หากจะเอ่ยถึงยอดนักชกชาวไทยที่ผ่านเวทีประชันขันแข่งในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ในหลายครั้งที่ผ่านมา เชื่อว่า แฟนหมัดมวยชาวไทยคงจะหลับตานึกถึงหน้ายอดฝีมืออย่าง สมรักษ์ คำสิงห์ หรือ มนัส บุญจำนงค์ ได้เป็นลำดับต้นๆ ที่ล้วนแต่สร้างเกียรติประวัติด้วยการคว้าเหรียญทองได้ในฐานะฮีโร่
ทว่า ชื่อของ สมจิตร จงจอหอ ยอดมวยวัย 33 ปี อาจจะหลุดหายไปจากความทรงจำของใครต่อใคร แม้จะเคยคว้าแชมป์มาแล้วอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวิล์ดบอกซิง, เอเชียนเกมส์ หรือแม้แต่รายการเล็กๆ อย่างซีเกมส์ แต่กลับไม่เคยประสบความสำเร็จในการชกเวทีใหญ่อย่างโอลิมปิกเลย แม้จะมีลีลาการชกจัดจ้านทั้งเกมรุก และรับจนถูกยกให้เป็นตัวเต็งคว้าเหรียญทองที่เอเธนส์ 2004 แต่ก็ต้องมาตกม้าตายเพียงรอบที่ 2 เท่านั้น
โดย สมจิตร ได้เปิดเผยถึงบาดแผลในอดีตที่ยังฝังใจเมื่อครั้ง เอเธนส์เกมส์ 2004 ว่า “ตอนนั้นตกรอบ 2 จากการแพ้นักมวยคิวบา ทั้งที่จริงๆ พอผ่านยก 3 ผมมีคะแนนนำอยู่ ซึ่งถ้ายก 4 ออกไปโชว์ฟุตเวิร์กอย่างเดียวก็น่าจะชนะแล้ว แต่ด้วยความกดดันบนเวทีมันทำให้ผมแพ้ และได้บทเรียนราคาแพง ว่าหากเรากดดันตัวเองจะทำให้เราไม่สามารถชกได้ตามฟอร์มที่เคยเป็น”
ด้วยความผิดหวังอย่างแรง ทันทีที่ลงจากเวทีในฐานะผู้แพ้จากเอเธนส์ 2004 สมจิตร ประกาศผ่านสื่อมวลชนทันทีว่าต้องการหันหลังให้กับอาชีพนักมวยอย่างจริงจัง แต่การตัดสินใจในวันนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเดินทางกลับมาถึงเมืองไทย
“ก่อนไปทุกคนบอกกับผมว่า สมจิตร เอาเหรียญกลับมาฝากด้วยนะ แต่พอไปแล้วแพ้กลับมา ความรู้สึกตอนนั้นคือเสียใจมาก น้อยใจในโชควาสนาของตัวเองด้วย ที่สำคัญคือทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องมาผิดหวังกับตัวเรา ผมน้ำตาไหลเลย ร้องไห้มาก คิดไว้แล้วว่ากลับเมืองไทยเมื่อไหร่ผมเลิกชกมวยแน่ แต่เมื่อกลับมาเมืองไทยทีมมวยสากลสมัครเล่นของเราต้องเดินทางไปขอบคุณผู้สนับสนุนสมาคมมวยฯ ที่บริษัท โอสถสภา”
“ตอนนั้นจำได้เลยว่ามีเจ้าหน้าที่ในนั้น ใส่เสื้อสีเหลืองมาถือป้ายเชียร์เรา ให้กำลังใจเรา เขาเดินมาบอกว่า สมจิตร ไม่ต้องร้องไห้ ไม่เป็นไร คุณยังมีฝีมืออยู่ ช่วยกลับไปชกมวยต่อ จะทิ้งไปทำไมคำพูดเพียงเท่านั้นแต่เปรียบเหมือนกำลังใจสำคัญที่ฉุดให้ตัวเราขึ้นจากความผิดหวัง ผมบอกกับตนเองว่าเมื่อมีคนยืนเคียงข้างเราแบบนี้จะไม่สู้ได้หรือ”
จากนั้นเป็นต้นมา นักชกวัน 33 ปี ผู้มีรสนิยมในการบิดฮาร์เลย์เดวิดสัน กลับมามุ่งมั่นฝึกซ้อมอีกครั้ง โดยหวังจะปิดฉากเส้นทางสายนี้ด้วยการประสบความสำเร็จในโอลิมปิก 2008
“เหรียญอะไรก็ได้ ผมยังไม่เคยทำผลงานได้ดีในรายการนี้ หวังเพียงแค่ได้เหรียญเท่านั้น หากเป็นเหรียญทองได้ก็ยิ่งดี และคงเป็นรายการสุดท้ายในชีวิตของผม”
“ต่อจากนี้ผมตั้งใจจะผันตัวไปเป็นสตาฟฟ์โค้ชทีมชาติไทยต่อไป เชื่อว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเองจะเป็นประโยชน์ให้กับนักมวยรุ่นน้องได้ดี” สมจิตร กล่าว
ถึงวันนี้การเดินทางบนเส้นทางสายพ่อค้ากำปั้นของลูกผู้ชายชื่อ สมจิตร จงจอหอ ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์แบบบนสังเวียนผ้าใบโอลิมปิก 2008 ด้วยเหรียญรางวัลเหรียญเดียวที่ยอดมวยชาวบุรีรัมย์รอคอยมาตลอดชีวิต คือ เหรียญโอลิมปิกนี่เอง
ประวัติ สมจิตร จงจอหอ
วันเกิด 19 มกราคม 2518
บิดา นายเช้า จงจอหอ
มารดา นางฝ้าย จงจอหอ
ภูมิลำเนา 75 หมู่ 10 ตำบลโกรกแก้ว อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษา วิทยาลัยพละสุโขทัย
สถานภาพ สมรสแล้ว ภรรยา นางศศิธร เนาว์ประเสริฐ
ติดทีมชาติครั้งแรก พ.ศ.2540
ผลงาน
- เหรียญทอง กรีนฮิลคัพ 2541 ประเทศปากีสถาน
- เหรียญทองซีเกมส์ 2542 ประเทศบรูไน
- เหรียญทองซีเกมส์ 2544 ประเทศมาเลเซีย
- เหรียญทองชิงแชมป์เอเชีย 2545 ประเทศมาเลเซีย
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2545 ประเทศเกาหลีใต้
- เหรียญทองแดงโกลเด้นเบลท์ 2546 ประเทศโรมาเนีย
- เหรียญทองเวิลด์แชมเปียนชิป 2546 ประเทศไทย
- เหรียญทองซีเกมส์ 2546 ประเทศเวียดนาม
- เหรียญทองแดงชิงแชมป์เอเชีย พ.ศ.2547 ประเทศฟิลิปปินส์
- เหรียญทองซีเกมส์ 2548 ประเทศฟิลิปปินส์
- เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2549 ประเทศกาตาร์
- เหรียญเงินเวิลด์แชมเปียนชิป 2549 ประเทศสหรัฐฯ
- เหรียญทองซีเกมส์ 2550 ประเทศไทย
- เหรียญทองเพรสซิเดนท์คัพ 2551 ไต้หวัน
ทว่า ชื่อของ สมจิตร จงจอหอ ยอดมวยวัย 33 ปี อาจจะหลุดหายไปจากความทรงจำของใครต่อใคร แม้จะเคยคว้าแชมป์มาแล้วอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เวิล์ดบอกซิง, เอเชียนเกมส์ หรือแม้แต่รายการเล็กๆ อย่างซีเกมส์ แต่กลับไม่เคยประสบความสำเร็จในการชกเวทีใหญ่อย่างโอลิมปิกเลย แม้จะมีลีลาการชกจัดจ้านทั้งเกมรุก และรับจนถูกยกให้เป็นตัวเต็งคว้าเหรียญทองที่เอเธนส์ 2004 แต่ก็ต้องมาตกม้าตายเพียงรอบที่ 2 เท่านั้น
โดย สมจิตร ได้เปิดเผยถึงบาดแผลในอดีตที่ยังฝังใจเมื่อครั้ง เอเธนส์เกมส์ 2004 ว่า “ตอนนั้นตกรอบ 2 จากการแพ้นักมวยคิวบา ทั้งที่จริงๆ พอผ่านยก 3 ผมมีคะแนนนำอยู่ ซึ่งถ้ายก 4 ออกไปโชว์ฟุตเวิร์กอย่างเดียวก็น่าจะชนะแล้ว แต่ด้วยความกดดันบนเวทีมันทำให้ผมแพ้ และได้บทเรียนราคาแพง ว่าหากเรากดดันตัวเองจะทำให้เราไม่สามารถชกได้ตามฟอร์มที่เคยเป็น”
ด้วยความผิดหวังอย่างแรง ทันทีที่ลงจากเวทีในฐานะผู้แพ้จากเอเธนส์ 2004 สมจิตร ประกาศผ่านสื่อมวลชนทันทีว่าต้องการหันหลังให้กับอาชีพนักมวยอย่างจริงจัง แต่การตัดสินใจในวันนั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเดินทางกลับมาถึงเมืองไทย
“ก่อนไปทุกคนบอกกับผมว่า สมจิตร เอาเหรียญกลับมาฝากด้วยนะ แต่พอไปแล้วแพ้กลับมา ความรู้สึกตอนนั้นคือเสียใจมาก น้อยใจในโชควาสนาของตัวเองด้วย ที่สำคัญคือทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องมาผิดหวังกับตัวเรา ผมน้ำตาไหลเลย ร้องไห้มาก คิดไว้แล้วว่ากลับเมืองไทยเมื่อไหร่ผมเลิกชกมวยแน่ แต่เมื่อกลับมาเมืองไทยทีมมวยสากลสมัครเล่นของเราต้องเดินทางไปขอบคุณผู้สนับสนุนสมาคมมวยฯ ที่บริษัท โอสถสภา”
“ตอนนั้นจำได้เลยว่ามีเจ้าหน้าที่ในนั้น ใส่เสื้อสีเหลืองมาถือป้ายเชียร์เรา ให้กำลังใจเรา เขาเดินมาบอกว่า สมจิตร ไม่ต้องร้องไห้ ไม่เป็นไร คุณยังมีฝีมืออยู่ ช่วยกลับไปชกมวยต่อ จะทิ้งไปทำไมคำพูดเพียงเท่านั้นแต่เปรียบเหมือนกำลังใจสำคัญที่ฉุดให้ตัวเราขึ้นจากความผิดหวัง ผมบอกกับตนเองว่าเมื่อมีคนยืนเคียงข้างเราแบบนี้จะไม่สู้ได้หรือ”
จากนั้นเป็นต้นมา นักชกวัน 33 ปี ผู้มีรสนิยมในการบิดฮาร์เลย์เดวิดสัน กลับมามุ่งมั่นฝึกซ้อมอีกครั้ง โดยหวังจะปิดฉากเส้นทางสายนี้ด้วยการประสบความสำเร็จในโอลิมปิก 2008
“เหรียญอะไรก็ได้ ผมยังไม่เคยทำผลงานได้ดีในรายการนี้ หวังเพียงแค่ได้เหรียญเท่านั้น หากเป็นเหรียญทองได้ก็ยิ่งดี และคงเป็นรายการสุดท้ายในชีวิตของผม”
“ต่อจากนี้ผมตั้งใจจะผันตัวไปเป็นสตาฟฟ์โค้ชทีมชาติไทยต่อไป เชื่อว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาของตัวเองจะเป็นประโยชน์ให้กับนักมวยรุ่นน้องได้ดี” สมจิตร กล่าว
ถึงวันนี้การเดินทางบนเส้นทางสายพ่อค้ากำปั้นของลูกผู้ชายชื่อ สมจิตร จงจอหอ ได้ปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์แบบบนสังเวียนผ้าใบโอลิมปิก 2008 ด้วยเหรียญรางวัลเหรียญเดียวที่ยอดมวยชาวบุรีรัมย์รอคอยมาตลอดชีวิต คือ เหรียญโอลิมปิกนี่เอง
ประวัติ สมจิตร จงจอหอ
วันเกิด 19 มกราคม 2518
บิดา นายเช้า จงจอหอ
มารดา นางฝ้าย จงจอหอ
ภูมิลำเนา 75 หมู่ 10 ตำบลโกรกแก้ว อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
การศึกษา วิทยาลัยพละสุโขทัย
สถานภาพ สมรสแล้ว ภรรยา นางศศิธร เนาว์ประเสริฐ
ติดทีมชาติครั้งแรก พ.ศ.2540
ผลงาน
- เหรียญทอง กรีนฮิลคัพ 2541 ประเทศปากีสถาน
- เหรียญทองซีเกมส์ 2542 ประเทศบรูไน
- เหรียญทองซีเกมส์ 2544 ประเทศมาเลเซีย
- เหรียญทองชิงแชมป์เอเชีย 2545 ประเทศมาเลเซีย
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2545 ประเทศเกาหลีใต้
- เหรียญทองแดงโกลเด้นเบลท์ 2546 ประเทศโรมาเนีย
- เหรียญทองเวิลด์แชมเปียนชิป 2546 ประเทศไทย
- เหรียญทองซีเกมส์ 2546 ประเทศเวียดนาม
- เหรียญทองแดงชิงแชมป์เอเชีย พ.ศ.2547 ประเทศฟิลิปปินส์
- เหรียญทองซีเกมส์ 2548 ประเทศฟิลิปปินส์
- เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ 2549 ประเทศกาตาร์
- เหรียญเงินเวิลด์แชมเปียนชิป 2549 ประเทศสหรัฐฯ
- เหรียญทองซีเกมส์ 2550 ประเทศไทย
- เหรียญทองเพรสซิเดนท์คัพ 2551 ไต้หวัน