รัฐบาลแก้ไม่ตก “ปมคดีธรรมกาย” เปลี่ยนตัวทั้งอธิบดีอัยการจนถึงรองอธิบดี DSI แต่ยังไม่สามารถฟ้องพระธัมมชโยได้ เลื่อนฟ้องแล้ว 5 ครั้ง แถมตั้งแต่ทักษิณส่งสัญญาณถึงวัดพระธรรมกายตั้งแต่ 6 ตุลาคม ส่งผลอัยการเลื่อนแล้ว 2 ครั้ง เป้ายื้อรอรัฐบาลเพื่อไทยเป็นหนทางรอดเหมือนปี 2549 ที่อัยการสูงสุดในรัฐบาลทักษิณถอนฟ้อง
นับได้ว่าเป็นข่าวดีของศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกายที่หลังจากมีงานมหากฐินของทางวัดเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2559 แม้วันรุ่งขึ้นคือ 7 พฤศจิกายน เป็นวันที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานบริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด (มหาชน) และพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กับพวกรวม 5 คนกระทำความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินและรับของโจร ว่าจะฟ้องหรือไม่
และแล้วทางอัยการก็แจ้งเลื่อนวันนัดฟังในคดีดังกล่าวเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นับเป็นการเลื่อนของทางอัยการเป็นครั้งที่ 5 โดยแต่ละครั้งจะให้เหตุผลของการเลื่อนว่าได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ไม่ครบถ้วน
อีกทั้งเอกสารในสำนวนคดี และเอกสารเพิ่มเติมที่พนักงานสอบสวนส่งให้อัยการพิจารณามีจำนวนมาก และเนื้อหามีความสลับซับซ้อน ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยมีผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก และมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนสูงมาก พนักงานอัยการ คณะทำงานต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาสำนวนและสั่งคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเพื่อให้เกิดความกระจ่างแก่สังคม
เลื่อน 5 ครั้ง-ย้ายอัยการ-DSI
เริ่มจากครั้งแรกที่อัยการนัดฟังคำสั่ง 13 มิถุนายน 2559 เลื่อนมาเป็น 11 สิงหาคม ครั้งที่ 2 เลื่อนจาก 11 สิงหาคม เป็น 30 สิงหาคม ครั้งที่ 3 เลื่อนจาก 30 สิงหาคม เป็น 6 ตุลาคม ครั้งที่ 4 เลื่อนจาก 6 ตุลาคม เป็น 7 พฤศจิกายน และครั้งที่ 5 เลื่อนจาก 7 พฤศจิกายน เป็น 30 พฤศจิกายน ด้วยเหตุผลที่เหมือนกันทุกครั้งคือรอข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ขณะที่พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ออกมาบอกว่า สำนวนที่ส่งไปให้อัยการเรียบร้อย มีเพียงบางประเด็น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งย้ายพันตำรวจโทพงศ์อินทร์ อินทรขาว และพันตำรวจโทสมบูรณ์ สารสิทธิ์ รองอธิบดี DSI และพันตำรวจโทชินโชติ พุฒิวรรธาดา ผู้บัญชาการสำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ ไปช่วยราชการที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 โดยให้ขาดจากตำแหน่งเดิม
ทั้งนี้คดีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ และวัดพระธรรมกายอยู่ในความดูแลของพันตำรวจโทสมบูรณ์่ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาให้พันตำรวจตรีสุริยา สิงหกมล มาดูแลแทน
ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสาเหตุของการเลื่อนของอัยการในคดีของวัดใหญ่ย่านปทุมธานีนั้นเกิดขึ้นอะไร เพราะก่อนหน้านี้ช่วงที่คดีนี้ถูกเลื่อนเมื่อ 30 สิงหาคม จากนั้น 7 กันยายน 2559 ได้มีการโยกย้ายข้าราชการอัยการ 129 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือการย้ายนายภาณุพงษ์ โชติสิน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ไปเป็น อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต และให้นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ มีผล 1 ตุลาคม 2559
จนมาถึงการย้าย 3 บุคลากรระดับสูงในกรมสอบสวนคดีพิเศษเมื่อ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเป็นการย้ายขาดจากหน่วยงานเดิม
“เราทราบเพียงว่า รัฐบาลชุดนี้ต้องการหาข้อยุติเรื่องของวัดพระธรรมกายให้ได้ภายในรัฐบาลนี้ เพราะถ้าพ้นจากรัฐบาลชุดนี้ไปคดีนี้อาจจะจบแบบที่คนของวัดพระธรรมกายต้องการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอะไรที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินคดีดังกล่าวจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เช่น การย้ายตัวบุคคล” แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้กล่าว
อย่างอธิบดีอัยการท่านใหม่ที่เข้ามาทำหน้าที่เมื่อ 1 ตุลาคมนั้น ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าท่านจะพิจารณาคดีอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเมื่อ 11 ตุลาคม 2559 มีการตั้งนายมานัส ทารัตน์ใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการศาสนา เท่าที่เราสอบทานดูไม่พบว่าอธิบดีกรมการศาสนาคนใหม่อยู่ในสายของวัดพระธรรมกาย แต่ไม่มีผลต่อคดีของวัดพระธรรมกาย เพราะกรมการศาสนาดูภาพรวมทั้งหมด
ทักษิณส่งสัญญาณถึงธรรมกาย
ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ที่อัยการเลื่อนคดีพระธัมมชโยออกไปเป็น 7 พฤศจิกายน 2559 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เนื่องในงานรำลึก 6 ตุลาคม 2519
ทักษิณตอบคำถามผู้มาร่วมงานเรื่องถ้ามีโอกาสกลับมาประเทศไทยช่วยนำศีลธรรมกลับคืนมาว่า “ผมนั่งสมาธิ แล้วก็อธิษฐาน ปวารณาว่าผมมีกรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อไหร่ที่มีโอกาสกลับไปประเทศไทย ผมจะปวารณาว่าผมจะจรรโลงพระพุทธศาสนา”
แหล่งข่าวที่ดูแลคดีวัดพระธรรมกายกล่าวว่า คำตอบของคุณทักษิณเป็นคำพูดที่มีความหมาย ต้องการจะสื่อถึงวัดพระธรรมกายว่าถ้าเขากลับมาแล้วจะเข้ามาดูแลเรื่องพระพุทธศาสนา ซึ่งหมายความถึงพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่กำลังมีปัญหาเรื่องคดีฟอกเงินและรับของโจร เพราะถึงอย่างไรวัดนี้ก็เป็นฐานสำคัญของทักษิณและพรรคเพื่อไทยอยู่ รวมถึงคุณหญิงพจมานและพี่ชายอย่างบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ก็ยังเข้ามาทำบุญที่วัดนี้อยู่เสมอ
นั่นเป็นการส่งสัญญาณไปถึงคนในวัดพระธรรมกายว่า ทักษิณยังให้ความสำคัญกับวัดนี้อยู่ เพราะหนึ่งในศิษย์เอกวัดพระธรรมกายอย่างนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ เคยร่วมงานทางการเมืองกันมาตั้งแต่ทักษิณเข้าวงการการเมืองครั้งแรก ๆ ในนามของพรรคพลังธรรม
ที่จริงปัญหานี้ถ้าเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมดาทั่วไปคงดำเนินการทั้งทางคดีและทางธรรมไปได้นานแล้ว แต่วัดพระธรรมกายถือเป็นวัดใหญ่ มีทุนและลูกศิษย์มากอยู่ในทุกวงการ คดีเมื่อปี 2549 ก็รอดมาแล้ว อัยการสูงสุดสั่งถอนฟ้อง และไม่ต้องอาบัติปาราชิกด้วยมติของมหาเถรสมาคมที่สมเด็จช่วงฯ วัดปากน้ำเป็นประธาน
ยอมรับว่าที่ผ่านมามีการเข้าไปหารือกับพระธัมมชโยในวัดพระธรรมกาย เพื่อขอให้มามอบตัวและต่อสู้คดี แต่พระธัมมชโยไม่ยอม จึงเป็นที่มาของกรรมวิธีต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายที่ใช้ต่อสู้เพื่อปกป้องพระธัมมชโย โดยเป้าหมายคือต้องการยื้อให้คดีนี้ยืดออกไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาล
เขายังหวังว่าเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ยิ่งคุณทักษิณพูดแบบให้ความหวังอย่างนี้ ยิ่งทำให้ทางวัดต้องหาทางป้องกันการจับกุมตัวพระธัมมชโยต่อไป ด้วยการสร้างกิจกรรมเสมือนการทำบุญ แต่เป้าหมายที่มาพร้อมกันคือการเป็นกำแพงมนุษย์ที่ล้อมพระธัมมชโยไปในตัว
เห็นได้จากโครงการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์ เชิญชวนให้สวดทั้งวันทั้งคืนที่บริเวณพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ จากเดิม 1 ล้านจบ เพิ่มเป็น 2 ล้านจบ ขยายเป็น 4 ล้านจบ เพิ่มเป็น 5.5 ล้านจบ และขยับเป้าหมายในการสวดเป็น 6.6 ล้านจบในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มการสวดออกไปเป็น 7.7 ล้านจบอีก
เริ่มเข้าล็อกปี 2549
แต่ตอนนี้ดูเหมือนเป็นการโยนเรื่องกันไปมาระหว่าง DSI กับอัยการ จากเดิมที่คาดจะทราบผลว่ามีการสั่งฟ้องหรือไม่ตั้งแต่ 13 มิถุนายน ก็เลื่อนมาตลอดและก็ไม่แน่ใจว่า 30 พฤศจิกายนนี้จะเลื่อนออกไปอีกหรือไม่
อย่าลืมว่าเคยมีคดีก่อนหน้านี้ของพระธัมมชโยเมื่อปี 2541 ที่มีการครอบครองที่ดินในนามส่วนตัวและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระลิขิตให้พระธัมมชโยคืนที่ดินและทรัพย์สินขณะเป็นพระให้วัดพระธรรมกาย
แม้ว่าอัยการจะสั่งฟ้องพระธัมมชโยกับพวก 2 ข้อหา คือ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ เมื่อ 3 ตุลาคม 2542 แต่สุดท้าย 21 สิงหาคม 2549 อัยการสูงสุดในขณะนั้น นายพชร ยุติธรรมดำรง ก็มีคำสั่งถอนฟ้องคดีของพระธัมมชโย ด้วยเหตุผลดังนี้
“บัดนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พระธัมมชโยกับพวก ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาตรงตามพระไตรปิฎกและนโยบายของสงฆ์แล้ว ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนาทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก ส่วนเรื่องทรัพย์สิน พระธัมมชโยกับพวกก็ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งที่ดินและเงินกว่า 959 ล้านบาท คืนแก่วัดพระธรรมกายแล้ว ดังนั้น การกระทำของพระธัมมชโยกับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ ครบถ้วนทุกประการแล้ว ประกอบกับขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า จึงเห็นว่า หากดำเนินคดีพระธัมมชโยกับพวกต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้การดำเนินคดีต่อไปยังไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องพระธัมมชโยกับพวก”
โดยก่อนที่อัยการสูงสุดจะมีการถอนฟ้อง ขณะนั้นทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย ใช้วัดพระธรรมกายรวมพลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบ 8 หมื่นคน ภายใต้ชื่องาน “รวมใจทุกศาสนา พัฒนาท้องถิ่นไทย ถวายองค์ราชา ครองราชย์ 60 ปี” เมื่อ 17-18 กรกฎาคม 2549 และยังกล่าวชื่นชมความยิ่งใหญ่ของวัดพระธรรมกาย
จริง ๆ แล้วแม้ว่าอัยการจะสั่งฟ้องคดียักยอกเงินและรับของโจรของพระธัมมชโยไม่ว่าจะเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายนหรือวันอื่น ๆ ก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทราบผลของคดีโดยเร็ว เพราะต้องมีกระบวนการไต่สวนในชั้นศาลอีก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี และน่าจะผ่านพ้นรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ไปแล้ว ความเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้เสมอ และต้องไม่ลืมว่าสายของวัดพระธรรมกายกับสายพรรคเพื่อไทยถือเป็นสายเดียวกัน
ดังนั้นโอกาสที่คดีของวัดพระธรรมกายจะจบลงเหมือนในปี 2549 ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ทุกอย่างอยู่ที่ปัจจัยทางการเมือง การยืดคดีนี้ออกไปเพื่อให้เข้าสู่รัฐบาลใหม่ที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ย่อมเป็นผลบวกต่อพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย
นับได้ว่าเป็นข่าวดีของศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกายที่หลังจากมีงานมหากฐินของทางวัดเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2559 แม้วันรุ่งขึ้นคือ 7 พฤศจิกายน เป็นวันที่อัยการนัดฟังคำสั่งคดีที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานบริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด (มหาชน) และพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กับพวกรวม 5 คนกระทำความผิดฐานสมคบกันฟอกเงินและรับของโจร ว่าจะฟ้องหรือไม่
และแล้วทางอัยการก็แจ้งเลื่อนวันนัดฟังในคดีดังกล่าวเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นับเป็นการเลื่อนของทางอัยการเป็นครั้งที่ 5 โดยแต่ละครั้งจะให้เหตุผลของการเลื่อนว่าได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติมจากพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ไม่ครบถ้วน
อีกทั้งเอกสารในสำนวนคดี และเอกสารเพิ่มเติมที่พนักงานสอบสวนส่งให้อัยการพิจารณามีจำนวนมาก และเนื้อหามีความสลับซับซ้อน ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยมีผู้เสียหายที่ได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก และมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนสูงมาก พนักงานอัยการ คณะทำงานต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาสำนวนและสั่งคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเพื่อให้เกิดความกระจ่างแก่สังคม
เลื่อน 5 ครั้ง-ย้ายอัยการ-DSI
เริ่มจากครั้งแรกที่อัยการนัดฟังคำสั่ง 13 มิถุนายน 2559 เลื่อนมาเป็น 11 สิงหาคม ครั้งที่ 2 เลื่อนจาก 11 สิงหาคม เป็น 30 สิงหาคม ครั้งที่ 3 เลื่อนจาก 30 สิงหาคม เป็น 6 ตุลาคม ครั้งที่ 4 เลื่อนจาก 6 ตุลาคม เป็น 7 พฤศจิกายน และครั้งที่ 5 เลื่อนจาก 7 พฤศจิกายน เป็น 30 พฤศจิกายน ด้วยเหตุผลที่เหมือนกันทุกครั้งคือรอข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ขณะที่พันตำรวจเอกไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ออกมาบอกว่า สำนวนที่ส่งไปให้อัยการเรียบร้อย มีเพียงบางประเด็น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งย้ายพันตำรวจโทพงศ์อินทร์ อินทรขาว และพันตำรวจโทสมบูรณ์ สารสิทธิ์ รองอธิบดี DSI และพันตำรวจโทชินโชติ พุฒิวรรธาดา ผู้บัญชาการสำนักพัฒนาและสนับสนุนคดีพิเศษ ไปช่วยราชการที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี มีผลตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2559 โดยให้ขาดจากตำแหน่งเดิม
ทั้งนี้คดีของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯ และวัดพระธรรมกายอยู่ในความดูแลของพันตำรวจโทสมบูรณ์่ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาให้พันตำรวจตรีสุริยา สิงหกมล มาดูแลแทน
ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าสาเหตุของการเลื่อนของอัยการในคดีของวัดใหญ่ย่านปทุมธานีนั้นเกิดขึ้นอะไร เพราะก่อนหน้านี้ช่วงที่คดีนี้ถูกเลื่อนเมื่อ 30 สิงหาคม จากนั้น 7 กันยายน 2559 ได้มีการโยกย้ายข้าราชการอัยการ 129 ตำแหน่ง หนึ่งในนั้นคือการย้ายนายภาณุพงษ์ โชติสิน อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ ไปเป็น อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต และให้นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต เป็นอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ มีผล 1 ตุลาคม 2559
จนมาถึงการย้าย 3 บุคลากรระดับสูงในกรมสอบสวนคดีพิเศษเมื่อ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเป็นการย้ายขาดจากหน่วยงานเดิม
“เราทราบเพียงว่า รัฐบาลชุดนี้ต้องการหาข้อยุติเรื่องของวัดพระธรรมกายให้ได้ภายในรัฐบาลนี้ เพราะถ้าพ้นจากรัฐบาลชุดนี้ไปคดีนี้อาจจะจบแบบที่คนของวัดพระธรรมกายต้องการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอะไรที่เป็นปัญหาต่อการดำเนินคดีดังกล่าวจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข เช่น การย้ายตัวบุคคล” แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้กล่าว
อย่างอธิบดีอัยการท่านใหม่ที่เข้ามาทำหน้าที่เมื่อ 1 ตุลาคมนั้น ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าท่านจะพิจารณาคดีอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเมื่อ 11 ตุลาคม 2559 มีการตั้งนายมานัส ทารัตน์ใจ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ขึ้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการศาสนา เท่าที่เราสอบทานดูไม่พบว่าอธิบดีกรมการศาสนาคนใหม่อยู่ในสายของวัดพระธรรมกาย แต่ไม่มีผลต่อคดีของวัดพระธรรมกาย เพราะกรมการศาสนาดูภาพรวมทั้งหมด
ทักษิณส่งสัญญาณถึงธรรมกาย
ทั้งนี้มีข้อน่าสังเกตว่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ที่อัยการเลื่อนคดีพระธัมมชโยออกไปเป็น 7 พฤศจิกายน 2559 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่นครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เนื่องในงานรำลึก 6 ตุลาคม 2519
ทักษิณตอบคำถามผู้มาร่วมงานเรื่องถ้ามีโอกาสกลับมาประเทศไทยช่วยนำศีลธรรมกลับคืนมาว่า “ผมนั่งสมาธิ แล้วก็อธิษฐาน ปวารณาว่าผมมีกรรมอะไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อไหร่ที่มีโอกาสกลับไปประเทศไทย ผมจะปวารณาว่าผมจะจรรโลงพระพุทธศาสนา”
แหล่งข่าวที่ดูแลคดีวัดพระธรรมกายกล่าวว่า คำตอบของคุณทักษิณเป็นคำพูดที่มีความหมาย ต้องการจะสื่อถึงวัดพระธรรมกายว่าถ้าเขากลับมาแล้วจะเข้ามาดูแลเรื่องพระพุทธศาสนา ซึ่งหมายความถึงพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายที่กำลังมีปัญหาเรื่องคดีฟอกเงินและรับของโจร เพราะถึงอย่างไรวัดนี้ก็เป็นฐานสำคัญของทักษิณและพรรคเพื่อไทยอยู่ รวมถึงคุณหญิงพจมานและพี่ชายอย่างบรรณพจน์ ดามาพงศ์ ก็ยังเข้ามาทำบุญที่วัดนี้อยู่เสมอ
นั่นเป็นการส่งสัญญาณไปถึงคนในวัดพระธรรมกายว่า ทักษิณยังให้ความสำคัญกับวัดนี้อยู่ เพราะหนึ่งในศิษย์เอกวัดพระธรรมกายอย่างนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ เคยร่วมงานทางการเมืองกันมาตั้งแต่ทักษิณเข้าวงการการเมืองครั้งแรก ๆ ในนามของพรรคพลังธรรม
ที่จริงปัญหานี้ถ้าเป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมดาทั่วไปคงดำเนินการทั้งทางคดีและทางธรรมไปได้นานแล้ว แต่วัดพระธรรมกายถือเป็นวัดใหญ่ มีทุนและลูกศิษย์มากอยู่ในทุกวงการ คดีเมื่อปี 2549 ก็รอดมาแล้ว อัยการสูงสุดสั่งถอนฟ้อง และไม่ต้องอาบัติปาราชิกด้วยมติของมหาเถรสมาคมที่สมเด็จช่วงฯ วัดปากน้ำเป็นประธาน
ยอมรับว่าที่ผ่านมามีการเข้าไปหารือกับพระธัมมชโยในวัดพระธรรมกาย เพื่อขอให้มามอบตัวและต่อสู้คดี แต่พระธัมมชโยไม่ยอม จึงเป็นที่มาของกรรมวิธีต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกายที่ใช้ต่อสู้เพื่อปกป้องพระธัมมชโย โดยเป้าหมายคือต้องการยื้อให้คดีนี้ยืดออกไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนรัฐบาล
เขายังหวังว่าเมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยจะกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ยิ่งคุณทักษิณพูดแบบให้ความหวังอย่างนี้ ยิ่งทำให้ทางวัดต้องหาทางป้องกันการจับกุมตัวพระธัมมชโยต่อไป ด้วยการสร้างกิจกรรมเสมือนการทำบุญ แต่เป้าหมายที่มาพร้อมกันคือการเป็นกำแพงมนุษย์ที่ล้อมพระธัมมชโยไปในตัว
เห็นได้จากโครงการสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์ เชิญชวนให้สวดทั้งวันทั้งคืนที่บริเวณพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ จากเดิม 1 ล้านจบ เพิ่มเป็น 2 ล้านจบ ขยายเป็น 4 ล้านจบ เพิ่มเป็น 5.5 ล้านจบ และขยับเป้าหมายในการสวดเป็น 6.6 ล้านจบในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มการสวดออกไปเป็น 7.7 ล้านจบอีก
เริ่มเข้าล็อกปี 2549
แต่ตอนนี้ดูเหมือนเป็นการโยนเรื่องกันไปมาระหว่าง DSI กับอัยการ จากเดิมที่คาดจะทราบผลว่ามีการสั่งฟ้องหรือไม่ตั้งแต่ 13 มิถุนายน ก็เลื่อนมาตลอดและก็ไม่แน่ใจว่า 30 พฤศจิกายนนี้จะเลื่อนออกไปอีกหรือไม่
อย่าลืมว่าเคยมีคดีก่อนหน้านี้ของพระธัมมชโยเมื่อปี 2541 ที่มีการครอบครองที่ดินในนามส่วนตัวและสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้มีพระลิขิตให้พระธัมมชโยคืนที่ดินและทรัพย์สินขณะเป็นพระให้วัดพระธรรมกาย
แม้ว่าอัยการจะสั่งฟ้องพระธัมมชโยกับพวก 2 ข้อหา คือ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ เมื่อ 3 ตุลาคม 2542 แต่สุดท้าย 21 สิงหาคม 2549 อัยการสูงสุดในขณะนั้น นายพชร ยุติธรรมดำรง ก็มีคำสั่งถอนฟ้องคดีของพระธัมมชโย ด้วยเหตุผลดังนี้
“บัดนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า พระธัมมชโยกับพวก ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาตรงตามพระไตรปิฎกและนโยบายของสงฆ์แล้ว ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนาทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก ส่วนเรื่องทรัพย์สิน พระธัมมชโยกับพวกก็ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งที่ดินและเงินกว่า 959 ล้านบาท คืนแก่วัดพระธรรมกายแล้ว ดังนั้น การกระทำของพระธัมมชโยกับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ ครบถ้วนทุกประการแล้ว ประกอบกับขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า จึงเห็นว่า หากดำเนินคดีพระธัมมชโยกับพวกต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้การดำเนินคดีต่อไปยังไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องพระธัมมชโยกับพวก”
โดยก่อนที่อัยการสูงสุดจะมีการถอนฟ้อง ขณะนั้นทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทย ใช้วัดพระธรรมกายรวมพลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบ 8 หมื่นคน ภายใต้ชื่องาน “รวมใจทุกศาสนา พัฒนาท้องถิ่นไทย ถวายองค์ราชา ครองราชย์ 60 ปี” เมื่อ 17-18 กรกฎาคม 2549 และยังกล่าวชื่นชมความยิ่งใหญ่ของวัดพระธรรมกาย
จริง ๆ แล้วแม้ว่าอัยการจะสั่งฟ้องคดียักยอกเงินและรับของโจรของพระธัมมชโยไม่ว่าจะเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายนหรือวันอื่น ๆ ก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทราบผลของคดีโดยเร็ว เพราะต้องมีกระบวนการไต่สวนในชั้นศาลอีก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปี และน่าจะผ่านพ้นรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ไปแล้ว ความเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นได้เสมอ และต้องไม่ลืมว่าสายของวัดพระธรรมกายกับสายพรรคเพื่อไทยถือเป็นสายเดียวกัน
ดังนั้นโอกาสที่คดีของวัดพระธรรมกายจะจบลงเหมือนในปี 2549 ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน ทุกอย่างอยู่ที่ปัจจัยทางการเมือง การยืดคดีนี้ออกไปเพื่อให้เข้าสู่รัฐบาลใหม่ที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ย่อมเป็นผลบวกต่อพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย