ฟันธง!! กลุ่มเคลื่อนไหวเดินเครื่องมากขึ้น นับตั้งแต่คดียิ่งลักษณ์ขึ้นสู่ศาลฯ หลังจาก คสช.เลือกเดินหน้าดำเนินคดี ชี้คดียิ่งงวด-ยิ่งแรง เผยกลุ่มป่วนแบ่งเป็น 3 ทีม ปั่นกระแสบนโซเซียลฯ-แสดงตัวท้ากฎอัยการศึก-กองกำลังก่อเหตุร้าย หวังต่างชาติยื่นมือ แต่ไม่ง่ายหากคนในประเทศหนุนรัฐบาลทหาร มั่นใจ “ประยุทธ์” เอาอยู่ คุมเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 2552 ประกบติดกลุ่มก่อเหตุ แถมไขลานตำรวจทำงานดีขึ้น
ปฎิบัติการท้าทายอำนาจรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี มีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 แต่ส่วนใหญ่เป็นการออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์ในทางการเมือง โดยเฉพาะขั้วอำนาจเก่าอย่างพรรคเพื่อไทย
หลังจากที่มีการปรับทัศนคติแกนนำทั้งฝ่ายสนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และฝ่ายที่เห็นตรงข้าม ทุกอย่างก็สงบลง มีบ้างในบางครั้งที่ประชาชนบางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการเข้ามายึดอำนาจในครั้งนี้ แต่ไม่มีอะไรรุนแรง
การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เริ่มมีมากขึ้นและต่อเนื่องนับตั้งแต่ 23 มกราคม 2558 ซึ่งในวันดังกล่าวทางอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก่อนที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 190:18 เสียง
นับแต่นั้นมาการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่สนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยมีมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น
1 กุมภาพันธ์ 2558 เกิดเหตุระเบิดขึ้นติดกัน 2 ครั้งหน้าห้างพารากอน หน้ารถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามสแควร์ เมื่อเข้าตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่อง ประกอบใส่ท่อ มีตะปูเป็นสะเก็ด ตั้งเวลาด้วยนาฬิกาดิจิตอล
ตามมาด้วยค่ำวันที่ 7 มีนาคม 2558 เกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดใส่ศาลอาญา และสามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้และขยายผลการจับกุมไปถึงผู้จ้างวาน โดยมีความเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มคนที่มีความคิดหมิ่นสถาบันที่แอบอิงกับกลุ่มคนเสื้อแดง โดยผู้ต้องหาเปิดเผยว่ามีแผนที่จะก่อเหตุร้ายในหลายจุดพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อหวังให้ต่างประเทศหรือสหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีการต่อต้านรัฐบาลทหาร ด้วยข้อความ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ในพื้นที่ต่างๆ อย่างที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และยังมีการขึ้นป้ายผ้าด้วยข้อความดังกล่าวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้มีการจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมขบวนการเสรีไทยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นสช.) จากนั้นมีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และกลุ่มแนวร่วมสามัญชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
คาดขบวนการป่วนมีมากขึ้น
“เราประเมินว่าการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามกฎอัยการศึก รวมไปถึงการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวพร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งส่วนที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้ามายึดอำนาจของทหาร ที่มองเฉพาะเรื่องของทฤษฎีและหลักการเป็นหลัก อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นตั้งใจเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่การเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่มย่อมสร้างประโยชน์ให้กับขั้วอำนาจเก่าไปในตัว
กลุ่มที่เคลื่อนไหวโดยธรรมชาติมีทั้งกลุ่มที่เป็นนักศึกษาและประชาชนส่วนหนึ่งที่เลือกมองเฉพาะการเข้ามามีอำนาจในทางลัดของคณะนายทหาร แต่เลือกที่จะไม่มองว่าเหตุผลของการเข้ามายึดอำนาจในครั้งนี้เป็นผลมาจากนักการเมืองที่บริหารประเทศผิดพลาดและควบคุมอำนาจทางรัฐสภา ถือเป็นกลุ่มที่มองปัญหาทางการเมืองแบบผิวเผินแล้วออกมาเคลื่อนไหว
ส่วนกลุ่มที่มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจน กลุ่มนี้สามารถเคลื่อนไหวได้มากกว่าการเรียกร้องทั่วไป มีศักยภาพในการก่อเหตุร้ายอย่างที่เราเห็น เช่น การวางระเบิด เพื่อสร้างความวุ่นวายและสร้างภาพลบให้กับรัฐบาลปัจจุบัน
“พวกนี้จะใช้วิธีตอดเล็กตอดน้อยไปเรื่อยๆ แม้จะไม่รุนแรง แต่เมื่อทำได้หลายๆ ครั้ง เท่ากับเป็นตัวชี้ว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมสถานการณ์ อีกทั้งสถานะของรัฐบาลเองก็เป็นภาพลบในสายตาของต่างชาติอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐบาลควรควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวด้วยความรอบคอบ”
กลุ่มเก่าเอาคืน
สอดคล้องกับผู้ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ทางการเมืองจากกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ว่า เป็นปฏิกิริยาโต้กลับจริงๆ คือฝ่ายที่เสียอำนาจเดิมเริ่มดำเนินการเอาคืนหลังจากที่ข้อตกลงระหว่างกันไม่เป็นผล
เดิมเชื่อกันว่ากรณีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น น่าจะมีการพูดคุยกันระหว่างทักษิณ ชินวัตร กับคณะนายทหารที่เข้ายึดอำนาจ จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกๆ นั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สายทหาร พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับเอาคดีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์มาพิจารณา แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ของ สนช.รับเข้ามา ก็แสดงความคิดเห็นในเชิงที่คดีนางสาวยิ่งลักษณ์อาจไม่ผิด เพราะได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญเดิมไปแล้ว
ทั้งนี้เป็นผลมาจากมีสมาชิก สนช.สายธุรกิจที่เข้าพบกับรองนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่ง เพื่อประเมินสถานการณ์และกระแสของภาคประชาชน สุดท้ายจึงเห็นไปในทางเดียวกัน
ดังนั้นในวันที่ 23 มกราคม 2558 ทุกอย่างจึงชัดเจนว่าท่าทีของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปในทางใด ช่วงเช้าอัยการสูงสุดมีมติฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนด้วยคะแนนท่วมท้น ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี และต้องไปต่อสู้คดีอาญาในชั้นศาลอีก
สูตรเก่า 3 แนวทาง
หลังจากนั้นการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันการทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยแยกเป็น 3 แนวทางซึ่งเป็นรูปแบบเดิมที่เคยใช้กันมาก่อน
แนวทางแรกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาทำการปลุกกระแสให้คนลุกขึ้นมาต่อต้าน โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ ด้วยชื่อใหม่ๆ แต่คนที่ขับเคลื่อนยังเป็นคนเดิมๆ ที่เคยเคลื่อนไหว อย่างแนวร่วมขบวนการเสรีไทยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นสช.) ที่มีนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ อั้ม เนโกะ เป็นผู้ดูแล ดำเนินการบนเฟซบุ๊กเป็นตัวเชื่อมข่าวสารจากช่องทางต่างๆ ที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น เผยแพร่ความเคลื่อนไหวของศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย และเปิดเว็บไซต์ www.norporchoreu.com
แนวร่วมสามัญชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เดินหน้าเรื่องการคัดค้านการนำเอาคดีของพลเรือนขึ้นศาลทหาร เป้าหมายเพื่อต่อต้านเรื่องเผด็จการ เป็นการนำเสนอเรื่องของนักศึกษาที่ออกไปเคลื่อนไหวจนถูกจับกุม และกลุ่มพลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen ที่เคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน
แนวทางต่อมารวบรวมกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกันทั้งประชาชนและนักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้ามา เพื่อร่วมกันแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย และเป็นบททดสอบกฎอัยการศึกที่รัฐบาลชุดนี้ยังคงไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการจับกุม สร้างภาพลบในด้านเสรีภาพให้กับรัฐบาล เพื่อดึงให้หน่วยงานทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง ฮิวแมนไรต์ วอตช์ เข้ามา
แนวทางที่ 1 และ 2 เป็นการประสานงานร่วมกัน
แนวทางที่สามคือการเตรียมกองกำลังเพื่อก่อเหตุร้าย จะออกมาปฏิบัติการเมื่อได้รับคำสั่ง เห็นได้จากหลังจากที่ยิ่งลักษณ์ถูกดำเนินคดี มีเหตุระเบิด 2 ครั้งทั้งที่หน้าห้างสยามพารากอนและที่ศาลอาญา ตรงนี้จะเป็นส่วนที่มีนักการเมืองและผู้มีอำนาจในอดีตให้การสนับสนุน ทั้งเรื่องอาวุธและเงิน
ในกลุ่มนี้เป็นไปได้ทั้งเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ 1 และ 2 หรืออาจไม่เกี่ยวข้อง แต่เป้าหมายของทั้ง 3 แนวทางเป็นเป้าหมายเดียวกันคือต่อต้านการรัฐประหาร และปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นล้วนแต่เป็นประโยชน์กับพรรคเพื่อไทยและผู้สนับสนุนอย่างคนเสื้อแดง
แรงเพราะคดียิ่งลักษณ์-รัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า เชื่อว่าจากนี้ไปจะมีการเคลื่อนไหวพร้อมกับการก่อเหตุในลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจะรุนแรงและถี่มากน้อยขนาดไหน ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ 2 เรื่อง คือคดีของยิ่งลักษณ์งวดขึ้นทุกขณะมีโอกาสที่จะถูกจำคุก อีกเรื่องคือสาระของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หากจำกัดสิทธิ์ในทางการเมืองและโอกาสที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ความรุนแรงก็จะมากขึ้นตามลำดับ
“เรื่องของคุณยิ่งลักษณ์น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวมากที่สุด เพราะถึงอย่างไรคุณทักษิณก็คงไม่อยากให้น้องสาวต้องมาติดคุก”
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าสถานการณ์คงจะไม่รุนแรงมาก และคณะนายทหารชุดนี้ได้ผ่านประสบการณ์มาตั้งแต่ปี 2552 ครั้งนั้นพลเอกประยุทธ์ก็ทราบถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี น่าจะมีการเก็บข้อมูลของกลุ่มบุคคลและเครือข่ายของผู้ก่อเหตุเหล่านี้ไว้แล้ว เห็นได้จากการจับกุมการสะสมอาวุธในพื้นที่ต่างๆ ล่าสุดคือที่สระบุรี หรือกรณีการขว้างระเบิดที่ศาลอาญา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ทันที
อีกทั้งขณะนี้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเป็นพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง ที่ตำรวจนายใดละเลยจะมีการสั่งย้ายทันที ทำให้ตำรวจต้องปรับเปลี่ยนวิธีทำงานไปจากเดิม ทำให้โอกาสของการก่อเหตุร้ายทำได้ยากขึ้น
ดึงต่างชาติ-ไม่ง่าย
แหล่งข่าวจาก กปปส.กล่าวต่อไปว่า แม้เป้าหมายหลักของกลุ่มที่ก่อเหตุ เพื่อต้องการดึงให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ง่ายเช่นกัน หน่วยงานต่างชาติที่ต้องการเข้ามาก็ต้องประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยก่อน หากเห็นว่าภาคประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลชุดนี้กำลังดำเนินการอยู่ก็เข้ามาเคลื่อนไหวยาก ไม่เช่นนั้นจะถูกกระแสของคนในประเทศตอบโต้
อย่างสหรัฐฯ เขาอยากจะเข้ามาตลอด แต่เมื่อคนในประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางของ คสช. การเข้ามาก็ลำบาก แต่รัฐบาลก็ต้องควบคุมสถานการณ์เหล่านี้ให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นเหตุที่มหาอำนาจเหล่านี้ใช้การก่อเหตุดังกล่าวมาโจมตีประเทศไทย
หากสามารถประกอบตัวกลุ่มผู้จ้องก่อเหตุได้และระงับเหตุก่อนที่พวกเขาจะปฏิบัติการสำเร็จ ย่อมเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวก็ต้องทำความเข้าใจกับคนกลุ่มนี้ให้ดีและต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้นำไปขยายผลได้
ปฎิบัติการท้าทายอำนาจรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี มีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเข้ายึดอำนาจเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 แต่ส่วนใหญ่เป็นการออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยจากกลุ่มผู้เสียประโยชน์ในทางการเมือง โดยเฉพาะขั้วอำนาจเก่าอย่างพรรคเพื่อไทย
หลังจากที่มีการปรับทัศนคติแกนนำทั้งฝ่ายสนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และฝ่ายที่เห็นตรงข้าม ทุกอย่างก็สงบลง มีบ้างในบางครั้งที่ประชาชนบางกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการเข้ามายึดอำนาจในครั้งนี้ แต่ไม่มีอะไรรุนแรง
การเคลื่อนไหวเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เริ่มมีมากขึ้นและต่อเนื่องนับตั้งแต่ 23 มกราคม 2558 ซึ่งในวันดังกล่าวทางอัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก่อนที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะลงมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียง 190:18 เสียง
นับแต่นั้นมาการเคลื่อนไหวของกลุ่มที่สนับสนุนนางสาวยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยมีมาอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้น
1 กุมภาพันธ์ 2558 เกิดเหตุระเบิดขึ้นติดกัน 2 ครั้งหน้าห้างพารากอน หน้ารถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามสแควร์ เมื่อเข้าตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่อง ประกอบใส่ท่อ มีตะปูเป็นสะเก็ด ตั้งเวลาด้วยนาฬิกาดิจิตอล
ตามมาด้วยค่ำวันที่ 7 มีนาคม 2558 เกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดใส่ศาลอาญา และสามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้และขยายผลการจับกุมไปถึงผู้จ้างวาน โดยมีความเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มคนที่มีความคิดหมิ่นสถาบันที่แอบอิงกับกลุ่มคนเสื้อแดง โดยผู้ต้องหาเปิดเผยว่ามีแผนที่จะก่อเหตุร้ายในหลายจุดพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อหวังให้ต่างประเทศหรือสหประชาชาติเข้ามาแทรกแซงประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีการต่อต้านรัฐบาลทหาร ด้วยข้อความ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” ในพื้นที่ต่างๆ อย่างที่มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และยังมีการขึ้นป้ายผ้าด้วยข้อความดังกล่าวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้มีการจัดตั้งกลุ่มแนวร่วมขบวนการเสรีไทยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นสช.) จากนั้นมีกลุ่มพลเมืองโต้กลับ และกลุ่มแนวร่วมสามัญชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์
คาดขบวนการป่วนมีมากขึ้น
“เราประเมินว่าการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามกฎอัยการศึก รวมไปถึงการบริหารงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ” แหล่งข่าวด้านความมั่นคงกล่าวพร้อมอธิบายเพิ่มเติมว่า
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งส่วนที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้ามายึดอำนาจของทหาร ที่มองเฉพาะเรื่องของทฤษฎีและหลักการเป็นหลัก อีกกลุ่มหนึ่งจะเป็นตั้งใจเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป้าหมายทางการเมือง แต่การเคลื่อนไหวของทั้ง 2 กลุ่มย่อมสร้างประโยชน์ให้กับขั้วอำนาจเก่าไปในตัว
กลุ่มที่เคลื่อนไหวโดยธรรมชาติมีทั้งกลุ่มที่เป็นนักศึกษาและประชาชนส่วนหนึ่งที่เลือกมองเฉพาะการเข้ามามีอำนาจในทางลัดของคณะนายทหาร แต่เลือกที่จะไม่มองว่าเหตุผลของการเข้ามายึดอำนาจในครั้งนี้เป็นผลมาจากนักการเมืองที่บริหารประเทศผิดพลาดและควบคุมอำนาจทางรัฐสภา ถือเป็นกลุ่มที่มองปัญหาทางการเมืองแบบผิวเผินแล้วออกมาเคลื่อนไหว
ส่วนกลุ่มที่มีเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจน กลุ่มนี้สามารถเคลื่อนไหวได้มากกว่าการเรียกร้องทั่วไป มีศักยภาพในการก่อเหตุร้ายอย่างที่เราเห็น เช่น การวางระเบิด เพื่อสร้างความวุ่นวายและสร้างภาพลบให้กับรัฐบาลปัจจุบัน
“พวกนี้จะใช้วิธีตอดเล็กตอดน้อยไปเรื่อยๆ แม้จะไม่รุนแรง แต่เมื่อทำได้หลายๆ ครั้ง เท่ากับเป็นตัวชี้ว่ารัฐบาลชุดนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมสถานการณ์ อีกทั้งสถานะของรัฐบาลเองก็เป็นภาพลบในสายตาของต่างชาติอยู่แล้ว ดังนั้นรัฐบาลควรควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวด้วยความรอบคอบ”
กลุ่มเก่าเอาคืน
สอดคล้องกับผู้ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ทางการเมืองจากกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานี้ว่า เป็นปฏิกิริยาโต้กลับจริงๆ คือฝ่ายที่เสียอำนาจเดิมเริ่มดำเนินการเอาคืนหลังจากที่ข้อตกลงระหว่างกันไม่เป็นผล
เดิมเชื่อกันว่ากรณีของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั้น น่าจะมีการพูดคุยกันระหว่างทักษิณ ชินวัตร กับคณะนายทหารที่เข้ายึดอำนาจ จะเห็นได้ว่าในช่วงแรกๆ นั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สายทหาร พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่รับเอาคดีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์มาพิจารณา แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ของ สนช.รับเข้ามา ก็แสดงความคิดเห็นในเชิงที่คดีนางสาวยิ่งลักษณ์อาจไม่ผิด เพราะได้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญเดิมไปแล้ว
ทั้งนี้เป็นผลมาจากมีสมาชิก สนช.สายธุรกิจที่เข้าพบกับรองนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่ง เพื่อประเมินสถานการณ์และกระแสของภาคประชาชน สุดท้ายจึงเห็นไปในทางเดียวกัน
ดังนั้นในวันที่ 23 มกราคม 2558 ทุกอย่างจึงชัดเจนว่าท่าทีของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปในทางใด ช่วงเช้าอัยการสูงสุดมีมติฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวต่อศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากนั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนด้วยคะแนนท่วมท้น ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี และต้องไปต่อสู้คดีอาญาในชั้นศาลอีก
สูตรเก่า 3 แนวทาง
หลังจากนั้นการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันการทำงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยแยกเป็น 3 แนวทางซึ่งเป็นรูปแบบเดิมที่เคยใช้กันมาก่อน
แนวทางแรกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาทำการปลุกกระแสให้คนลุกขึ้นมาต่อต้าน โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ ด้วยชื่อใหม่ๆ แต่คนที่ขับเคลื่อนยังเป็นคนเดิมๆ ที่เคยเคลื่อนไหว อย่างแนวร่วมขบวนการเสรีไทยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นสช.) ที่มีนายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ อั้ม เนโกะ เป็นผู้ดูแล ดำเนินการบนเฟซบุ๊กเป็นตัวเชื่อมข่าวสารจากช่องทางต่างๆ ที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น เผยแพร่ความเคลื่อนไหวของศูนย์กลางนิสิต นักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย และเปิดเว็บไซต์ www.norporchoreu.com
แนวร่วมสามัญชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่เดินหน้าเรื่องการคัดค้านการนำเอาคดีของพลเรือนขึ้นศาลทหาร เป้าหมายเพื่อต่อต้านเรื่องเผด็จการ เป็นการนำเสนอเรื่องของนักศึกษาที่ออกไปเคลื่อนไหวจนถูกจับกุม และกลุ่มพลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen ที่เคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน
แนวทางต่อมารวบรวมกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นในทางเดียวกันทั้งประชาชนและนักศึกษาจำนวนหนึ่งเข้ามา เพื่อร่วมกันแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย และเป็นบททดสอบกฎอัยการศึกที่รัฐบาลชุดนี้ยังคงไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการจับกุม สร้างภาพลบในด้านเสรีภาพให้กับรัฐบาล เพื่อดึงให้หน่วยงานทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง ฮิวแมนไรต์ วอตช์ เข้ามา
แนวทางที่ 1 และ 2 เป็นการประสานงานร่วมกัน
แนวทางที่สามคือการเตรียมกองกำลังเพื่อก่อเหตุร้าย จะออกมาปฏิบัติการเมื่อได้รับคำสั่ง เห็นได้จากหลังจากที่ยิ่งลักษณ์ถูกดำเนินคดี มีเหตุระเบิด 2 ครั้งทั้งที่หน้าห้างสยามพารากอนและที่ศาลอาญา ตรงนี้จะเป็นส่วนที่มีนักการเมืองและผู้มีอำนาจในอดีตให้การสนับสนุน ทั้งเรื่องอาวุธและเงิน
ในกลุ่มนี้เป็นไปได้ทั้งเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่ 1 และ 2 หรืออาจไม่เกี่ยวข้อง แต่เป้าหมายของทั้ง 3 แนวทางเป็นเป้าหมายเดียวกันคือต่อต้านการรัฐประหาร และปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นล้วนแต่เป็นประโยชน์กับพรรคเพื่อไทยและผู้สนับสนุนอย่างคนเสื้อแดง
แรงเพราะคดียิ่งลักษณ์-รัฐธรรมนูญ
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า เชื่อว่าจากนี้ไปจะมีการเคลื่อนไหวพร้อมกับการก่อเหตุในลักษณะนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจะรุนแรงและถี่มากน้อยขนาดไหน ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ 2 เรื่อง คือคดีของยิ่งลักษณ์งวดขึ้นทุกขณะมีโอกาสที่จะถูกจำคุก อีกเรื่องคือสาระของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หากจำกัดสิทธิ์ในทางการเมืองและโอกาสที่จะทำให้พรรคเพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ความรุนแรงก็จะมากขึ้นตามลำดับ
“เรื่องของคุณยิ่งลักษณ์น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวมากที่สุด เพราะถึงอย่างไรคุณทักษิณก็คงไม่อยากให้น้องสาวต้องมาติดคุก”
อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าสถานการณ์คงจะไม่รุนแรงมาก และคณะนายทหารชุดนี้ได้ผ่านประสบการณ์มาตั้งแต่ปี 2552 ครั้งนั้นพลเอกประยุทธ์ก็ทราบถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี น่าจะมีการเก็บข้อมูลของกลุ่มบุคคลและเครือข่ายของผู้ก่อเหตุเหล่านี้ไว้แล้ว เห็นได้จากการจับกุมการสะสมอาวุธในพื้นที่ต่างๆ ล่าสุดคือที่สระบุรี หรือกรณีการขว้างระเบิดที่ศาลอาญา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้ทันที
อีกทั้งขณะนี้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมาเป็นพลตำรวจเอกสมยศ พุ่มพันธ์ุม่วง ที่ตำรวจนายใดละเลยจะมีการสั่งย้ายทันที ทำให้ตำรวจต้องปรับเปลี่ยนวิธีทำงานไปจากเดิม ทำให้โอกาสของการก่อเหตุร้ายทำได้ยากขึ้น
ดึงต่างชาติ-ไม่ง่าย
แหล่งข่าวจาก กปปส.กล่าวต่อไปว่า แม้เป้าหมายหลักของกลุ่มที่ก่อเหตุ เพื่อต้องการดึงให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซงประเทศไทย แต่ในทางปฏิบัติก็ไม่ง่ายเช่นกัน หน่วยงานต่างชาติที่ต้องการเข้ามาก็ต้องประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยก่อน หากเห็นว่าภาคประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐบาลชุดนี้กำลังดำเนินการอยู่ก็เข้ามาเคลื่อนไหวยาก ไม่เช่นนั้นจะถูกกระแสของคนในประเทศตอบโต้
อย่างสหรัฐฯ เขาอยากจะเข้ามาตลอด แต่เมื่อคนในประเทศส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางของ คสช. การเข้ามาก็ลำบาก แต่รัฐบาลก็ต้องควบคุมสถานการณ์เหล่านี้ให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นเหตุที่มหาอำนาจเหล่านี้ใช้การก่อเหตุดังกล่าวมาโจมตีประเทศไทย
หากสามารถประกอบตัวกลุ่มผู้จ้องก่อเหตุได้และระงับเหตุก่อนที่พวกเขาจะปฏิบัติการสำเร็จ ย่อมเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ส่วนกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวก็ต้องทำความเข้าใจกับคนกลุ่มนี้ให้ดีและต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้นำไปขยายผลได้