คอลัมน์ EYE ON SPORTS โดย กษิติ กมลนาวิน
ในโลกของกอล์ฟชาย แต่ละปีจะมีการแข่งขันระดับสุดยอดที่เรียกว่า เมเจอร์ส ทั้งหมด 4 รายการ เริ่มด้วย มาสเตอร์ส ทอร์นาเมนท์ ( Masters Tournament ) จัดแข่งขันกันในสัปดาห์เต็มสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนของทุกปีในสหรัฐอเมริกา รายการเมเจอร์ที่ 2 คือ ยู เอส โอเพน ในสัปดาห์เต็มสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน อันนี้ก็จัดที่สหรัฐอเมริกา โดยจะย้ายสนามไปเรื่อยทุกปี แต่ก็วนเวียนอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็แล้วกัน ต่อด้วยการแข่งขันกอล์ฟรายการใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร คือ ดิ โอเพน แชมเปียนชิพ ( The Open Championship ) ในสัปดาห์ที่มีวันศุกร์ครั้งที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม นับเป็นรายการเดียวที่จัดนอกอเมริกา และเป็น ลิงค์ส กอล์ฟ คอร์ส ( Links golf course ) ซะด้วย คือ สนามแบบดั้งเดิม ติดชายฝั่งทะเล มีพื้นทราย เนินทรายอะไรเทือกนั้น และถัดจาก ดิ โอเพน แชมเปียนชิพ 4 สัปดาห์ก็เป็น พีจีเอ แชมเปียนชิพ ( PGA Championship ) เมเจอร์สุดท้ายของปี ที่สหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม
สำหรับกอล์ฟเมเจอร์แรกที่บางคนเรียกว่า เดอะ มาสเตอร์ส โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาก็มักจะเรียกว่า เดอะ ยู เอส มาสเตอร์ส เริ่มแข่งกันมาตั้งแต่ปี 1934 มีความแตกต่างจากอีก 3 รายการเมเจอร์ก็ตรงที่ใช้ ออกัสตา แนชเชินนอล กอล์ฟ คลับ ( Augusta National Golf Club ) สนามระยะ 7,445 พาร์ 72 ใน ออกัสตา จอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นสถานที่แข่งขันทุกปีชัวร์ๆ ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้สนามอื่น ปี 2009 นี้จะเป็นครั้งที่ 73 แล้ว และดวลวงสวิงกันระหว่างวันที่ 9-12 เมษายนนี้ รายการนี้มีเงินรางวัลให้ชิงกันรวม 7,500,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 262 ล้านบาท โดยเฉพาะผู้ชนะจะได้รับคนเดียว 1,350,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 47 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมแข่งขันก็มี 96 คน โดย 1 ในจำนวนนั้นก็คือ ประหยัด มากแสง นักกอล์ฟของไทยเราที่เคยได้รับเชิญเป็นพิเศษให้ร่วมลงแข่งรายการนี้หนหนึ่งแล้วเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผลงานคราวนั้น ประหยัด ตีไม่จบ โดยวันแรก ตีเกินไป 10 สโตรค สกอร์ 82 พอถึงรอบ 2 ประหยัด ตีไปได้เพียงครึ่งทางก็ต้องขอถอนตัวออกจากการแข่งขันเพราะมีอาการเจ็บหลัง แต่ เดอะ มาสเตอร์ส ปีนี้ ประหยัด ได้สิทธิร่วมแข่งในฐานะที่ติดอยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก
ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ที่สนาม ออกัสตา นี้ ความจริง ของเดิมตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีก่อนนั้น เมื่อ อลิสเตอร์ แม็คเคนซี ( Alister MacKenzie ) ออกแบบเอาไว้ มันไม่ได้มีระยะถึง 7,445 หลาแบบในปัจจุบัน แต่สั้นกว่านี้เยอะ แถมระยะเวลาที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มหลุมทราย เพิ่มต้นไม้ใหญ่เต็มไปหมด หญ้าหนาๆก็เป็นบริเวณกว้างขึ้น เอาไว้เป็นอุปสรรคคอยดักพวกนักกอล์ฟที่ชอบตีเสี่ยง ตีทะเล่อทะล่า ทำให้สภาพสนามที่เห็นในปัจจุบันต่างจากที่ แม็คเคนซี รวมทั้ง บ็อบบี โจนส์ ( Bobby Jones ) ผู้ก่อตั้งได้ร่วมกันวาดฝันเอาไว้ตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 ซึ่งเรื่องนี้ผู้จัดการแข่งขันยอมรับว่า ต้องขยันเพิ่มระยะสนามตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งเพิ่มอุปสรรคต่างๆที่กล่าวมาก็ด้วยความคิดที่ว่า เดี๋ยวนี้บรรดานักกอล์ฟมีการพัฒนาทักษะฝีมือดีขึ้นกว่าสมัย 60-70 ปีที่แล้วมาก นอกจากนั้น เท็คนอลอจีอันล้ำลึกในยุคนี้ ยังมีส่วนช่วยในการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ทันสมัยกว่ามากด้วย พวกเขาตระหนักเรื่องนี้ดีทีเดียวเมื่อได้เห็น “ ต้น ” เอลดริค วูดส์ ( Eldrick Woods ) ผู้มีฉายาว่า “ ทายเกอร์ ” ( Tiger ) นักกอล์ฟอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเริ่มเล่นกอล์ฟอาชีพในปี 1996 และปรากฏตัวในรายการนี้เป็นครั้งแรกในปี 1997 หมอนี่คว้าแชมป์รายการนี้ไปครองได้อย่างสบายๆด้วยสกอร์รวม 18 อันเดอร์พาร์ 270 ทิ้งห่าง ทอม ไคท์ ( Tom Kite ) นักกอล์ฟเพื่อนร่วมชาติที่ตามมาอันดับ 2 ถึง 12 สโตรค
เดอะ มาสเตอร์ส เป็นรายการที่มีประเพณีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำของบรรดาแชมป์เก่า ( The Champions dinner ) ในวันอังคารก่อนที่จะเริ่มแข่งขันกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งเขาจะเชิญเฉพาะผู้ที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้และกรรมการบริหาร ออกัสตา แนชเชินนอล กอล์ฟ คลับ บางคนเท่านั้น นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้นมา ทางผู้จัดได้เริ่มประเพณีนำเอานักกอล์ฟที่เป็นตำนาน ซึ่งตามปกติจะเป็นอดีตแชมป์ มาเป็นเกียรติตีฉ็อทแรกที่แท่นทีอ็อฟเปิดการแข่งขันในเช้าวันแรก รวมทั้ง ประเพณีการแข่งขันในสนามพาร์ 3 ก่อนวันแข่งจริง 1 วัน ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 1960
ที่สำคัญ ตั้งแต่ปี 1949 ทางผู้จัดได้ริเริ่มประเพณีที่สร้างชื่อโด่งดังไปทั่วโลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ การมอบเสื้อแจ็คเก็ทสีเขียว ( Green Jacket ) ให้แก่ผู้ที่คว้าแชมป์รายการนี้ โดยผู้ที่ทำหน้าที่สวม กรีน แจ็คเก็ท ให้แชมป์ ก็คือแชมป์ปีก่อนนั่นเอง ทีนี้ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้ามีใครคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อนจะทำอย่างไร แชมป์เอาเสื้อมาสวมเองเลยหรือไง กรณีนี้เคยเกิดขึ้นแล้วครับ โดยในปี 1965 เจ้าหมีทอง แจ็ค นิคลอส ( Jack Nicklaus ) นักกอล์ฟสหรัฐฯ คว้าแชมป์ไปแล้ว และมาได้แชมป์อีกในปีรุ่งขึ้น หมอนี่คว้าเสื้อมาสวมให้ตนเองจริงๆ นั่นอาจเป็นเพราะการคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อนในรายการนี้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก แต่ในปี 1990 นิค ฟัลโด ( Nick Faldo ) และปี 2002 ทายเกอร์ วูดส์ ต่างก็ได้แชมป์ติดต่อกัน ทั้ง 2 หนนั้น เขาก็ให้ประธานสโมสรเป็นผู้สวมให้ครับ
กรีน แจ็คเก็ท นี้ บรรดาสมาชิกสโมสรซึ่งมีอยู่ราว 300 คนเท่านั้น เพราะไม่มีการรับสมัคร มีแต่เชิญเป็นสมาชิก ต่างก็มีใส่คนละตัว และทุกครั้งที่อยู่ในสโมสรก็ต้องสวมซะให้เรียบร้อย ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้แยกแยะให้เห็นชัดระหว่างสมาชิกกับคนอื่นๆ สำหรับคนเป็นแชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส ซึ่งจะได้รับสิทธิการเป็นสมาชิกสโมสรโดยอัตโนมัติ สามารถนำ กรีน แจ็คเก็ท กลับบ้านไปเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นต้องนำกลับมาเก็บไว้ที่สโมสร แล้วครั้งใดก็ตามที่แชมป์คนนี้กลับมาเหยียบที่นี่ ก็ค่อยไปนำ กรีน แจ็คเก็ท มาสวมใส่ เอาเป็นว่า เดอะ มาสเตอร์ส 2009 นี้ ถ้า ทายเกอร์ สามารถคว้าแชมป์ ได้ คนที่จะทำหน้าที่สวม กรีน แจ็คเก็ท ให้ก็คือ เทรเวอร์ อิมเมลแมน ( Trevor Immelman ) นักกอล์ฟชาวอัฟริกาใต้ เพราะเขาเป็นแชมป์เมื่อปีที่แล้วนั่นเอง
ในโลกของกอล์ฟชาย แต่ละปีจะมีการแข่งขันระดับสุดยอดที่เรียกว่า เมเจอร์ส ทั้งหมด 4 รายการ เริ่มด้วย มาสเตอร์ส ทอร์นาเมนท์ ( Masters Tournament ) จัดแข่งขันกันในสัปดาห์เต็มสัปดาห์แรกของเดือนเมษายนของทุกปีในสหรัฐอเมริกา รายการเมเจอร์ที่ 2 คือ ยู เอส โอเพน ในสัปดาห์เต็มสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมิถุนายน อันนี้ก็จัดที่สหรัฐอเมริกา โดยจะย้ายสนามไปเรื่อยทุกปี แต่ก็วนเวียนอยู่ในสหรัฐอเมริกาก็แล้วกัน ต่อด้วยการแข่งขันกอล์ฟรายการใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร คือ ดิ โอเพน แชมเปียนชิพ ( The Open Championship ) ในสัปดาห์ที่มีวันศุกร์ครั้งที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม นับเป็นรายการเดียวที่จัดนอกอเมริกา และเป็น ลิงค์ส กอล์ฟ คอร์ส ( Links golf course ) ซะด้วย คือ สนามแบบดั้งเดิม ติดชายฝั่งทะเล มีพื้นทราย เนินทรายอะไรเทือกนั้น และถัดจาก ดิ โอเพน แชมเปียนชิพ 4 สัปดาห์ก็เป็น พีจีเอ แชมเปียนชิพ ( PGA Championship ) เมเจอร์สุดท้ายของปี ที่สหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม
สำหรับกอล์ฟเมเจอร์แรกที่บางคนเรียกว่า เดอะ มาสเตอร์ส โดยเฉพาะคนที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาก็มักจะเรียกว่า เดอะ ยู เอส มาสเตอร์ส เริ่มแข่งกันมาตั้งแต่ปี 1934 มีความแตกต่างจากอีก 3 รายการเมเจอร์ก็ตรงที่ใช้ ออกัสตา แนชเชินนอล กอล์ฟ คลับ ( Augusta National Golf Club ) สนามระยะ 7,445 พาร์ 72 ใน ออกัสตา จอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เป็นสถานที่แข่งขันทุกปีชัวร์ๆ ไม่มีการเปลี่ยนไปใช้สนามอื่น ปี 2009 นี้จะเป็นครั้งที่ 73 แล้ว และดวลวงสวิงกันระหว่างวันที่ 9-12 เมษายนนี้ รายการนี้มีเงินรางวัลให้ชิงกันรวม 7,500,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 262 ล้านบาท โดยเฉพาะผู้ชนะจะได้รับคนเดียว 1,350,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 47 ล้านบาท ส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมแข่งขันก็มี 96 คน โดย 1 ในจำนวนนั้นก็คือ ประหยัด มากแสง นักกอล์ฟของไทยเราที่เคยได้รับเชิญเป็นพิเศษให้ร่วมลงแข่งรายการนี้หนหนึ่งแล้วเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผลงานคราวนั้น ประหยัด ตีไม่จบ โดยวันแรก ตีเกินไป 10 สโตรค สกอร์ 82 พอถึงรอบ 2 ประหยัด ตีไปได้เพียงครึ่งทางก็ต้องขอถอนตัวออกจากการแข่งขันเพราะมีอาการเจ็บหลัง แต่ เดอะ มาสเตอร์ส ปีนี้ ประหยัด ได้สิทธิร่วมแข่งในฐานะที่ติดอยู่ใน 50 อันดับแรกของโลก
ผมอยากเรียนท่านผู้อ่านว่า ที่สนาม ออกัสตา นี้ ความจริง ของเดิมตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีก่อนนั้น เมื่อ อลิสเตอร์ แม็คเคนซี ( Alister MacKenzie ) ออกแบบเอาไว้ มันไม่ได้มีระยะถึง 7,445 หลาแบบในปัจจุบัน แต่สั้นกว่านี้เยอะ แถมระยะเวลาที่ผ่านมาก็มีการเพิ่มหลุมทราย เพิ่มต้นไม้ใหญ่เต็มไปหมด หญ้าหนาๆก็เป็นบริเวณกว้างขึ้น เอาไว้เป็นอุปสรรคคอยดักพวกนักกอล์ฟที่ชอบตีเสี่ยง ตีทะเล่อทะล่า ทำให้สภาพสนามที่เห็นในปัจจุบันต่างจากที่ แม็คเคนซี รวมทั้ง บ็อบบี โจนส์ ( Bobby Jones ) ผู้ก่อตั้งได้ร่วมกันวาดฝันเอาไว้ตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 ซึ่งเรื่องนี้ผู้จัดการแข่งขันยอมรับว่า ต้องขยันเพิ่มระยะสนามตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งเพิ่มอุปสรรคต่างๆที่กล่าวมาก็ด้วยความคิดที่ว่า เดี๋ยวนี้บรรดานักกอล์ฟมีการพัฒนาทักษะฝีมือดีขึ้นกว่าสมัย 60-70 ปีที่แล้วมาก นอกจากนั้น เท็คนอลอจีอันล้ำลึกในยุคนี้ ยังมีส่วนช่วยในการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ทันสมัยกว่ามากด้วย พวกเขาตระหนักเรื่องนี้ดีทีเดียวเมื่อได้เห็น “ ต้น ” เอลดริค วูดส์ ( Eldrick Woods ) ผู้มีฉายาว่า “ ทายเกอร์ ” ( Tiger ) นักกอล์ฟอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเริ่มเล่นกอล์ฟอาชีพในปี 1996 และปรากฏตัวในรายการนี้เป็นครั้งแรกในปี 1997 หมอนี่คว้าแชมป์รายการนี้ไปครองได้อย่างสบายๆด้วยสกอร์รวม 18 อันเดอร์พาร์ 270 ทิ้งห่าง ทอม ไคท์ ( Tom Kite ) นักกอล์ฟเพื่อนร่วมชาติที่ตามมาอันดับ 2 ถึง 12 สโตรค
เดอะ มาสเตอร์ส เป็นรายการที่มีประเพณีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำของบรรดาแชมป์เก่า ( The Champions dinner ) ในวันอังคารก่อนที่จะเริ่มแข่งขันกันในวันพฤหัสบดี ซึ่งเขาจะเชิญเฉพาะผู้ที่เคยคว้าแชมป์รายการนี้และกรรมการบริหาร ออกัสตา แนชเชินนอล กอล์ฟ คลับ บางคนเท่านั้น นอกจากนั้น ตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้นมา ทางผู้จัดได้เริ่มประเพณีนำเอานักกอล์ฟที่เป็นตำนาน ซึ่งตามปกติจะเป็นอดีตแชมป์ มาเป็นเกียรติตีฉ็อทแรกที่แท่นทีอ็อฟเปิดการแข่งขันในเช้าวันแรก รวมทั้ง ประเพณีการแข่งขันในสนามพาร์ 3 ก่อนวันแข่งจริง 1 วัน ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 1960
ที่สำคัญ ตั้งแต่ปี 1949 ทางผู้จัดได้ริเริ่มประเพณีที่สร้างชื่อโด่งดังไปทั่วโลกอีกอย่างหนึ่งก็คือ การมอบเสื้อแจ็คเก็ทสีเขียว ( Green Jacket ) ให้แก่ผู้ที่คว้าแชมป์รายการนี้ โดยผู้ที่ทำหน้าที่สวม กรีน แจ็คเก็ท ให้แชมป์ ก็คือแชมป์ปีก่อนนั่นเอง ทีนี้ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้ามีใครคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อนจะทำอย่างไร แชมป์เอาเสื้อมาสวมเองเลยหรือไง กรณีนี้เคยเกิดขึ้นแล้วครับ โดยในปี 1965 เจ้าหมีทอง แจ็ค นิคลอส ( Jack Nicklaus ) นักกอล์ฟสหรัฐฯ คว้าแชมป์ไปแล้ว และมาได้แชมป์อีกในปีรุ่งขึ้น หมอนี่คว้าเสื้อมาสวมให้ตนเองจริงๆ นั่นอาจเป็นเพราะการคว้าแชมป์ 2 ปีซ้อนในรายการนี้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก แต่ในปี 1990 นิค ฟัลโด ( Nick Faldo ) และปี 2002 ทายเกอร์ วูดส์ ต่างก็ได้แชมป์ติดต่อกัน ทั้ง 2 หนนั้น เขาก็ให้ประธานสโมสรเป็นผู้สวมให้ครับ
กรีน แจ็คเก็ท นี้ บรรดาสมาชิกสโมสรซึ่งมีอยู่ราว 300 คนเท่านั้น เพราะไม่มีการรับสมัคร มีแต่เชิญเป็นสมาชิก ต่างก็มีใส่คนละตัว และทุกครั้งที่อยู่ในสโมสรก็ต้องสวมซะให้เรียบร้อย ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้แยกแยะให้เห็นชัดระหว่างสมาชิกกับคนอื่นๆ สำหรับคนเป็นแชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส ซึ่งจะได้รับสิทธิการเป็นสมาชิกสโมสรโดยอัตโนมัติ สามารถนำ กรีน แจ็คเก็ท กลับบ้านไปเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นต้องนำกลับมาเก็บไว้ที่สโมสร แล้วครั้งใดก็ตามที่แชมป์คนนี้กลับมาเหยียบที่นี่ ก็ค่อยไปนำ กรีน แจ็คเก็ท มาสวมใส่ เอาเป็นว่า เดอะ มาสเตอร์ส 2009 นี้ ถ้า ทายเกอร์ สามารถคว้าแชมป์ ได้ คนที่จะทำหน้าที่สวม กรีน แจ็คเก็ท ให้ก็คือ เทรเวอร์ อิมเมลแมน ( Trevor Immelman ) นักกอล์ฟชาวอัฟริกาใต้ เพราะเขาเป็นแชมป์เมื่อปีที่แล้วนั่นเอง