จอมพลังหนุ่มสาวของไทยช่วยกันคว้ามาได้อีก 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง ในการแข่งขันยกเหล็กชิงแชมป์เอเชีย เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะ “น้องแอน” แอนนิภา มูลธาร์ สาวไทย ที่คว้าคนเดียวทำ 2 เงิน 1 ทองแดง ส่วนอีกเหรียญเป็นผลงานของ “เจ้าแจ็ค” สุธิพร วัฒนากสิกรรม
การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชียประจำปี 2551 ที่เมืองคานาซาว่า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา มีจอมพลังของไทยลงทำการแข่งขันถึง 6 คน เริ่มที่ พิทยา ตีบนอก จอมพลังหนุ่มดาวรุ่งของไทยในรุ่น 85 กก.ชายกลุ่มบี ซึ่งพิทยาทำผลงานได้ดีและสามารถเป็นอับดับหนึ่งของกลุ่มบีได้ ด้วยการยกในท่าสแน็ตช์ 140 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 183 กก. และน้ำหนักรวม 323 กก. แต่เมื่อรวมทั้งสองกลุ่มแล้ว "เจ้าแม็ค"อยู่ในอันดับที่ 8 โดยเหรียญทองท่าสแน็ตช์เป็นของจาง จี่ ชง ของจีนที่ 160 กก. เหรียญเงิน ลี เซ วอนของเกาหลีใต้ 162 กก. เหรียญทองแดง อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ ของเคอร์จิสถาน 158 กก. ส่วนท่าคลีนแอนด์เจิร์ค เหรียญทอง จาง จี่ ชง 200 กก. เหรียญเงิน อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ ของเคอร์จิสถาน 192 กก. เหรียญทองแดง มานเซอร์เบ็ค ชาเชมอฟ ของอุซเบกิสถาน 191 กก. น้ำหนักรวม เหรียญทอง จาง จี่ ชง 360 กก. เหรียญเงิน ลี เซ วอน 350 กก. เหรียญทองแดง อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ 350 กก.(น้ำหนักตัวมากกว่าลีเซวอน)
ถัดมาเป็นการแข่งขันในรุ่น 75 กก.หญิง ซึ่ง “น้องหญิง” วัชราวดี รัตนช่วง ลงทำหน้าที่ในรุ่นนี้ ในท่าสแน็ตช์นั้น วัชราวดี ทำผลงานได้ไม่ดีนัก แต่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์คนั้น "น้องหญิง" เกือบจะมีเหรียญติดมือเมื่อยกได้ 128 กก. เท่ากับ ซินต้า ดามาเรียนี จอมพลังจากอินโดนีเซีย แต่ว่าน้ำหนักตัวของสาวไทยมากกว่า จึงชวดเหรียญทองแดงไปอย่างน่าเสียดาย โดยในรุ่นนี้ เฉา เล่ย ของจีน คว้าไป 3 เหรียญทอง ท่าสแน็ตช์ 121 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 155 กก. น้ำหนักรวม 276 กก. ตามมาด้วย อัลลา วาเซนีน่า ของคาซัคสถาน คว้าไป 3 เหรียญเงิน ท่าสแน็ตช์ 121 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 146 กก. น้ำหนักรวม 266 กก. และเหรียญทองแดงท่าสแน็ตช์ หยางฮั่วซินของมาเก๊า 97 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค ซินต้า ดามาเรียนี่ ของอินโดฯ 128 กก. น้ำหนักรวม เหรียญแดง ซินต้า ดามาเรียนี่ ของอินโดฯ 224 กก. ส่วนวัชราวดี ของไทยยกท่าสแน็ตช์ได้ 95 กก. คลีนแอนด์เจิร์ค 128 กก. น้ำหนักรวม 223 กก. รวมอยู่ในอันดับที่ 4
ในรุ่น 94 กก.ชายมีนักกีไทยลงแข่ง 2 ราย คือ ขวัญชัย นุชพุ่มและสุธิพร วัฒนากสิกรรม ลงแข่ง ซึ่งก็เป็น “เจ้าแจ็ค” สุธิพร ที่สามารถคว้าเหรียญทองแดงมาได้ จากท่าสแน็ตช์ ที่น้ำหนัก 161 กก. ส่วนเหรียญทองเป็นของ อัสการ์ เอบราฮิมี่ของอิหร่าน ทำได้ 180 กก. เหรียญเงิน มิสกานเดอร์ โมมินเบคอฟ ของเคอร์จิสถาน 167 กก. เหรียญทองในท่าคลีนแอนด์เจิร์ค ได้แก่ อัสการ์ เอบราฮิมี่ ของอิหร่าน 205 กก. เหรียญเงิน ซอง จอง ชิค ของเกาหลีใต้ 200 กก. เหรียญทองแดง เซียะ เว่ย ชุน จากไทเป 199 กก. ส่วนน้ำหนักรวม เหรียญทอง อัสการ์ เอบราฮิมี่ 385 กก. เหรียญเงิน เซียะ เว่ย ชุน 357 กก. เหรียญทองแดง อัลมาส อูเทชอฟ ของคาซัคสถาน 355 กก.
ในรุ่นสุดท้ายของวันคือรุ่น เกิน 75 กก.หญิง ซึ่งมี 2 นักกีฬาไทยลงแข่งเช่นกัน คือ เมติยา ซื่อสัตย์ และแอนนิภา มูลธาร์ โดยเฉพาะรายหลังซึ่งมีลุ้นถึงเหรียญทอง เมื่อเรียกน้ำหนักไล่บดมากับ อเล็กซานดร้า อาบอร์เนว่า จอมพลังสาวของคาซัคสถานอย่างสนุก ยกได้ 110 กก. เท่ากัน แต่ “น้องแอน” น้ำหนักตัวมากกว่าจึงได้เพียงเหรียญเงิน ส่วนเหรียญทองแดงเป็นของ มามิ ชิมาโมโต ของญี่ปุ่น 108 กก.
ขณะที่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ค แอนนิภา มูลธาร์ ยังทำผลงานได้ดี คว้าเหรียญทองแดงมาครองได้ที่ 137 กก. ซึ่งเหรียญทองได้แก่ มามิ ชิมาโมโต 142 กก. เหรียญเงิน ฟูมิโกะ โจไน 140 กก. ส่วนน้ำหนักรวมเหรียญทอง ได้แก่ มามิ ชิมาโมโต 250 กก. เหรียญเงิน แอนนิภา มูลธาร์ ของไทย 247 กก. และเหรียญทองแดง อเล็กซานดร้า อาบอร์เนว่าของคาซัคสถาน 246 กก.
หลังการแข่งขัน ด้านสุธิพร วัฒนากสิกรรม ที่ได้มา 1 เหรียญทองแดงกล่าวว่า “สถิติในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ถึงจะได้แค่เหรียญเดียวแต่ก็ดีใจ ส่วนจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขก็คงจะเป็นเรื่องของพละกำลังที่จะต้องทำให้ดีขึ้นกว่านี้ ส่วนเรื่องเทคนิคนั้นไม่น่าเป็นห่วง"
ส่วน “น้องแอน” แอนนิภา มูลธาร์ ที่คว้ามาได้ถึง 2 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญทองแดง เปิดเผยว่า “ดีใจมากที่ทำได้ถึงขนาดนี้ แม้ในท่าเจิร์คนั้นก็ตั้งใจว่าจะต้องทำเหรียญทองให้ได้ แต่ตอนดันเหล็กขึ้น เหล็กเทไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ได้เท่านี้ก็รู้สึกดีใจมากแล้ว”
การแข่งขันยกน้ำหนักชิงชนะเลิศแห่งเอเชียประจำปี 2551 ที่เมืองคานาซาว่า ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา มีจอมพลังของไทยลงทำการแข่งขันถึง 6 คน เริ่มที่ พิทยา ตีบนอก จอมพลังหนุ่มดาวรุ่งของไทยในรุ่น 85 กก.ชายกลุ่มบี ซึ่งพิทยาทำผลงานได้ดีและสามารถเป็นอับดับหนึ่งของกลุ่มบีได้ ด้วยการยกในท่าสแน็ตช์ 140 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 183 กก. และน้ำหนักรวม 323 กก. แต่เมื่อรวมทั้งสองกลุ่มแล้ว "เจ้าแม็ค"อยู่ในอันดับที่ 8 โดยเหรียญทองท่าสแน็ตช์เป็นของจาง จี่ ชง ของจีนที่ 160 กก. เหรียญเงิน ลี เซ วอนของเกาหลีใต้ 162 กก. เหรียญทองแดง อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ ของเคอร์จิสถาน 158 กก. ส่วนท่าคลีนแอนด์เจิร์ค เหรียญทอง จาง จี่ ชง 200 กก. เหรียญเงิน อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ ของเคอร์จิสถาน 192 กก. เหรียญทองแดง มานเซอร์เบ็ค ชาเชมอฟ ของอุซเบกิสถาน 191 กก. น้ำหนักรวม เหรียญทอง จาง จี่ ชง 360 กก. เหรียญเงิน ลี เซ วอน 350 กก. เหรียญทองแดง อูลานเบ็ค มอลโดโดซอฟ 350 กก.(น้ำหนักตัวมากกว่าลีเซวอน)
ถัดมาเป็นการแข่งขันในรุ่น 75 กก.หญิง ซึ่ง “น้องหญิง” วัชราวดี รัตนช่วง ลงทำหน้าที่ในรุ่นนี้ ในท่าสแน็ตช์นั้น วัชราวดี ทำผลงานได้ไม่ดีนัก แต่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์คนั้น "น้องหญิง" เกือบจะมีเหรียญติดมือเมื่อยกได้ 128 กก. เท่ากับ ซินต้า ดามาเรียนี จอมพลังจากอินโดนีเซีย แต่ว่าน้ำหนักตัวของสาวไทยมากกว่า จึงชวดเหรียญทองแดงไปอย่างน่าเสียดาย โดยในรุ่นนี้ เฉา เล่ย ของจีน คว้าไป 3 เหรียญทอง ท่าสแน็ตช์ 121 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 155 กก. น้ำหนักรวม 276 กก. ตามมาด้วย อัลลา วาเซนีน่า ของคาซัคสถาน คว้าไป 3 เหรียญเงิน ท่าสแน็ตช์ 121 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค 146 กก. น้ำหนักรวม 266 กก. และเหรียญทองแดงท่าสแน็ตช์ หยางฮั่วซินของมาเก๊า 97 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์ค ซินต้า ดามาเรียนี่ ของอินโดฯ 128 กก. น้ำหนักรวม เหรียญแดง ซินต้า ดามาเรียนี่ ของอินโดฯ 224 กก. ส่วนวัชราวดี ของไทยยกท่าสแน็ตช์ได้ 95 กก. คลีนแอนด์เจิร์ค 128 กก. น้ำหนักรวม 223 กก. รวมอยู่ในอันดับที่ 4
ในรุ่น 94 กก.ชายมีนักกีไทยลงแข่ง 2 ราย คือ ขวัญชัย นุชพุ่มและสุธิพร วัฒนากสิกรรม ลงแข่ง ซึ่งก็เป็น “เจ้าแจ็ค” สุธิพร ที่สามารถคว้าเหรียญทองแดงมาได้ จากท่าสแน็ตช์ ที่น้ำหนัก 161 กก. ส่วนเหรียญทองเป็นของ อัสการ์ เอบราฮิมี่ของอิหร่าน ทำได้ 180 กก. เหรียญเงิน มิสกานเดอร์ โมมินเบคอฟ ของเคอร์จิสถาน 167 กก. เหรียญทองในท่าคลีนแอนด์เจิร์ค ได้แก่ อัสการ์ เอบราฮิมี่ ของอิหร่าน 205 กก. เหรียญเงิน ซอง จอง ชิค ของเกาหลีใต้ 200 กก. เหรียญทองแดง เซียะ เว่ย ชุน จากไทเป 199 กก. ส่วนน้ำหนักรวม เหรียญทอง อัสการ์ เอบราฮิมี่ 385 กก. เหรียญเงิน เซียะ เว่ย ชุน 357 กก. เหรียญทองแดง อัลมาส อูเทชอฟ ของคาซัคสถาน 355 กก.
ในรุ่นสุดท้ายของวันคือรุ่น เกิน 75 กก.หญิง ซึ่งมี 2 นักกีฬาไทยลงแข่งเช่นกัน คือ เมติยา ซื่อสัตย์ และแอนนิภา มูลธาร์ โดยเฉพาะรายหลังซึ่งมีลุ้นถึงเหรียญทอง เมื่อเรียกน้ำหนักไล่บดมากับ อเล็กซานดร้า อาบอร์เนว่า จอมพลังสาวของคาซัคสถานอย่างสนุก ยกได้ 110 กก. เท่ากัน แต่ “น้องแอน” น้ำหนักตัวมากกว่าจึงได้เพียงเหรียญเงิน ส่วนเหรียญทองแดงเป็นของ มามิ ชิมาโมโต ของญี่ปุ่น 108 กก.
ขณะที่ในท่าคลีนแอนด์เจิร์ค แอนนิภา มูลธาร์ ยังทำผลงานได้ดี คว้าเหรียญทองแดงมาครองได้ที่ 137 กก. ซึ่งเหรียญทองได้แก่ มามิ ชิมาโมโต 142 กก. เหรียญเงิน ฟูมิโกะ โจไน 140 กก. ส่วนน้ำหนักรวมเหรียญทอง ได้แก่ มามิ ชิมาโมโต 250 กก. เหรียญเงิน แอนนิภา มูลธาร์ ของไทย 247 กก. และเหรียญทองแดง อเล็กซานดร้า อาบอร์เนว่าของคาซัคสถาน 246 กก.
หลังการแข่งขัน ด้านสุธิพร วัฒนากสิกรรม ที่ได้มา 1 เหรียญทองแดงกล่าวว่า “สถิติในปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว ถึงจะได้แค่เหรียญเดียวแต่ก็ดีใจ ส่วนจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขก็คงจะเป็นเรื่องของพละกำลังที่จะต้องทำให้ดีขึ้นกว่านี้ ส่วนเรื่องเทคนิคนั้นไม่น่าเป็นห่วง"
ส่วน “น้องแอน” แอนนิภา มูลธาร์ ที่คว้ามาได้ถึง 2 เหรียญเงิน กับ 1 เหรียญทองแดง เปิดเผยว่า “ดีใจมากที่ทำได้ถึงขนาดนี้ แม้ในท่าเจิร์คนั้นก็ตั้งใจว่าจะต้องทำเหรียญทองให้ได้ แต่ตอนดันเหล็กขึ้น เหล็กเทไปข้างหน้ามากเกินไป ทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ได้เท่านี้ก็รู้สึกดีใจมากแล้ว”