัติแข็งกว่า บอลกระดอนเร็วกว่า แต่ส่วนมากเขาจะใช้ปูชั้นล่างของผิวหน้ามากกว่า รายการเทนนิสระดับ แกรนด์ แสลม ที่ใช้ คอร์ทดินสีแดงๆ ก็คือ เฟรนช์ โอเพน
ลูกบอลจะกระดอนบนคอร์ทดินได้สูงและช้ากว่าบนคอร์ทชนิดอื่น ดังนั้น อย่าไปหวังว่าจะหวดทีเดียวให้คู่ต่อสู้รับกลับมาไม่ได้ ในแต่ละเกม ลูกวินเนอร์มีให้เห็นน้อยกว่า ดังนั้น การเล่นเทนนิสบนคอร์ทดินจึงเป็นเกมยืดเยื้อพอสมควร เหมาะสำหรับนักเทนนิสที่ชอบคอยตั้งรับ ตีโต้ท้ายคอร์ท รวมทั้ง พวกที่ชอบเล่นท็อพสปิน ลูกเล่นอีกอย่างที่นักหวดถนัดคอร์ทดินชอบใช้คือ ลูกหยอด ใครไม่ถนัดคอร์ทประเภทนี้ก็ยากที่จะเข้าสู่รอบลึกๆ เพราะการเคลื่อนที่บนคอร์ทดินนั้นแตกต่างจากคอร์ทอื่นอย่างสิ้นเชิง มันเป็นลักษณะการไถลเข้าหาลูกบอลแล้วตีมากกว่าการเล่นบนฮาร์ดคอร์ทหรือกราสคอร์ทที่ต้องวิ่งไปแล้วหยุดเพื่อหวดลูกบอล
นักเทนนิสที่ถนัดการเล่นบน คอร์ทดิน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้อง ชุสตีน เอแน็ง ( Justine Henin ) อดีตมือ 1 ของโลกชาวเบลเยียม ที่คว้าแชมป์หญิงเดี่ยว โรล็อง การโรส หรือ เฟรนช์ โอเพน มา 4 สมัยในปี 2003 และ 2005-2007 ส่วนฝ่ายชายเป็น ราฟาเอล นาดาล มือ 1 ของโลกชาวสเปนแน่นอน เพราะหมอนี่กวาดแชมป์ชายเดี่ยว เฟรนช์ โอเพน มาแล้ว 4 สมัยซ้อนในปี 2005-2008 ซึ่งว่าที่จริงแล้ว นาดาล ก็ไม่เคยแพ้ใน เฟรนช์ โอเพน เลยตั้งแต่ลงแข่งมา แถมยังเป็นเจ้าของสถิติชนะติดต่อกันบนคอร์ทชนิดเดียวกันยาวนานที่สุดด้วย โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2005 ถึงเดือนพฤษภาคม 2007 เขาทำสถิติได้รับชัยชนะบน เคลย์ คอร์ท ติดต่อกันเอาไว้ที่ 81 แมตช์
แม้ว่าการแข่งขันเทนนิสบนคอร์ทดินจะมีอยู่ตลอดปี โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ คือ รายการ โมบีสตาร์ โอเพน ( Movistar Open ) ที่ บีญา เดล มาร ( Vina del Mar ) ประเทศชิลี แล้วไปจบรายการสุดท้ายที่ บีซีอาร์ โอเพน โรมาเนีย ( BCR Open Romania ) ที่กรุงบูคาเรสท์ ประเทศโรมาเนียตอนปลายเดือนกันยายน แต่ระหว่างต้นเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ตลอด 2 เดือนเต็มนั้น รายการเทนนิสบนเคลย์คอร์ทถึง 12 รายการจะมาอัดแน่นอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งรายการสุดท้ายก็คือ เทนนิส แกรนด์ สแลม เฟรนช์ โอเพน นั่นเอง ถือเป็นช่วงขุดทอง ตักตวงทั้งเงินรางวัลและคะแนนสะสมของนักเทนนิสที่ถนัดคอร์ทดินครับ ขนาด โรเจอร์ เฟเดเรอร์ มือ 2 ของโลกที่เคยเป็นมือ 1 อันยาวนานมาก่อนยังถอยเลย ขอสู้เพียงแค่ 2 รายการเล็กๆเท่านั้น แล้วก็จะไปดับแค้นกับ ราฟาเอล นาดาล ในรายการใหญ่ โรล็อง การโรส ปลายเดือนพฤษภาคมครับ
สนามเทนนิสในปัจจุบันมีสภาพแตกต่างกัน 4 แบบ คือ คอร์ทหญ้า ( Grass court ) คอร์ทดิน ( Clay court ) คอร์ทปูน ( Hard court ) และ คอร์ทพรม ( Carpet court ) ซึ่งรายการของ เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ หรือ ดับเบิลยูทีเอ ทัวร์ ที่มีการแข่งขันตลอดปี ยังไงนักเทนนิสอาชีพก็จะต้องมีโอกาสได้เล่นในสนามครบทั้ง 4 ชนิดอย่างแน่นอน
คอร์ทหญ้า ซึ่งมีมากในประเทศอังกฤษ ส่วนมากจะใช้หญ้าพันธุ์ที่เรียกว่า รายกราส ( Ryegrass ) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้บอลกระดอนช้ากว่าหญ้าพันธุ์อื่นๆ คอร์ทหญ้ามีค่าดูแลรักษาสูงกว่า ฮาร์ด คอร์ท และ เคลย์คอร์ท ต้องมีการหว่านเมล็ด ปลูกใหม่ทุกปี และเวลาสนามเปียกก็จะค่อนข้างลื่น ดังนั้น สมัยนี้พอฝนมา เขาก็ต้องรีบเอาผ้าใบคลุมทันที ไม่เช่นนั้นกว่าหญ้าจะแห้ง รอเป็นวันครับ
การแข่งขันที่ใช้ สนามหญ้า ก็คือ วิมเบิลดัน รายการระดับ แกรนด์ สแลม ของประเทศอังกฤษที่เป็นทอร์นาเมนท์ที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มกันตั้งแต่ปี 1877 นอกจากนั้น ก็ยังมีรายการอื่นๆอีก เช่น อารตัว แชมเปียนชิพ ( Artois Championship ) รายการ ออร์ดีนา โอเพน ( Ordina Open ) และคนที่เล่นได้ดีในสนามลักษณะนี้ ก็คือ วีนัส วิลเลียมส์ โรเจอร์ เฟเดเรอร์ พีท แซมพรัส ชเตฟี กราฟ เป็นต้น
ฮาร์ด คอร์ท เป็นคอร์ทปูน มีอยู่ทั่วโลก มักปูพื้นผิวด้วยยางแอสฟัลท์ ( asphalt ) มีคุณสมบัติทำให้บอลกระดอนเร็วกว่า คอร์ทดิน แต่ช้ากว่า คอร์ทหญ้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของเม็ดทรายที่ผสมเข้าไปในปูนเพื่อฉาบผิวพื้น ถ้ายิ่งมีทรายน้อย บอลก็จะยิ่งกระดอนเร็ว อย่างรายการระดับ แกรนด์ สแลม ก็มี ยู เอส โอเพน เขาเรียกว่า อคริลิค ฮาร์ด คอร์ท ( Acrylic hard court ) ส่วน ออสตราเลียน โอเพน เป็น ซินเธทิค ฮาร์ด คอร์ท ( Synthetic hard court )
คอร์ทพรม อันนี้จะใช้ได้ก็เฉพาะสนามในร่ม เป็นพวกยางหรือวัสดุสังเคราะห์ รายการที่ใช้ คอร์ทพรม ก็มีตัวอย่าง เช่น เบแอ็นเป ปารีบา มาสเตอร์ส ( BNP Paribas Masters ) ที่กรุงปารี ประเทศฝรั่งเศส
สนามเทนนิสอีกชนิดหนึ่ง คือ คอร์ทดิน ทำจากพวกอิฐ หินบด ซึ่งแม้ว่าค่าก่อสร้างสนามแบบนี้จะดูราคาไม่สูงเท่ากับสนามแบบอื่นๆ แต่ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า มันจะมาหนักที่ค่าดูแลรักษา อย่างน้อยก็ใช้เงินมากกว่า ฮาร์ด คอร์ท เขาต้องใช้ลูกกลิ้งไถพื้นผิวให้เรียบอยู่เสมอ แล้ว คอร์ทดิน ก็ยังมี 2 ชนิดแตกต่างกัน คือ ดินสีแดง อย่างที่ใช้ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ มีคุณสมบัติไม่ดูดซับน้ำง่ายๆ ที่เขาไม่ใช้ดินแท้ๆก็เพราะเวลามีน้ำเฉอะแฉะ กว่าจะแห้งนั้นกินเวลาร่วม 2-3 วันครับ อันนี้ผิดกับ ดินสีเขียว ที่ส่วนมากจะใช้ในสหรัฐอเมริกา เรียกว่า ฮาร์-ทรู ( Har-Tru ) หรือ อเมริกัน เคลย์ ( American clay ) ซึ่งพื้นผิวจะมีคุณสมบัติแข็งกว่า บอลกระดอนเร็วกว่า แต่ส่วนมากเขาจะใช้ปูชั้นล่างของผิวหน้ามากกว่า รายการเทนนิสระดับ แกรนด์ แสลม ที่ใช้ คอร์ทดินสีแดงๆ ก็คือ เฟรนช์ โอเพน
ลูกบอลจะกระดอนบนคอร์ทดินได้สูงและช้ากว่าบนคอร์ทชนิดอื่น ดังนั้น อย่าไปหวังว่าจะหวดทีเดียวให้คู่ต่อสู้รับกลับมาไม่ได้ ในแต่ละเกม ลูกวินเนอร์มีให้เห็นน้อยกว่า ดังนั้น การเล่นเทนนิสบนคอร์ทดินจึงเป็นเกมยืดเยื้อพอสมควร เหมาะสำหรับนักเทนนิสที่ชอบคอยตั้งรับ ตีโต้ท้ายคอร์ท รวมทั้ง พวกที่ชอบเล่นท็อพสปิน ลูกเล่นอีกอย่างที่นักหวดถนัดคอร์ทดินชอบใช้คือ ลูกหยอด ใครไม่ถนัดคอร์ทประเภทนี้ก็ยากที่จะเข้าสู่รอบลึกๆ เพราะการเคลื่อนที่บนคอร์ทดินนั้นแตกต่างจากคอร์ทอื่นอย่างสิ้นเชิง มันเป็นลักษณะการไถลเข้าหาลูกบอลแล้วตีมากกว่าการเล่นบนฮาร์ดคอร์ทหรือกราสคอร์ทที่ต้องวิ่งไปแล้วหยุดเพื่อหวดลูกบอล
นักเทนนิสที่ถนัดการเล่นบน คอร์ทดิน ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้อง ชุสตีน เอแน็ง ( Justine Henin ) อดีตมือ 1 ของโลกชาวเบลเยียม ที่คว้าแชมป์หญิงเดี่ยว โรล็อง การโรส หรือ เฟรนช์ โอเพน มา 4 สมัยในปี 2003 และ 2005-2007 ส่วนฝ่ายชายเป็น ราฟาเอล นาดาล มือ 1 ของโลกชาวสเปนแน่นอน เพราะหมอนี่กวาดแชมป์ชายเดี่ยว เฟรนช์ โอเพน มาแล้ว 4 สมัยซ้อนในปี 2005-2008 ซึ่งว่าที่จริงแล้ว นาดาล ก็ไม่เคยแพ้ใน เฟรนช์ โอเพน เลยตั้งแต่ลงแข่งมา แถมยังเป็นเจ้าของสถิติชนะติดต่อกันบนคอร์ทชนิดเดียวกันยาวนานที่สุดด้วย โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2005 ถึงเดือนพฤษภาคม 2007 เขาทำสถิติได้รับชัยชนะบน เคลย์ คอร์ท ติดต่อกันเอาไว้ที่ 81 แมตช์
แม้ว่าการแข่งขันเทนนิสบนคอร์ทดินจะมีอยู่ตลอดปี โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ คือ รายการ โมบีสตาร์ โอเพน ( Movistar Open ) ที่ บีญา เดล มาร ( Vina del Mar ) ประเทศชิลี แล้วไปจบรายการสุดท้ายที่ บีซีอาร์ โอเพน โรมาเนีย ( BCR Open Romania ) ที่กรุงบูคาเรสท์ ประเทศโรมาเนียตอนปลายเดือนกันยายน แต่ระหว่างต้นเดือนเมษายนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ตลอด 2 เดือนเต็มนั้น รายการเทนนิสบนเคลย์คอร์ทถึง 12 รายการจะมาอัดแน่นอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งรายการสุดท้ายก็คือ เทนนิส แกรนด์ สแลม เฟรนช์ โอเพน นั่นเอง ถือเป็นช่วงขุดทอง ตักตวงทั้งเงินรางวัลและคะแนนสะสมของนักเทนนิสที่ถนัดคอร์ทดินครับ ขนาด โรเจอร์ เฟเดเรอร์ มือ 2 ของโลกที่เคยเป็นมือ 1 อันยาวนานมาก่อนยังถอยเลย ขอสู้เพียงแค่ 2 รายการเล็กๆเท่านั้น แล้วก็จะไปดับแค้นกับ ราฟาเอล นาดาล ในรายการใหญ่ โรล็อง การโรส ปลายเดือนพฤษภาคมครับ