นักการเงินแนะยุคดอกเบี้ยต่ำ คนมีเงินฝากต้องก้มหน้ารับสภาพบัญชีเงินฝากให้แค่ 1.5-1.7% กองทุนตราสารหนี้อีกหนึ่งทางออกผลตอบแทนใกล้เคียงแต่ไม่เสียดอกเบี้ย ส่วนทางเลือกอื่นต้องพร้อมเสี่ยงอย่างหุ้นกู้เอกชน แต่ไม่คุ้มครองเหมือนเงินฝาก สุดท้ายหากคิดว่าดวงดีมีโชคสลากออมสินและธ.ก.ส.เปิดขาย ไม่กินทุน แม้ดอกเบี้ยเพียง 0.83% ถ้าโชคดีได้รางวัลใหญ่ก็คุ้ม
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 23 มีนาคม 2559 มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี นับเป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศจะไม่ขยับขึ้นไปได้อีก หากไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เข้ามากระทบตลาดเงิน
ความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ให้เหตุผลในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่า ที่ประเมินไว้เดิม แต่เห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับลดลงไปได้อีก จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
นับเป็นผลต่อเนื่องจากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์ในอัตรา -0.1% จะคิดเฉพาะสภาพคล่องที่เกินกว่าระดับของทุนสำรองที่ BOJ กำหนดไว้ เงินในโครงการเพิ่มสภาพคล่องดอกเบี้ย 0.1% และเงินที่ไม่เกินเกณฑ์กันสำรองดอกเบี้ย 0% เมื่อ 29 มกราคม 2559 และมีผลบังคับใช้ 16 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
มีเงินฝากต้องก้มหน้าทน
นักวางแผนทางการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า ยังดีที่อัตราดอกเบี้ยบ้านเรายังไม่ปรับลดลงไปมากกว่านี้ แต่ในอนาคตหากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศแย่กว่าที่คิด ดอกเบี้ยก็อาจปรับลดลงได้อีก
จากการสำรวจตลาดดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงเวลานี้พบว่า ตอนนี้โปรโมชันเงินฝากประจำดอกเบี้ยพิเศษอยู่ที่ประมาณ 1.5-1.7% เท่านั้น กับระยะเวลาฝากราว 7-9 เดือน โดยธนาคารเลือกที่จะลดความเสี่ยงด้วยการไม่ให้ฝากเงินระยะยาวหรือบางแห่งกำหนดวงเงินฝากขั้นต่ำไว้สูงเช่น 2-3 แสนบาท
อย่างตอนนี้มีโปรโมชันเงินฝากของธนาคารกรุงไทยฉลองครบรอบ 50 ปี ออก 2 ผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำ KTB Birthday ระยะเวลาฝาก 8 เดือน ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 1.65% ต่อปี สำหรับวงเงินฝาก 5 หมื่นบาทขึ้นไป ระยะเวลาฝาก 5 เดือน จ่ายอัตรา 1.60% ต่อปี สำหรับวงเงินฝาก 5 หมื่นบาทขึ้นไปเช่นกัน รับฝากถึง 31 มีนาคมนี้
ธนาคารออมสิน เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 4 เดือน และ 9 เดือน ดอกเบี้ย 1.45% ต่อปี และ 1.70% ต่อปี ดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ถูกหักภาษี เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท สิ้นสุดการรับฝาก 31 มีนาคม 2559
ธนาคารเกียรตินาคิน เงินฝากประจำพิเศษ 72 เดือน ดอกเบี้ย 2.5% ขั้นต่ำ 5 พันบาท ถอนก่อน 3 เดือนไม่ได้ดอกเบี้ย ถอนหลัง 3 เดือนไม่ครบกำหนดได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ
ตอนนี้กลุ่มที่ฝากเงินต้องทำใจรับสภาพดอกเบี้ยในอัตรานี้ ซึ่งดอกเบี้ยที่ 1.5-1.7% นั้นหากหักภาษีที่ 15% แล้วจะเหลือเพียง 1.275-1.445% เท่านั้น นับว่ายากมากที่จะหาผลตอบแทนจากกลุ่มเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่านี้ ทั้งๆ ที่ช่วงปลายปี 2558 เรายังได้เห็นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 3% หรือเงินฝาก 60 เดือน ดอกเบี้ย 4% ของธนาคารกรุงไทย
แม้บางธนาคารจะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้บ้าง แต่จะเป็นการขายพ่วงกับประกันชีวิต โดยให้ดอกเบี้ยสูงเพียงแค่ระยะเวลาราว 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของแต่ละธนาคาร ส่วนบริษัทเงินทุนที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์อาจเสนออัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อล่อใจ แต่ท่านต้องถามตัวเองว่าพร้อมจะฝากที่บริษัทเหล่านี้หรือไม่ หายากหรือไม่ มีสาขาที่ไหนบ้าง หากสะดวกก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หรืออาจมีสหกรณ์ออมทรัพย์ที่รับฝากเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร แต่ก็ควรพิจารณาเรื่องของความมั่นคงด้วยเช่นกัน
ดอกเบี้ยเงินฝากถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของผู้มีเงินออมขึ้นอยู่กับวัยของผู้ออม หากเป็นกลุ่มเกษียณอายุดอกผลในส่วนนี้มักถูกวางไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานหรือวัยเรียนดอกเบี้ยเงินฝากถือเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการออม เพื่อเพิ่มพูนเงินออมที่มีอยู่ให้งอกเงยมากยิ่งขึ้น
เมื่อผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำย่อมกระทบต่อวิธีในการดำรงชีพของผู้คนอีกหลายราย สำหรับข้าราชการยังโชคดีเพราะรัฐบาลมีการเพิ่มเงินพิเศษหรือเพิ่มเงินเกษียณให้ก็พอจะชดเชยกันได้บ้าง แต่ภาคประชาชนทั่วไปต้องยอมรับความจริงว่าไม่มีตัวช่วยอื่นเข้ามา
ต้องการดอกสูงต้องพร้อมเสี่ยง
สำหรับทางเลือกอื่นภายใต้ระดับความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝากนั้น ตอนนี้มีกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่เสนอขายกันออกมา 3-6 เดือน ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝากคือราว 1.6-1.7% แต่ข้อดีคือไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนกับบัญชีเงินฝากประจำ สามารถติดต่อได้กับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง
ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้น มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ 9 เดือนของธนาคารออมสินที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน หากมีเงินฝากมากหากคำนวณแล้วได้ดอกเบี้ยเกิน 2 หมื่นบาทควรให้น้ำหนักไปที่กองทุนรวมมากกว่า เพราะไม่ติดข้อกฎหมายด้านภาษี
ส่วนผู้ที่ต้องการได้ผลตอบแทนมากกว่านี้ เช่น อยากได้ดอกเบี้ย 3% ขึ้นไป มีหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่เสนอขายอยู่ในเวลานี้ แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนกับการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์
อย่างบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทรวม 3 ชุด วงเงินรวมไม่เกิน 5,445 ล้านบาท โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ระยะเวลาเสนอขายระหว่างวันที่ 29 -31 มีนาคม 2559 ผ่านธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ซึ่งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ 5 ปี ดอกเบี้ย 4.35% อายุ 6 ปี ดอกเบี้ย 4.6% อายุ 7 ปี ดอกเบี้ย 4.8% อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อยู่ในเกณฑ์ BBB+ แนวโน้มคงที่ (stable) โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559
และยังมีหุ้นกู้ของบริษัทอื่นๆ ที่ทยอยออกมาเสนอขายให้กับผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมและยอมรับระดับความเสี่ยงได้
สลากไม่กินทุน-ลุ้นโชค
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยง นั่นคือการออมเงินในรูปของสลาก ตอนนี้ธนาคารออมสินมีสลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี งวดที่ 84 ออกมา หน่วยละ 50 บาท อายุ 3 ปี มีสิทธิถูกรางวัลทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 36 เดือน รางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลละ 10 ล้านบาท 3 รางวัล และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ฝากครบอายุรับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย หน่วยละ 51.25 บาท เงินรางวัลและดอกเบี้ยของบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ออกสลากออมทรัพย์ชุดใหม่ “ชุดกล้วยไม้นานาชาติ” หน่วยละ 500 บาท เริ่มรับฝาก 18 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป อายุการรับฝาก 3 ปี ครบกำหนดถอนคืนเงินฝากพร้อมกันในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ออกรางวัลครั้งแรกในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 รวม 36 ครั้ง ผู้ที่ฝากจนถึงวันครบกำหนด ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยหน่วยละ 12.50 บาท (ร้อยละ 0.83 ต่อปี) ผู้ที่ถอนคืนก่อนครบกำหนดธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ย รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล รางวัลละ 20 ล้านบาท
การออมในรูปแบบนี้คล้ายกับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่สลากออมทรัพย์ของทั้ง 2 ธนาคารเหนือกว่าตรงที่หากไม่ถูกรางวัล เงินต้นยังคงอยู่เท่าเดิมและได้ดอกเบี้ยอีกเล็กน้อย เดิมของออมสินเคยมีสลาก 5 ปีออกมา ตอนนี้เหลือเพียงแค่สลาก 3 ปีเท่านั้นของทั้ง 2 ธนาคาร
ผลตอบแทนกรณีไม่ถูกรางวัลเลยของทั้ง 2 ธนาคาร เมื่อครบกำหนดจะได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 0.83% ต่อปี เดิมออมสินให้ดอกเบี้ย 1% ในงวด 83 เพิ่งปรับลดลงมาในงวด 84 ผลตอบแทนที่เหลือเป็นเรื่องของโชคแต่ละบุคคลว่าจะถูกรางวัลใด
ความต่างของสลากออมทรัพย์ทั้ง 2 ออมสินขายหน่วยละ 50 บาท ธ.ก.ส.หน่วยละ 500 บาท หากซื้อด้วยวงเงิน 5 แสนบาทจะถูกเลขท้ายรางวัลต่ำสุดทุกงวด ผลตอบแทนที่ได้ประมาณ 1.55-1.79% หากซื้อ 5 ล้านบาทได้ผลตอบแทนราว 1.69-1.87%
นอกจากนี้สลากออมสินซื้อแล้ว ลุ้นรางวัลได้ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือนทันที และครบกำหนตรงกับวันที่ซื้อในอีก 3 ปี ส่วนของ ธ.ก.ส.เปิดขายตั้งแต่ 18 มีนาคม แต่ออกรางวัลครั้งแรก 16 มิถุนายน หมายความว่าใครที่ซื้อตั้งแต่เดือนมีนาคมจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลยราว 3 เดือน แต่ ธ.ก.ส. ก็มีการจูงใจด้วยการออกรางวัลพิเศษ 12 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท เดือนเมษายน 3 รางวัล พฤษภาคม 4 รางวัล และมิถุนายน 5 รางวัล
สำหรับผู้ที่ไถ่ถอนก่อนกำหนดของ ธ.ก.ส.จะไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่ของออมสินให้ดอกเบี้ยตามปีที่ถือครอง
หากพิจารณาในรายละเอียดของการซื้อสลากออมทรัพย์ของทั้ง 2 ธนาคาร ส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อมักจะเปิดบัญชีออมทรัพย์ได้คู่กันเพื่อสะดวกในการรับรางวัล หากถูกรางวัลก็โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ให้ทันทีและเมื่อครบกำหนดธนาคารก็โอนเงินต้นไปที่บัญชีนี้เช่นกัน
ในกรณีของ ธ.ก.ส.บัญชีออมทรัพย์ที่คู่กับสลากนั้น ส่วนใหญ่ธนาคารจะแนะนำให้เปิดบัญชีออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ขณะที่บัญชีออมทรัพย์ปกติได้ดอกเบี้ย 0.5%
“ตรงนี้ลูกค้าก็เลือกได้ว่าจะให้โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ปกติหรือออมทรัพย์ทวีโชค จริงๆ แล้วบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคให้ดอกเบี้ย 0.75% แต่ธนาคารตัดเอา 0.5% ไปทำเป็นรางวัลแจกให้กับผู้ที่เปิดบัญชีนี้ จึงเหลือผลตอบแทนเพียง 0.25% ลูกค้าที่เปิดบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคก็มีโอกาสลุ้นรางวัลที่นอกเหนือไปจากสลาก 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกสาขาที่ขายสลากจะหารางวัลมาแล้วสุ่มผู้โชคดี รางวัลใหญ่เป็นมอเตอร์ไซค์ และลุ้นอีกรอบจากทางสำนักงานใหญ่ที่เป็นรถยนต์ แต่บัญชีออมทรัพย์ปกติดอกเบี้ย 0.5% นั้นจะไม่ได้ลุ้นอะไรเลย” พนักงานของ ธ.ก.ส. สาขาแห่งหนึ่งอธิบาย
รางวัลใหญ่อยู่ที่ดวง
ส่วนโอกาสในการถูกรางวัลใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับโชคของผู้ซื้อ บางคนซื้อหลักล้านบาทถูกแต่เลขท้ายอย่างเดียวก็มี บางรายซื้อหลักหมื่นต้นๆ ถูกรางวัลใหญ่ก็มีเช่นกัน สมมติว่าถูกรางวัลเลขท้ายคำนวณแล้วได้ผลตอบแทนราว 1.5% บวกกับตัวดอกเบี้ยที่ 0.83% ผลตอบแทนที่ได้รวมแล้ว 2.33% ไม่ต้องหักภาษี ก็ถือว่าผลตอบแทนที่ได้เหนือกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ หากโชคดีกว่านั้นถูกรางวัลที่ใหญ่ขึ้นไปผลตอบแทนก็จะมากขึ้น
หากกล่าวเฉพาะรางวัลใหญ่อย่างรางวัลที่ 1 สลากทั้ง 2 ธนาคารจะมีเงื่อนไขในการถูกรางวัล มีความแตกต่างกันคือของ ธ.ก.ส.จะมีการสุ่มหมวดในการรับรางวัลที่ 1 ซึ่งสลากแต่ละชุดของ ธ.ก.ส. จะมี 10 หมวด ส่วนสลากของออมสินจะมีทั้งการสุ่มงวดและหมวดอักษร เฉพาะหมวดอักษรในแต่ละงวดจะเริ่มตั้งแต่พยัญชนะไทยเรื่อยไปแต่ไม่ครบทุกตัวอักษร และต่อด้วยภาษาอังกฤษเรื่อยๆ ส่วนงวดที่ใช้ออกรางวัลก็จะสุ่มตั้งแต่งวด 58 จนถึงงวดที่เสนอขายในปัจจุบันคืองวดที่ 84
ดังนั้นในทางสถิติแล้วโอกาสถูกรางวัลใหญ่ของ ธ.ก.ส.อาจมีมากกว่า เพราะมีเพียงแค่ 10 หมวดในการสุ่ม ส่วนของออมสินมีการสุ่มทั้งงวดและหมวดอักษร คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ซื้อเองว่าจะเลือกค่ายใด เพราะรางวัลที่ 1 ของ ธ.ก.ส. 20 ล้านบาทมีรางวัลเดียว ของออมสินมี 3 รางวัล รางวัลละ 10 ล้าน และราคาสลากก็ต่างกัน 500 บาทกับ 50 บาท
อีกทั้งรางวัลที่รองลงมาอย่างรางวัลที่ 1 ต่างหมวดต่างอักษรของออมสินให้ 1 หมื่นบาท ของ ธ.ก.ส. 3 แสนให้กับ 9 หมวด รางวัลที่ 2 ธ.ก.ส.ให้ 1 แสน 3 รางวัล สลากออมสินให้ 1 ล้าน 2 รางวัล แต่สุ่มงวดและหมวดเหมือนรางวัลที่ 1
“ทุกอย่างอยู่ที่โชค สลากบางรุ่นเราก็ถูกแค่เลขท้ายเท่านั้น แต่บางรุ่นก็ได้รางวัลที่สูงกว่าเลขท้ายบ้าง ตอนนั้นซื้อสลากอายุ 3 ปี 1 แสนบาท ถูกรางวัล 2 หมื่นบาท คิดเป็นผลตอบแทนเฉพาะกรณีนี้ก็ราว 6.67% ต่อปี ไม่นับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดและรางวัลเลขท้ายที่ถูกอีกส่วนหนึ่ง” หนึ่งในผู้ซื้อสลากรายหนึ่งกล่าว
เรื่องอย่างนี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าควรจะซื้อแบบใด หากซื้อเพื่อเน้นถูกรางวัลเลขท้ายก็ควรซื้อในวงเงินสูงในครั้งเดียวกันเพื่อให้เลขสลากติดกัน เช่น ซื้อ 5 แสนบาทจะถูกรางวัลเลขท้าย(ต่ำสุด) ทุกงวด รางวัลอื่นต้องวัดดวงกันอีกครั้ง
แต่ในความน่าจะเป็น การทยอยซื้อสลากเป็นล็อตๆ เพื่อให้ตัวเลขหรือหมวดแตกต่างกัน ย่อมช่วยกระจายโอกาสของการถูกรางวัลได้ดีกว่า แต่ตรงนี้เป็นเพียงเรื่องของความน่าจะเป็นในทางสถิติเท่านั้น ทุกอย่างอยู่ที่โชคของแต่ละบุคคล
ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 23 มีนาคม 2559 มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 ต่อปี นับเป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศจะไม่ขยับขึ้นไปได้อีก หากไม่มีเหตุการณ์สำคัญที่เข้ามากระทบตลาดเงิน
ความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ให้เหตุผลในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แม้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่า ที่ประเมินไว้เดิม แต่เห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่ามีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับลดลงไปได้อีก จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
นับเป็นผลต่อเนื่องจากการที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารพาณิชย์ในอัตรา -0.1% จะคิดเฉพาะสภาพคล่องที่เกินกว่าระดับของทุนสำรองที่ BOJ กำหนดไว้ เงินในโครงการเพิ่มสภาพคล่องดอกเบี้ย 0.1% และเงินที่ไม่เกินเกณฑ์กันสำรองดอกเบี้ย 0% เมื่อ 29 มกราคม 2559 และมีผลบังคับใช้ 16 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป
มีเงินฝากต้องก้มหน้าทน
นักวางแผนทางการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า ยังดีที่อัตราดอกเบี้ยบ้านเรายังไม่ปรับลดลงไปมากกว่านี้ แต่ในอนาคตหากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศแย่กว่าที่คิด ดอกเบี้ยก็อาจปรับลดลงได้อีก
จากการสำรวจตลาดดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงเวลานี้พบว่า ตอนนี้โปรโมชันเงินฝากประจำดอกเบี้ยพิเศษอยู่ที่ประมาณ 1.5-1.7% เท่านั้น กับระยะเวลาฝากราว 7-9 เดือน โดยธนาคารเลือกที่จะลดความเสี่ยงด้วยการไม่ให้ฝากเงินระยะยาวหรือบางแห่งกำหนดวงเงินฝากขั้นต่ำไว้สูงเช่น 2-3 แสนบาท
อย่างตอนนี้มีโปรโมชันเงินฝากของธนาคารกรุงไทยฉลองครบรอบ 50 ปี ออก 2 ผลิตภัณฑ์เงินฝากประจำ KTB Birthday ระยะเวลาฝาก 8 เดือน ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 1.65% ต่อปี สำหรับวงเงินฝาก 5 หมื่นบาทขึ้นไป ระยะเวลาฝาก 5 เดือน จ่ายอัตรา 1.60% ต่อปี สำหรับวงเงินฝาก 5 หมื่นบาทขึ้นไปเช่นกัน รับฝากถึง 31 มีนาคมนี้
ธนาคารออมสิน เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 4 เดือน และ 9 เดือน ดอกเบี้ย 1.45% ต่อปี และ 1.70% ต่อปี ดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ถูกหักภาษี เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท สิ้นสุดการรับฝาก 31 มีนาคม 2559
ธนาคารเกียรตินาคิน เงินฝากประจำพิเศษ 72 เดือน ดอกเบี้ย 2.5% ขั้นต่ำ 5 พันบาท ถอนก่อน 3 เดือนไม่ได้ดอกเบี้ย ถอนหลัง 3 เดือนไม่ครบกำหนดได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์ปกติ
ตอนนี้กลุ่มที่ฝากเงินต้องทำใจรับสภาพดอกเบี้ยในอัตรานี้ ซึ่งดอกเบี้ยที่ 1.5-1.7% นั้นหากหักภาษีที่ 15% แล้วจะเหลือเพียง 1.275-1.445% เท่านั้น นับว่ายากมากที่จะหาผลตอบแทนจากกลุ่มเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่านี้ ทั้งๆ ที่ช่วงปลายปี 2558 เรายังได้เห็นพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 ปี ดอกเบี้ย 3% หรือเงินฝาก 60 เดือน ดอกเบี้ย 4% ของธนาคารกรุงไทย
แม้บางธนาคารจะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่านี้บ้าง แต่จะเป็นการขายพ่วงกับประกันชีวิต โดยให้ดอกเบี้ยสูงเพียงแค่ระยะเวลาราว 6 เดือนเท่านั้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของแต่ละธนาคาร ส่วนบริษัทเงินทุนที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์อาจเสนออัตราดอกเบี้ยสูงเพื่อล่อใจ แต่ท่านต้องถามตัวเองว่าพร้อมจะฝากที่บริษัทเหล่านี้หรือไม่ หายากหรือไม่ มีสาขาที่ไหนบ้าง หากสะดวกก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หรืออาจมีสหกรณ์ออมทรัพย์ที่รับฝากเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร แต่ก็ควรพิจารณาเรื่องของความมั่นคงด้วยเช่นกัน
ดอกเบี้ยเงินฝากถือเป็นรายได้ส่วนหนึ่งของผู้มีเงินออมขึ้นอยู่กับวัยของผู้ออม หากเป็นกลุ่มเกษียณอายุดอกผลในส่วนนี้มักถูกวางไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานหรือวัยเรียนดอกเบี้ยเงินฝากถือเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการออม เพื่อเพิ่มพูนเงินออมที่มีอยู่ให้งอกเงยมากยิ่งขึ้น
เมื่อผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำย่อมกระทบต่อวิธีในการดำรงชีพของผู้คนอีกหลายราย สำหรับข้าราชการยังโชคดีเพราะรัฐบาลมีการเพิ่มเงินพิเศษหรือเพิ่มเงินเกษียณให้ก็พอจะชดเชยกันได้บ้าง แต่ภาคประชาชนทั่วไปต้องยอมรับความจริงว่าไม่มีตัวช่วยอื่นเข้ามา
ต้องการดอกสูงต้องพร้อมเสี่ยง
สำหรับทางเลือกอื่นภายใต้ระดับความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝากนั้น ตอนนี้มีกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่เสนอขายกันออกมา 3-6 เดือน ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินฝากคือราว 1.6-1.7% แต่ข้อดีคือไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนกับบัญชีเงินฝากประจำ สามารถติดต่อได้กับธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง
ผลตอบแทนของกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่ไม่ต้องเสียภาษีนั้น มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ 9 เดือนของธนาคารออมสินที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกัน หากมีเงินฝากมากหากคำนวณแล้วได้ดอกเบี้ยเกิน 2 หมื่นบาทควรให้น้ำหนักไปที่กองทุนรวมมากกว่า เพราะไม่ติดข้อกฎหมายด้านภาษี
ส่วนผู้ที่ต้องการได้ผลตอบแทนมากกว่านี้ เช่น อยากได้ดอกเบี้ย 3% ขึ้นไป มีหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนที่เสนอขายอยู่ในเวลานี้ แต่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเพราะไม่ได้รับความคุ้มครองเหมือนกับการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์
อย่างบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทรวม 3 ชุด วงเงินรวมไม่เกิน 5,445 ล้านบาท โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน ระยะเวลาเสนอขายระหว่างวันที่ 29 -31 มีนาคม 2559 ผ่านธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ซึ่งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ 5 ปี ดอกเบี้ย 4.35% อายุ 6 ปี ดอกเบี้ย 4.6% อายุ 7 ปี ดอกเบี้ย 4.8% อันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้อยู่ในเกณฑ์ BBB+ แนวโน้มคงที่ (stable) โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559
และยังมีหุ้นกู้ของบริษัทอื่นๆ ที่ทยอยออกมาเสนอขายให้กับผู้ลงทุนทั่วไป ซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมและยอมรับระดับความเสี่ยงได้
สลากไม่กินทุน-ลุ้นโชค
อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการความเสี่ยง นั่นคือการออมเงินในรูปของสลาก ตอนนี้ธนาคารออมสินมีสลากออมสินพิเศษอายุ 3 ปี งวดที่ 84 ออกมา หน่วยละ 50 บาท อายุ 3 ปี มีสิทธิถูกรางวัลทุกเดือนเป็นเวลานานถึง 36 เดือน รางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลละ 10 ล้านบาท 3 รางวัล และรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ฝากครบอายุรับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย หน่วยละ 51.25 บาท เงินรางวัลและดอกเบี้ยของบุคคลธรรมดาไม่เสียภาษี
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ออกสลากออมทรัพย์ชุดใหม่ “ชุดกล้วยไม้นานาชาติ” หน่วยละ 500 บาท เริ่มรับฝาก 18 มีนาคม 2559 เป็นต้นไป อายุการรับฝาก 3 ปี ครบกำหนดถอนคืนเงินฝากพร้อมกันในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ออกรางวัลครั้งแรกในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 รวม 36 ครั้ง ผู้ที่ฝากจนถึงวันครบกำหนด ธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยหน่วยละ 12.50 บาท (ร้อยละ 0.83 ต่อปี) ผู้ที่ถอนคืนก่อนครบกำหนดธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ย รางวัลที่ 1 มี 1 รางวัล รางวัลละ 20 ล้านบาท
การออมในรูปแบบนี้คล้ายกับการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่สลากออมทรัพย์ของทั้ง 2 ธนาคารเหนือกว่าตรงที่หากไม่ถูกรางวัล เงินต้นยังคงอยู่เท่าเดิมและได้ดอกเบี้ยอีกเล็กน้อย เดิมของออมสินเคยมีสลาก 5 ปีออกมา ตอนนี้เหลือเพียงแค่สลาก 3 ปีเท่านั้นของทั้ง 2 ธนาคาร
ผลตอบแทนกรณีไม่ถูกรางวัลเลยของทั้ง 2 ธนาคาร เมื่อครบกำหนดจะได้ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 0.83% ต่อปี เดิมออมสินให้ดอกเบี้ย 1% ในงวด 83 เพิ่งปรับลดลงมาในงวด 84 ผลตอบแทนที่เหลือเป็นเรื่องของโชคแต่ละบุคคลว่าจะถูกรางวัลใด
ความต่างของสลากออมทรัพย์ทั้ง 2 ออมสินขายหน่วยละ 50 บาท ธ.ก.ส.หน่วยละ 500 บาท หากซื้อด้วยวงเงิน 5 แสนบาทจะถูกเลขท้ายรางวัลต่ำสุดทุกงวด ผลตอบแทนที่ได้ประมาณ 1.55-1.79% หากซื้อ 5 ล้านบาทได้ผลตอบแทนราว 1.69-1.87%
นอกจากนี้สลากออมสินซื้อแล้ว ลุ้นรางวัลได้ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือนทันที และครบกำหนตรงกับวันที่ซื้อในอีก 3 ปี ส่วนของ ธ.ก.ส.เปิดขายตั้งแต่ 18 มีนาคม แต่ออกรางวัลครั้งแรก 16 มิถุนายน หมายความว่าใครที่ซื้อตั้งแต่เดือนมีนาคมจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลยราว 3 เดือน แต่ ธ.ก.ส. ก็มีการจูงใจด้วยการออกรางวัลพิเศษ 12 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท เดือนเมษายน 3 รางวัล พฤษภาคม 4 รางวัล และมิถุนายน 5 รางวัล
สำหรับผู้ที่ไถ่ถอนก่อนกำหนดของ ธ.ก.ส.จะไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่ของออมสินให้ดอกเบี้ยตามปีที่ถือครอง
หากพิจารณาในรายละเอียดของการซื้อสลากออมทรัพย์ของทั้ง 2 ธนาคาร ส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อมักจะเปิดบัญชีออมทรัพย์ได้คู่กันเพื่อสะดวกในการรับรางวัล หากถูกรางวัลก็โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ให้ทันทีและเมื่อครบกำหนดธนาคารก็โอนเงินต้นไปที่บัญชีนี้เช่นกัน
ในกรณีของ ธ.ก.ส.บัญชีออมทรัพย์ที่คู่กับสลากนั้น ส่วนใหญ่ธนาคารจะแนะนำให้เปิดบัญชีออมทรัพย์ทวีโชค ซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% ขณะที่บัญชีออมทรัพย์ปกติได้ดอกเบี้ย 0.5%
“ตรงนี้ลูกค้าก็เลือกได้ว่าจะให้โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ปกติหรือออมทรัพย์ทวีโชค จริงๆ แล้วบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคให้ดอกเบี้ย 0.75% แต่ธนาคารตัดเอา 0.5% ไปทำเป็นรางวัลแจกให้กับผู้ที่เปิดบัญชีนี้ จึงเหลือผลตอบแทนเพียง 0.25% ลูกค้าที่เปิดบัญชีออมทรัพย์ทวีโชคก็มีโอกาสลุ้นรางวัลที่นอกเหนือไปจากสลาก 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกสาขาที่ขายสลากจะหารางวัลมาแล้วสุ่มผู้โชคดี รางวัลใหญ่เป็นมอเตอร์ไซค์ และลุ้นอีกรอบจากทางสำนักงานใหญ่ที่เป็นรถยนต์ แต่บัญชีออมทรัพย์ปกติดอกเบี้ย 0.5% นั้นจะไม่ได้ลุ้นอะไรเลย” พนักงานของ ธ.ก.ส. สาขาแห่งหนึ่งอธิบาย
รางวัลใหญ่อยู่ที่ดวง
ส่วนโอกาสในการถูกรางวัลใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับโชคของผู้ซื้อ บางคนซื้อหลักล้านบาทถูกแต่เลขท้ายอย่างเดียวก็มี บางรายซื้อหลักหมื่นต้นๆ ถูกรางวัลใหญ่ก็มีเช่นกัน สมมติว่าถูกรางวัลเลขท้ายคำนวณแล้วได้ผลตอบแทนราว 1.5% บวกกับตัวดอกเบี้ยที่ 0.83% ผลตอบแทนที่ได้รวมแล้ว 2.33% ไม่ต้องหักภาษี ก็ถือว่าผลตอบแทนที่ได้เหนือกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคารพาณิชย์ หากโชคดีกว่านั้นถูกรางวัลที่ใหญ่ขึ้นไปผลตอบแทนก็จะมากขึ้น
หากกล่าวเฉพาะรางวัลใหญ่อย่างรางวัลที่ 1 สลากทั้ง 2 ธนาคารจะมีเงื่อนไขในการถูกรางวัล มีความแตกต่างกันคือของ ธ.ก.ส.จะมีการสุ่มหมวดในการรับรางวัลที่ 1 ซึ่งสลากแต่ละชุดของ ธ.ก.ส. จะมี 10 หมวด ส่วนสลากของออมสินจะมีทั้งการสุ่มงวดและหมวดอักษร เฉพาะหมวดอักษรในแต่ละงวดจะเริ่มตั้งแต่พยัญชนะไทยเรื่อยไปแต่ไม่ครบทุกตัวอักษร และต่อด้วยภาษาอังกฤษเรื่อยๆ ส่วนงวดที่ใช้ออกรางวัลก็จะสุ่มตั้งแต่งวด 58 จนถึงงวดที่เสนอขายในปัจจุบันคืองวดที่ 84
ดังนั้นในทางสถิติแล้วโอกาสถูกรางวัลใหญ่ของ ธ.ก.ส.อาจมีมากกว่า เพราะมีเพียงแค่ 10 หมวดในการสุ่ม ส่วนของออมสินมีการสุ่มทั้งงวดและหมวดอักษร คงต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ซื้อเองว่าจะเลือกค่ายใด เพราะรางวัลที่ 1 ของ ธ.ก.ส. 20 ล้านบาทมีรางวัลเดียว ของออมสินมี 3 รางวัล รางวัลละ 10 ล้าน และราคาสลากก็ต่างกัน 500 บาทกับ 50 บาท
อีกทั้งรางวัลที่รองลงมาอย่างรางวัลที่ 1 ต่างหมวดต่างอักษรของออมสินให้ 1 หมื่นบาท ของ ธ.ก.ส. 3 แสนให้กับ 9 หมวด รางวัลที่ 2 ธ.ก.ส.ให้ 1 แสน 3 รางวัล สลากออมสินให้ 1 ล้าน 2 รางวัล แต่สุ่มงวดและหมวดเหมือนรางวัลที่ 1
“ทุกอย่างอยู่ที่โชค สลากบางรุ่นเราก็ถูกแค่เลขท้ายเท่านั้น แต่บางรุ่นก็ได้รางวัลที่สูงกว่าเลขท้ายบ้าง ตอนนั้นซื้อสลากอายุ 3 ปี 1 แสนบาท ถูกรางวัล 2 หมื่นบาท คิดเป็นผลตอบแทนเฉพาะกรณีนี้ก็ราว 6.67% ต่อปี ไม่นับดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดและรางวัลเลขท้ายที่ถูกอีกส่วนหนึ่ง” หนึ่งในผู้ซื้อสลากรายหนึ่งกล่าว
เรื่องอย่างนี้ไม่มีสูตรสำเร็จว่าควรจะซื้อแบบใด หากซื้อเพื่อเน้นถูกรางวัลเลขท้ายก็ควรซื้อในวงเงินสูงในครั้งเดียวกันเพื่อให้เลขสลากติดกัน เช่น ซื้อ 5 แสนบาทจะถูกรางวัลเลขท้าย(ต่ำสุด) ทุกงวด รางวัลอื่นต้องวัดดวงกันอีกครั้ง
แต่ในความน่าจะเป็น การทยอยซื้อสลากเป็นล็อตๆ เพื่อให้ตัวเลขหรือหมวดแตกต่างกัน ย่อมช่วยกระจายโอกาสของการถูกรางวัลได้ดีกว่า แต่ตรงนี้เป็นเพียงเรื่องของความน่าจะเป็นในทางสถิติเท่านั้น ทุกอย่างอยู่ที่โชคของแต่ละบุคคล