คอลัมน์ "The Golf Touch" โดย "วันปีย์ สัจจมาร์ก"
การสร้างวงสวิงที่ต้องการขึ้นมาควบคู่กับสภาพสนามที่เล่นหรือซ้อมเป็นประจำ ทำให้เกิดสไตล์การเล่นเฉพาะตัวของนักกอล์ฟ วันนี้อยากจะพูดถึงปัจจัยเรื่องความเร็วของกรีนที่มีผลทำให้นักกอล์ฟมือดี 2 คน อาจจะมีสไตล์การพัตต์ที่มีประสิทธิภาพทั้งคู่แต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ถ้าเรามีโอกาสได้สังเกตและศึกษาเกมพัตต์ของนักกอลฟ์ 2 คน ที่พัฒนาการเล่นมาจากสภาพความเร็วของกรีนที่แตกต่างกันมาก เราจะเริ่มเห็นว่า 2 คนนี้มักจะมีกลไกการพัตต์ที่แตกต่างกันรวมทั้งการให้น้ำหนักและเผื่อไลน์การพัตต์ที่ไม่เหมือนกัน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ความหมายของคำว่า “เร็ว” อาจจะไม่เหมือนกัน คนที่เล่นกรีน “เร็ว” ก็จะคิดว่ากรีนความเร็วปานกลางคือช้าและกลับกันคนที่เล่นกรีนช้ามาตลอดเจอกรีนเร็วปานกลางก็จะบ่นว่าเร็วแล้ว ดังนั้นผมอยากแนะนำคำจำกัดความเรื่องความเร็วของกรีนที่ทาง USGA (องค์กรใหญ่ซึ่งดูแลนักกอล์ฟสมัครเล่นในทวีปปอเมริกาเหนือ) นำเสนอเพื่อเราจะได้มีจุดเปรียบเทียบที่เหมือนกัน
ความเหมาะสมหรือมาตรฐานของความเร็วของกรีนทั่วๆไปสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่น
* กรีนฝืด วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 4.5ฟุต
* กรีนความเร็วปานกลาง วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 6.5ฟุต
* กรีนเร็ว วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 8.5ฟุต
แต่เมื่อ USGA จัดแข่งรายการ USOPEN มาตรฐานความเร็วของกรีนที่ใช้คือ
* กรีนฝืด วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 6.5ฟุต
* กรีนความเร็วปานกลาง วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 8.5ฟุต
* กรีนเร็ว วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 10.5ฟุต
สิ่งที่เห็นบ่อยในกลไกการพัตต์ของคนที่เล่นกรีนฝืดหรือกรีนที่มีหญ้ายาวคือ การพัตต์กระแทก อารมณ์ในการสโตรกพัตเตอร์จะไม่ปล่อยหัวพัตเตอร์ผ่านลูกสบายๆ แต่จะมีการปะทะลูกกอล์ฟเกิดขึ้น สังเกตจากปฏิกิริยาของลูกกอล์ฟได้นะครับ ลูกที่เกิดจากการกระแทกมักจะกระโดดก่อน2-3 ที ก่อนที่จะกลิ้งไปตามไลน์ โดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้จะเผื่อไลน์น้อย พัตต์ชาร์จ พัตต์สู้ โดยให้น้ำหนักถึงหลุมหรือเลยหลุมเป็นส่วนมาก ขณะที่คนที่โตมากับกรีนเร็วมันจะมีการสโตรกพัตเตอร์ที่นุ่มนวลราบเรียบ ปล่อยหัวพัตเตอร์ผ่านลูกกอล์ฟเสมือนว่าไม่มีลูกกอล์ฟอยู่ ณ จุดนั้น ลูกกอล์ฟจะเริ่มกลิ้งเลย หรือแถไปกับพื้นนิดหน่อยแล้วเริ่มกลิ้งแต่จะไม่กระโดด(ถ้ามุมเข้าปะทะและสภาพกรีนปรกติ) คนกลุ่มนี้มักจะพัตต์น้ำหนักพอดีหลุม ให้ไลน์มากและพัตต์เลี้ยงไลน์
ดังนั้นอย่ายึดติดว่าวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องจะมีอยู่เพียงวิธีเดียวนะครับ เกมกอล์ฟที่สมบูรณ์ของทุกคนเป็นการผสมผสานกันระหว่าง พรสวรรค์ พรแสวง และสภาพสนามที่คุ้นเคยเสมอ นั่นคือเหตุผลที่เราจึงเห็นนักกอล์ฟอาชีพเก่งๆหลายคนที่เล่นกอล์ฟหลากหลายสไตล์
การสร้างวงสวิงที่ต้องการขึ้นมาควบคู่กับสภาพสนามที่เล่นหรือซ้อมเป็นประจำ ทำให้เกิดสไตล์การเล่นเฉพาะตัวของนักกอล์ฟ วันนี้อยากจะพูดถึงปัจจัยเรื่องความเร็วของกรีนที่มีผลทำให้นักกอล์ฟมือดี 2 คน อาจจะมีสไตล์การพัตต์ที่มีประสิทธิภาพทั้งคู่แต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ถ้าเรามีโอกาสได้สังเกตและศึกษาเกมพัตต์ของนักกอลฟ์ 2 คน ที่พัฒนาการเล่นมาจากสภาพความเร็วของกรีนที่แตกต่างกันมาก เราจะเริ่มเห็นว่า 2 คนนี้มักจะมีกลไกการพัตต์ที่แตกต่างกันรวมทั้งการให้น้ำหนักและเผื่อไลน์การพัตต์ที่ไม่เหมือนกัน ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ความหมายของคำว่า “เร็ว” อาจจะไม่เหมือนกัน คนที่เล่นกรีน “เร็ว” ก็จะคิดว่ากรีนความเร็วปานกลางคือช้าและกลับกันคนที่เล่นกรีนช้ามาตลอดเจอกรีนเร็วปานกลางก็จะบ่นว่าเร็วแล้ว ดังนั้นผมอยากแนะนำคำจำกัดความเรื่องความเร็วของกรีนที่ทาง USGA (องค์กรใหญ่ซึ่งดูแลนักกอล์ฟสมัครเล่นในทวีปปอเมริกาเหนือ) นำเสนอเพื่อเราจะได้มีจุดเปรียบเทียบที่เหมือนกัน
ความเหมาะสมหรือมาตรฐานของความเร็วของกรีนทั่วๆไปสำหรับนักกอล์ฟสมัครเล่น
* กรีนฝืด วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 4.5ฟุต
* กรีนความเร็วปานกลาง วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 6.5ฟุต
* กรีนเร็ว วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 8.5ฟุต
แต่เมื่อ USGA จัดแข่งรายการ USOPEN มาตรฐานความเร็วของกรีนที่ใช้คือ
* กรีนฝืด วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 6.5ฟุต
* กรีนความเร็วปานกลาง วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 8.5ฟุต
* กรีนเร็ว วัดโดย stimpmeter มีค่าประมาณ 10.5ฟุต
สิ่งที่เห็นบ่อยในกลไกการพัตต์ของคนที่เล่นกรีนฝืดหรือกรีนที่มีหญ้ายาวคือ การพัตต์กระแทก อารมณ์ในการสโตรกพัตเตอร์จะไม่ปล่อยหัวพัตเตอร์ผ่านลูกสบายๆ แต่จะมีการปะทะลูกกอล์ฟเกิดขึ้น สังเกตจากปฏิกิริยาของลูกกอล์ฟได้นะครับ ลูกที่เกิดจากการกระแทกมักจะกระโดดก่อน2-3 ที ก่อนที่จะกลิ้งไปตามไลน์ โดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้จะเผื่อไลน์น้อย พัตต์ชาร์จ พัตต์สู้ โดยให้น้ำหนักถึงหลุมหรือเลยหลุมเป็นส่วนมาก ขณะที่คนที่โตมากับกรีนเร็วมันจะมีการสโตรกพัตเตอร์ที่นุ่มนวลราบเรียบ ปล่อยหัวพัตเตอร์ผ่านลูกกอล์ฟเสมือนว่าไม่มีลูกกอล์ฟอยู่ ณ จุดนั้น ลูกกอล์ฟจะเริ่มกลิ้งเลย หรือแถไปกับพื้นนิดหน่อยแล้วเริ่มกลิ้งแต่จะไม่กระโดด(ถ้ามุมเข้าปะทะและสภาพกรีนปรกติ) คนกลุ่มนี้มักจะพัตต์น้ำหนักพอดีหลุม ให้ไลน์มากและพัตต์เลี้ยงไลน์
ดังนั้นอย่ายึดติดว่าวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องจะมีอยู่เพียงวิธีเดียวนะครับ เกมกอล์ฟที่สมบูรณ์ของทุกคนเป็นการผสมผสานกันระหว่าง พรสวรรค์ พรแสวง และสภาพสนามที่คุ้นเคยเสมอ นั่นคือเหตุผลที่เราจึงเห็นนักกอล์ฟอาชีพเก่งๆหลายคนที่เล่นกอล์ฟหลากหลายสไตล์