‘ไพบูลย์’เตรียมดันร่างกฎหมายจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุอีกรอบ แยกทุกอย่างชัด มีระบบบัญชี จัดโครงสร้างเป็นคณะกรรมการวัด ไม่ใช่อำนาจของเจ้าอาวาสเพียงรูปเดียว สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสกัดการใช้วัดเป็นแหล่งฟอกเงิน ยันทำเพื่อพระ 2 แสนรูป คนในวงการพระพุทธศาสนาเผย เพิ่มแนวทางถอดถอนพระสังฆาธิการได้ผ่านองคมนตรีเป็นผู้กลั่นกรอง ยอมรับ พ.ร.บ.สงฆ์ใหม่กับแนวทางจัดการทรัพย์สินของวัดกับพระ ส่งผลกระทบทำให้’ธรรมกาย’อ่อนยวบ
หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติผ่านความเห็นชอบ 3 วาระรวดเมื่อ 29 ธันวาคม 2559 ในการแก้ไขพระราชบัญญัติสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ในมาตรา 7 เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช โดยให้ยกเลิกข้อบัญญัติว่า
พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
โดยแก้ไขเป็น “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ซึ่งเป็นข้อบัญญัติเดิมของมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
เท่ากับว่าเป็นการตัดเอาอำนาจของมหาเถรสมาคมในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชออกไป โดยอำนาจนี้ไปอยู่ที่มือของนายกรัฐมนตรี เป็นที่รู้กันดีว่ามหาเถรสมาคมในชุดนี้ล้วนสนับสนุนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
งานนี้เล่นเอาพระเมธีธรรมาจารย์หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ออกโรงมาให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเตรียมรับมือกับความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น โดยมีแนวทางที่จะนัดหมายให้พระสงฆ์ร่วมกันออกมาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อแสดงออก แต่สุดท้ายยอมที่จะถอย
ดันกฎหมายแยกทรัพย์สินวัด-พระ รอบ 2
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนานั้นมีปัญหา 4 ด้านที่ต้องดำเนินการ
1.เงิน ทรัพย์สินของวัด พระ ไม่มีการตรวจสอบหรือเปิดเผย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความโปร่งใสของวัด
2.การตีความพระธรรมวินัย ที่ผ่านมามหาเถรสมาคมไม่เข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ อย่างเรื่องคำสอนให้ยึดในอัตตา หรือมีเรื่องข้อครหาต่าง ๆ ในตำแหน่งของพระชั้นต่าง ๆ
3.การปกครองคณะสงฆ์ เป็นลักษณะผูกขาด แค่กลุ่มเดียวราว 100 กว่ารูป แต่ควบคุมพระทั้ง 2-3 แสนรูป
4.ภาครัฐต้องสนับสนุน ปกป้องคุ้มครอง กิจการของฝ่ายศาสนจักรโดยการจัดโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ที่มีความคล่องตัว
จากนี้ไปจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุที่เคยเสนอไปแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่เป็นผล คราวนี้จะนำร่างดังกล่าวมานำเสนออีกครั้ง เพราะมีความเป็นห่วงกิจการพระพุทธศาสนา ทำให้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้ทุกอย่างโปร่งใส
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากฎของมหาเถรสมาคมมีความหละหลวมอยู่ การเข้ามาดำเนินการในครั้งนี้จะช่วยให้การแยกทรัพย์สินของวัดและพระมีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยต้องมีการแยกบัญชีและมีการลงบัญชีทรัพย์สินและต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการฟอกเงินผ่านวัดได้อีก จากเดิมที่ไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบ
ข้อมูลของทั้งวัดและพระจะมีการดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยมีเจ้าอาวาส พระลูกวัด อุบาสก อุบาสิกาเข้ามาร่วมกันเป็นกรรมการ การตัดสินใจต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการ โดยมีภาครัฐเข้ามาดูแล หากเกิดข้อสงสัยใด ๆ ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะได้
ทั้งนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเรื่องอำนาจของเจ้าอาวาสจะไม่ใช่ถือครองความเป็นนิติบุคคลเพียงคนเดียวอีกต่อไป ร่างกฎหมายนี้รายได้ทั้งหมดเป็นของวัด เจ้าอาวาสสามารถใช้จ่ายได้ในกิจของสงฆ์ มีการรายงานให้คณะกรรมการวัดทราบ ส่วนเงินของพระภิกษุในระหว่างบวช นับเป็นเงินของวัด ถือได้แต่ต้องแจ้งยอด และจะไม่กระทบต่อการดำเนินกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์
“เราทำเพื่อพระ 2-3 แสนรูปให้ได้รับความเป็นธรรมจากโครงสร้างเดิมที่อาจสร้างความไม่เท่าเทียมกัน เมื่อทุกอย่างดำเนินไปเป็นระบบก็จะทราบว่าวัดไหนรวย วัดไหนจน รัฐบาลจะได้สนับสนุนถูกว่าควรที่จะให้การช่วยเหลือวัดไหนเป็นหลัก และทำเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ เกิดความโปร่งใสและเป็นไปตามพระธรรมวินัย”
‘มหาเถระ-ธรรมกาย’เนื้อเดียวกัน
แหล่งข่าวจากวงการพระพุทธศาสนากล่าวว่า เรื่องของการแก้พระราชบัญญัติสงฆ์ในช่วงปลายปี 2559 นั้น ถือเป็นการผ่าทางตันปมปัญหาของวงการพระสงฆ์ ทั้งนี้เมื่อปี 2535 มีการแก้กฎหมายนี้เพิ่มอำนาจของมหาเถรสมาคมในการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชเข้ามา ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตราประทับเท่านั้น
เป็นที่ทราบกันว่าภายในมหาเถรสมาคมนั้น มีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่องของตำแหน่งของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ หรือเรื่องการจัดการกับวัดที่มีปัญหาในเรื่องหลักธรรมทำสอนที่ผิดพระธรรมวินัย ก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้ และหลายกรณีดูเหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับมหาเถรสมาคม
อีกทั้งเมื่อตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชว่างลง มีความพยายามผลักดันให้พระชั้นผู้ใหญ่ในสายของตัวเองขึ้นดำรงตำแหน่ง แม้ในทางปฏิบัติจะอยู่ในเกณฑ์อาวุโส แต่กลับมีปัญหาในเรื่องที่ไม่สง่างามในเรื่องคดีรถหรู และทราบกันดีว่าหากมีการผลักดันพระชั้นผู้ใหญ่รูปนี้ขึ้นสู่ตำแหน่งได้สำเร็จ ก็จะส่งผลบวกต่อวัดใหญ่ที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ถูกคดีร่วมกันรับของโจรจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในเวลานี้
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จากคดีที่มีการร้องเรียนพระธัมมชโย ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและที่ดินที่บรรดาญาติโยมบริจาคให้วัด และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม รวมถึงพฤติกรรมการใกล้ชิดสีกา และการอวดอุตริมนุสธรรม เมื่อปี 2541
ครั้งนั้นมติของมหาเถรสมาคม ให้พระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องปาราชิก โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานการประชุม
เรื่องนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากขัดแย้งกับพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เคยออกมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2542
เมื่อทุกอย่างลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาในวงการสงฆ์จึงไม่อาจแก้ไขได้ อีกทั้งภายในมหาเถรสมาคมเองก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เนื่องจากสายอำนาจเดิมยังกุมเสียงข้างมากอยู่ จึงต้องแก้ปัญหานี้ด้วยการแก้ พ.ร.บ.สงฆ์แทน
“จริง ๆ แล้วสมเด็จช่วงฯ เองท่านมีทางลงแล้ว แต่ท่านไม่ยอมลง ทำให้ปัญหาค้างคามาจนถึงวันนี้ และกฎหมายใหม่ที่ออกมานั้น ไม่ใช่ดูแลเรื่องของพระสงฆ์ไทยเพียงอย่างเดียว แต่ดูแลในทุกศาสนา”
เสนอ’ถอดยศ’พระสังฆาธิการได้
ทั้งนี้คาดว่าจะมีการเสนอให้เพิ่มเติมอีกคือ การถอดยศพระสังฆาธิการที่ประพฤติไม่เหมาะสม จะเสนอให้มีการถอดยศได้ โดยให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ถอดยศ โดยมีองคมนตรีเป็นผู้กลั่นกรองหากมีการร้องเรียนเข้ามา ซึ่งตอนนี้แนวทางดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการ
ส่วนเรื่องร่างกฎหมายจัดการทรัพย์สินของวัดและของพระนั้น เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายเดิมที่มีอยู่ มีการให้อำนาจกับเจ้าอาวาสมากเกินไป อีกทั้งในบางเรื่องสำนักงานพระพุทธศาสนาเองก็ไม่มีความชำนาญในการบริหารจัดการทรัพย์สิน หรือกระทั่งเรื่องของตำแหน่งไวยาวัจกรที่อาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความรู้ความชำนาญพอ
ที่ผ่านมาตำแหน่งไวยาวัจกรมักเป็นบุคคลที่เจ้าอาวาสให้ความไว้วางใจ อาจทำให้เกิดปัญหาได้ทั้งในเรื่องความรู้ ความสามารถหรือเรื่องที่อาจดำเนินการไปในทางที่ทำให้เกิดข้อครหา จึงต้องมีแนวทางในการสร้างความชัดเจนให้กับวัดทั้งในเรื่องใบอนุญาตของไวยาวัจกร หรือเรื่องการลงบัญชีแยกในส่วนของวัดและของพระ รวมถึงมูลนิธิของวัด
การแก้ไขกฎหมายและการสร้างกลไกที่เป็นระบบให้กับพุทธศาสนาในครั้งนี้ แม้ว่าเป้าหมายหลักคือวัดพระธรรมกาย แน่นอนว่าหากกฎระเบียบใหม่ออกมา ขั้วอำนาจของวัดพระธรรมกายย่อมต้องลดลง แต่ในทางปฏิบัติแล้วย่อมเป็นแนวทางที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนาได้ทั่วทั้งประเทศ
หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติผ่านความเห็นชอบ 3 วาระรวดเมื่อ 29 ธันวาคม 2559 ในการแก้ไขพระราชบัญญัติสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ในมาตรา 7 เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช โดยให้ยกเลิกข้อบัญญัติว่า
พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุด โดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช”
โดยแก้ไขเป็น “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ซึ่งเป็นข้อบัญญัติเดิมของมาตรา 7 ใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
เท่ากับว่าเป็นการตัดเอาอำนาจของมหาเถรสมาคมในการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชออกไป โดยอำนาจนี้ไปอยู่ที่มือของนายกรัฐมนตรี เป็นที่รู้กันดีว่ามหาเถรสมาคมในชุดนี้ล้วนสนับสนุนสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช
งานนี้เล่นเอาพระเมธีธรรมาจารย์หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ออกโรงมาให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเตรียมรับมือกับความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น โดยมีแนวทางที่จะนัดหมายให้พระสงฆ์ร่วมกันออกมาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อแสดงออก แต่สุดท้ายยอมที่จะถอย
ดันกฎหมายแยกทรัพย์สินวัด-พระ รอบ 2
นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวว่า ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนานั้นมีปัญหา 4 ด้านที่ต้องดำเนินการ
1.เงิน ทรัพย์สินของวัด พระ ไม่มีการตรวจสอบหรือเปิดเผย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความโปร่งใสของวัด
2.การตีความพระธรรมวินัย ที่ผ่านมามหาเถรสมาคมไม่เข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องนี้ อย่างเรื่องคำสอนให้ยึดในอัตตา หรือมีเรื่องข้อครหาต่าง ๆ ในตำแหน่งของพระชั้นต่าง ๆ
3.การปกครองคณะสงฆ์ เป็นลักษณะผูกขาด แค่กลุ่มเดียวราว 100 กว่ารูป แต่ควบคุมพระทั้ง 2-3 แสนรูป
4.ภาครัฐต้องสนับสนุน ปกป้องคุ้มครอง กิจการของฝ่ายศาสนจักรโดยการจัดโครงสร้างการปกครองคณะสงฆ์ที่มีความคล่องตัว
จากนี้ไปจะมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุที่เคยเสนอไปแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่เป็นผล คราวนี้จะนำร่างดังกล่าวมานำเสนออีกครั้ง เพราะมีความเป็นห่วงกิจการพระพุทธศาสนา ทำให้จำเป็นต้องมีการปฏิรูปเพื่อให้ทุกอย่างโปร่งใส
ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากฎของมหาเถรสมาคมมีความหละหลวมอยู่ การเข้ามาดำเนินการในครั้งนี้จะช่วยให้การแยกทรัพย์สินของวัดและพระมีความชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยต้องมีการแยกบัญชีและมีการลงบัญชีทรัพย์สินและต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการฟอกเงินผ่านวัดได้อีก จากเดิมที่ไม่มีเครื่องมือในการตรวจสอบ
ข้อมูลของทั้งวัดและพระจะมีการดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ โดยมีเจ้าอาวาส พระลูกวัด อุบาสก อุบาสิกาเข้ามาร่วมกันเป็นกรรมการ การตัดสินใจต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการ โดยมีภาครัฐเข้ามาดูแล หากเกิดข้อสงสัยใด ๆ ก็สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะได้
ทั้งนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการปรับปรุงเรื่องอำนาจของเจ้าอาวาสจะไม่ใช่ถือครองความเป็นนิติบุคคลเพียงคนเดียวอีกต่อไป ร่างกฎหมายนี้รายได้ทั้งหมดเป็นของวัด เจ้าอาวาสสามารถใช้จ่ายได้ในกิจของสงฆ์ มีการรายงานให้คณะกรรมการวัดทราบ ส่วนเงินของพระภิกษุในระหว่างบวช นับเป็นเงินของวัด ถือได้แต่ต้องแจ้งยอด และจะไม่กระทบต่อการดำเนินกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์
“เราทำเพื่อพระ 2-3 แสนรูปให้ได้รับความเป็นธรรมจากโครงสร้างเดิมที่อาจสร้างความไม่เท่าเทียมกัน เมื่อทุกอย่างดำเนินไปเป็นระบบก็จะทราบว่าวัดไหนรวย วัดไหนจน รัฐบาลจะได้สนับสนุนถูกว่าควรที่จะให้การช่วยเหลือวัดไหนเป็นหลัก และทำเพื่อให้ทุกฝ่ายเกิดความสบายใจ เกิดความโปร่งใสและเป็นไปตามพระธรรมวินัย”
‘มหาเถระ-ธรรมกาย’เนื้อเดียวกัน
แหล่งข่าวจากวงการพระพุทธศาสนากล่าวว่า เรื่องของการแก้พระราชบัญญัติสงฆ์ในช่วงปลายปี 2559 นั้น ถือเป็นการผ่าทางตันปมปัญหาของวงการพระสงฆ์ ทั้งนี้เมื่อปี 2535 มีการแก้กฎหมายนี้เพิ่มอำนาจของมหาเถรสมาคมในการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราชเข้ามา ทำให้อำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นเพียงตราประทับเท่านั้น
เป็นที่ทราบกันว่าภายในมหาเถรสมาคมนั้น มีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ทั้งเรื่องของตำแหน่งของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ หรือเรื่องการจัดการกับวัดที่มีปัญหาในเรื่องหลักธรรมทำสอนที่ผิดพระธรรมวินัย ก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้ และหลายกรณีดูเหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับมหาเถรสมาคม
อีกทั้งเมื่อตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชว่างลง มีความพยายามผลักดันให้พระชั้นผู้ใหญ่ในสายของตัวเองขึ้นดำรงตำแหน่ง แม้ในทางปฏิบัติจะอยู่ในเกณฑ์อาวุโส แต่กลับมีปัญหาในเรื่องที่ไม่สง่างามในเรื่องคดีรถหรู และทราบกันดีว่าหากมีการผลักดันพระชั้นผู้ใหญ่รูปนี้ขึ้นสู่ตำแหน่งได้สำเร็จ ก็จะส่งผลบวกต่อวัดใหญ่ที่มีปัญหาอยู่ในขณะนี้
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระเทพญาณมหามุนี หรือพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ถูกคดีร่วมกันรับของโจรจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในเวลานี้
ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จากคดีที่มีการร้องเรียนพระธัมมชโย ถูกกล่าวหาว่ายักยอกเงินและที่ดินที่บรรดาญาติโยมบริจาคให้วัด และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม รวมถึงพฤติกรรมการใกล้ชิดสีกา และการอวดอุตริมนุสธรรม เมื่อปี 2541
ครั้งนั้นมติของมหาเถรสมาคม ให้พระเทพญาณมหามุนีหรือพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ไม่ต้องปาราชิก โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานการประชุม
เรื่องนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เนื่องจากขัดแย้งกับพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เคยออกมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2542
เมื่อทุกอย่างลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาในวงการสงฆ์จึงไม่อาจแก้ไขได้ อีกทั้งภายในมหาเถรสมาคมเองก็ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เนื่องจากสายอำนาจเดิมยังกุมเสียงข้างมากอยู่ จึงต้องแก้ปัญหานี้ด้วยการแก้ พ.ร.บ.สงฆ์แทน
“จริง ๆ แล้วสมเด็จช่วงฯ เองท่านมีทางลงแล้ว แต่ท่านไม่ยอมลง ทำให้ปัญหาค้างคามาจนถึงวันนี้ และกฎหมายใหม่ที่ออกมานั้น ไม่ใช่ดูแลเรื่องของพระสงฆ์ไทยเพียงอย่างเดียว แต่ดูแลในทุกศาสนา”
เสนอ’ถอดยศ’พระสังฆาธิการได้
ทั้งนี้คาดว่าจะมีการเสนอให้เพิ่มเติมอีกคือ การถอดยศพระสังฆาธิการที่ประพฤติไม่เหมาะสม จะเสนอให้มีการถอดยศได้ โดยให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ถอดยศ โดยมีองคมนตรีเป็นผู้กลั่นกรองหากมีการร้องเรียนเข้ามา ซึ่งตอนนี้แนวทางดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการ
ส่วนเรื่องร่างกฎหมายจัดการทรัพย์สินของวัดและของพระนั้น เกิดขึ้นจากความไม่ชัดเจนของกฎหมายเดิมที่มีอยู่ มีการให้อำนาจกับเจ้าอาวาสมากเกินไป อีกทั้งในบางเรื่องสำนักงานพระพุทธศาสนาเองก็ไม่มีความชำนาญในการบริหารจัดการทรัพย์สิน หรือกระทั่งเรื่องของตำแหน่งไวยาวัจกรที่อาจเป็นบุคคลที่ไม่มีความรู้ความชำนาญพอ
ที่ผ่านมาตำแหน่งไวยาวัจกรมักเป็นบุคคลที่เจ้าอาวาสให้ความไว้วางใจ อาจทำให้เกิดปัญหาได้ทั้งในเรื่องความรู้ ความสามารถหรือเรื่องที่อาจดำเนินการไปในทางที่ทำให้เกิดข้อครหา จึงต้องมีแนวทางในการสร้างความชัดเจนให้กับวัดทั้งในเรื่องใบอนุญาตของไวยาวัจกร หรือเรื่องการลงบัญชีแยกในส่วนของวัดและของพระ รวมถึงมูลนิธิของวัด
การแก้ไขกฎหมายและการสร้างกลไกที่เป็นระบบให้กับพุทธศาสนาในครั้งนี้ แม้ว่าเป้าหมายหลักคือวัดพระธรรมกาย แน่นอนว่าหากกฎระเบียบใหม่ออกมา ขั้วอำนาจของวัดพระธรรมกายย่อมต้องลดลง แต่ในทางปฏิบัติแล้วย่อมเป็นแนวทางที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับพระพุทธศาสนาได้ทั่วทั้งประเทศ