ธรรมกายทางสะดวก เจ้าคณะภาค 1 ไม่เปลี่ยน พระมหาสายชลรับตำแหน่งอีกรอบ แถมได้พระพรหมบัณฑิต นั่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เป็นอันว่าสายสงฆ์ไร้กังวล แถมมีศิษย์ธรรมกายสังกัดเพื่อไทยคอยตรวจสอบรัฐบาล กุมอำนาจกรรมาธิการศาสนา แถมตั้งทนายธัมมชโยนั่นอนุกรรมาธิการ งานนี้เดินกิจกรรมธรรมยาตราได้ฉลุย
28 พฤศจิกายน 2562 มีการเผยแพร่มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2562 มติที่ 648/2562 เรื่องการแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ในเขตปกครองคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและคณะธรรมยุต การประชุมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562 สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมมหาเถรสมาคม
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เสนอว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกุลมหาสังฆปริณายก โปรดมีพระบัญชาให้นำเรื่องการแต่งตั้งเจ้าคณะภาคเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณา เพื่อเสนอกิจการคณะสงฆ์จึงเสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค มหานิกาย 18 รูป และคณะธรรมยุต 8 รูป
เจ้าคณะภาค-เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
หนึ่งในผู้ที่ติดตามข่าวสารของพระสงฆ์อย่างเว็บไซต์อะลิตเติ้ลบุดดา แสดงความคิดเห็นถึงรายชื่อของเจ้าคณะภาคที่เปิดเผยออกมาว่า แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม และตั้งข้อสังเกตุถึงตำแหน่งเจ้าคณะภาคและตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่บางตำแหน่ง ที่มีผลต่อการพิจารณาคดีของวัดพระธรรมกาย
ทั้งนี้วัดพระธรรมกายตั้งอยู่จังหวัดปทุมธานี ถือว่าอยู่ในเขตปกครองของเจ้าคณะภาค 1 มีอำนาจในการปกครองในท้องที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี และเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ก็คือพระรูปเดิม พระเทพสุธี หรือพระมหาสายชล วัดชนะสงคราม
ขณะที่พระสงฆ์ผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไปจากเจ้าคณะภาค 1 คือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เดิมสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์) วัดพิชัยญาติ ดำรงตำแหน่งอยู่ แต่ท่านได้มรณภาพเมื่อ 29 มิถุนายน 2562 และทางมหาเถรสมาคมได้มีการแต่งตั้ง พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
ด้านนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าคณะภาคทั่วประเทศว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างออกพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าคณะภาคต่อไป
นอกจากนี้รายชื่อของเจ้าคณะภาค 13 อย่างพระพรหมกวี หรือเจ้าคุณประกอบ วัดกัลยาณมิตร มีคดีทุบทำลายโบราณสถาน จนถูกฟ้องโดยกรมศิลปากร และศาลอาญามีคำสั่งเมื่อ 23 เมษายน 2562 ให้จำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา 1 ปี
นี่คือเจ้าคณะภาคซึ่งถูกจับตามองจากผู้คนภายนอก ถึงความสามารถและความเหมาะสมกับการทำงานในฐานะผู้ปกครองสงฆ์และวัดวาอารามในสังกัด
แทบไม่เปลี่ยน
แหล่งข่าวด้านพระพุทธศาสนา กล่าวว่า เท่าที่ดูจากรายชื่อของเจ้าคณะภาครอบนี้ ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก แถมหลายรูปได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้น และส่วนใหญ่ยังเป็นขั้วอำนาจเดิมที่เคยครองพื้นที่อยู่ ดังนั้นโอกาสที่จะมีการแก้ปัญหาของวงการสงฆ์ในภาพรวม อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก
ปัญหาของวัดพระธรรมกายนับเป็นเรื่องใหญ่ที่พระสังฆาธิการชั้นปกครอง ต้องลงมาหาทางแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องหลักธรรมคำสอนของทางวัดที่แตกต่างไปจากพระไตรปิฎก ในเรื่องของนิพพานที่ทางวัดเชื่อในความเป็นอัตตา รวมไปถึงการเชื้อเชิญให้ร่วมบุญกับทางวัดที่ปลายทางเป็นสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามเงินทำบุญมากหรือน้อย
ที่ผ่านมาพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ไม่เคยเข้ามาดูแลในเรื่องเหล่านี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง แถมยังร่วมกิจกรรมกับทางวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกว่าอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมอย่างสมเด็จช่วงวัดปากน้ำนั้นเคยประกาศเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธรรมกาย เนื่องด้วยต่างศรัทธาในหลวงพ่อสด อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเช่นเดียวกัน
ธรรมเนียมของสงฆ์จะเคารพพระผู้ใหญ่ เมื่อพระผู้ใหญ่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกาย จึงไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้องวัดพระธรรมกาย แม้จะมีบ้างแต่ก็เป็นเพียงเสียส่วนน้อย ไม่สามารถทัดทาน จึงเลือกที่จะไม่เข้าร่วมการประชุมในวงมหาเถรสมาคม
ปัจจุบันแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติสงฆ์ แต่ตัวบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งยังคงไม่ต่างไปจากเดิม โอกาสที่จะมีการแก้ไขหรือปฎิรูปวงการสงฆ์ของไทยจึงดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้น้อย และไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ธรรมกายสบายใจ
เหตุการณ์ที่พระธัมมชโยถูกออกหมายจับเมื่อพฤศจิกายน 2559 จากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น หลบหนีการจับกุม จนรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 แต่ก็ไม่สามารถนำตัวมาดำเนินคดีได้ ซึ่งในทางสงฆ์ต่างก็โยนเรื่องให้ฝ่ายบ้านเมืองดำเนินการในทางคดีให้เสร็จสิ้นก่อน ทางคณะสงฆ์จึงจะเข้าไปดำเนินการ
มีการยื้อเรื่องแม้เจ้าคณะใหญ่หนกลางในขณะนั้น แม้จะส่งเรื่องไปที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีคือพระเทพรัตนสุธี ที่ทำได้เพียงการแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่ของวัดพระธรรมกายแทนพระธัมมชโยเมื่อปลายปี 2560 แถมเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็ยังมีบทบาทน้อยกว่าพระทัตตชีโว เบอร์ 2 ของวัดพระธรรมกาย
เมื่อพิจารณารายชื่อเจ้าคณะภาค 1 ยังคงเป็นพระมหาสายชลรูปเดิม ที่ไม่มีบทบาทใด ๆ ในกรณีวัดพระธรรมกาย และเจ้าคณะใหญ่หนกลางรูปใหม่อย่างพระพรหมบัณฑิต อดีตเจ้าคณะภาค 2 และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย บทบาทที่ผ่านมาของท่านยังคล้อยไปตามพระผู้ใหญ่ จึงเป็นที่น่าจับตาว่าในกรณีวัดพระธรรมกายนั้นท่านจะมีแนวทางอย่างไร
ดูจากรายชื่อเจ้าคณะภาคแล้ว เชื่อว่าวัดพระธรรมกายคงสบายใจมาก เพราะโครงสร้างของคณะสงฆ์ชั้นปกครองทุกอย่างแทบไม่ต่างไปจากเดิม เนื่องจากในทางสงฆ์แล้วรัฐบาลหรือฝ่ายอาณาจักรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของสงฆ์ปกครองและจัดการกันเอง
นอกจากนี้ยังมีเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็นพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ที่ยังคงเป็นเกราะกำบังให้กับวัดพระธรรมกายได้เป็นอย่างดี และที่ผ่านมาพระและศิษย์วัดพระธรรมกายก็ร่วมงานกับทางวัดเขียนเขตตลอดเวลา
ดังนั้นในทางสงฆ์ระดับปกครองจึงไม่เป็นปัญหาต่อวัดพระธรรมกาย
ศิษย์ธรรมกายสายเพื่อไทยป้อง
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบอื่นพบว่า ขณะนี้ทางวัดพระธรรมกายอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยมากกว่ารัฐบาลยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เนื่องจากการเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลผสมเสียงปริ่มน้ำนั้น ไม่สามารถดำเนินนโยบายใดได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนเดิม
ในสายการเมืองพรรคเพื่อไทยได้เกื้อหนุนกับวัดพระธรรมกายมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคของทักษิณ ชินวัตร จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ร่วมกิจกรรมบุญกับทางวัด แม้ช่วงเกิดวิกฤติคนของพรรคเพื่อไทยก็แสดงออกถึงการปกป้องวัดพระธรรมกายเสมอมา
ครั้งนี้แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ด้วยกลไกทางการเมืองที่มี ส.ส.เพื่อไทยก็สามารถเข้ามาปกป้องวัดหรือพระสายที่เกื้อหนุนกันผ่านทั้งการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายนิยม เวชกามา และนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นหัวหอกงานด้านศาสนา
นอกจากนี้นางพรเพ็ญยังมีอำนาจในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และได้มีการตั้งอนุกรรมาธิการศาสนาขึ้นมาช่วยงานพบว่า ส่วนใหญ่เป็นทีมที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย และยังมีพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความของพระธัมมชโย เป็นอนุกรรมาธิการในชุดนี้
ที่ผ่านมาท่านเจ้าคุณประสารไม่พบว่ามีสายสัมพันธ์กับวัดพระธรรมกายโดยเปิดเผย แต่ท่านเป็นผู้สนับสนุนให้สมเด็จช่วงขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จนเกิดม็อบที่พุทธมณฑล เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งสมเด็จช่วงกับวัดพระธรรมกายนั้นถือว่าอยู่สายเดียวกัน
ส่วนนายสัมพันธ์ เสริมชีพ คนนี้ชัดเจนว่าเป็นทนายความให้กับพระธัมมชโย ในช่วงที่เกิดคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
เป็นที่ชัดเจนว่ากรรมาธิการศาสนาชุดนี้มีคนของธรรมกายอยู่อย่างน้อย 2 คนและส.ส.บางคนก็เคยร่วมกับวัดพระธรรมกายนำข้าวของเครื่องใช้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ของตน
แม้ว่าอำนาจของคณะกรรมาธิการอาจมีน้อยกว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงฝ่ายรัฐบาล แต่มีอำนาจในการถ่วงดุลหรือคัดค้าน ช่วยประวิงเวลาหรือสามารถแจ้งเตือนสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำต่อปลายทางที่เป็นพวกพ้องเพื่อหาทางรับมือได้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีพรรคประชาภิวัฒน์ ของนายสมเกียรติ์ ศรลัมพ์ ศิษย์ธรรมกายสายตรง ที่อยู่ฝั่งเดียวกับรัฐบาล แม้จะได้มาเพียง 1 ที่นั่ง แต่เมื่อประสานมือกับทางพรรคเพื่อไทย ก็นับว่าช่วยเหลือพระผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีและวัดพระธรรมกายได้เป็นอย่างดี แม้ช่วงแรกได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยตรง แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อถูกโยกให้ไปทำหน้าที่ที่กระทรวงวัฒนธรรมแทน
สำหรับกิจกรรมครั้งต่อไปของวัดพระธรรมกาย ทางวัดยังคงเดินหน้าโครงการธรรมยาตราเส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 8 วันที่ 2-31 มกราคม 2562 จำนวนพระ 1,136 รูป โดยได้เริ่มปลูกต้นเบญจทรัพย์ปฐมเริ่ม 1 กันยายน 2562 เพื่อใช้โปรยบนทางเดินให้กับพระ แต่ครั้งนี้มีการแจ้งรายละเอียดและทำการประชาสัมพันธ์น้อยกว่าครั้งก่อน
28 พฤศจิกายน 2562 มีการเผยแพร่มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2562 มติที่ 648/2562 เรื่องการแต่งตั้งพระสังฆาธิการให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ในเขตปกครองคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและคณะธรรมยุต การประชุมเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562 สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมมหาเถรสมาคม
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เสนอว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกุลมหาสังฆปริณายก โปรดมีพระบัญชาให้นำเรื่องการแต่งตั้งเจ้าคณะภาคเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อพิจารณา เพื่อเสนอกิจการคณะสงฆ์จึงเสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค มหานิกาย 18 รูป และคณะธรรมยุต 8 รูป
เจ้าคณะภาค-เจ้าคณะใหญ่หนกลาง
หนึ่งในผู้ที่ติดตามข่าวสารของพระสงฆ์อย่างเว็บไซต์อะลิตเติ้ลบุดดา แสดงความคิดเห็นถึงรายชื่อของเจ้าคณะภาคที่เปิดเผยออกมาว่า แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม และตั้งข้อสังเกตุถึงตำแหน่งเจ้าคณะภาคและตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่บางตำแหน่ง ที่มีผลต่อการพิจารณาคดีของวัดพระธรรมกาย
ทั้งนี้วัดพระธรรมกายตั้งอยู่จังหวัดปทุมธานี ถือว่าอยู่ในเขตปกครองของเจ้าคณะภาค 1 มีอำนาจในการปกครองในท้องที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี และเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ก็คือพระรูปเดิม พระเทพสุธี หรือพระมหาสายชล วัดชนะสงคราม
ขณะที่พระสงฆ์ผู้บังคับบัญชาที่สูงขึ้นไปจากเจ้าคณะภาค 1 คือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง เดิมสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์) วัดพิชัยญาติ ดำรงตำแหน่งอยู่ แต่ท่านได้มรณภาพเมื่อ 29 มิถุนายน 2562 และทางมหาเถรสมาคมได้มีการแต่งตั้ง พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนกลาง
ด้านนายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าคณะภาคทั่วประเทศว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างออกพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเจ้าคณะภาคต่อไป
นอกจากนี้รายชื่อของเจ้าคณะภาค 13 อย่างพระพรหมกวี หรือเจ้าคุณประกอบ วัดกัลยาณมิตร มีคดีทุบทำลายโบราณสถาน จนถูกฟ้องโดยกรมศิลปากร และศาลอาญามีคำสั่งเมื่อ 23 เมษายน 2562 ให้จำคุก 3 ปี แต่ให้รอลงอาญา 1 ปี
นี่คือเจ้าคณะภาคซึ่งถูกจับตามองจากผู้คนภายนอก ถึงความสามารถและความเหมาะสมกับการทำงานในฐานะผู้ปกครองสงฆ์และวัดวาอารามในสังกัด
แทบไม่เปลี่ยน
แหล่งข่าวด้านพระพุทธศาสนา กล่าวว่า เท่าที่ดูจากรายชื่อของเจ้าคณะภาครอบนี้ ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก แถมหลายรูปได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้น และส่วนใหญ่ยังเป็นขั้วอำนาจเดิมที่เคยครองพื้นที่อยู่ ดังนั้นโอกาสที่จะมีการแก้ปัญหาของวงการสงฆ์ในภาพรวม อาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก
ปัญหาของวัดพระธรรมกายนับเป็นเรื่องใหญ่ที่พระสังฆาธิการชั้นปกครอง ต้องลงมาหาทางแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องหลักธรรมคำสอนของทางวัดที่แตกต่างไปจากพระไตรปิฎก ในเรื่องของนิพพานที่ทางวัดเชื่อในความเป็นอัตตา รวมไปถึงการเชื้อเชิญให้ร่วมบุญกับทางวัดที่ปลายทางเป็นสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งแบ่งตามเงินทำบุญมากหรือน้อย
ที่ผ่านมาพระผู้ใหญ่ในมหาเถรสมาคม ไม่เคยเข้ามาดูแลในเรื่องเหล่านี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง แถมยังร่วมกิจกรรมกับทางวัดพระธรรมกาย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกว่าอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมอย่างสมเด็จช่วงวัดปากน้ำนั้นเคยประกาศเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธรรมกาย เนื่องด้วยต่างศรัทธาในหลวงพ่อสด อดีตเจ้าอาวาสวัดปากน้ำเช่นเดียวกัน
ธรรมเนียมของสงฆ์จะเคารพพระผู้ใหญ่ เมื่อพระผู้ใหญ่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับวัดพระธรรมกาย จึงไม่มีผู้ใดกล้าแตะต้องวัดพระธรรมกาย แม้จะมีบ้างแต่ก็เป็นเพียงเสียส่วนน้อย ไม่สามารถทัดทาน จึงเลือกที่จะไม่เข้าร่วมการประชุมในวงมหาเถรสมาคม
ปัจจุบันแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติสงฆ์ แต่ตัวบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งยังคงไม่ต่างไปจากเดิม โอกาสที่จะมีการแก้ไขหรือปฎิรูปวงการสงฆ์ของไทยจึงดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้น้อย และไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ธรรมกายสบายใจ
เหตุการณ์ที่พระธัมมชโยถูกออกหมายจับเมื่อพฤศจิกายน 2559 จากการเข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทุจริตในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น หลบหนีการจับกุม จนรัฐบาลต้องใช้มาตรา 44 ควบคุมพื้นที่วัดพระธรรมกายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 แต่ก็ไม่สามารถนำตัวมาดำเนินคดีได้ ซึ่งในทางสงฆ์ต่างก็โยนเรื่องให้ฝ่ายบ้านเมืองดำเนินการในทางคดีให้เสร็จสิ้นก่อน ทางคณะสงฆ์จึงจะเข้าไปดำเนินการ
มีการยื้อเรื่องแม้เจ้าคณะใหญ่หนกลางในขณะนั้น แม้จะส่งเรื่องไปที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีคือพระเทพรัตนสุธี ที่ทำได้เพียงการแต่งตั้งเจ้าอาวาสรูปใหม่ของวัดพระธรรมกายแทนพระธัมมชโยเมื่อปลายปี 2560 แถมเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันก็ยังมีบทบาทน้อยกว่าพระทัตตชีโว เบอร์ 2 ของวัดพระธรรมกาย
เมื่อพิจารณารายชื่อเจ้าคณะภาค 1 ยังคงเป็นพระมหาสายชลรูปเดิม ที่ไม่มีบทบาทใด ๆ ในกรณีวัดพระธรรมกาย และเจ้าคณะใหญ่หนกลางรูปใหม่อย่างพระพรหมบัณฑิต อดีตเจ้าคณะภาค 2 และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย บทบาทที่ผ่านมาของท่านยังคล้อยไปตามพระผู้ใหญ่ จึงเป็นที่น่าจับตาว่าในกรณีวัดพระธรรมกายนั้นท่านจะมีแนวทางอย่างไร
ดูจากรายชื่อเจ้าคณะภาคแล้ว เชื่อว่าวัดพระธรรมกายคงสบายใจมาก เพราะโครงสร้างของคณะสงฆ์ชั้นปกครองทุกอย่างแทบไม่ต่างไปจากเดิม เนื่องจากในทางสงฆ์แล้วรัฐบาลหรือฝ่ายอาณาจักรจะปล่อยให้เป็นเรื่องของสงฆ์ปกครองและจัดการกันเอง
นอกจากนี้ยังมีเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันเป็นพระธรรมรัตนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขียนเขต พระอารามหลวง ที่ยังคงเป็นเกราะกำบังให้กับวัดพระธรรมกายได้เป็นอย่างดี และที่ผ่านมาพระและศิษย์วัดพระธรรมกายก็ร่วมงานกับทางวัดเขียนเขตตลอดเวลา
ดังนั้นในทางสงฆ์ระดับปกครองจึงไม่เป็นปัญหาต่อวัดพระธรรมกาย
ศิษย์ธรรมกายสายเพื่อไทยป้อง
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบอื่นพบว่า ขณะนี้ทางวัดพระธรรมกายอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยมากกว่ารัฐบาลยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เนื่องจากการเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลผสมเสียงปริ่มน้ำนั้น ไม่สามารถดำเนินนโยบายใดได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนเดิม
ในสายการเมืองพรรคเพื่อไทยได้เกื้อหนุนกับวัดพระธรรมกายมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคของทักษิณ ชินวัตร จนถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ร่วมกิจกรรมบุญกับทางวัด แม้ช่วงเกิดวิกฤติคนของพรรคเพื่อไทยก็แสดงออกถึงการปกป้องวัดพระธรรมกายเสมอมา
ครั้งนี้แม้พรรคเพื่อไทยจะไม่ได้เป็นรัฐบาล แต่ด้วยกลไกทางการเมืองที่มี ส.ส.เพื่อไทยก็สามารถเข้ามาปกป้องวัดหรือพระสายที่เกื้อหนุนกันผ่านทั้งการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายนิยม เวชกามา และนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ศิษย์วัดพระธรรมกาย เป็นหัวหอกงานด้านศาสนา
นอกจากนี้นางพรเพ็ญยังมีอำนาจในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และได้มีการตั้งอนุกรรมาธิการศาสนาขึ้นมาช่วยงานพบว่า ส่วนใหญ่เป็นทีมที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทย และยังมีพระเมธีธรรมาจารย์ (ประสาร จนฺทสาโร) เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ ทนายความของพระธัมมชโย เป็นอนุกรรมาธิการในชุดนี้
ที่ผ่านมาท่านเจ้าคุณประสารไม่พบว่ามีสายสัมพันธ์กับวัดพระธรรมกายโดยเปิดเผย แต่ท่านเป็นผู้สนับสนุนให้สมเด็จช่วงขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จนเกิดม็อบที่พุทธมณฑล เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งสมเด็จช่วงกับวัดพระธรรมกายนั้นถือว่าอยู่สายเดียวกัน
ส่วนนายสัมพันธ์ เสริมชีพ คนนี้ชัดเจนว่าเป็นทนายความให้กับพระธัมมชโย ในช่วงที่เกิดคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
เป็นที่ชัดเจนว่ากรรมาธิการศาสนาชุดนี้มีคนของธรรมกายอยู่อย่างน้อย 2 คนและส.ส.บางคนก็เคยร่วมกับวัดพระธรรมกายนำข้าวของเครื่องใช้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ของตน
แม้ว่าอำนาจของคณะกรรมาธิการอาจมีน้อยกว่ารัฐมนตรีเจ้ากระทรวงฝ่ายรัฐบาล แต่มีอำนาจในการถ่วงดุลหรือคัดค้าน ช่วยประวิงเวลาหรือสามารถแจ้งเตือนสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำต่อปลายทางที่เป็นพวกพ้องเพื่อหาทางรับมือได้ก่อน
นอกจากนี้ยังมีพรรคประชาภิวัฒน์ ของนายสมเกียรติ์ ศรลัมพ์ ศิษย์ธรรมกายสายตรง ที่อยู่ฝั่งเดียวกับรัฐบาล แม้จะได้มาเพียง 1 ที่นั่ง แต่เมื่อประสานมือกับทางพรรคเพื่อไทย ก็นับว่าช่วยเหลือพระผู้ใหญ่ที่ถูกดำเนินคดีและวัดพระธรรมกายได้เป็นอย่างดี แม้ช่วงแรกได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติโดยตรง แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อถูกโยกให้ไปทำหน้าที่ที่กระทรวงวัฒนธรรมแทน
สำหรับกิจกรรมครั้งต่อไปของวัดพระธรรมกาย ทางวัดยังคงเดินหน้าโครงการธรรมยาตราเส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 8 วันที่ 2-31 มกราคม 2562 จำนวนพระ 1,136 รูป โดยได้เริ่มปลูกต้นเบญจทรัพย์ปฐมเริ่ม 1 กันยายน 2562 เพื่อใช้โปรยบนทางเดินให้กับพระ แต่ครั้งนี้มีการแจ้งรายละเอียดและทำการประชาสัมพันธ์น้อยกว่าครั้งก่อน