นักกฎหมาย-คนการเมืองหวั่นสิ่งที่ คสช.กังวลยึดอำนาจแล้วเสียของ ด้วยการเพิ่มเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญอาจกลายเป็นการเสียของได้เช่นกัน ตอนนี้กลายเป็นเข้าทางทักษิณและพรรคเพื่อไทยปลุกคว่ำร่างรัฐธรรมนูญง่ายขึ้น แนะหาทางรับมือขั้วอำนาจเก่าใช้แนวทางปัญหาปากท้อง-อยู่ยาว-แต่งตั้งพระ กดดันพ้นอำนาจ
ข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เสนอเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) อย่างเป็นทางการเพื่อนำไปปรับปรุงนั้น ประเด็นหลักๆ ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษนั่นคือ เรื่องของสมาชิกวุฒิสภา(สว.) แบบสรรหา จำนวน 250 คน วาระ 5 ปี โดย ส.ว.สรรหา มาจากคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง 8-10 คน ในส่วนนี้อาจมีทั้งส่วนที่เป็น สว.สรรหาและส่วนที่แต่งตั้งอีก 6 คน ที่จะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของชาติได้แก่ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
อีกข้อเสนอหนึ่งนั่นคือ ควรงดเว้นไม่นำเรื่องแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 ชื่อ ด้วยเหตุผลว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้นเพราะเหตุที่มีเงื่อนไขเข้มงวด เช่น ผู้มีชื่อเป็นนายกฯ ในบัญชีถอนตัว หรือตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในภายหลัง หรือไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมาก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของบัตรเลือกตั้ง เดิมใช้ใบเดียว เสนอเป็นควรให้ใช้บัตร 2 ใบ ใบแรกใช้เลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน และให้ใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น มี ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกได้เพียง 1 คน แล้วให้นับคะแนนเรียงลำดับลดหลั่นจนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ใบที่สอง สำหรับเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
ทั้งนี้ คสช.ขอเรียนว่าอย่าได้หวาดระแวงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ คสช.ยินดีจะพ้นจากตำแหน่งและยุติอำนาจหน้าที่ทั้งปวงตามกำหนดเวลาในโรดแมปและในร่างรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เข้าล็อกทักษิณ-ปลุกคว่ำร่าง
เดิมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีเรื่องของการลงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ แต่คราวนี้กลับมีข้อเสนอของ คสช. ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยยะ
ก่อนหน้านี้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศหลายสำนัก ถึงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ตามมาด้วยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวถึงการจัดเตรียมกองกำลังส่วนที่ 3 นับล้านคนที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาบ้านเมือง
จากนั้น 17 มีนาคม 2559 พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและข้อเสนอของ คสช. เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาหลายประการที่จะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศถดถอย รัฐบาลขาดเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถูกแทรกแซงจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ กลไกในรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนหรือนโยบายที่มีลักษณะของการช่วยเหลือดูแลประชาชนได้ มีการสร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน
พร้อมทั้งกล่าวถึงข้อเสนอที่ คสช.เสนอให้กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ข้อดังนี้
1. ให้มี ส.ว. จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งของคณะบุคคลเพียง 8 - 10 คน โดยคณะบุคคล ส่วนใหญ่คงเป็นคนที่ คสช.คัดเลือกมา จึงอาจกล่าวได้ว่า คสช.เป็นผู้เลือก ส.ว. นั่นเอง
นอกจากนี้การให้ ผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ผบ.ตร. เป็น ส.ว. ด้วย ยิ่งมีปัญหาเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นข้าราชการประจำต้องทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล กลับให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเสียเองและบุคคลเหล่านี้มีอำนาจคุมกำลังทั้งทหารและตำรวจ การให้มาทำหน้าที่ ส.ว. จะทำให้สามารถชี้นำการทำหน้าที่ของ ส.ว.และชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลได้
2. การเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ 3 คน แต่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ข้อเสนอตรงนี้พบว่ามีปัญหามาก ซึ่งมีข้อเสียมากกว่าข้อดี การใช้เขตละคนซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งทุกครั้งในระยะหลังเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นระบบที่ง่าย สะดวกและเป็นธรรม พรรคมองเจตนาได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวต้องการสกัดพรรคการเมืองใหญ่ให้มี ส.ส.เขตลดลง
3. การขอให้ยกเว้นไม่ต้องให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อในการเลือกตั้ง ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องเสนอก็ได้ เหตุที่ คสช.เสนอดังกล่าว ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น และประชาชนไม่สามารถทราบได้เลย
กลายเป็นการรับลูกกันต่อเนื่องของขั้วอำนาจเก่า ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557
เข้าใจ-กลัวเสียของ
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากฉบับเดิมมีช่องโหว่ให้นักการเมืองนำไปใช้แสวงหาประโยชน์ในทางการเมือง จนเกิดความขัดแย้งกันในทางการเมืองมากขึ้น อย่างการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และปี 2557 ก็เกิดจากนักการเมืองใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญกุมเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนพรรคฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบการทำงานหรือคัดค้านอะไรได้ จึงทำให้เกิดการเมืองภาคประชาชนที่แสดงความไม่เห็นด้วยขึ้นมา
อย่างการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ถูกต่อว่ามากว่ายึดอำนาจแล้วไม่ได้ทำอะไรจนการเมืองกลับเข้าสู่สภาพเดิม แม้จะมีรัฐธรรมนูญปี 2550 ออกมาบังคับใช้ก็ตาม จนมาครั้งนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เข้ามายุติปัญหาก็พยายามที่จะทำเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนกับปี 2549 จึงได้เพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญ
ด้านหนึ่งก็เพื่อไม่ให้ถูกต่อว่าภายหลังได้ว่าทำแล้วไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปล่อยให้ปัญหาเดิมๆ กลับมาอีก เกรงว่าการตัดสินใจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 จะเป็นการยึดอำนาจแล้วเสียเปล่า เมื่อเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปอาจจะด้วยเจตนาที่ดี แต่ก็ทำให้ถูกตีความได้ว่าต้องการสืบทอดอำนาจต่อไป
"จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในการเมืองของไทยนั้น มาจากตัวนักการเมืองที่พยายามหาช่องทางเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับพรรคของตัวเองให้ได้มากที่สุด คนที่เป็นรัฐบาลก็ต้องหาวิธีการที่จะทำให้พรรคเป็นรัฐบาลนานที่สุด ช่องโหว่ที่มีอย่างเรื่องของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เครือญาติของนักการเมืองเหล่านั้นแห่ลงสมัครกันแทบทุกจังหวัด จนทั้งพรรคที่เป็นรัฐบาลกับวุฒิสภากลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีการถ่วงดุลหรือตรวจสอบกัน หน่วยงานราชการหลายแห่งนักการเมืองวางตัวคนของตัวเองและผลักดันจนขึ้นมาในตำแหน่งสำคัญ กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองไปทั้งหมด"
คสช.และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็เห็นปัญหานี้ จึงเสนอให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภากลับไปเป็นแบบสรรหาทั้งหมด
แต่เงื่อนไขที่เพิ่มเติมจากทาง คสช.ที่ให้ สว. 250 คน มีวาระ 5 ปี มีทั้งส่วนสรรหาและส่วนแต่งตั้ง 6 ตำแหน่ง ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง รวมไปถึงต้นความคิดอย่างพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการผลักดันเรื่องนี้ให้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่
ส่วนข้อเสนออื่นเช่นไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก แม้จะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นการเปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ เพราะที่ผ่านมาเราก็มีนายกฯคนนอกอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน กับพลเอกสุจินดา คราประยูร แต่การยอมรับของประชาชนกลับแตกต่างกัน
“ตอนนี้ยังประเมินอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นเพียงข้อเสนอของ คสช.เท่านั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่าจะนำเอาข้อเสนอเหล่านี้ไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด”
เกรงว่าสิ่งที่ คสช.เคยกังวลว่าการยึดอำนาจในครั้งนี้ หากไม่มีอะไรป้องกันไว้จะเป็นการเสียของนั้น แต่การเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปอาจจะทำให้การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้เหตุการณ์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 กลายเป็นการกระทำที่เสียของมากกว่า
250 สว.อาจเสียของเช่นกัน
แหล่งข่าวที่เคยร่วมร่างรัฐธรรมนูญอธิบายว่า ฝ่ายที่สูญเสียอำนาจโดยตรงอย่างพรรคเพื่อไทยก็เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่า ฝ่ายทหารอาจต้องการสืบทอดอำนาจต่อไปหลังเปิดให้มีการเลือกตั้ง นายใหญ่อย่างทักษิณก็เดินสายกับสื่อต่างประเทศกล่าวหาในเรื่องเหล่านี้ตลอดเวลา ขณะที่พรรคการเมืองอื่นก็ออกอาการไม่เห็นด้วย
เมื่อ คสช.อยากได้เงื่อนไขนี้ก็กลายเป็นเข้าทางขั้วอำนาจเก่าทันที เดิมประชาชนอาจต้องการโหวตให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน เพื่อให้ทหารพ้นจากอำนาจไป คราวนี้อาจต้องทบทวนกันใหม่ แน่นอนว่าฝ่ายอำนาจเก่าได้โอกาสที่จะจุดกระแสเรื่องนี้ไปยังฐานเสียงของตัวเองที่นิ่งสนิทมานาน
การชูประเด็นนี้จะทำให้การจุดติดทางความคิดทำได้ง่ายขึ้น หากปล่อยให้เป็นกระแสขึ้นมาแล้วผลโหวตร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วไม่ผ่าน ปัญหาทุกอย่างจะกลับไปอยู่ที่ คสช. คำถามที่ตามมาหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านเท่ากับไม่ผ่านมาแล้ว 2 ร่าง หากต้องร่างกันใหม่ จะเกินกำหนดที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุไว้หรือไม่คือเปิดให้มีการเลือกตั้งในปี 2560
ปัญหาทั้งหมดนี้จะแก้ได้เมื่อประชาชนรู้ เข้าใจ และตระหนักในหน้าที่ของตนเอง เลือกผู้แทนที่ดีเข้ามาบริหารประเทศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาจต้องใช้เวลานาน คสช.อาจมองว่ากว่าจะถึงเวลานั้นบ้านเมืองอาจเสียหายจากความขัดแย้ง
ที่จริงร่างเดิมของอาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ุ ก็ดีอยู่แล้ว สว.สรรหา เลือกกันตามอาชีพ ป้องกันญาติพี่น้องนักการเมืองได้ระดับหนึ่ง ไม่ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขที่จะกลายเป็นปมปัญหาเข้าไป เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นจริงก็มีกระบวนการทางกฎหมายอื่นสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้
ปากท้อง-อยู่ยาว-พระ
ขณะที่อดีตนักการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ว่า เดิมทีเคยมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์มีชัย น่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะคนในพื้นที่อยากเห็นการเลือกตั้ง แต่พอมีเงื่อนไขใหม่ที่เพิ่มเข้ามาทำให้มีการมองกันว่า คสช.อาจต้องการอยู่ในอำนาจต่อ ซึ่งจะมีผลต่อการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างแน่นอน หากทุกอย่างเป็นไปตามที่พลเอกประวิตร เสนอทั้งหมด
ตอนนี้กลายเป็นการเข้าทางคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยทั้งหมด
อย่าลืมว่าคนในพื้นที่อีสานยังชื่นชอบพรรคเพื่อไทยเป็นทุนเดิม ตอนนี้พรรคเพื่อไทยก็เริ่มปลุกกระแสเรื่องนี้กันแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมาผู้คนเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ชาวบ้านเขาไม่ได้มองว่าปัญหานี้เป็นกันทั่วโลก แต่เขามองว่าเป็นผลมาจากการยึดอำนาจ หากยิ่งอยู่นานพวกเขายิ่งแย่
สิ่งที่เราห่วงมากที่สุดคือการพัฒนาจากความไม่ชอบกลายเป็นความเกลียดตรงนี้อันตราย และยังมีเรื่องของการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของวงการสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องอีก เชื่อว่ารัฐบาลก็ทราบดีว่าพระในสายอีสานหนุนองค์ใด หากฐานมวลชนเหล่านี้เห็นพ้องไปในทางเดียวกัน อาจกลายเป็นภาระหนักของรัฐบาลได้
ตรงนี้รัฐบาลควรประเมินสถานการณ์ด้วยว่า ข้อเสนอที่เพิ่มเติมเข้าไปนั้นจะมีมิติทางการเมืองอะไรตามมา และพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งในส่วนของต่างประเทศที่ทักษิณเดินเครื่องอยู่ หรือในประเทศจากพรรคเพื่อไทย รวมถึงการเข้ามาปลุกมวลชนเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ
ข้อเสนอของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เสนอเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) อย่างเป็นทางการเพื่อนำไปปรับปรุงนั้น ประเด็นหลักๆ ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษนั่นคือ เรื่องของสมาชิกวุฒิสภา(สว.) แบบสรรหา จำนวน 250 คน วาระ 5 ปี โดย ส.ว.สรรหา มาจากคณะกรรมการที่เป็นอิสระและเป็นกลาง 8-10 คน ในส่วนนี้อาจมีทั้งส่วนที่เป็น สว.สรรหาและส่วนที่แต่งตั้งอีก 6 คน ที่จะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของชาติได้แก่ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
อีกข้อเสนอหนึ่งนั่นคือ ควรงดเว้นไม่นำเรื่องแจ้งรายชื่อผู้ที่จะเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 ชื่อ ด้วยเหตุผลว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้นเพราะเหตุที่มีเงื่อนไขเข้มงวด เช่น ผู้มีชื่อเป็นนายกฯ ในบัญชีถอนตัว หรือตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในภายหลัง หรือไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับเสียงข้างมาก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของบัตรเลือกตั้ง เดิมใช้ใบเดียว เสนอเป็นควรให้ใช้บัตร 2 ใบ ใบแรกใช้เลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขต 350 คน และให้ใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ขึ้น มี ส.ส.ไม่เกิน 3 คน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกได้เพียง 1 คน แล้วให้นับคะแนนเรียงลำดับลดหลั่นจนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ ใบที่สอง สำหรับเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน
ทั้งนี้ คสช.ขอเรียนว่าอย่าได้หวาดระแวงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ คสช.ยินดีจะพ้นจากตำแหน่งและยุติอำนาจหน้าที่ทั้งปวงตามกำหนดเวลาในโรดแมปและในร่างรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการจัดการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่
เข้าล็อกทักษิณ-ปลุกคว่ำร่าง
เดิมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีเรื่องของการลงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ แต่คราวนี้กลับมีข้อเสนอของ คสช. ที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมีนัยยะ
ก่อนหน้านี้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศหลายสำนัก ถึงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญของไทยที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ตามมาด้วยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวถึงการจัดเตรียมกองกำลังส่วนที่ 3 นับล้านคนที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาบ้านเมือง
จากนั้น 17 มีนาคม 2559 พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์เรื่อง ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและข้อเสนอของ คสช. เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาหลายประการที่จะทำให้ประชาธิปไตยของประเทศถดถอย รัฐบาลขาดเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน กระบวนการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารถูกแทรกแซงจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ กลไกในรัฐธรรมนูญเป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนหรือนโยบายที่มีลักษณะของการช่วยเหลือดูแลประชาชนได้ มีการสร้างกลไกเพื่อมุ่งสืบทอดอำนาจของผู้มีอำนาจในปัจจุบัน
พร้อมทั้งกล่าวถึงข้อเสนอที่ คสช.เสนอให้กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ข้อดังนี้
1. ให้มี ส.ว. จำนวน 250 คน มาจากการแต่งตั้งของคณะบุคคลเพียง 8 - 10 คน โดยคณะบุคคล ส่วนใหญ่คงเป็นคนที่ คสช.คัดเลือกมา จึงอาจกล่าวได้ว่า คสช.เป็นผู้เลือก ส.ว. นั่นเอง
นอกจากนี้การให้ ผบ.เหล่าทัพ รวมถึง ผบ.ตร. เป็น ส.ว. ด้วย ยิ่งมีปัญหาเพราะบุคคลเหล่านี้เป็นข้าราชการประจำต้องทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล กลับให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลเสียเองและบุคคลเหล่านี้มีอำนาจคุมกำลังทั้งทหารและตำรวจ การให้มาทำหน้าที่ ส.ว. จะทำให้สามารถชี้นำการทำหน้าที่ของ ส.ว.และชี้เป็นชี้ตายรัฐบาลได้
2. การเสนอให้มีการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ 3 คน แต่ให้ประชาชนเลือกผู้สมัครได้เพียงคนเดียว ข้อเสนอตรงนี้พบว่ามีปัญหามาก ซึ่งมีข้อเสียมากกว่าข้อดี การใช้เขตละคนซึ่งเคยใช้ในการเลือกตั้งทุกครั้งในระยะหลังเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว เป็นระบบที่ง่าย สะดวกและเป็นธรรม พรรคมองเจตนาได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวต้องการสกัดพรรคการเมืองใหญ่ให้มี ส.ส.เขตลดลง
3. การขอให้ยกเว้นไม่ต้องให้พรรคการเมืองเสนอชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 3 รายชื่อในการเลือกตั้ง ข้อนี้ไม่จำเป็นต้องเสนอก็ได้ เหตุที่ คสช.เสนอดังกล่าว ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็น ส.ส.เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ง่ายขึ้น และประชาชนไม่สามารถทราบได้เลย
กลายเป็นการรับลูกกันต่อเนื่องของขั้วอำนาจเก่า ที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557
เข้าใจ-กลัวเสียของ
นักวิชาการด้านนิติศาสตร์กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากฉบับเดิมมีช่องโหว่ให้นักการเมืองนำไปใช้แสวงหาประโยชน์ในทางการเมือง จนเกิดความขัดแย้งกันในทางการเมืองมากขึ้น อย่างการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และปี 2557 ก็เกิดจากนักการเมืองใช้ช่องว่างของรัฐธรรมนูญกุมเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนพรรคฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบการทำงานหรือคัดค้านอะไรได้ จึงทำให้เกิดการเมืองภาคประชาชนที่แสดงความไม่เห็นด้วยขึ้นมา
อย่างการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 โดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ถูกต่อว่ามากว่ายึดอำนาจแล้วไม่ได้ทำอะไรจนการเมืองกลับเข้าสู่สภาพเดิม แม้จะมีรัฐธรรมนูญปี 2550 ออกมาบังคับใช้ก็ตาม จนมาครั้งนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เข้ามายุติปัญหาก็พยายามที่จะทำเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือนกับปี 2549 จึงได้เพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญ
ด้านหนึ่งก็เพื่อไม่ให้ถูกต่อว่าภายหลังได้ว่าทำแล้วไม่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ปล่อยให้ปัญหาเดิมๆ กลับมาอีก เกรงว่าการตัดสินใจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 จะเป็นการยึดอำนาจแล้วเสียเปล่า เมื่อเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปอาจจะด้วยเจตนาที่ดี แต่ก็ทำให้ถูกตีความได้ว่าต้องการสืบทอดอำนาจต่อไป
"จริงๆ แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในการเมืองของไทยนั้น มาจากตัวนักการเมืองที่พยายามหาช่องทางเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับพรรคของตัวเองให้ได้มากที่สุด คนที่เป็นรัฐบาลก็ต้องหาวิธีการที่จะทำให้พรรคเป็นรัฐบาลนานที่สุด ช่องโหว่ที่มีอย่างเรื่องของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง เครือญาติของนักการเมืองเหล่านั้นแห่ลงสมัครกันแทบทุกจังหวัด จนทั้งพรรคที่เป็นรัฐบาลกับวุฒิสภากลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีการถ่วงดุลหรือตรวจสอบกัน หน่วยงานราชการหลายแห่งนักการเมืองวางตัวคนของตัวเองและผลักดันจนขึ้นมาในตำแหน่งสำคัญ กลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองไปทั้งหมด"
คสช.และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็เห็นปัญหานี้ จึงเสนอให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภากลับไปเป็นแบบสรรหาทั้งหมด
แต่เงื่อนไขที่เพิ่มเติมจากทาง คสช.ที่ให้ สว. 250 คน มีวาระ 5 ปี มีทั้งส่วนสรรหาและส่วนแต่งตั้ง 6 ตำแหน่ง ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง รวมไปถึงต้นความคิดอย่างพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการผลักดันเรื่องนี้ให้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างอยู่
ส่วนข้อเสนออื่นเช่นไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนั้น ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก แม้จะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นการเปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ เพราะที่ผ่านมาเราก็มีนายกฯคนนอกอย่างนายอานันท์ ปันยารชุน กับพลเอกสุจินดา คราประยูร แต่การยอมรับของประชาชนกลับแตกต่างกัน
“ตอนนี้ยังประเมินอะไรไม่ได้มาก เพราะเป็นเพียงข้อเสนอของ คสช.เท่านั้น ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่าจะนำเอาข้อเสนอเหล่านี้ไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด”
เกรงว่าสิ่งที่ คสช.เคยกังวลว่าการยึดอำนาจในครั้งนี้ หากไม่มีอะไรป้องกันไว้จะเป็นการเสียของนั้น แต่การเพิ่มเงื่อนไขต่างๆ เข้าไปอาจจะทำให้การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้เหตุการณ์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 กลายเป็นการกระทำที่เสียของมากกว่า
250 สว.อาจเสียของเช่นกัน
แหล่งข่าวที่เคยร่วมร่างรัฐธรรมนูญอธิบายว่า ฝ่ายที่สูญเสียอำนาจโดยตรงอย่างพรรคเพื่อไทยก็เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่า ฝ่ายทหารอาจต้องการสืบทอดอำนาจต่อไปหลังเปิดให้มีการเลือกตั้ง นายใหญ่อย่างทักษิณก็เดินสายกับสื่อต่างประเทศกล่าวหาในเรื่องเหล่านี้ตลอดเวลา ขณะที่พรรคการเมืองอื่นก็ออกอาการไม่เห็นด้วย
เมื่อ คสช.อยากได้เงื่อนไขนี้ก็กลายเป็นเข้าทางขั้วอำนาจเก่าทันที เดิมประชาชนอาจต้องการโหวตให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่าน เพื่อให้ทหารพ้นจากอำนาจไป คราวนี้อาจต้องทบทวนกันใหม่ แน่นอนว่าฝ่ายอำนาจเก่าได้โอกาสที่จะจุดกระแสเรื่องนี้ไปยังฐานเสียงของตัวเองที่นิ่งสนิทมานาน
การชูประเด็นนี้จะทำให้การจุดติดทางความคิดทำได้ง่ายขึ้น หากปล่อยให้เป็นกระแสขึ้นมาแล้วผลโหวตร่างรัฐธรรมนูญออกมาแล้วไม่ผ่าน ปัญหาทุกอย่างจะกลับไปอยู่ที่ คสช. คำถามที่ตามมาหากร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ผ่านเท่ากับไม่ผ่านมาแล้ว 2 ร่าง หากต้องร่างกันใหม่ จะเกินกำหนดที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุไว้หรือไม่คือเปิดให้มีการเลือกตั้งในปี 2560
ปัญหาทั้งหมดนี้จะแก้ได้เมื่อประชาชนรู้ เข้าใจ และตระหนักในหน้าที่ของตนเอง เลือกผู้แทนที่ดีเข้ามาบริหารประเทศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาจต้องใช้เวลานาน คสช.อาจมองว่ากว่าจะถึงเวลานั้นบ้านเมืองอาจเสียหายจากความขัดแย้ง
ที่จริงร่างเดิมของอาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ุ ก็ดีอยู่แล้ว สว.สรรหา เลือกกันตามอาชีพ ป้องกันญาติพี่น้องนักการเมืองได้ระดับหนึ่ง ไม่ควรเพิ่มเติมเงื่อนไขที่จะกลายเป็นปมปัญหาเข้าไป เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นจริงก็มีกระบวนการทางกฎหมายอื่นสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้
ปากท้อง-อยู่ยาว-พระ
ขณะที่อดีตนักการเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ว่า เดิมทีเคยมองว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับอาจารย์มีชัย น่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะคนในพื้นที่อยากเห็นการเลือกตั้ง แต่พอมีเงื่อนไขใหม่ที่เพิ่มเข้ามาทำให้มีการมองกันว่า คสช.อาจต้องการอยู่ในอำนาจต่อ ซึ่งจะมีผลต่อการโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างแน่นอน หากทุกอย่างเป็นไปตามที่พลเอกประวิตร เสนอทั้งหมด
ตอนนี้กลายเป็นการเข้าทางคุณทักษิณและพรรคเพื่อไทยทั้งหมด
อย่าลืมว่าคนในพื้นที่อีสานยังชื่นชอบพรรคเพื่อไทยเป็นทุนเดิม ตอนนี้พรรคเพื่อไทยก็เริ่มปลุกกระแสเรื่องนี้กันแล้ว อีกทั้งที่ผ่านมาผู้คนเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ชาวบ้านเขาไม่ได้มองว่าปัญหานี้เป็นกันทั่วโลก แต่เขามองว่าเป็นผลมาจากการยึดอำนาจ หากยิ่งอยู่นานพวกเขายิ่งแย่
สิ่งที่เราห่วงมากที่สุดคือการพัฒนาจากความไม่ชอบกลายเป็นความเกลียดตรงนี้อันตราย และยังมีเรื่องของการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญของวงการสงฆ์เข้ามาเกี่ยวข้องอีก เชื่อว่ารัฐบาลก็ทราบดีว่าพระในสายอีสานหนุนองค์ใด หากฐานมวลชนเหล่านี้เห็นพ้องไปในทางเดียวกัน อาจกลายเป็นภาระหนักของรัฐบาลได้
ตรงนี้รัฐบาลควรประเมินสถานการณ์ด้วยว่า ข้อเสนอที่เพิ่มเติมเข้าไปนั้นจะมีมิติทางการเมืองอะไรตามมา และพร้อมรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ทั้งในส่วนของต่างประเทศที่ทักษิณเดินเครื่องอยู่ หรือในประเทศจากพรรคเพื่อไทย รวมถึงการเข้ามาปลุกมวลชนเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ