บิ๊กดีลคิง เพาเวอร์ซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย 39% ที่รุกหนักต่อยอดธุรกิจดิวตี้ฟรี หลังประสบความสำเร็จปั้นเลสเตอร์คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก แต่ราคาซื้อยังเป็นปริศนา 4.20 บาท ต่ำกว่าราคาตลาดไม่น้อย ที่สำคัญก่อนหน้านี้ “สมคิด” เคยออกโรงให้การบินไทยซื้อ AAV 20% ตั้งแต่กุมภาพันธ์ ด้านคนการเมืองเผยก่อนดีลสำคัญมีการประสานให้เจ้าของตัวจริงขายออก
ความชัดเจนในเรื่องการเข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชียจากกลุ่มคิง เพาเวอร์ เมื่อ 13 มิถุนายน 2559 โดยนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) AAV หรือไทยแอร์เอเชีย ได้ขายหุ้นของบริษัทให้กับกลุ่มนายวิชัย ศรีวัฒนประภา จำนวน 1,891,588,286 หุ้น หรือ 39% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท ราคาหุ้นละ 4.20 บาท หรือประมาณ 7,944.67 ล้านบาท
นับเป็นการหาข้อยุติที่มีกระแสข่าวนี้มาเป็นเดือน และนับเป็นการต่อยอดธุรกิจของกลุ่มคิง เพาเวอร์ เจ้าพ่อธุรกิจดิวตี้ฟรีของเมืองไทย ที่ครองพื้นที่ตามสนามบินต่างๆ ในเมืองไทยและในต่างประเทศอย่างที่ฮ่องกงและกัมพูชา พร้อมทั้งเตรียมรุกกิจการสินค้าปลอดภาษีรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน
การต่อยอดธุรกิจของกลุ่มคิง เพาเวอร์ นับว่าเป็นความต่อเนื่องจากความสำเร็จในการเข้าไปซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ที่ประเทศอังกฤษ จากทีมระดับแชมเปียนชิป ก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดในพรีเมียร์ลีกแม้ฤดูกาลแรกจะจวนเจียนต่อการตกชั้นแต่ก็รอดมาได้ แต่ในฤดูกาลที่ผ่านมาสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกของอังกฤษได้ ชนิดที่หักปากกาเซียนทุกราย
นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการต่อยอดธุรกิจดิวตี้ฟรีทั้งในสนามบินและนอกสนามบินที่ลงตัว เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน อีกทั้งสายการบินแอร์เอเชีย มีเส้นทางบินในต่างประเทศหลายเส้นทาง การขนส่งผู้โดยสารทั้งขาไปและกลับจึงเท่ากับเป็นการสร้างลูกค้าให้กับธุรกิจดิวตี้ฟรี
รับซื้อต่ำ-ใครจะขาย
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นกล่าวว่า การซื้อขายครั้งนี้ก็เหมือนกับการซื้อขายหุ้นทั่วไปที่เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นใหญ่ 39% เพียงรายเดียว ไม่กระทบกับราคาหุ้นในตลาด ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ แต่ด้วยราคาที่รับซื้อที่ 4.20 บาท เทียบกับราคาปัจจุบันที่ 6.10 บาท คาดว่าคงไม่มีใครขายออกมา กลุ่มคิง เพาเวอร์ คงใช้เงินเพียงแค่ 7.9 พันล้านบาทเสนอซื้อจากธรรศพลฐ์เท่านั้น
แม้การซื้อขายดูจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลของผู้ซื้อที่สายการบินมักจะคู่กับธุรกิจดิวตี้ฟรี แต่ดีลนี้เป็นข่าวมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีการปฏิเสธมาตลอด สุดท้ายก็เกิดขึ้นจริง เห็นได้จากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ต้องออกมาชี้แจงภายในวันที่ 20 มิถุนายนนี้
ก่อนหน้านี้ทางบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น เคยชี้แจงว่าก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 บริษัทไม่เคยรับทราบข่าวและไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 บริษัทเคยสอบถามไปยังนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการของบริษัทแล้ว และได้รับแจ้งว่าไม่ได้มีการทำข้อตกลงใดๆ เกี่ยวกับการขายหุ้น
เรื่องนี้คงไม่มีผลอะไรมาก เพราะการขายหุ้นล็อตใหญ่อย่างนี้ต้องมีการเจรจากันมาก่อน เมื่อมีข่าวรั่วออกมามักจะปฏิเสธไว้ก่อน เพราะระหว่างนั้นข้อตกลงต่างๆ อาจยังไม่ลงตัว เมื่อทุกอย่างเป็นที่พอใจของผู้ซื้อและผู้ขายจึงประกาศออกมา
ขายตัดหน้าการบินไทย
แต่ดีลขายหุ้นของไทยแอร์เอเชีย หรือ AAV ในครั้งนี้ กลับมีข้อที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้หลังจากที่เกิดเหตุการณ์นักบินของสายการบินนกแอร์ ไม่พร้อมที่จะทำการบินเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2559 จนทำให้ผู้โดยสารตกเครื่องเป็นจำนวนมาก จนรัฐมนตรีในรัฐบาลต้องออกมาเร่งแก้ปัญหา
17 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีการหารือกันในโครงการอาเซียน คอนเนค พลัส ที ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน เชิญผู้บริหารสายการบินของไทยทั้งการบินไทย ไทยสมายล์ ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ แต่นกแอร์ไม่ได้เข้ามาร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมกันวางแผนการให้บริการในเมืองต่างๆ ของประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวี ที่ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว
หลังจากนั้นมีข่าวออกมาว่าจะให้บริษัท การบินไทย เข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย AAV ราว 20% โดยได้มอบหมายให้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ไปพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 เดือน และถ้าสภาพคล่องทางการเงินไม่พอจะให้กระทรวงการคลังเข้ามาดูแล
เรื่องดังกล่าวนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่ได้ขัดข้องอะไรที่จะให้การบินไทยเข้ามาถือหุ้น AAV ตามนโยบายของรองนายกฯ สมคิด ที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือกันขยายเส้นทางการบินให้ครอบคลุมในอาเซียนภายใต้โครงการอาเซียน คอนเนค พลัส ที และเรื่องนี้จะขอหารือกับนายจรัมพร
นี่คือความแปลกที่เกิดขึ้นกับดีลขายหุ้นของไทยแอร์เอเชีย เพราะก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้แสดงความจำนงที่จะขอถือหุ้น 20% ในไทยแอร์เอเชียมาก่อน ถัดจากนั้นอีก 4 เดือนกลับมีการขายหุ้น AAV ให้กับกลุ่มคิง เพาวเวอร์ ถึง 39% อีกทั้งวันที่มีการแสดงความจำนงให้การบินไทยซื้อไทยแอร์เอเชีย ราคาหุ้น AAV ปิดที่ 5.60 บาท เพิ่มจากวันก่อนหน้าซึ่งปิดตลาดที่ 5.35 บาท
ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน AAV อย่างธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ กลับขายให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ไปที่ราคา 4.20 บาท ได้เงินไป 7,944.67 ล้านบาท หากขายที่ราคา 5.50 บาทซึ่งเป็นราคาตลาด ผู้ขายจะได้เงินถึง 10,403.73 ล้านบาท ได้เงินเพิ่มขึ้น 2,459.06 ล้านบาท
แม้ว่าราคาขายจะเป็นเรื่องของการต่อรองกัน แต่โดยทั่วไปผู้ขายมักต้องการขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เหตุใดจึงยอมขายไปในราคาที่ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาดอยู่พอสมควร
ถือหุ้นแทนยากตรวจสอบ
คนที่เคยตามเรื่องสายการบินคงพอทราบว่า ไทยแอร์เอเชียเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ครั้งนั้นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเป็นรัฐมนตรีร่วมในรัฐบาลนั้น มีกลุ่มชินคอร์ปถือหุ้นราว 49% และหลังจากที่ทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ ไปจนเป็นดีลประวัติศาสตร์แล้ว ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2550 ได้ขายหุ้นในไทยแอร์เอเชียออกไป
ครั้งนั้นกลุ่มของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ได้เข้ามารับซื้อหุ้นดังกล่าวแทน โดยระบุว่าเงินที่ใช้ในการซื้อมาจากการกู้เงินจากธนาคารต่างประเทศ และได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือการถือหุ้นแทนทักษิณ ชินวัตร มาโดยตลอด อีกทั้งในบอร์ดบริหารของไทยแอร์เอเชียก็ไม่มีคนของชินคอร์ปเข้ามานั่งบริหาร
เรื่องอย่างนี้ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้เพราะตลาดหลักทรัพย์จะยึดตามเอกสารหลักฐานของผู้แสดงตนเป็นหลัก แต่ไม่สามารถลงไปตรวจสอบในเชิงลึกได้ว่าเป็นการถือหุ้นแทนกันหรือไม่ ซึ่งเป็นหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งปฏิบัติเหมือนกัน อีกทั้งยังเกรงว่าการลงไปตรวจสอบนั้นจะกระทบกับบรรยากาศในการลงทุน
ดังนั้นเรื่องการถือหุ้นแทนกันนั้นมีมาโดยตลอด สามารถทำได้ทั้งการใช้บุคคลอื่นถือหุ้นและทำธุรกรรมทุกอย่างแทนกัน หรืออาจใช้บริการของนอมินีในต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นแทน กรณีนี้ตรวจสอบยากเพราะจะมีเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่านายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ จะถือหุ้นแทนใคร แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อว่าธรรศพลฐ์จะเป็นผู้ถือหุ้นตัวจริง แต่เมื่อหลักฐานทุกอย่างเป็นแบบนั้นก็ต้องยึดตามเอกสาร
ขายแบบมีนัยยะ
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากสายการเมืองเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่ดีลขายหุ้นไทยแอร์เอเชียจะได้ข้อสรุปนั้น มีผู้นำของพรรคการเมืองรายหนึ่งที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทุกขั้วอำนาจ เดินทางไปพบกับเจ้าของหุ้นตัวจริงในต่างประเทศ เจรจาให้มีการขายหุ้นให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ที่ราคา 4.20 บาท ทั้งๆ ที่ราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 6 บาท
การไปอยู่ต่างประเทศนานๆ จะมีค่าใช้จ่ายสูง หากไม่มีรายได้จากทางอื่นเข้ามา เงินที่เคยมีก็จะลดลงไปเรื่อยๆ การขายหุ้นครั้งนี้ได้เงิน 8 พันล้านบาท นอกจากเอาไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีนัยยะอื่นอีก ประการแรกคือทิศทางการเมืองในประเทศไทยจากนี้ไป มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นแบบนี้ไปอีกนาน แม้จะเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อาจไม่มีการปล่อยให้พรรคการเมืองมีอิสระเหมือนที่ผ่านมา การลดความไม่แน่นอนด้านนี้จึงเป็นทางออกหนึ่ง
อีกประการหนึ่งถือเป็นการตัดโอกาสของการบินไทยที่เคยแสดงเจตนาจะเข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย 20% ก่อนหน้านี้ เรื่องนี้มีการคุยกันอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเมษายนเรื่อยมา หากจะมองว่าดีลนี้การบินไทยไม่มีเงินซื้อคงเป็นไปไม่ได้ เพราะกระทรวงการคลังเตรียมเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินอยู่ ราคาต่อหุ้นอาจจะสูงกว่า 5 บาท แต่ผู้ขายกลับเลือกที่จะรับแค่ 4.20 บาท
รองนายกฯ สมคิดก็ทราบดีว่าไทยแอร์เอเชียมีกำไร และต้องการฟื้นฟูการบินไทยให้สำเร็จ แม้จะมีสายการบินต้นทุนต่ำอย่างไทยสมายล์ แต่ก็มีคู่แข่งในประเทศอย่างไทยแอร์เอเชียและนกแอร์ รวมถึงไลอ้อนแอร์ แถมนกแอร์ยังไปร่วมมือกับ Scoot ของสิงคโปร์บินระหว่างประเทศ แม้การบินไทยจะถือหุ้นในนกแอร์ 39% แต่ไม่สามารถสั่งการใดๆ ได้ และเคยมีความคิดที่จะขายออกไปหลายครั้ง
ขณะที่การให้บริการระยะใกล้แถบประเทศเพื่อนบ้าน แอร์เอเชียมีเส้นทางบินที่ครอบคลุม หลากหลายและเป็นเส้นทางที่ทำเงินได้ ส่วนไทยสมายล์ยังเพิ่งเปิดทำการบินต่างประเทศไม่กี่เส้นทาง และยังเป็นเส้นทางที่ทับซ้อนกับรายอื่นที่ทำตลาดไว้ก่อนหน้านี้ อย่างตอนนี้มีการเปิดเส้นทางมาเก๊าและกัมพูชา ทั้ง 2 เส้นทางนั้นในทางปฏิบัติคนที่ไปฮ่องกงก็สามารถเดินทางต่อไปมาเก๊าเองได้สะดวกหรือมีทัวร์ที่จัดโปรแกรมควบคู่กันอยู่แล้ว หรือเส้นทางกัมพูชา สำหรับคนไทยจะเน้นไปที่การเดินทางโดยรถยนต์มากกว่า เพราะระยะทางไม่ไกล
เมื่อการบินไทยไม่ได้ไทยแอร์เอเชีย แผนที่จะกอบกู้การบินไทยด้วยการมีไทยแอร์เอเชียก็ต้องชะงักไปและยังถือเป็นการดิสเครดิตกันในทางการเมืองด้วยอีกทางหนึ่ง
ดังนั้นการขายหุ้นไทยแอร์เอเชียให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ครั้งนี้จึงมีนัยยะที่มากกว่าการขายหุ้นธรรมดา แม้เจ้าของตัวจริงจะไม่เปิดเผยตัวตนก็ตาม
ความชัดเจนในเรื่องการเข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชียจากกลุ่มคิง เพาเวอร์ เมื่อ 13 มิถุนายน 2559 โดยนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) AAV หรือไทยแอร์เอเชีย ได้ขายหุ้นของบริษัทให้กับกลุ่มนายวิชัย ศรีวัฒนประภา จำนวน 1,891,588,286 หุ้น หรือ 39% ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงของบริษัท ราคาหุ้นละ 4.20 บาท หรือประมาณ 7,944.67 ล้านบาท
นับเป็นการหาข้อยุติที่มีกระแสข่าวนี้มาเป็นเดือน และนับเป็นการต่อยอดธุรกิจของกลุ่มคิง เพาเวอร์ เจ้าพ่อธุรกิจดิวตี้ฟรีของเมืองไทย ที่ครองพื้นที่ตามสนามบินต่างๆ ในเมืองไทยและในต่างประเทศอย่างที่ฮ่องกงและกัมพูชา พร้อมทั้งเตรียมรุกกิจการสินค้าปลอดภาษีรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน
การต่อยอดธุรกิจของกลุ่มคิง เพาเวอร์ นับว่าเป็นความต่อเนื่องจากความสำเร็จในการเข้าไปซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ที่ประเทศอังกฤษ จากทีมระดับแชมเปียนชิป ก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดในพรีเมียร์ลีกแม้ฤดูกาลแรกจะจวนเจียนต่อการตกชั้นแต่ก็รอดมาได้ แต่ในฤดูกาลที่ผ่านมาสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกของอังกฤษได้ ชนิดที่หักปากกาเซียนทุกราย
นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการต่อยอดธุรกิจดิวตี้ฟรีทั้งในสนามบินและนอกสนามบินที่ลงตัว เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน อีกทั้งสายการบินแอร์เอเชีย มีเส้นทางบินในต่างประเทศหลายเส้นทาง การขนส่งผู้โดยสารทั้งขาไปและกลับจึงเท่ากับเป็นการสร้างลูกค้าให้กับธุรกิจดิวตี้ฟรี
รับซื้อต่ำ-ใครจะขาย
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นกล่าวว่า การซื้อขายครั้งนี้ก็เหมือนกับการซื้อขายหุ้นทั่วไปที่เสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นใหญ่ 39% เพียงรายเดียว ไม่กระทบกับราคาหุ้นในตลาด ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ แต่ด้วยราคาที่รับซื้อที่ 4.20 บาท เทียบกับราคาปัจจุบันที่ 6.10 บาท คาดว่าคงไม่มีใครขายออกมา กลุ่มคิง เพาเวอร์ คงใช้เงินเพียงแค่ 7.9 พันล้านบาทเสนอซื้อจากธรรศพลฐ์เท่านั้น
แม้การซื้อขายดูจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลของผู้ซื้อที่สายการบินมักจะคู่กับธุรกิจดิวตี้ฟรี แต่ดีลนี้เป็นข่าวมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา และมีการปฏิเสธมาตลอด สุดท้ายก็เกิดขึ้นจริง เห็นได้จากการที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ให้นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ต้องออกมาชี้แจงภายในวันที่ 20 มิถุนายนนี้
ก่อนหน้านี้ทางบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น เคยชี้แจงว่าก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 13 มิถุนายน 2559 บริษัทไม่เคยรับทราบข่าวและไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ รวมทั้งเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 บริษัทเคยสอบถามไปยังนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ซึ่งเป็นทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการของบริษัทแล้ว และได้รับแจ้งว่าไม่ได้มีการทำข้อตกลงใดๆ เกี่ยวกับการขายหุ้น
เรื่องนี้คงไม่มีผลอะไรมาก เพราะการขายหุ้นล็อตใหญ่อย่างนี้ต้องมีการเจรจากันมาก่อน เมื่อมีข่าวรั่วออกมามักจะปฏิเสธไว้ก่อน เพราะระหว่างนั้นข้อตกลงต่างๆ อาจยังไม่ลงตัว เมื่อทุกอย่างเป็นที่พอใจของผู้ซื้อและผู้ขายจึงประกาศออกมา
ขายตัดหน้าการบินไทย
แต่ดีลขายหุ้นของไทยแอร์เอเชีย หรือ AAV ในครั้งนี้ กลับมีข้อที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้หลังจากที่เกิดเหตุการณ์นักบินของสายการบินนกแอร์ ไม่พร้อมที่จะทำการบินเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2559 จนทำให้ผู้โดยสารตกเครื่องเป็นจำนวนมาก จนรัฐมนตรีในรัฐบาลต้องออกมาเร่งแก้ปัญหา
17 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีการหารือกันในโครงการอาเซียน คอนเนค พลัส ที ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน เชิญผู้บริหารสายการบินของไทยทั้งการบินไทย ไทยสมายล์ ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ แต่นกแอร์ไม่ได้เข้ามาร่วมประชุมด้วย เพื่อร่วมกันวางแผนการให้บริการในเมืองต่างๆ ของประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวี ที่ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว
หลังจากนั้นมีข่าวออกมาว่าจะให้บริษัท การบินไทย เข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย AAV ราว 20% โดยได้มอบหมายให้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ไปพิจารณาให้เสร็จภายใน 2 เดือน และถ้าสภาพคล่องทางการเงินไม่พอจะให้กระทรวงการคลังเข้ามาดูแล
เรื่องดังกล่าวนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่ได้ขัดข้องอะไรที่จะให้การบินไทยเข้ามาถือหุ้น AAV ตามนโยบายของรองนายกฯ สมคิด ที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือกันขยายเส้นทางการบินให้ครอบคลุมในอาเซียนภายใต้โครงการอาเซียน คอนเนค พลัส ที และเรื่องนี้จะขอหารือกับนายจรัมพร
นี่คือความแปลกที่เกิดขึ้นกับดีลขายหุ้นของไทยแอร์เอเชีย เพราะก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้แสดงความจำนงที่จะขอถือหุ้น 20% ในไทยแอร์เอเชียมาก่อน ถัดจากนั้นอีก 4 เดือนกลับมีการขายหุ้น AAV ให้กับกลุ่มคิง เพาวเวอร์ ถึง 39% อีกทั้งวันที่มีการแสดงความจำนงให้การบินไทยซื้อไทยแอร์เอเชีย ราคาหุ้น AAV ปิดที่ 5.60 บาท เพิ่มจากวันก่อนหน้าซึ่งปิดตลาดที่ 5.35 บาท
ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน AAV อย่างธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ กลับขายให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ไปที่ราคา 4.20 บาท ได้เงินไป 7,944.67 ล้านบาท หากขายที่ราคา 5.50 บาทซึ่งเป็นราคาตลาด ผู้ขายจะได้เงินถึง 10,403.73 ล้านบาท ได้เงินเพิ่มขึ้น 2,459.06 ล้านบาท
แม้ว่าราคาขายจะเป็นเรื่องของการต่อรองกัน แต่โดยทั่วไปผู้ขายมักต้องการขายให้ได้ราคาสูงที่สุด เหตุใดจึงยอมขายไปในราคาที่ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาดอยู่พอสมควร
ถือหุ้นแทนยากตรวจสอบ
คนที่เคยตามเรื่องสายการบินคงพอทราบว่า ไทยแอร์เอเชียเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ครั้งนั้นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เคยเป็นรัฐมนตรีร่วมในรัฐบาลนั้น มีกลุ่มชินคอร์ปถือหุ้นราว 49% และหลังจากที่ทักษิณขายหุ้นชินคอร์ปให้กับกลุ่มเทมาเส็กจากสิงคโปร์ ไปจนเป็นดีลประวัติศาสตร์แล้ว ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2550 ได้ขายหุ้นในไทยแอร์เอเชียออกไป
ครั้งนั้นกลุ่มของนายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ได้เข้ามารับซื้อหุ้นดังกล่าวแทน โดยระบุว่าเงินที่ใช้ในการซื้อมาจากการกู้เงินจากธนาคารต่างประเทศ และได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องหรือการถือหุ้นแทนทักษิณ ชินวัตร มาโดยตลอด อีกทั้งในบอร์ดบริหารของไทยแอร์เอเชียก็ไม่มีคนของชินคอร์ปเข้ามานั่งบริหาร
เรื่องอย่างนี้ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้เพราะตลาดหลักทรัพย์จะยึดตามเอกสารหลักฐานของผู้แสดงตนเป็นหลัก แต่ไม่สามารถลงไปตรวจสอบในเชิงลึกได้ว่าเป็นการถือหุ้นแทนกันหรือไม่ ซึ่งเป็นหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์ทุกแห่งปฏิบัติเหมือนกัน อีกทั้งยังเกรงว่าการลงไปตรวจสอบนั้นจะกระทบกับบรรยากาศในการลงทุน
ดังนั้นเรื่องการถือหุ้นแทนกันนั้นมีมาโดยตลอด สามารถทำได้ทั้งการใช้บุคคลอื่นถือหุ้นและทำธุรกรรมทุกอย่างแทนกัน หรืออาจใช้บริการของนอมินีในต่างประเทศเข้ามาถือหุ้นแทน กรณีนี้ตรวจสอบยากเพราะจะมีเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่านายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ จะถือหุ้นแทนใคร แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อว่าธรรศพลฐ์จะเป็นผู้ถือหุ้นตัวจริง แต่เมื่อหลักฐานทุกอย่างเป็นแบบนั้นก็ต้องยึดตามเอกสาร
ขายแบบมีนัยยะ
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากสายการเมืองเล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่ดีลขายหุ้นไทยแอร์เอเชียจะได้ข้อสรุปนั้น มีผู้นำของพรรคการเมืองรายหนึ่งที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับทุกขั้วอำนาจ เดินทางไปพบกับเจ้าของหุ้นตัวจริงในต่างประเทศ เจรจาให้มีการขายหุ้นให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ที่ราคา 4.20 บาท ทั้งๆ ที่ราคาตลาดอยู่ที่ประมาณ 6 บาท
การไปอยู่ต่างประเทศนานๆ จะมีค่าใช้จ่ายสูง หากไม่มีรายได้จากทางอื่นเข้ามา เงินที่เคยมีก็จะลดลงไปเรื่อยๆ การขายหุ้นครั้งนี้ได้เงิน 8 พันล้านบาท นอกจากเอาไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีนัยยะอื่นอีก ประการแรกคือทิศทางการเมืองในประเทศไทยจากนี้ไป มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นแบบนี้ไปอีกนาน แม้จะเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่อาจไม่มีการปล่อยให้พรรคการเมืองมีอิสระเหมือนที่ผ่านมา การลดความไม่แน่นอนด้านนี้จึงเป็นทางออกหนึ่ง
อีกประการหนึ่งถือเป็นการตัดโอกาสของการบินไทยที่เคยแสดงเจตนาจะเข้าซื้อหุ้นไทยแอร์เอเชีย 20% ก่อนหน้านี้ เรื่องนี้มีการคุยกันอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเมษายนเรื่อยมา หากจะมองว่าดีลนี้การบินไทยไม่มีเงินซื้อคงเป็นไปไม่ได้ เพราะกระทรวงการคลังเตรียมเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินอยู่ ราคาต่อหุ้นอาจจะสูงกว่า 5 บาท แต่ผู้ขายกลับเลือกที่จะรับแค่ 4.20 บาท
รองนายกฯ สมคิดก็ทราบดีว่าไทยแอร์เอเชียมีกำไร และต้องการฟื้นฟูการบินไทยให้สำเร็จ แม้จะมีสายการบินต้นทุนต่ำอย่างไทยสมายล์ แต่ก็มีคู่แข่งในประเทศอย่างไทยแอร์เอเชียและนกแอร์ รวมถึงไลอ้อนแอร์ แถมนกแอร์ยังไปร่วมมือกับ Scoot ของสิงคโปร์บินระหว่างประเทศ แม้การบินไทยจะถือหุ้นในนกแอร์ 39% แต่ไม่สามารถสั่งการใดๆ ได้ และเคยมีความคิดที่จะขายออกไปหลายครั้ง
ขณะที่การให้บริการระยะใกล้แถบประเทศเพื่อนบ้าน แอร์เอเชียมีเส้นทางบินที่ครอบคลุม หลากหลายและเป็นเส้นทางที่ทำเงินได้ ส่วนไทยสมายล์ยังเพิ่งเปิดทำการบินต่างประเทศไม่กี่เส้นทาง และยังเป็นเส้นทางที่ทับซ้อนกับรายอื่นที่ทำตลาดไว้ก่อนหน้านี้ อย่างตอนนี้มีการเปิดเส้นทางมาเก๊าและกัมพูชา ทั้ง 2 เส้นทางนั้นในทางปฏิบัติคนที่ไปฮ่องกงก็สามารถเดินทางต่อไปมาเก๊าเองได้สะดวกหรือมีทัวร์ที่จัดโปรแกรมควบคู่กันอยู่แล้ว หรือเส้นทางกัมพูชา สำหรับคนไทยจะเน้นไปที่การเดินทางโดยรถยนต์มากกว่า เพราะระยะทางไม่ไกล
เมื่อการบินไทยไม่ได้ไทยแอร์เอเชีย แผนที่จะกอบกู้การบินไทยด้วยการมีไทยแอร์เอเชียก็ต้องชะงักไปและยังถือเป็นการดิสเครดิตกันในทางการเมืองด้วยอีกทางหนึ่ง
ดังนั้นการขายหุ้นไทยแอร์เอเชียให้กับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ครั้งนี้จึงมีนัยยะที่มากกว่าการขายหุ้นธรรมดา แม้เจ้าของตัวจริงจะไม่เปิดเผยตัวตนก็ตาม