เกณฑ์ใหม่ LTF ยังไม่เคลียร์ แม้ได้ข้อสรุปต่ออายุอีก 3 ปี ถือครอง 7 ปีปฏิทิน แต่กังขาวันเริ่มต้น ติงควรเริ่ม 1 มกราคม 2560 ไม่งั้นขัดข้อกำหนดเดิม บลจ.ย้ำให้รอประกาศที่ชัดเจน มั่นใจไม่กระทบภาวะการลงทุน คนวงในประเมินอาจไม่จูงใจกลุ่มฐานภาษีต่ำ นักวิชาการชี้เกณฑ์ใหม่ลดแรงกดดันช่องว่างทางสังคม บังเอิญทีมเศรษฐกิจที่อนุมัติ LTF ครั้งแรกกับเกณฑ์ใหม่ครั้งนี้มาจากชุดสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
เป็นอันว่าข้อสรุปในเบื้องต้นของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) หรือ LTF ที่กำหนดเดิมระบุว่าให้ซื้อได้จนถึงปี 2559 นั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2558 อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากเดิมกำหนดสิ้นสุดการลดหย่อนในปี 2559 ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี
นอกจากนี้ยังเพิ่มการถือครองโดยได้ปรับเงื่อนไขการถือครองจากเดิมนับตั้งแต่วันซื้อกองทุน เพื่อถือครองหน่วยลงทุนจากเดิม 5 ปี เพิ่มเป็น 7 ปี โดยสามารถซื้อวันที่ 31 ธันวาคมของปีแรกในการซื้อ และขายในวันที่ 1 มกราคมของปีที่ 7 สามารถนับเป็น 7 ปีได้
นับเป็นความชัดเจนมากที่สุดหลังจากที่นักลงทุนต่างรอว่าเรื่องของกองทุนรวม LTF จะเป็นอย่างไร โดยที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวจะยุบกองทุนนี้เมื่อครบกำหนดในปี 2559 โดยไม่มีการต่ออายุอีก
แม้จะชัดเจนว่าต่ออายุออกไปอีก 3 ปี ผู้ซื้อ LTF ได้สิทธิทางภาษีจนถึงสิ้นปี 2562 ชัดเจนว่าเกณฑ์ใหม่ต้องถือ 7 ปีปฏิทิน แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนนั่นคือเริ่มนับการถือครองหน่วยลงทุน 7 ปีปฏิทินนั้นเริ่มในวันใด
ชัดแต่ยังไม่เคลียร์
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า การยืดระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนออกไปไม่ได้ทำให้ผู้ที่สนใจลดความนิยมลงไป เพราะ 7 ปีปฏิทินยิ่งยาวยิ่งดี
“ตอนนี้ต้องรอให้กรมสรรพากรออกประกาศอย่างเป็นทางการก่อน เพราะในมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบนั้น กำหนดให้เริ่มนับการถือหน่วยลงทุน 7 ปีปฏิทินนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป”
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการกองทุนรวมกล่าวว่า หากเริ่มต้นการถือกองทุนรวม LTF เป็น 7 ปีปฏิทินโดยเริ่มต้นที่วันที่ 1 มกราคม 2559 นั้นอาจจะขัดกับหลักเกณฑ์เดิมที่ระบุไว้ว่าซื้อได้ถึงปี 2559 นั่นหมายถึงการซื้อ LTF ในปี 2559 ไม่ว่าจะเป็นวันใดก็ยังต้องได้รับสิทธิตามเกณฑ์เดิมคือถือครอง 5 ปีปฏิทิน ตรงนี้อาจเกิดการฟ้องร้องขึ้นได้
ทั้งนี้เพราะทุกคนมองว่าหลักเกณฑ์ใหม่ 7 ปีปฏิทินนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นที่การซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ดังนั้นกรมสรรพากรต้องหารือกับกระทรวงการคลังถึงข้อจำกัดดังกล่าวแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ถือนานขึ้นไม่จูงใจคนรีบใช้เงิน
เขากล่าวต่อไปว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การถือหน่วยลงทุนของ LTF ให้นานขึ้นจากเดิม 5 ปีปฏิทินหรือบางคนเรียกว่า 3 ปี 2 วันมาเป็น 7 ปีปฏิทิน หรืออาจเรียกว่า 5 ปี 2 วันนั้น ประเมินได้ยากว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้าซื้อกองทุนรวม LTF จากนี้ไปหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วตามเกณฑ์เดิมคงไม่มีใครถือแค่ 3 ปี 2 วันแล้วขายทันที ถึงอย่างไรก็ต้องถือเกิน เพื่อรอจังหวะให้สภาพตลาดดีขึ้นมาก่อนที่จะตัดสินใจขาย
การเพิ่มเงื่อนไขถือเพิ่มอีก 2 ปีเป็น 7 ปีปฏิทินนั้น เท่ากับบังคับให้ต้องการถือครองนานขึ้น ดังนั้นระดับความเสี่ยงก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความเสี่ยงที่ว่าคือโอกาสที่ตลาดหุ้นจะไม่ดีเมื่อครบกำหนด ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าจะเป็น 3 ปีปฏิทินหรือ 5 ปีปฏิทิน ความเสี่ยงก็มีพอๆ กัน เพราะคาดการณ์ได้ยากว่าเหตุการณ์ในอีก 3 หรือ 5 ปีข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร
บางคนถือ LTF เกินกว่า 5-6 ปีก็ยังมี แม้จะครบกำหนดขายได้แล้ว แต่เขาก็ยังถือต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
หากแยกกลุ่มของผู้ลงทุน LTF ที่อาจรู้สึกว่าเกณฑ์ใหม่ 7 ปีปฏิทินนั้นนานเกินไป จนอาจเปลี่ยนใจไปลงทุนในช่องทางอื่นๆ นั้น น่าจะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่มีอายุไม่มากนัก มีฐานภาษีที่ 5-10% ซึ่งความต้องการหลักคือลงทุนเพื่อหักลดหย่อนภาษี และต้องการออมเงินเพียงแค่ช่วงสั้นๆ หวังการงอกเงยของผลตอบแทนที่จะได้ เมื่อครบกำหนดมีเป้าหมายที่จะใช้เงินก้อนดังกล่าวไปใช้ตามที่ต้องการ แต่คงไม่กระทบมากนัก
ฐานภาษีสูงลงทุนต่อ
ส่วนผู้ที่มีฐานรายได้สูงเช่น 20% เป็นต้นไป เชื่อว่าเกณฑ์ใหม่คงไม่ทำให้ความตั้งใจที่จะลงทุนใน LTF เสียไป แม้ว่าอายุของการถือหน่วยลงทุนจะยืดออกไปอีก 2 ปี หากมูลค่าหน่วยอาจขาดทุนไปบ้างแต่ถ้านำเอาเงินที่ได้คืนจากการหักลดหย่อนภาษี โอกาสขาดทุนย่อมไม่มากหรืออาจเลือกที่จะถือหน่วยต่อไปจนกว่าราคาจะมีกำไร
ที่ผ่านมายังไม่มีข้อมูลว่าผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล โอกาสของการขาดทุนนั้นขึ้นอยู่กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าผู้ซื้อเข้าซื้อในช่วงที่ SET index อยู่ในระดับที่สูงหรือไม่ อย่างช่วงที่ผ่านมาดัชนีขึ้นไปทะลุ 1,600 จุด ระยะหนึ่ง หากเข้าซื้อในช่วงดังกล่าวย่อมได้ต้นทุนที่สูง เทียบกับขณะนี้ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,400 จุด แต่ในทางปฏิบัติแล้วเชื่อว่าในช่วงดังกล่าวคงไม่มีคนเข้าไปซื้อมากนัก เพราะทุกคนทราบดีว่าจะได้ต้นทุนที่แพงหรือหลายท่านใช้วิธีการซื้อแบบถัวเฉลี่ยทำให้ต้นทุนที่ได้ไม่สูงหรือต่ำเกินไป
สำหรับผู้ที่ยังกังวลในเรื่องของระยะเวลาในการถือหน่วยที่นานขึ้น ยังตัดสินใจไม่ได้อาจจะเลือกที่จะเว้นการลงทุนไปก็ได้ แล้วลองมาเทียบกับภาษีระหว่างที่ซื้อ LTF กับไม่ซื้อว่าจะแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นเชื่อว่าท่านจะสามารถตัดสินใจต่อไปได้
ส่วนเรื่องการขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 ปี โดยจะสิ้นสุดในปี 2562 นั้น น่าจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับเกณฑ์เดิมที่สิ้นสุดในปี 2559 เมื่อใกล้ครบกำหนดก็มีการขยายระยะเวลาออกไป แน่นอนว่าก่อนจะถึงปี 2562 คงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลปกติที่จะต้องเข้ามาพิจารณาหลักเกณฑ์นี้อีกครั้งหนึ่ง
ผู้ที่จะใช้สิทธิซื้อกองทุนรวม LTF กับช่วงเวลาที่เหลืออีกเดือนเศษในปี 2558 นี้ทุกอย่างเป็นไปตามเกณฑ์เดิมคือถือหน่วยลงทุน 5 ปีปฏิทิน ส่วนเกณฑ์ 7 ปีปฏิทินต้องรอประกาศจากทางกรมสรรพากรอีกครั้ง
แต่ในการซื้อของปี 2558 นี้ผู้ซื้อก็ต้องทราบประกาศของกรมสรรพากรที่ออกมาเมื่อ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากทางกรมสรรพากรมีการแก้ไขคำจำกัดความของการซื้อหน่วยลงทุน โดยแก้ไขจากเดิมที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) ได้ 15% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท มาเป็นซื้อได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท ดังนั้นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายการต่างๆ ไม่สามารถนำมารวมเป็นฐานเพื่อซื้อ RMF หรือ LTF ได้
ปัจจุบัน (30 ตุลาคม 2558) กองทุนรวม LTF มีทั้งสิ้น 53 กองทุน มูลค่า 2.62 แสนล้านบาท
ลดแรงกดดัน
ขณะที่นักวิชาการด้านการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า กองทุนรวม LTF ถือว่าเป็นกองทุนรวมที่เกิดหลังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) LTF เกิดขึ้นในช่วงปี 2547 ครั้งถูกมองกันว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นในเวลานั้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนที่ทำให้การขายหุ้นชินคอร์ปของคนในตระกูลชินวัตรที่ขายให้กับสิงคโปร์มีมูลค่าสูงกว่า 7 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ตัววัตถุประสงค์ของการลงทุนเน้นไปที่ตลาดหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% แม้ตัววัตถุประสงค์จะระบุว่าเพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทย ช่วยต้านทานแรงเหวี่ยงจากนักลงทุนต่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วช่วยได้ไม่มากนักเพราะผู้บริหารกองทุนก็ต้องบริหารเงินของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด การซื้อสวนกับนักลงทุนต่างประเทศไม่สามารถทำได้ทุกครั้ง
ที่สำคัญคือลงทุนเพียง 3 ปีเศษหรือ 5 ปีปฏิทิน แถมหักลดหย่อนภาษีได้ 500,000 บาทเท่ากับกองทุนรวม RMF ที่ต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปีและต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ทำให้ช่วงที่เกิดปัญหาทางการเมือง มีการหยิบยกเรื่องช่องว่างของคนรวยกับคนจนมาพูดกันมาก เพียงแต่ไม่ระบุออกมาว่าคืออะไร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตัว LTF นั้นเป็นที่นิยมจนมีเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนแซงหน้ากองทุนรวม RMF ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงต่างซื้อ LTF มาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนภาษีแทบทั้งสิ้น แม้กระทั่งนักการเมืองก็ซื้อ LTF เช่นเดียวกัน ดังนั้นในยามที่การเมืองเป็นไปตามกลไกปกติจึงไม่มีการกล่าวถึง LTF มากนัก เพราะจะไปกระทบกับฐานเสียงชนชั้นกลางแทบทั้งหมด
แต่ในช่วงที่มีการยึดอำนาจ ช่วงแรกมีกระแสออกมาว่าอาจจะมีการยุบ LTF คือไม่ต่ออายุที่จะสิ้นสุดในปี 2559 ออกไปอีก หากรัฐบาลตัดสินใจที่จะยุบหรือไม่ต่ออายุของ LTF ออกไป ย่อมมีผลกระทบต่อสภาพของตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างมาก เพราะเม็ดเงิน 2 แสนกว่าล้านบาทย่อมต้องถูกเทขายออกมาเพื่อคืนเงินให้กับผู้ที่ลงทุนใน LTF ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีนักสำหรับภาพลักษณ์ของรัฐบาลไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม
ดังนั้นทางออกที่ออกมาจึงเป็นการยืดอายุการถือหน่วยลงทุนให้นานขึ้น เพื่อลดข้อครหาคนชนชั้นกลางที่มีช่องทางการลดหย่อนภาษีได้มากกว่าคนรากหญ้า ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญที่ทีมเศรษฐกิจเมื่อครั้งที่ออกกองทุนรวม RMF และ LTF คือทีมของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ทีมเศรษฐกิจอีกครั้งในรัฐบาลปัจจุบัน
เป็นอันว่าข้อสรุปในเบื้องต้นของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) หรือ LTF ที่กำหนดเดิมระบุว่าให้ซื้อได้จนถึงปี 2559 นั้น คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2558 อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ จากเดิมกำหนดสิ้นสุดการลดหย่อนในปี 2559 ขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี
นอกจากนี้ยังเพิ่มการถือครองโดยได้ปรับเงื่อนไขการถือครองจากเดิมนับตั้งแต่วันซื้อกองทุน เพื่อถือครองหน่วยลงทุนจากเดิม 5 ปี เพิ่มเป็น 7 ปี โดยสามารถซื้อวันที่ 31 ธันวาคมของปีแรกในการซื้อ และขายในวันที่ 1 มกราคมของปีที่ 7 สามารถนับเป็น 7 ปีได้
นับเป็นความชัดเจนมากที่สุดหลังจากที่นักลงทุนต่างรอว่าเรื่องของกองทุนรวม LTF จะเป็นอย่างไร โดยที่ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวจะยุบกองทุนนี้เมื่อครบกำหนดในปี 2559 โดยไม่มีการต่ออายุอีก
แม้จะชัดเจนว่าต่ออายุออกไปอีก 3 ปี ผู้ซื้อ LTF ได้สิทธิทางภาษีจนถึงสิ้นปี 2562 ชัดเจนว่าเกณฑ์ใหม่ต้องถือ 7 ปีปฏิทิน แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนนั่นคือเริ่มนับการถือครองหน่วยลงทุน 7 ปีปฏิทินนั้นเริ่มในวันใด
ชัดแต่ยังไม่เคลียร์
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด กล่าวว่า การยืดระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนออกไปไม่ได้ทำให้ผู้ที่สนใจลดความนิยมลงไป เพราะ 7 ปีปฏิทินยิ่งยาวยิ่งดี
“ตอนนี้ต้องรอให้กรมสรรพากรออกประกาศอย่างเป็นทางการก่อน เพราะในมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบนั้น กำหนดให้เริ่มนับการถือหน่วยลงทุน 7 ปีปฏิทินนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป”
ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการกองทุนรวมกล่าวว่า หากเริ่มต้นการถือกองทุนรวม LTF เป็น 7 ปีปฏิทินโดยเริ่มต้นที่วันที่ 1 มกราคม 2559 นั้นอาจจะขัดกับหลักเกณฑ์เดิมที่ระบุไว้ว่าซื้อได้ถึงปี 2559 นั่นหมายถึงการซื้อ LTF ในปี 2559 ไม่ว่าจะเป็นวันใดก็ยังต้องได้รับสิทธิตามเกณฑ์เดิมคือถือครอง 5 ปีปฏิทิน ตรงนี้อาจเกิดการฟ้องร้องขึ้นได้
ทั้งนี้เพราะทุกคนมองว่าหลักเกณฑ์ใหม่ 7 ปีปฏิทินนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นที่การซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป ดังนั้นกรมสรรพากรต้องหารือกับกระทรวงการคลังถึงข้อจำกัดดังกล่าวแล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจน
ถือนานขึ้นไม่จูงใจคนรีบใช้เงิน
เขากล่าวต่อไปว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การถือหน่วยลงทุนของ LTF ให้นานขึ้นจากเดิม 5 ปีปฏิทินหรือบางคนเรียกว่า 3 ปี 2 วันมาเป็น 7 ปีปฏิทิน หรืออาจเรียกว่า 5 ปี 2 วันนั้น ประเมินได้ยากว่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้าซื้อกองทุนรวม LTF จากนี้ไปหรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วตามเกณฑ์เดิมคงไม่มีใครถือแค่ 3 ปี 2 วันแล้วขายทันที ถึงอย่างไรก็ต้องถือเกิน เพื่อรอจังหวะให้สภาพตลาดดีขึ้นมาก่อนที่จะตัดสินใจขาย
การเพิ่มเงื่อนไขถือเพิ่มอีก 2 ปีเป็น 7 ปีปฏิทินนั้น เท่ากับบังคับให้ต้องการถือครองนานขึ้น ดังนั้นระดับความเสี่ยงก็ต้องเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ความเสี่ยงที่ว่าคือโอกาสที่ตลาดหุ้นจะไม่ดีเมื่อครบกำหนด ในทางปฏิบัติแล้วไม่ว่าจะเป็น 3 ปีปฏิทินหรือ 5 ปีปฏิทิน ความเสี่ยงก็มีพอๆ กัน เพราะคาดการณ์ได้ยากว่าเหตุการณ์ในอีก 3 หรือ 5 ปีข้างหน้านั้นจะเป็นอย่างไร
บางคนถือ LTF เกินกว่า 5-6 ปีก็ยังมี แม้จะครบกำหนดขายได้แล้ว แต่เขาก็ยังถือต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละคน
หากแยกกลุ่มของผู้ลงทุน LTF ที่อาจรู้สึกว่าเกณฑ์ใหม่ 7 ปีปฏิทินนั้นนานเกินไป จนอาจเปลี่ยนใจไปลงทุนในช่องทางอื่นๆ นั้น น่าจะเป็นกลุ่มผู้ลงทุนที่มีอายุไม่มากนัก มีฐานภาษีที่ 5-10% ซึ่งความต้องการหลักคือลงทุนเพื่อหักลดหย่อนภาษี และต้องการออมเงินเพียงแค่ช่วงสั้นๆ หวังการงอกเงยของผลตอบแทนที่จะได้ เมื่อครบกำหนดมีเป้าหมายที่จะใช้เงินก้อนดังกล่าวไปใช้ตามที่ต้องการ แต่คงไม่กระทบมากนัก
ฐานภาษีสูงลงทุนต่อ
ส่วนผู้ที่มีฐานรายได้สูงเช่น 20% เป็นต้นไป เชื่อว่าเกณฑ์ใหม่คงไม่ทำให้ความตั้งใจที่จะลงทุนใน LTF เสียไป แม้ว่าอายุของการถือหน่วยลงทุนจะยืดออกไปอีก 2 ปี หากมูลค่าหน่วยอาจขาดทุนไปบ้างแต่ถ้านำเอาเงินที่ได้คืนจากการหักลดหย่อนภาษี โอกาสขาดทุนย่อมไม่มากหรืออาจเลือกที่จะถือหน่วยต่อไปจนกว่าราคาจะมีกำไร
ที่ผ่านมายังไม่มีข้อมูลว่าผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม LTF มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล โอกาสของการขาดทุนนั้นขึ้นอยู่กับดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าผู้ซื้อเข้าซื้อในช่วงที่ SET index อยู่ในระดับที่สูงหรือไม่ อย่างช่วงที่ผ่านมาดัชนีขึ้นไปทะลุ 1,600 จุด ระยะหนึ่ง หากเข้าซื้อในช่วงดังกล่าวย่อมได้ต้นทุนที่สูง เทียบกับขณะนี้ดัชนีอยู่ที่ระดับ 1,400 จุด แต่ในทางปฏิบัติแล้วเชื่อว่าในช่วงดังกล่าวคงไม่มีคนเข้าไปซื้อมากนัก เพราะทุกคนทราบดีว่าจะได้ต้นทุนที่แพงหรือหลายท่านใช้วิธีการซื้อแบบถัวเฉลี่ยทำให้ต้นทุนที่ได้ไม่สูงหรือต่ำเกินไป
สำหรับผู้ที่ยังกังวลในเรื่องของระยะเวลาในการถือหน่วยที่นานขึ้น ยังตัดสินใจไม่ได้อาจจะเลือกที่จะเว้นการลงทุนไปก็ได้ แล้วลองมาเทียบกับภาษีระหว่างที่ซื้อ LTF กับไม่ซื้อว่าจะแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นเชื่อว่าท่านจะสามารถตัดสินใจต่อไปได้
ส่วนเรื่องการขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 ปี โดยจะสิ้นสุดในปี 2562 นั้น น่าจะเป็นไปในลักษณะเดียวกับเกณฑ์เดิมที่สิ้นสุดในปี 2559 เมื่อใกล้ครบกำหนดก็มีการขยายระยะเวลาออกไป แน่นอนว่าก่อนจะถึงปี 2562 คงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลปกติที่จะต้องเข้ามาพิจารณาหลักเกณฑ์นี้อีกครั้งหนึ่ง
ผู้ที่จะใช้สิทธิซื้อกองทุนรวม LTF กับช่วงเวลาที่เหลืออีกเดือนเศษในปี 2558 นี้ทุกอย่างเป็นไปตามเกณฑ์เดิมคือถือหน่วยลงทุน 5 ปีปฏิทิน ส่วนเกณฑ์ 7 ปีปฏิทินต้องรอประกาศจากทางกรมสรรพากรอีกครั้ง
แต่ในการซื้อของปี 2558 นี้ผู้ซื้อก็ต้องทราบประกาศของกรมสรรพากรที่ออกมาเมื่อ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากทางกรมสรรพากรมีการแก้ไขคำจำกัดความของการซื้อหน่วยลงทุน โดยแก้ไขจากเดิมที่ซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) ได้ 15% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท มาเป็นซื้อได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดไม่เกิน 5 แสนบาท ดังนั้นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากรายการต่างๆ ไม่สามารถนำมารวมเป็นฐานเพื่อซื้อ RMF หรือ LTF ได้
ปัจจุบัน (30 ตุลาคม 2558) กองทุนรวม LTF มีทั้งสิ้น 53 กองทุน มูลค่า 2.62 แสนล้านบาท
ลดแรงกดดัน
ขณะที่นักวิชาการด้านการเงินรายหนึ่งกล่าวว่า กองทุนรวม LTF ถือว่าเป็นกองทุนรวมที่เกิดหลังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) LTF เกิดขึ้นในช่วงปี 2547 ครั้งถูกมองกันว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นในเวลานั้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนที่ทำให้การขายหุ้นชินคอร์ปของคนในตระกูลชินวัตรที่ขายให้กับสิงคโปร์มีมูลค่าสูงกว่า 7 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ตัววัตถุประสงค์ของการลงทุนเน้นไปที่ตลาดหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% แม้ตัววัตถุประสงค์จะระบุว่าเพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหุ้นไทย ช่วยต้านทานแรงเหวี่ยงจากนักลงทุนต่างประเทศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วช่วยได้ไม่มากนักเพราะผู้บริหารกองทุนก็ต้องบริหารเงินของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด การซื้อสวนกับนักลงทุนต่างประเทศไม่สามารถทำได้ทุกครั้ง
ที่สำคัญคือลงทุนเพียง 3 ปีเศษหรือ 5 ปีปฏิทิน แถมหักลดหย่อนภาษีได้ 500,000 บาทเท่ากับกองทุนรวม RMF ที่ต้องลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปีและต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ทำให้ช่วงที่เกิดปัญหาทางการเมือง มีการหยิบยกเรื่องช่องว่างของคนรวยกับคนจนมาพูดกันมาก เพียงแต่ไม่ระบุออกมาว่าคืออะไร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าตัว LTF นั้นเป็นที่นิยมจนมีเม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนแซงหน้ากองทุนรวม RMF ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงต่างซื้อ LTF มาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการหักลดหย่อนภาษีแทบทั้งสิ้น แม้กระทั่งนักการเมืองก็ซื้อ LTF เช่นเดียวกัน ดังนั้นในยามที่การเมืองเป็นไปตามกลไกปกติจึงไม่มีการกล่าวถึง LTF มากนัก เพราะจะไปกระทบกับฐานเสียงชนชั้นกลางแทบทั้งหมด
แต่ในช่วงที่มีการยึดอำนาจ ช่วงแรกมีกระแสออกมาว่าอาจจะมีการยุบ LTF คือไม่ต่ออายุที่จะสิ้นสุดในปี 2559 ออกไปอีก หากรัฐบาลตัดสินใจที่จะยุบหรือไม่ต่ออายุของ LTF ออกไป ย่อมมีผลกระทบต่อสภาพของตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างมาก เพราะเม็ดเงิน 2 แสนกว่าล้านบาทย่อมต้องถูกเทขายออกมาเพื่อคืนเงินให้กับผู้ที่ลงทุนใน LTF ดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวลดลงอย่างมาก ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีนักสำหรับภาพลักษณ์ของรัฐบาลไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ก็ตาม
ดังนั้นทางออกที่ออกมาจึงเป็นการยืดอายุการถือหน่วยลงทุนให้นานขึ้น เพื่อลดข้อครหาคนชนชั้นกลางที่มีช่องทางการลดหย่อนภาษีได้มากกว่าคนรากหญ้า ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญที่ทีมเศรษฐกิจเมื่อครั้งที่ออกกองทุนรวม RMF และ LTF คือทีมของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่ทีมเศรษฐกิจอีกครั้งในรัฐบาลปัจจุบัน