รอดไป 1 หลัง EASA ของยุโรปไม่มีมาตรการเพิ่มเติม เหลือลุ้น FAA จากสหรัฐฯ คนวงการทัวร์รับสภาพแค่ ICAO ปักธงแดงประเทศไทย ทำเอาบริษัททัวร์เปลี่ยนสายการบินกันวุ่น ต้องหันไปใช้สายการบินปกติ รอดูว่าประเทศปลายทางอื่นจะกดดันเพิ่มหรือไม่ ชี้จากนี้ไปราคาทัวร์มีสิทธิขยับขึ้น อาจกระทบแผนเที่ยวต่างประเทศปลายปี เหตุการณ์นี้เปิดช่องสายการบินชาติอื่นออกโปรแกรมดูดคนไทยแวะเที่ยว 2 ประเทศ แนะเร่งยกเครื่องกรมการบินพลเรือนใหม่ก่อนอุตสาหกรรมการบินพังทั้งประเทศ
การขึ้นสัญลักษณ์ธงแดงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (The International Civil Aviation Organization: ICAO) ต่อประเทศไทยบนเว็บไซต์ของ ICAO เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ทำให้คนไทยต้องหันกลับมามองถึงปัญหาของมาตรฐานด้านการบินของไทยอีกครั้ง หลังจากที่ ICAO ลดมาตรฐานการบินของไทยไปเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวถือเป็นช่วงของการเร่งแก้ปัญหาที่กรมการบินพลเรือนของไทยถูกท้วงติงและยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด
นอกจากนี้ยังมีอีก 2 หน่วยงานที่จะเข้ามาพิจารณามาตรฐานการบินของไทยอีกคือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration : FAA) และองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA)
ทั้งนี้ EASA ได้เชิญกรมการบินพลเรือนของไทยไปชี้แจงที่ประเทศเยอรมนีเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2558 และทางฝ่ายไทยได้เดินทางไปชี้แจงถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 มิถุนายน และในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ทาง EASA จะมีการประกาศผลการพิจารณาต่อประเทศไทย
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ล่าสุดคณะกรรมาธิการความปลอดภัยทางการบินของสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือ EASA แถลงว่า จะไม่มีมาตรการใด ๆ เพิ่มเติมกับสายการบินสัญชาติไทย ดังนั้นสายการบินสัญชาติไทย จึงสามารถบินเข้า-ออก ประเทศสหภาพยุโรปได้ตามปกติ แต่หากสายการบินใดขอจะเพิ่มการบริการ เช่น ขอเพิ่มเที่ยวบิน เปลี่ยนเครื่องบิน จะต้องเสนอขออนุมัติเองเป็นรายกรณี
ดังนั้นคงต้องมาดูกันต่อไปว่าองค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะเข้ามาดูมาตรฐานของกรมการบินพลเรือนไทยระหว่าง 13-17 กรกฎาคมนี้ จากนั้นแล้วจะมีผลการพิจารณาออกมาอย่างไร
นี่คือสถานการณ์ชี้เป็นชี้ตายสำหรับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย หากหน่วยงานที่ตรวจสอบมาตรฐานเหล่านี้เปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย แต่หากผลออกมาเป็นลบว่าเราไม่ได้มาตรฐานทางด้านการบินหรือเรียกว่าสอบตก ทั้งยุโรปและสหรัฐฯ จะมีมาตรการใดออกมาต่อสายการบินสัญชาติไทย หนักที่สุดคือห้ามสายการบินของไทยบินเข้าประเทศปลายทาง
รอวัดดวง “หนักหรือเบา”
“ตอนนี้เรากำลังรอดูว่าผลการพิจารณาจะออกมาอย่างไร แม้จะรอดไปแล้วสำหรับ EASA แต่ต้องรอดู FAA และ ICAO ว่าพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาของไทยเป็นที่น่าพอใจตามมาตรฐานในการตรวจสอบหรือไม่ และหากถูกห้ามบินย่อมไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทย และผลการพิจารณาของหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าทิศทางต่อประเทศอื่นๆ ว่าจะมีข้อกำหนดหรือมาตรการเช่นเดียวกันหรือไม่” แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมการบินกล่าว
โดยก่อนหน้านี้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ทีได้่กล่าวไว้ว่า ตราบใดที่ยังมีธงแดงปักอยู่หน้าประเทศไทยในเว็บไซต์ ถือว่าเป็นความเสี่ยงของสายการบินสัญชาติไทย เพราะไม่สามารถขยายเส้นทางบินใหม่ เพิ่มเที่ยวบินและทำการบินแบบเช่าเหมาลำได้ จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงคมนาคมและกรมการบินพลเรือน จะเร่งแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเพียงใด เพื่อให้ธงแดงนั้นปักอยู่ในระยะสั้นที่สุด
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการถูกลดอันดับจาก ICAO ไม่ใช่เรื่องมาตรการของสายการบินของไทยต่ำกว่ามาตรฐาน แต่เป็นตัวของกรมการบินพลเรือนเองที่ไม่ได้มาตรฐานจากการประเมิน ดังนั้นเมื่อสายการบินของไทยทุกแห่งต้องขอใบอนุญาตจากทางกรมการบินพลเรือน เมื่อต้นทางถูกประเมินว่าไม่ผ่าน ตัวสายการบินก็กระทบไปด้วย
แค่การประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ก็ทำให้ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่สายการบินของไทยบินไปมากเป็นพิเศษ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย หน่วยงานด้านการบินของทั้ง 2 ต้องออกมาตรการควบคุม โดยเฉพาะเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำ รวมถึงอีกหลายประเทศที่เข้มงวดสายการบินเช่าเหมาลำของไทยเช่นกัน
ทัวร์ยุโรปไม่กระทบ-ญี่ปุ่นวุ่น
นายวุฒิชัย อัครพันธ์ไพโรจน์ ผู้จัดการบริษัททัวร์ ควอลิตี้ เอ็กซ์เพรส กล่าวว่า เรายังรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร องค์กรการบินของยุโรป สหรัฐฯ จะแบนสายการบินของไทยหรือไม่ และประเทศไหนจะประกาศแบนตามบ้าง
ในด้านของบริษัททัวร์แล้ว หากสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยถูกโซนยุโรปและสหรัฐฯ มีมาตรการห้ามบินขึ้นมา คงไม่เป็นปัญหาสำหรับธุรกิจทัวร์ เพราะทัวร์ยุโรปส่วนใหญ่จะใช้สายการบินต่างประเทศอย่างเช่น สายการบินเอทิฮัด หรือเอมิเรตส์ แอร์ไลน์ เมื่อ EASA ไม่มีมาตรการเพิ่มเติมสายการบินอย่างการบินไทยก็ไม่มีปัญหา บริษัททัวร์บางแห่งก็ยังใช้สายการบินไทยได้ แต่ที่จะเป็นปัญหาคือโซนเอเชียอย่างญี่ปุ่นที่หลายโปรแกรมใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำเพราะทำราคาได้ถูก
“อย่างตอนนี้โปรแกรมทัวร์ไปญี่ปุ่น เราก็ยังเปิดขายตามปกติแต่ไปใช้สายการบินหลักอย่างการบินไทย เจแปนแอร์ไลน์ หรือสายการบินอื่นที่ได้รับอนุญาต”
หากสายการบินของไทยถูกลงดาบที่ 2 จากญี่ปุ่น เช่น ห้ามสายการบินจากไทยทั้งหมด ก็คงต้องเปลี่ยนไปใช้สายการบินจากต่างประเทศที่บินไปญี่ปุ่นแทน
ดังนั้นปัญหาที่ประเทศไทยถูกลงโทษจากหน่วยงานตรวจสอบด้านการบินระหว่างประเทศ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือตัวสายการบินที่ถูกสั่งห้ามบินเข้าประเทศต่างๆ อย่างเครื่องเช่าเหมาลำของไทยที่เคยบินไปญี่ปุ่นตอนนี้ก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปที่อื่นที่อนุญาตให้บินได้
ราคาทัวร์มีสิทธิ์ปรับขึ้น
เอเยนต์ทัวร์อีกรายกล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์ค่อนข้างลำบากอย่างเกาหลีตอนนี้แทบจะไม่มีคนไทยไปเที่ยวแล้ว จากการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome : MERS) ลูกค้าบางรายเสียเงินทั้งหมดแล้วแต่ยอมยกเลิกการเดินทางเอง เพราะกังวลในโรคติดต่อดังกล่าว โปรแกรมเกาหลีในช่วงนี้จึงขายยาก ดังนั้นมาตรการห้ามเครื่องบินเช่าเหมาลำจากไทยไปเกาหลีก็ยังเป็นไปตามเดิม ส่วนจะผ่อนคลายเพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลับหลังจากพ้นสถานการณ์ MERs คงต้องรออีกระยะ
หากกรมการบินพลเรือนของไทยถูกลงโทษเพิ่มเติม ย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการทัวร์และลูกค้า ต้องยอมรับว่าที่คนนิยมไปญี่ปุ่นกันมากในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการนำเอาเครื่องบินเช่าเหมาลำเข้ามาให้บริการเพื่อลดต้นทุน ทำให้สามารถขายทัวร์ได้ในราคาที่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ตรงนี้เป็นความต่อเนื่องมาจากเครื่องเช่าเหมาลำที่ไปเปิดตลาดเกาหลีจนประสบความสำเร็จ
แรกๆ มีเพียง 1-2 รายที่ลองทำ และได้รับความนิยมจากคนไทย เนื่องจากตอบสนองความต้องการของคนที่มีรายได้ไม่สูงนักให้มีโอกาสไปท่องเที่ยวยังประเทศญี่ปุ่นได้ หากเป็นการเดินทางในรูปแบบเดิมกับสายการบินปกติ ค่าใช้จ่ายเฉพาะที่โตเกียวต้องมีเฉียด 4 หมื่นบาทขึ้นไป อีกทั้งญี่ปุ่นมีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะ เมื่อสายการบินรายใหญ่โดดลงมาร่วมวงด้วยจึงทำให้โปรแกรมญี่ปุ่นได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าสำหรับคนไทย
ช่วงนี้เป็น Low Season ที่ญี่ปุ่น กลุ่มสายการบินที่เน้นราคาประหยัดทำทัวร์โตเกียวที่ญี่ปุ่นกันได้ที่ราว 25,900-27,900 บาทกับโปรแกรม 5 วัน 3 คืน บางรายอาจทำราคาต่ำกว่านี้ แต่ต้องดูรายละเอียดของโปรแกรมดี ๆ ก่อนหน้านี้แอร์เอเชียเอ็กซ์ เปิดเส้นทางฮอกไกโด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำราคาในช่วงนี้กันที่ 29,900 บาท ถ้าเดินทางด้วยสายการบินปกติเวลานี้คงต้องมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาทหรือเกินกว่า 6 หมื่นบาทหากเป็นช่วงหน้าหนาว แต่ตอนนี้แอร์เอเชียเอ็กซ์ประกาศหยุดบินไปฮอกไกโดตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2558
แน่นอนว่าหากประเทศปลายทางเข้มงวดในเรื่องสายการบินเช่าเหมาลำ บริษัททัวร์ก็ต้องกลับไปใช้บริการสายการบินปกติ ปกติแล้วส่วนต่างของค่าโดยสารสายการบินเช่าเหมาลำจะทำราคาได้ถูกกว่าสายการบินที่มีเส้นทางบินประจำอยู่ราว 4-6 พันบาท และเมื่อสายการบินมีคู่แข่งน้อยลง ราคาทัวร์ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วง High Season ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปทั้งฤดูใบไม้เปลี่ยนสีหรือต้องการสัมผัสหิมะในฤดูหนาวตรงนี้อาจทำให้คนที่เตรียมตัววางแผนจะเดินทางไปท่องเที่ยว อาจต้องทบทวนกันใหม่เพราะราคามีสิทธิที่จะปรับสูงขึ้น
ต่างชาติรอฮุบนักท่องเที่ยวไทย
อย่างไรก็ตาม สำหรับสายการบินราคาประหยัดที่เดินทางไปญี่ปุ่นก็ยังมี เช่น Air Asia X ที่สามารถใช้เครื่องบินสัญชาติมาเลเซียมาให้บริการได้ เช่นเดียวกับนกสกู๊ตที่ใช้เครื่องบินจากสิงคโปร์มาให้บริการได้เช่นกัน ส่วน Jet Asia ก็ยังให้บริการได้ ทั้งนี้คงต้องรอดูว่าหากสายการบินจากไทยถูกจำกัดลง ราคาทัวร์จะมีการปรับขึ้นหรือไม่ และเท่าไหร่ สูงไปจนทำให้คนไทยเปลี่ยนใจไปเที่ยวที่อื่นแทนหรือไม่
ขณะเดียวกันวิกฤตที่เกิดขึ้นกับวงการบินของประเทศไทย ย่อมเป็นโอกาสที่สายการบินชาติอื่นอาจเข้ามาชิงตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วยการเข้ามาให้บริการแทน ภายใต้เงื่อนไขในราคาที่ประหยัด อย่างเวียดนามแอร์ที่เคยทำโปรแกรมเที่ยวโอซากา ในราคาต่ำ 3 หมื่นบาทกับระยะเวลา 5 วัน 3 คืน แต่ต้องไปต่อเครื่องที่เวียดนาม ตอนนั้นคนอาจไม่นิยมนักเนื่องจากมีเครื่องเช่าเหมาลำบินตรง
เราอาจได้เห็นการเข้ามาทำตลาดของสายการบินต่างชาติ เพื่อดึงลูกค้าคนไทยด้วยโปรแกรมท่องเที่ยว 2 ประเทศมากขึ้นในอนาคต หากสถานการณ์ด้านการบินของไทยถูกแบนจากต่างชาติ โดยปลายทางยังเป็นญี่ปุ่นเช่นเดิม เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิค อาจออกโปรแกรมมาเที่ยวฮ่องกงก่อนไปญี่ปุ่น หรือโคเรียนแอร์ อาจต้องการแก้ปัญหาเรื่องโรคติดต่อที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปมากด้วยการแวะเที่ยวที่เกาหลีก่อนไปญี่ปุ่น
ต้นเหตุที่กรมการบินพลเรือน
นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่ง กล่าวถึงสถานการณ์ด้านการบินในขณะนี้ว่า การที่ประเทศไทยถูกลดอันดับในเรื่องมาตรฐานการบิน ในภาพรวมแล้วย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมการบินและเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเรื่องความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยด้านการบินถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้โดยสารที่รับทราบข้อมูลเหล่านี้แล้วย่อมหลีกเลี่ยงที่จะใช้บริการของสายการบินจากประเทศไทย แม้ว่าตัวสายการบินจะผ่านการรับรองจากประเทศปลายทางแล้วก็ตาม
เมื่อจำนวนผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการสายการบินจากไทยลดลง โดยเฉพาะการบินไทยที่เป็นสายการบินหลักของชาติ มีเส้นทางบินครอบคลุมทั่วโลก ย่อมกระทบต่อรายได้และแผนฟื้นฟูที่การบินไทยกำลังแก้ปัญหาสถานะทางการเงินอยู่ในเวลานี้ หากสถานการณ์เลวร้ายจนถึงขั้นห้ามบินทุกสายการบินจากประเทศไทยแล้ว ย่อมจะกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย
เวลานี้ประเทศไทยวางเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นเป้าหมายหลักในการสร้างรายได้เข้าประเทศ หลังจากที่การส่งออกของไทยมีปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อในประเทศที่หายไป หากอุตสาหกรรมการบินของไทยถูกมาตรการลงโทษจากนานาชาติ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหวังที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เศรษฐกิจของประเทศยิ่งจะแย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่
ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องสายการบินของไทยด้อยคุณภาพ แต่เป็นที่กรมการบินพลเรือนของไทยมีปัญหาจนไม่ผ่านมาตรฐานการบินจากนานาชาติ นี่อาจจะเป็นครั้งแรกๆ ของประเทศที่หน่วยงานรัฐที่ควบคุมอุตสาหกรรมการบินของไทยมีปัญหา เอกชนหรือผู้ประกอบการสายการบินไม่มีปัญหา แต่ถูกลงโทษไปพร้อมๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากอดีตหรือปัจจุบันเราก็ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข แม้ที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าจะใช้มาตรา 44 เพื่อเร่งแก้ปัญหาแต่สุดท้ายแผนในการแก้ปัญหาก็ยังไม่เสร็จสิ้นตามที่ ICAO ให้เวลาไว้ ตอนนี้ต้องวัดดวงกันว่าหน่วยงานอย่าง FAA จะเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยและผลการพิจารณาออกมาอย่างไร คงต้องตามรอดูกันต่อไป
การขึ้นสัญลักษณ์ธงแดงขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (The International Civil Aviation Organization: ICAO) ต่อประเทศไทยบนเว็บไซต์ของ ICAO เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ทำให้คนไทยต้องหันกลับมามองถึงปัญหาของมาตรฐานด้านการบินของไทยอีกครั้ง หลังจากที่ ICAO ลดมาตรฐานการบินของไทยไปเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวถือเป็นช่วงของการเร่งแก้ปัญหาที่กรมการบินพลเรือนของไทยถูกท้วงติงและยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด
นอกจากนี้ยังมีอีก 2 หน่วยงานที่จะเข้ามาพิจารณามาตรฐานการบินของไทยอีกคือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration : FAA) และองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA)
ทั้งนี้ EASA ได้เชิญกรมการบินพลเรือนของไทยไปชี้แจงที่ประเทศเยอรมนีเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2558 และทางฝ่ายไทยได้เดินทางไปชี้แจงถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 มิถุนายน และในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ทาง EASA จะมีการประกาศผลการพิจารณาต่อประเทศไทย
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ล่าสุดคณะกรรมาธิการความปลอดภัยทางการบินของสหภาพยุโรป ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป หรือ EASA แถลงว่า จะไม่มีมาตรการใด ๆ เพิ่มเติมกับสายการบินสัญชาติไทย ดังนั้นสายการบินสัญชาติไทย จึงสามารถบินเข้า-ออก ประเทศสหภาพยุโรปได้ตามปกติ แต่หากสายการบินใดขอจะเพิ่มการบริการ เช่น ขอเพิ่มเที่ยวบิน เปลี่ยนเครื่องบิน จะต้องเสนอขออนุมัติเองเป็นรายกรณี
ดังนั้นคงต้องมาดูกันต่อไปว่าองค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ที่จะเข้ามาดูมาตรฐานของกรมการบินพลเรือนไทยระหว่าง 13-17 กรกฎาคมนี้ จากนั้นแล้วจะมีผลการพิจารณาออกมาอย่างไร
นี่คือสถานการณ์ชี้เป็นชี้ตายสำหรับอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย หากหน่วยงานที่ตรวจสอบมาตรฐานเหล่านี้เปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นผลดีต่อประเทศไทย แต่หากผลออกมาเป็นลบว่าเราไม่ได้มาตรฐานทางด้านการบินหรือเรียกว่าสอบตก ทั้งยุโรปและสหรัฐฯ จะมีมาตรการใดออกมาต่อสายการบินสัญชาติไทย หนักที่สุดคือห้ามสายการบินของไทยบินเข้าประเทศปลายทาง
รอวัดดวง “หนักหรือเบา”
“ตอนนี้เรากำลังรอดูว่าผลการพิจารณาจะออกมาอย่างไร แม้จะรอดไปแล้วสำหรับ EASA แต่ต้องรอดู FAA และ ICAO ว่าพิจารณาแนวทางในการแก้ปัญหาของไทยเป็นที่น่าพอใจตามมาตรฐานในการตรวจสอบหรือไม่ และหากถูกห้ามบินย่อมไม่เป็นผลดีต่อประเทศไทย และผลการพิจารณาของหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าทิศทางต่อประเทศอื่นๆ ว่าจะมีข้อกำหนดหรือมาตรการเช่นเดียวกันหรือไม่” แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมการบินกล่าว
โดยก่อนหน้านี้นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ทีได้่กล่าวไว้ว่า ตราบใดที่ยังมีธงแดงปักอยู่หน้าประเทศไทยในเว็บไซต์ ถือว่าเป็นความเสี่ยงของสายการบินสัญชาติไทย เพราะไม่สามารถขยายเส้นทางบินใหม่ เพิ่มเที่ยวบินและทำการบินแบบเช่าเหมาลำได้ จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยขึ้นอยู่กับว่ากระทรวงคมนาคมและกรมการบินพลเรือน จะเร่งแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วเพียงใด เพื่อให้ธงแดงนั้นปักอยู่ในระยะสั้นที่สุด
แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการถูกลดอันดับจาก ICAO ไม่ใช่เรื่องมาตรการของสายการบินของไทยต่ำกว่ามาตรฐาน แต่เป็นตัวของกรมการบินพลเรือนเองที่ไม่ได้มาตรฐานจากการประเมิน ดังนั้นเมื่อสายการบินของไทยทุกแห่งต้องขอใบอนุญาตจากทางกรมการบินพลเรือน เมื่อต้นทางถูกประเมินว่าไม่ผ่าน ตัวสายการบินก็กระทบไปด้วย
แค่การประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ก็ทำให้ทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่สายการบินของไทยบินไปมากเป็นพิเศษ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยวไทย หน่วยงานด้านการบินของทั้ง 2 ต้องออกมาตรการควบคุม โดยเฉพาะเครื่องบินแบบเช่าเหมาลำ รวมถึงอีกหลายประเทศที่เข้มงวดสายการบินเช่าเหมาลำของไทยเช่นกัน
ทัวร์ยุโรปไม่กระทบ-ญี่ปุ่นวุ่น
นายวุฒิชัย อัครพันธ์ไพโรจน์ ผู้จัดการบริษัททัวร์ ควอลิตี้ เอ็กซ์เพรส กล่าวว่า เรายังรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร องค์กรการบินของยุโรป สหรัฐฯ จะแบนสายการบินของไทยหรือไม่ และประเทศไหนจะประกาศแบนตามบ้าง
ในด้านของบริษัททัวร์แล้ว หากสายการบินที่จดทะเบียนในประเทศไทยถูกโซนยุโรปและสหรัฐฯ มีมาตรการห้ามบินขึ้นมา คงไม่เป็นปัญหาสำหรับธุรกิจทัวร์ เพราะทัวร์ยุโรปส่วนใหญ่จะใช้สายการบินต่างประเทศอย่างเช่น สายการบินเอทิฮัด หรือเอมิเรตส์ แอร์ไลน์ เมื่อ EASA ไม่มีมาตรการเพิ่มเติมสายการบินอย่างการบินไทยก็ไม่มีปัญหา บริษัททัวร์บางแห่งก็ยังใช้สายการบินไทยได้ แต่ที่จะเป็นปัญหาคือโซนเอเชียอย่างญี่ปุ่นที่หลายโปรแกรมใช้เครื่องบินเช่าเหมาลำเพราะทำราคาได้ถูก
“อย่างตอนนี้โปรแกรมทัวร์ไปญี่ปุ่น เราก็ยังเปิดขายตามปกติแต่ไปใช้สายการบินหลักอย่างการบินไทย เจแปนแอร์ไลน์ หรือสายการบินอื่นที่ได้รับอนุญาต”
หากสายการบินของไทยถูกลงดาบที่ 2 จากญี่ปุ่น เช่น ห้ามสายการบินจากไทยทั้งหมด ก็คงต้องเปลี่ยนไปใช้สายการบินจากต่างประเทศที่บินไปญี่ปุ่นแทน
ดังนั้นปัญหาที่ประเทศไทยถูกลงโทษจากหน่วยงานตรวจสอบด้านการบินระหว่างประเทศ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือตัวสายการบินที่ถูกสั่งห้ามบินเข้าประเทศต่างๆ อย่างเครื่องเช่าเหมาลำของไทยที่เคยบินไปญี่ปุ่นตอนนี้ก็ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปที่อื่นที่อนุญาตให้บินได้
ราคาทัวร์มีสิทธิ์ปรับขึ้น
เอเยนต์ทัวร์อีกรายกล่าวว่า ตอนนี้สถานการณ์ค่อนข้างลำบากอย่างเกาหลีตอนนี้แทบจะไม่มีคนไทยไปเที่ยวแล้ว จากการระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome : MERS) ลูกค้าบางรายเสียเงินทั้งหมดแล้วแต่ยอมยกเลิกการเดินทางเอง เพราะกังวลในโรคติดต่อดังกล่าว โปรแกรมเกาหลีในช่วงนี้จึงขายยาก ดังนั้นมาตรการห้ามเครื่องบินเช่าเหมาลำจากไทยไปเกาหลีก็ยังเป็นไปตามเดิม ส่วนจะผ่อนคลายเพื่อดึงนักท่องเที่ยวกลับหลังจากพ้นสถานการณ์ MERs คงต้องรออีกระยะ
หากกรมการบินพลเรือนของไทยถูกลงโทษเพิ่มเติม ย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการทัวร์และลูกค้า ต้องยอมรับว่าที่คนนิยมไปญี่ปุ่นกันมากในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการนำเอาเครื่องบินเช่าเหมาลำเข้ามาให้บริการเพื่อลดต้นทุน ทำให้สามารถขายทัวร์ได้ในราคาที่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ตรงนี้เป็นความต่อเนื่องมาจากเครื่องเช่าเหมาลำที่ไปเปิดตลาดเกาหลีจนประสบความสำเร็จ
แรกๆ มีเพียง 1-2 รายที่ลองทำ และได้รับความนิยมจากคนไทย เนื่องจากตอบสนองความต้องการของคนที่มีรายได้ไม่สูงนักให้มีโอกาสไปท่องเที่ยวยังประเทศญี่ปุ่นได้ หากเป็นการเดินทางในรูปแบบเดิมกับสายการบินปกติ ค่าใช้จ่ายเฉพาะที่โตเกียวต้องมีเฉียด 4 หมื่นบาทขึ้นไป อีกทั้งญี่ปุ่นมีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะ เมื่อสายการบินรายใหญ่โดดลงมาร่วมวงด้วยจึงทำให้โปรแกรมญี่ปุ่นได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นยกเว้นวีซ่าสำหรับคนไทย
ช่วงนี้เป็น Low Season ที่ญี่ปุ่น กลุ่มสายการบินที่เน้นราคาประหยัดทำทัวร์โตเกียวที่ญี่ปุ่นกันได้ที่ราว 25,900-27,900 บาทกับโปรแกรม 5 วัน 3 คืน บางรายอาจทำราคาต่ำกว่านี้ แต่ต้องดูรายละเอียดของโปรแกรมดี ๆ ก่อนหน้านี้แอร์เอเชียเอ็กซ์ เปิดเส้นทางฮอกไกโด ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ทำราคาในช่วงนี้กันที่ 29,900 บาท ถ้าเดินทางด้วยสายการบินปกติเวลานี้คงต้องมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาทหรือเกินกว่า 6 หมื่นบาทหากเป็นช่วงหน้าหนาว แต่ตอนนี้แอร์เอเชียเอ็กซ์ประกาศหยุดบินไปฮอกไกโดตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2558
แน่นอนว่าหากประเทศปลายทางเข้มงวดในเรื่องสายการบินเช่าเหมาลำ บริษัททัวร์ก็ต้องกลับไปใช้บริการสายการบินปกติ ปกติแล้วส่วนต่างของค่าโดยสารสายการบินเช่าเหมาลำจะทำราคาได้ถูกกว่าสายการบินที่มีเส้นทางบินประจำอยู่ราว 4-6 พันบาท และเมื่อสายการบินมีคู่แข่งน้อยลง ราคาทัวร์ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วง High Season ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไปทั้งฤดูใบไม้เปลี่ยนสีหรือต้องการสัมผัสหิมะในฤดูหนาวตรงนี้อาจทำให้คนที่เตรียมตัววางแผนจะเดินทางไปท่องเที่ยว อาจต้องทบทวนกันใหม่เพราะราคามีสิทธิที่จะปรับสูงขึ้น
ต่างชาติรอฮุบนักท่องเที่ยวไทย
อย่างไรก็ตาม สำหรับสายการบินราคาประหยัดที่เดินทางไปญี่ปุ่นก็ยังมี เช่น Air Asia X ที่สามารถใช้เครื่องบินสัญชาติมาเลเซียมาให้บริการได้ เช่นเดียวกับนกสกู๊ตที่ใช้เครื่องบินจากสิงคโปร์มาให้บริการได้เช่นกัน ส่วน Jet Asia ก็ยังให้บริการได้ ทั้งนี้คงต้องรอดูว่าหากสายการบินจากไทยถูกจำกัดลง ราคาทัวร์จะมีการปรับขึ้นหรือไม่ และเท่าไหร่ สูงไปจนทำให้คนไทยเปลี่ยนใจไปเที่ยวที่อื่นแทนหรือไม่
ขณะเดียวกันวิกฤตที่เกิดขึ้นกับวงการบินของประเทศไทย ย่อมเป็นโอกาสที่สายการบินชาติอื่นอาจเข้ามาชิงตลาดนักท่องเที่ยวชาวไทยด้วยการเข้ามาให้บริการแทน ภายใต้เงื่อนไขในราคาที่ประหยัด อย่างเวียดนามแอร์ที่เคยทำโปรแกรมเที่ยวโอซากา ในราคาต่ำ 3 หมื่นบาทกับระยะเวลา 5 วัน 3 คืน แต่ต้องไปต่อเครื่องที่เวียดนาม ตอนนั้นคนอาจไม่นิยมนักเนื่องจากมีเครื่องเช่าเหมาลำบินตรง
เราอาจได้เห็นการเข้ามาทำตลาดของสายการบินต่างชาติ เพื่อดึงลูกค้าคนไทยด้วยโปรแกรมท่องเที่ยว 2 ประเทศมากขึ้นในอนาคต หากสถานการณ์ด้านการบินของไทยถูกแบนจากต่างชาติ โดยปลายทางยังเป็นญี่ปุ่นเช่นเดิม เช่น คาเธ่ย์ แปซิฟิค อาจออกโปรแกรมมาเที่ยวฮ่องกงก่อนไปญี่ปุ่น หรือโคเรียนแอร์ อาจต้องการแก้ปัญหาเรื่องโรคติดต่อที่ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปมากด้วยการแวะเที่ยวที่เกาหลีก่อนไปญี่ปุ่น
ต้นเหตุที่กรมการบินพลเรือน
นักเศรษฐศาสตร์รายหนึ่ง กล่าวถึงสถานการณ์ด้านการบินในขณะนี้ว่า การที่ประเทศไทยถูกลดอันดับในเรื่องมาตรฐานการบิน ในภาพรวมแล้วย่อมไม่เป็นผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมการบินและเศรษฐกิจของประเทศ เพราะเรื่องความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยด้านการบินถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้โดยสารที่รับทราบข้อมูลเหล่านี้แล้วย่อมหลีกเลี่ยงที่จะใช้บริการของสายการบินจากประเทศไทย แม้ว่าตัวสายการบินจะผ่านการรับรองจากประเทศปลายทางแล้วก็ตาม
เมื่อจำนวนผู้โดยสารที่เลือกใช้บริการสายการบินจากไทยลดลง โดยเฉพาะการบินไทยที่เป็นสายการบินหลักของชาติ มีเส้นทางบินครอบคลุมทั่วโลก ย่อมกระทบต่อรายได้และแผนฟื้นฟูที่การบินไทยกำลังแก้ปัญหาสถานะทางการเงินอยู่ในเวลานี้ หากสถานการณ์เลวร้ายจนถึงขั้นห้ามบินทุกสายการบินจากประเทศไทยแล้ว ย่อมจะกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย
เวลานี้ประเทศไทยวางเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นเป้าหมายหลักในการสร้างรายได้เข้าประเทศ หลังจากที่การส่งออกของไทยมีปัญหาจากสภาพเศรษฐกิจโลกและกำลังซื้อในประเทศที่หายไป หากอุตสาหกรรมการบินของไทยถูกมาตรการลงโทษจากนานาชาติ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อความหวังที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เศรษฐกิจของประเทศยิ่งจะแย่ลงไปกว่าที่เป็นอยู่
ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องสายการบินของไทยด้อยคุณภาพ แต่เป็นที่กรมการบินพลเรือนของไทยมีปัญหาจนไม่ผ่านมาตรฐานการบินจากนานาชาติ นี่อาจจะเป็นครั้งแรกๆ ของประเทศที่หน่วยงานรัฐที่ควบคุมอุตสาหกรรมการบินของไทยมีปัญหา เอกชนหรือผู้ประกอบการสายการบินไม่มีปัญหา แต่ถูกลงโทษไปพร้อมๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากอดีตหรือปัจจุบันเราก็ต้องเร่งดำเนินการแก้ไข แม้ที่ผ่านมารัฐบาลบอกว่าจะใช้มาตรา 44 เพื่อเร่งแก้ปัญหาแต่สุดท้ายแผนในการแก้ปัญหาก็ยังไม่เสร็จสิ้นตามที่ ICAO ให้เวลาไว้ ตอนนี้ต้องวัดดวงกันว่าหน่วยงานอย่าง FAA จะเข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยและผลการพิจารณาออกมาอย่างไร คงต้องตามรอดูกันต่อไป