ตั้ง”ลีลาวดี วัชโรบล” ศิษย์เอกธรรมกายเป็นที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา ที่เคยสร้างวีรกรรมหาทางช่วยธรรมกายฮุบเกาะดอนสวรรค์ที่สกลนครมาแล้วเมื่อปี 2555 งานนี้กรรมาธิการศาสนาฯ กลายเป็นศูนย์รวมศิษย์ธรรมกายและพระที่หนุนขั้วอำนาจเก่าเข้าไปวางนโยบาย หวั่นออกแนวทางสร้างความขัดแย้ง
เป็นอันว่าคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้กลายเป็นศูนย์รวมศูนย์รวมของบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายเข้ามาทำงาน ทั้งในนามกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ จนถึงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมาธิการ แม้ภายในคณะกรรมาธิการจะมีบุคคลอื่นจากต่างพรรคเข้ามาร่วมงานกัน แต่เสียงส่วนใหญ่ยังคงเป็นรองสายของเครือข่ายวัดพระธรรมกายและพันธมิตร
ก่อนหน้านี้ในชั้นของอนุกรรมาธิการศาสนามีการแต่งตั้ง พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร), รศ. เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ และตั้งนายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการ
เจ้าคุณประสารเคยเคลื่อนไหวจัดชุมนุมพระจำนวนมากที่พุทธมณฑล เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อสนับสนุนให้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือสมเด็จช่วง ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เคยเข้าพบพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ออกไปในแนวทางเดียวกับกลุ่มคนเสื้อแดง และยังท้วงติงการทำงานของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนนายสัมพันธ์ เสริมชีพ ท่านนี้เป็นทนายความให้กับพระธัมมชโยเมื่อครั้งเกิดคดีที่เกี่ยวพันธ์กับการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ได้มีการสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งมาที่พระธัมมชโย
ลีลาวดีมาแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น ทางกรรมาธิการศาสนาได้แต่งตั้งที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาเพิ่มเติม พบชื่อของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล เป็นที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา พบว่าได้เข้าไปร่วมประชุมในคณะอนุกรรมาธิการศาสนาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา
นางสาวลีลาวดี วัชโรบล ถือได้ว่าเป็นศิษย์ของวัดพระธรรมกายคนสำคัญ ที่คอยออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด และบทบาทในเวทีทางการเมืองย่อมมีน้ำหนักพอที่จะช่วยให้เป้าหมายบางประการของวัดที่เธอศรัทธาประสบความสำเร็จ แม้ในยามวิกฤติเรื่องที่หนักหนาสาหัสอาจได้รับการช่วยผ่อนคลายให้สถานการณ์เบาลง
ที่ผ่านมานั้นนางสาวลีลาวดีในฐานะนักการเมือง เคยแสดงบทบาทให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายมาแล้วหลายครั้ง ที่ลงทุนออกแรงมากที่สุดเห็นจะเป็นกรณีของเกาะดอนสวรรค์ ที่สกลนคร
วีรกรรม “เกาะดอนสวรรค์”
ครั้งนั้นเกิดแรงต่อต้านวัดพระธรรมกายที่จังหวัดสกลนคร เมื่อกันยายน 2555 ชาวสกลนครแทบจะทุกภาคส่วนได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการขอออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินบน “เกาะดอนสวรรค์” กลางบึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 85 ไร่จากที่ดินทั้งหมดบนเกาะ 105 ไร่
11 กันยายน 2555 ในที่ประชุมของจังหวัดสกลนคร มีมติให้ระงับการออกโฉนดชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากผู้ร้องขอให้ออกโฉนดไม่มีสิทธิ์ในการยื่นขอถอน และเป็นเรื่องระดับกรรมาธิการการศาสนาและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการพิจารณาต่อ
ทั้งนี้มีความพยายามที่จะขอออกโฉนดที่ดินบนเกาะดอนสวรรค์ หลังจากที่มีพระของวัดพระธรรมกายมากกว่า 30 รูปได้เข้าไปจำพรรษาในพื้นที่ดังกล่าว และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายสงฆ์ทำงานประสานที่มีการขอยื่นขึ้นบัญชีวัดร้างบนเกาะดอนสวรรค์
หนึ่งในผู้ที่มีส่วนผลักดันเพื่อให้มีการออกโฉนดที่ดินบนเกาะดอนสวรรค์ โดยอ้างว่าเดิมที่ดังกล่าวเคยเป็นวัดร้างมาก่อน คือนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ศิษย์วัดพระธรรมกายคนสำคัญ ขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร กรุงเทพมหานครพรรคเพื่อไทย และยังเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
ตามที่นายกเทศมนตรีนครสกลนคร ทำหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินให้กับวัดดอนสวรรค์ ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ตั้งแต่พ.ศ.2472 แต่ต่อมาไม่มีพระภิกษุสงฆ์จำวัดจึงถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง และต่อมาเมื่อมีพระภิกษุสงฆ์ กลับไปจำวัดอีกครั้ง จึงได้มีการแจ้งแก้ไขการขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง และกลับคืนสู่สภาพวัดที่มีพระจำศีล ตามปกติ
แต่เนื่องจากโฉนดที่ดินของวัดดอนสวรรค์ ที่หายสาบสูญไป จึงแจ้งไปยังกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดใหม่ แต่ถูกคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เทศบาลสกลนคร ได้พิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยกับการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว เพราะเดิมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่าสาธารณประโยชน์ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
“จากการพิจารณาของ อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า มีหลักฐานที่ชัดจน และยืนยันได้ว่า มีการจดทะเบียนวัด โดยกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่พ.ศ.2472 และมีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2472 พร้อมทั้งออกโฉนดที่ดิน ดังนั้นเมื่อที่ดินใด ที่ตกเป็นของวัด จึงถือเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะให้เห็นเป็นอื่นไม่ได้ จึงยืนยันว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่ของวัด เป็นธรณีสงฆ์ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ ตามที่นายกเทศมนตรีนครสกลนครกล่าวอ้าง”
คนสกลลุกฮือ-ต้องถอย
เมื่อกระแสคัดค้านเกิดขึ้น มีการออกมาแสดงพลังคัดค้านทั่วจังหวัดสกลนคร จนเรื่องนี้ได้รับความสนใจไปทั่วประเทศ สุดท้ายฝ่ายที่ต้องการจะครอบครองเกาะดอนสวรรค์ต้องล่าถอย และวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว
พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวัดพระธรรมกายที่ชี้แจงว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า วัดดอนสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะดอนสวรรค์ ในบึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นวัดร้าง และยังคงเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ ตราบจนถึงปัจจุบัน ที่ทางคณะสงฆ์จังหวัดสกลนครและทางราชการ กำลังปรับปรุงให้เป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการคณะสงฆ์ เพื่อแก้ไขปัญหาวัดร้างตามนโยบายของทางการคณะสงฆ์ส่วนกลางและทางราชการ
“วัดพระธรรมกายขอชี้แจงว่า เรื่องการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษานั้น เป็นสิทธิของทางการคณะสงฆ์จังหวัดสกลนครเอง และกรณีความคิดเห็นเรื่องการจัดการพื้นที่ที่แตกต่างกันไปนั้น เป็นเรื่องผลประโยชน์ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในจังหวัดสกลนครเอง ไม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายแต่ประการใด”
ป้องวัดพระธรรมกายสุดกำลัง
หนึ่งในผู้มีบทบาทคัดค้านการฮุบเกาะดอนสวรรค์กล่าวว่า วัดพระธรรมกายมีนโยบายที่จะทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง โดยใช้เครือข่ายที่มีอยู่ทั้งฝ่ายของคณะสงฆ์ในพื้นที่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัด และใช้อำนาจของการเมืองผ่านทางพรรคเพื่อไทยที่เป็นรัฐบาลและมีลูกศิษย์ที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการศาสนาเป็นตัวเดินเรื่อง หากชาวสกลนครไม่รวมตัวกันคัดค้านกันเชื่อว่าเกาะดอนสวรรค์คงถูกฮุบจากวัดพระธรรมกายไปแล้ว
นั่นคือบทบาทของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ที่มีความพยายามช่วยเหลือทางวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด ยิ่งเมื่อเกิดเหตุกับวัดพระธรรมกายที่พระธัมมชโยถูกแจ้งข้อกล่าวหาโดยตรงในปี 2559 เธอได้ออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายอย่างสุดกำลัง จนถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายจับข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ และปี 2560 ตำรวจกองปราบปรามได้แจ้งข้อหา กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
นอกจากนี้หลังจากที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย นางสาวลีลาวดีพร้อมตัวแทนเครือข่ายวัดพระธรรมกายได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอให้ยกเลิก ม.44 และให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ ทหาร ออกจากพื้นที่วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย และพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2560
ธรรมกายเยอะ
ในกรรมาธิการศาสนาฯ ชุดนี้ มีบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล รองประธานคนที่ 1 และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่สำคัญ ส.ส.ชัยภูมิจากพรรคเพื่อไทยรายนี้เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายและยังมีนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รอง ผอ.สำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย
นางสมหญิง บัวบุตร ส.ส.อำนาจเจริญ พรรคเพื่อไทย ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ เคยไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเมื่อ 16 กันยายน 2562 ได้ร่วมกับมูลนิธิธรรมกาย นำถุงยังชีพและข้าวสารไปช่วยเหลือชาวบ้านที่อำเภอเมือง อำนาจเจริญ
นายนพดล แก้วสุพัฒน์ บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท ตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ เมื่อครั้งเป็นนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เคยให้การสนับสนุน โครงการอุปสมบทหมู่ 7,000รูป 7,000ตำบล ทั่วไทย ของวัดพระธรรมกายที่จัดขึ้นระหว่าง 22 สิงหาคม ถึง 11 กันยายน 2552 พร้อมทั้งกล่าวว่า “โครงการดีๆแบบนี้ ผมให้การสนับสนุนเต็มที่ หนึ่งตำบลหนึ่งรูปมันน่าจะน้อยไปนะ”
นอกจากนี้ยังเคยร่วมแถลงข่าวเมื่อ 23 ธันวาคม 2557 ในงานธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 2-28 มกราคม 2558
ในอนุกรรมาธิการที่นางพรเพ็ญเป็นประธาน ได้นิมนต์พระจากศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมประชุมด้วย แม้บางท่านอาจไม่พบความสัมพันธ์ที่มีกับวัดพระธรรมกายโดยตรง แต่ภายใต้พรรคการเมืองที่แตกตัวออกไป พรรคเพื่อชาติและพรรคอนาคตใหม่ที่มีนโยบายของพรรคไปในแนวทางเดียวกับพรรคเพื่อไทย ดังนั้นจึงนโยบายต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการภายใต้กรรมาธิการชุดนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะตอบโจทย์ของวัดใหญ่บางวัด
หลายฝ่ายยังเกรงว่าตัวนโยบายที่จะถูกผลักดันออกมาจากกรรมาธิการชุดนี้ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับศาสนาอื่นได้ เพราะในกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการศาสนานับเป็นการรวบรวมเอาสายที่เคยกุมอำนาจในคณะสงฆ์เดิมกลับเข้ามาทำงานช่วยเหลือสายการเมืองจากพรรคเพื่อไทย
เป็นอันว่าคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้กลายเป็นศูนย์รวมศูนย์รวมของบุคคลที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกายเข้ามาทำงาน ทั้งในนามกรรมาธิการ อนุกรรมาธิการ จนถึงตำแหน่งที่ปรึกษากรรมาธิการ แม้ภายในคณะกรรมาธิการจะมีบุคคลอื่นจากต่างพรรคเข้ามาร่วมงานกัน แต่เสียงส่วนใหญ่ยังคงเป็นรองสายของเครือข่ายวัดพระธรรมกายและพันธมิตร
ก่อนหน้านี้ในชั้นของอนุกรรมาธิการศาสนามีการแต่งตั้ง พระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร), รศ. เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ และตั้งนายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการ
เจ้าคุณประสารเคยเคลื่อนไหวจัดชุมนุมพระจำนวนมากที่พุทธมณฑล เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อสนับสนุนให้สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์หรือสมเด็จช่วง ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เคยเข้าพบพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ออกไปในแนวทางเดียวกับกลุ่มคนเสื้อแดง และยังท้วงติงการทำงานของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ส่วนนายสัมพันธ์ เสริมชีพ ท่านนี้เป็นทนายความให้กับพระธัมมชโยเมื่อครั้งเกิดคดีที่เกี่ยวพันธ์กับการทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ได้มีการสั่งจ่ายเช็คจำนวนหนึ่งมาที่พระธัมมชโย
ลีลาวดีมาแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น ทางกรรมาธิการศาสนาได้แต่งตั้งที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาเพิ่มเติม พบชื่อของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล เป็นที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนา พบว่าได้เข้าไปร่วมประชุมในคณะอนุกรรมาธิการศาสนาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562 เป็นต้นมา
นางสาวลีลาวดี วัชโรบล ถือได้ว่าเป็นศิษย์ของวัดพระธรรมกายคนสำคัญ ที่คอยออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด และบทบาทในเวทีทางการเมืองย่อมมีน้ำหนักพอที่จะช่วยให้เป้าหมายบางประการของวัดที่เธอศรัทธาประสบความสำเร็จ แม้ในยามวิกฤติเรื่องที่หนักหนาสาหัสอาจได้รับการช่วยผ่อนคลายให้สถานการณ์เบาลง
ที่ผ่านมานั้นนางสาวลีลาวดีในฐานะนักการเมือง เคยแสดงบทบาทให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกายมาแล้วหลายครั้ง ที่ลงทุนออกแรงมากที่สุดเห็นจะเป็นกรณีของเกาะดอนสวรรค์ ที่สกลนคร
วีรกรรม “เกาะดอนสวรรค์”
ครั้งนั้นเกิดแรงต่อต้านวัดพระธรรมกายที่จังหวัดสกลนคร เมื่อกันยายน 2555 ชาวสกลนครแทบจะทุกภาคส่วนได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการขอออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินบน “เกาะดอนสวรรค์” กลางบึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 85 ไร่จากที่ดินทั้งหมดบนเกาะ 105 ไร่
11 กันยายน 2555 ในที่ประชุมของจังหวัดสกลนคร มีมติให้ระงับการออกโฉนดชั่วคราว โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากผู้ร้องขอให้ออกโฉนดไม่มีสิทธิ์ในการยื่นขอถอน และเป็นเรื่องระดับกรรมาธิการการศาสนาและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรจะดำเนินการพิจารณาต่อ
ทั้งนี้มีความพยายามที่จะขอออกโฉนดที่ดินบนเกาะดอนสวรรค์ หลังจากที่มีพระของวัดพระธรรมกายมากกว่า 30 รูปได้เข้าไปจำพรรษาในพื้นที่ดังกล่าว และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายสงฆ์ทำงานประสานที่มีการขอยื่นขึ้นบัญชีวัดร้างบนเกาะดอนสวรรค์
หนึ่งในผู้ที่มีส่วนผลักดันเพื่อให้มีการออกโฉนดที่ดินบนเกาะดอนสวรรค์ โดยอ้างว่าเดิมที่ดังกล่าวเคยเป็นวัดร้างมาก่อน คือนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ศิษย์วัดพระธรรมกายคนสำคัญ ขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร กรุงเทพมหานครพรรคเพื่อไทย และยังเป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
ตามที่นายกเทศมนตรีนครสกลนคร ทำหนังสือคัดค้านการออกโฉนดที่ดินให้กับวัดดอนสวรรค์ ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ตั้งแต่พ.ศ.2472 แต่ต่อมาไม่มีพระภิกษุสงฆ์จำวัดจึงถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง และต่อมาเมื่อมีพระภิกษุสงฆ์ กลับไปจำวัดอีกครั้ง จึงได้มีการแจ้งแก้ไขการขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้าง และกลับคืนสู่สภาพวัดที่มีพระจำศีล ตามปกติ
แต่เนื่องจากโฉนดที่ดินของวัดดอนสวรรค์ ที่หายสาบสูญไป จึงแจ้งไปยังกรมที่ดิน เพื่อขอออกโฉนดใหม่ แต่ถูกคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า เทศบาลสกลนคร ได้พิจารณาแล้วไม่เห็นด้วยกับการออกโฉนดที่ดินดังกล่าว เพราะเดิมที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่าสาธารณประโยชน์ ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
“จากการพิจารณาของ อนุกรรมาธิการฯ เห็นว่า มีหลักฐานที่ชัดจน และยืนยันได้ว่า มีการจดทะเบียนวัด โดยกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่พ.ศ.2472 และมีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2472 พร้อมทั้งออกโฉนดที่ดิน ดังนั้นเมื่อที่ดินใด ที่ตกเป็นของวัด จึงถือเป็นที่ธรณีสงฆ์ จะให้เห็นเป็นอื่นไม่ได้ จึงยืนยันว่าที่ดินดังกล่าว เป็นที่ของวัด เป็นธรณีสงฆ์ ไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ ตามที่นายกเทศมนตรีนครสกลนครกล่าวอ้าง”
คนสกลลุกฮือ-ต้องถอย
เมื่อกระแสคัดค้านเกิดขึ้น มีการออกมาแสดงพลังคัดค้านทั่วจังหวัดสกลนคร จนเรื่องนี้ได้รับความสนใจไปทั่วประเทศ สุดท้ายฝ่ายที่ต้องการจะครอบครองเกาะดอนสวรรค์ต้องล่าถอย และวัดพระธรรมกายได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว
พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของวัดพระธรรมกายที่ชี้แจงว่า “จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า วัดดอนสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะดอนสวรรค์ ในบึงหนองหาร จังหวัดสกลนคร เป็นวัดร้าง และยังคงเป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ ตราบจนถึงปัจจุบัน ที่ทางคณะสงฆ์จังหวัดสกลนครและทางราชการ กำลังปรับปรุงให้เป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการคณะสงฆ์ เพื่อแก้ไขปัญหาวัดร้างตามนโยบายของทางการคณะสงฆ์ส่วนกลางและทางราชการ
“วัดพระธรรมกายขอชี้แจงว่า เรื่องการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษานั้น เป็นสิทธิของทางการคณะสงฆ์จังหวัดสกลนครเอง และกรณีความคิดเห็นเรื่องการจัดการพื้นที่ที่แตกต่างกันไปนั้น เป็นเรื่องผลประโยชน์ของบรรพชิตและคฤหัสถ์ในจังหวัดสกลนครเอง ไม่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายแต่ประการใด”
ป้องวัดพระธรรมกายสุดกำลัง
หนึ่งในผู้มีบทบาทคัดค้านการฮุบเกาะดอนสวรรค์กล่าวว่า วัดพระธรรมกายมีนโยบายที่จะทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง โดยใช้เครือข่ายที่มีอยู่ทั้งฝ่ายของคณะสงฆ์ในพื้นที่ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจังหวัด และใช้อำนาจของการเมืองผ่านทางพรรคเพื่อไทยที่เป็นรัฐบาลและมีลูกศิษย์ที่เข้าไปเป็นกรรมาธิการศาสนาเป็นตัวเดินเรื่อง หากชาวสกลนครไม่รวมตัวกันคัดค้านกันเชื่อว่าเกาะดอนสวรรค์คงถูกฮุบจากวัดพระธรรมกายไปแล้ว
นั่นคือบทบาทของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล ที่มีความพยายามช่วยเหลือทางวัดพระธรรมกายมาโดยตลอด ยิ่งเมื่อเกิดเหตุกับวัดพระธรรมกายที่พระธัมมชโยถูกแจ้งข้อกล่าวหาโดยตรงในปี 2559 เธอได้ออกมาปกป้องวัดพระธรรมกายอย่างสุดกำลัง จนถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ออกหมายจับข้อหาขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ และปี 2560 ตำรวจกองปราบปรามได้แจ้งข้อหา กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
นอกจากนี้หลังจากที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกาย นางสาวลีลาวดีพร้อมตัวแทนเครือข่ายวัดพระธรรมกายได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อขอให้ยกเลิก ม.44 และให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตำรวจ ทหาร ออกจากพื้นที่วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย และพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 5/2560
ธรรมกายเยอะ
ในกรรมาธิการศาสนาฯ ชุดนี้ มีบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกายอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล รองประธานคนที่ 1 และเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง ที่สำคัญ ส.ส.ชัยภูมิจากพรรคเพื่อไทยรายนี้เป็นศิษย์วัดพระธรรมกายและยังมีนามสกุลเดียวกับพระถวัลย์ศักดิ์ ยติสักโก รอง ผอ.สำนักพัฒนาทรัพยากร วัดพระธรรมกาย
นางสมหญิง บัวบุตร ส.ส.อำนาจเจริญ พรรคเพื่อไทย ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ เคยไปช่วยเหลือชาวบ้านผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยเมื่อ 16 กันยายน 2562 ได้ร่วมกับมูลนิธิธรรมกาย นำถุงยังชีพและข้าวสารไปช่วยเหลือชาวบ้านที่อำเภอเมือง อำนาจเจริญ
นายนพดล แก้วสุพัฒน์ บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไท ตำแหน่งที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ เมื่อครั้งเป็นนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เคยให้การสนับสนุน โครงการอุปสมบทหมู่ 7,000รูป 7,000ตำบล ทั่วไทย ของวัดพระธรรมกายที่จัดขึ้นระหว่าง 22 สิงหาคม ถึง 11 กันยายน 2552 พร้อมทั้งกล่าวว่า “โครงการดีๆแบบนี้ ผมให้การสนับสนุนเต็มที่ หนึ่งตำบลหนึ่งรูปมันน่าจะน้อยไปนะ”
นอกจากนี้ยังเคยร่วมแถลงข่าวเมื่อ 23 ธันวาคม 2557 ในงานธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 2-28 มกราคม 2558
ในอนุกรรมาธิการที่นางพรเพ็ญเป็นประธาน ได้นิมนต์พระจากศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมประชุมด้วย แม้บางท่านอาจไม่พบความสัมพันธ์ที่มีกับวัดพระธรรมกายโดยตรง แต่ภายใต้พรรคการเมืองที่แตกตัวออกไป พรรคเพื่อชาติและพรรคอนาคตใหม่ที่มีนโยบายของพรรคไปในแนวทางเดียวกับพรรคเพื่อไทย ดังนั้นจึงนโยบายต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการภายใต้กรรมาธิการชุดนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะตอบโจทย์ของวัดใหญ่บางวัด
หลายฝ่ายยังเกรงว่าตัวนโยบายที่จะถูกผลักดันออกมาจากกรรมาธิการชุดนี้ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งกับศาสนาอื่นได้ เพราะในกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการศาสนานับเป็นการรวบรวมเอาสายที่เคยกุมอำนาจในคณะสงฆ์เดิมกลับเข้ามาทำงานช่วยเหลือสายการเมืองจากพรรคเพื่อไทย