ถูกลองของกันแล้วอีกครั้ง สำหรับรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง เมื่อกลุ่มมวลชนที่รวมกันในชื่อของ “พลเมืองโต้กลับ” ได้มาทำกิจกรรมเย้ยอำนาจรัฐและกฎอัยการศึกกันกลางกรุง ที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตรงข้ามมาบุญครองในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (15 ก.พ. 58)
กิจกรรมที่ว่านั้นเป็นกิจกรรมทวงถามการเลือกตั้ง จากนักกิจกรรมที่เช็กชื่อดูประวัติแล้ว เป็นสายสีแดงที่ไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยนัก แต่ก็เคลื่อนไหวคู่เคียงกันมาตลอด หนุนบ้างแย้งบ้างแต่ก็ยังไปทางเดียวกัน เช่น ทนายเสื้อแดงที่รับว่าความในคดีที่คนเสื้อแดงโดนคดีหมิ่น พ่อของผู้ตายจากการสลายการชุมนุมปี 53 และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มักจะทำกิจกรรมในแนวๆ นี้อยู่ตลอด
ซึ่งถ้านับรวมถึงเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.พ. ที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่อาศัยการล่อหลอกทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แอบแห่หุ่น “บิ๊กตู่” ในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยตอนแรกสมอ้างว่าเป็นการทำหุ่นล้อเหตุการณ์จับกุมตัวประกันของกลุ่มไอซิส
เท่ากับว่าฝ่ายรัฐบาลถูก “ลองของ” ในวันหยุดต่อเนื่องกันมาสองอาทิตย์แล้ว
ทั้งสองเรื่องกลายเป็นข่าวดังออกสื่อหลักหมดทั้งวิทยุและโทรทัศน์ เสนอข่าวกันซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ
เรียกว่าถ้าเจตนาในการ “ป่วน” คือต้องการ “พื้นที่ข่าว” เพื่อเย้ยให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีน้ำยาทำอะไรพวกตัวเองได้บ้าง หรือเพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนี้ใช้อำนาจ “เผด็จการ” โดยกฎอัยการศึก ห้ามแสดงออก ห้ามไม่เห็นด้วย
การป่วนด้วยวิธีเรียกร้องความสนใจดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ และทำให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเอาไปตีปี๊บได้
ทั้งที่จะว่าไปจริงๆ แล้ว กิจกรรมทั้งสองอันพอจะ “ปล่อยผ่าน” บ้างก็ได้
เพราะอย่างกิจกรรมเดินขบวนฟุตบอลประเพณี จริงๆ ก็เป็นแค่กิจกรรมแบบเด็กๆ ขำๆ ที่ต้องล้อผู้นำรัฐบาล และสถานการณ์ตอนนั้นซึ่งก็จัดกันมาทุกปี และก็จะเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ไปอีกอย่างมากหนึ่งวัน ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
แต่ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น เช่นมีเจ้าหน้าที่ทหารไปห้าม ไปตรวจสอบ ไปยึดป้าย ให้พวกนักศึกษาต้องใช้วิธีลับ ลวง พราง ในการให้ทหารยอมให้ปล่อยหุ่นและขบวนล้อการเมืองเข้าสนาม
จากเรื่องขบวนแห่เด็กเล่น ก็เลยกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีให้สื่อเอาไปเล่นต่อ มีการเชิญนักศึกษาผู้รับผิดชอบขบวนไปให้สัมภาษณ์ในทีวีหลายช่อง
เรียกว่าข่าวเรื่อง “ขบวนล้อรัฐบาล” เข้าไปสู่ความรับรู้ของสาธารณชนในวงกว้างเกินกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ
หรือกิจกรรมทวงการเลือกตั้งที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน เอาเข้าจริงๆ มีผู้เข้าร่วมไม่มากนัก แต่อาจจะมีคนผ่านไปผ่านมาเห็นได้เยอะหน่อย เพราะเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและสถานีชุมทางรถไฟฟ้า (ซึ่งน่าสนใจว่าในระยะหลังนักกิจกรรมทางการเมืองส่วนใหญ่นิยมเลือกทำเลตรงนี้เพื่อแสดงกิจกรรม เพราะความเด่นดังกล่าว)
เรื่องอาจจะไม่มีอะไรใหญ่โตเลยก็ได้ หากปล่อยให้เป็นกิจกรรมเพี้ยนๆ ของพวกล้นๆ ที่ท่องซ้ำๆ ว่าอยากจะได้แต่การเลือกตั้ง
จัดบ่ายเลิกค่ำ ไม่มีข่าวตามสื่อ หรืออย่างมากก็ลงหนังสือพิมพ์สักวันคนก็ลืมไปหมด
แต่การจัดกำลังตำรวจเข้าไปตรึงพื้นที่ (ข่าวรายงานว่าตำรวจเยอะกว่าคนร่วมกิจกรรมอีก) มีการจับกุมแกนนำกิจกรรม ส่งฟ้องศาลทหาร ในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. และฝ่าฝืนกฎอัยการศึก
กลายเป็น “วัตถุดิบทางข่าว” ให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลเอาไปเล่นต่อ กระทุ้ง กระทืบ กันให้เป็นเรื่องเป็นประเด็นกันในสัปดาห์ต่อมาอย่างช่วยไม่ได้
ทั้งการส่งแกนนำกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งมีนักศึกษา และนักกิจกรรมที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นคนของฝ่ายการเมือง ไปดำเนินคดีฟ้องศาลทหาร ก็ยิ่งทำให้ประเด็นเรื่องกฎอัยการศึกลิดรอนสิทธิ (ที่เป็นกระแสเดียวกับที่ต่างชาติกำลังกดดันบีบงวดเข้ามาอยู่) กลายเป็นกระแสขึ้นมาอีกรอบด้วย
เลยกลายเป็นว่า นักกิจกรรมพวกนี้ปั่นสร้างราคาหุ้นของตัวเอง แต่ทางฝ่ายรัฐก็ทำตัวเป็นแมงเม่าเข้าไป “ซื้อ” ในราคาสูงๆ ให้พวกนี้มีราคาแพงขึ้นเกินจริง
จากนักกิจกรรมล้นๆ หรือพวกท่องหาประชาธิปไตยไร้เดียงสา กลายเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพ ที่เอาตัวเข้าไปสังเวยกฎอัยการศึกไปเสียอย่างนั้น
ก็เข้าใจอยู่ว่า ในฐานะของฝ่ายความมั่นคง กิจกรรมต้านรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อประเด็นทางการเมืองที่ขัดขวางหรือไม่เป็นไปตามแนวทางการปรองดองนั้น จะต้องถูกจับตาและดำเนินการห้ามปราม
การละเว้นอาจจะยิ่งทำให้หลายฝ่ายเหิมเกริมออกมาชิมลางขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทดสอบเส้นความอดทนของรัฐบาล
แต่ถ้ามาคิดในแง่ว่า วัตถุประสงค์ของการควบคุมข่าวและรักษากระแสนั้น ควรจะต้องกระทำให้เกิดแรงกระเพื่อมน้อยที่สุด ป้องกันไม่ให้คนพวกนี้ส่งเสียงและมีการตอบรับ หรือเสียงถูกสะท้อนซ้ำไปมาโดยสื่อจนกลายเป็นกระแสจุดติด
ฝ่ายรัฐและความมั่นคงอาจจะจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ที่นิ่งมากกว่านี้
หากกิจกรรมไหนสืบข่าวแล้วดูว่าไม่น่าจะมีแนวร่วมหรือผู้เข้าร่วมเยอะ ก็อาจจะปล่อยๆ ไปบ้าง เว้นแต่กิจกรรมที่ผิดกฎหมายชัดเจน มีการปลุกระดม จัดองค์กร หรือมีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องกับกรณีหมิ่นเหม่ต่างๆ ค่อยดำเนินการอย่างเฉียบขาด
โดยอาศัยการสืบข่าว หาข่าวเป็นการภายใน ว่านักกิจกรรมที่มาจัดนั้นเป็นกลุ่มไหน เชื่อมโยงไปยังใครได้บ้าง แล้วไปตัดที่ราก น้ำเลี้ยง หรือหัวขบวน โดยไม่ต้องให้เป็นข่าวตีปี๊บได้ น่าจะดีกว่า
เพราะต้องไม่ลืมว่า กลยุทธ์ของพวกเขาคือหวังจะเกิดกระแสให้เป็นแรงกระเพื่อม และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบท “ผู้ร้าย” ที่ได้แก่ฝ่ายรัฐมาเข้าฉาก เพื่อให้ฝ่ายตีปี๊บรับไปฟอลโลว์ต่อ ฟ้องต่างชาติบ้าง ประคมข่าวให้ใหญ่โตเกินจริงบ้าง
อันนี้ทางฝ่ายรัฐก็น่าจะรู้ทัน และไม่ควรไปหลงกลเล่นบท “ผู้ร้าย” ให้ราคา เรียกคนให้มาดู “ละครลิง” ของพวกเขาฟรีๆ เลย.
กิจกรรมที่ว่านั้นเป็นกิจกรรมทวงถามการเลือกตั้ง จากนักกิจกรรมที่เช็กชื่อดูประวัติแล้ว เป็นสายสีแดงที่ไม่เกี่ยวกับพรรคเพื่อไทยนัก แต่ก็เคลื่อนไหวคู่เคียงกันมาตลอด หนุนบ้างแย้งบ้างแต่ก็ยังไปทางเดียวกัน เช่น ทนายเสื้อแดงที่รับว่าความในคดีที่คนเสื้อแดงโดนคดีหมิ่น พ่อของผู้ตายจากการสลายการชุมนุมปี 53 และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มักจะทำกิจกรรมในแนวๆ นี้อยู่ตลอด
ซึ่งถ้านับรวมถึงเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.พ. ที่นักศึกษาธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่อาศัยการล่อหลอกทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง แอบแห่หุ่น “บิ๊กตู่” ในงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ โดยตอนแรกสมอ้างว่าเป็นการทำหุ่นล้อเหตุการณ์จับกุมตัวประกันของกลุ่มไอซิส
เท่ากับว่าฝ่ายรัฐบาลถูก “ลองของ” ในวันหยุดต่อเนื่องกันมาสองอาทิตย์แล้ว
ทั้งสองเรื่องกลายเป็นข่าวดังออกสื่อหลักหมดทั้งวิทยุและโทรทัศน์ เสนอข่าวกันซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบ
เรียกว่าถ้าเจตนาในการ “ป่วน” คือต้องการ “พื้นที่ข่าว” เพื่อเย้ยให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีน้ำยาทำอะไรพวกตัวเองได้บ้าง หรือเพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลนี้ใช้อำนาจ “เผด็จการ” โดยกฎอัยการศึก ห้ามแสดงออก ห้ามไม่เห็นด้วย
การป่วนด้วยวิธีเรียกร้องความสนใจดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ และทำให้ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเอาไปตีปี๊บได้
ทั้งที่จะว่าไปจริงๆ แล้ว กิจกรรมทั้งสองอันพอจะ “ปล่อยผ่าน” บ้างก็ได้
เพราะอย่างกิจกรรมเดินขบวนฟุตบอลประเพณี จริงๆ ก็เป็นแค่กิจกรรมแบบเด็กๆ ขำๆ ที่ต้องล้อผู้นำรัฐบาล และสถานการณ์ตอนนั้นซึ่งก็จัดกันมาทุกปี และก็จะเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ไปอีกอย่างมากหนึ่งวัน ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
แต่ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น เช่นมีเจ้าหน้าที่ทหารไปห้าม ไปตรวจสอบ ไปยึดป้าย ให้พวกนักศึกษาต้องใช้วิธีลับ ลวง พราง ในการให้ทหารยอมให้ปล่อยหุ่นและขบวนล้อการเมืองเข้าสนาม
จากเรื่องขบวนแห่เด็กเล่น ก็เลยกลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีให้สื่อเอาไปเล่นต่อ มีการเชิญนักศึกษาผู้รับผิดชอบขบวนไปให้สัมภาษณ์ในทีวีหลายช่อง
เรียกว่าข่าวเรื่อง “ขบวนล้อรัฐบาล” เข้าไปสู่ความรับรู้ของสาธารณชนในวงกว้างเกินกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ
หรือกิจกรรมทวงการเลือกตั้งที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ก็เช่นกัน เอาเข้าจริงๆ มีผู้เข้าร่วมไม่มากนัก แต่อาจจะมีคนผ่านไปผ่านมาเห็นได้เยอะหน่อย เพราะเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและสถานีชุมทางรถไฟฟ้า (ซึ่งน่าสนใจว่าในระยะหลังนักกิจกรรมทางการเมืองส่วนใหญ่นิยมเลือกทำเลตรงนี้เพื่อแสดงกิจกรรม เพราะความเด่นดังกล่าว)
เรื่องอาจจะไม่มีอะไรใหญ่โตเลยก็ได้ หากปล่อยให้เป็นกิจกรรมเพี้ยนๆ ของพวกล้นๆ ที่ท่องซ้ำๆ ว่าอยากจะได้แต่การเลือกตั้ง
จัดบ่ายเลิกค่ำ ไม่มีข่าวตามสื่อ หรืออย่างมากก็ลงหนังสือพิมพ์สักวันคนก็ลืมไปหมด
แต่การจัดกำลังตำรวจเข้าไปตรึงพื้นที่ (ข่าวรายงานว่าตำรวจเยอะกว่าคนร่วมกิจกรรมอีก) มีการจับกุมแกนนำกิจกรรม ส่งฟ้องศาลทหาร ในข้อหาขัดคำสั่ง คสช. และฝ่าฝืนกฎอัยการศึก
กลายเป็น “วัตถุดิบทางข่าว” ให้ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลเอาไปเล่นต่อ กระทุ้ง กระทืบ กันให้เป็นเรื่องเป็นประเด็นกันในสัปดาห์ต่อมาอย่างช่วยไม่ได้
ทั้งการส่งแกนนำกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งมีนักศึกษา และนักกิจกรรมที่ไม่ชัดเจนว่าเป็นคนของฝ่ายการเมือง ไปดำเนินคดีฟ้องศาลทหาร ก็ยิ่งทำให้ประเด็นเรื่องกฎอัยการศึกลิดรอนสิทธิ (ที่เป็นกระแสเดียวกับที่ต่างชาติกำลังกดดันบีบงวดเข้ามาอยู่) กลายเป็นกระแสขึ้นมาอีกรอบด้วย
เลยกลายเป็นว่า นักกิจกรรมพวกนี้ปั่นสร้างราคาหุ้นของตัวเอง แต่ทางฝ่ายรัฐก็ทำตัวเป็นแมงเม่าเข้าไป “ซื้อ” ในราคาสูงๆ ให้พวกนี้มีราคาแพงขึ้นเกินจริง
จากนักกิจกรรมล้นๆ หรือพวกท่องหาประชาธิปไตยไร้เดียงสา กลายเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพ ที่เอาตัวเข้าไปสังเวยกฎอัยการศึกไปเสียอย่างนั้น
ก็เข้าใจอยู่ว่า ในฐานะของฝ่ายความมั่นคง กิจกรรมต้านรัฐบาลที่หมิ่นเหม่ต่อประเด็นทางการเมืองที่ขัดขวางหรือไม่เป็นไปตามแนวทางการปรองดองนั้น จะต้องถูกจับตาและดำเนินการห้ามปราม
การละเว้นอาจจะยิ่งทำให้หลายฝ่ายเหิมเกริมออกมาชิมลางขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทดสอบเส้นความอดทนของรัฐบาล
แต่ถ้ามาคิดในแง่ว่า วัตถุประสงค์ของการควบคุมข่าวและรักษากระแสนั้น ควรจะต้องกระทำให้เกิดแรงกระเพื่อมน้อยที่สุด ป้องกันไม่ให้คนพวกนี้ส่งเสียงและมีการตอบรับ หรือเสียงถูกสะท้อนซ้ำไปมาโดยสื่อจนกลายเป็นกระแสจุดติด
ฝ่ายรัฐและความมั่นคงอาจจะจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ที่นิ่งมากกว่านี้
หากกิจกรรมไหนสืบข่าวแล้วดูว่าไม่น่าจะมีแนวร่วมหรือผู้เข้าร่วมเยอะ ก็อาจจะปล่อยๆ ไปบ้าง เว้นแต่กิจกรรมที่ผิดกฎหมายชัดเจน มีการปลุกระดม จัดองค์กร หรือมีความเกี่ยวเนื่องเกี่ยวข้องกับกรณีหมิ่นเหม่ต่างๆ ค่อยดำเนินการอย่างเฉียบขาด
โดยอาศัยการสืบข่าว หาข่าวเป็นการภายใน ว่านักกิจกรรมที่มาจัดนั้นเป็นกลุ่มไหน เชื่อมโยงไปยังใครได้บ้าง แล้วไปตัดที่ราก น้ำเลี้ยง หรือหัวขบวน โดยไม่ต้องให้เป็นข่าวตีปี๊บได้ น่าจะดีกว่า
เพราะต้องไม่ลืมว่า กลยุทธ์ของพวกเขาคือหวังจะเกิดกระแสให้เป็นแรงกระเพื่อม และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบท “ผู้ร้าย” ที่ได้แก่ฝ่ายรัฐมาเข้าฉาก เพื่อให้ฝ่ายตีปี๊บรับไปฟอลโลว์ต่อ ฟ้องต่างชาติบ้าง ประคมข่าวให้ใหญ่โตเกินจริงบ้าง
อันนี้ทางฝ่ายรัฐก็น่าจะรู้ทัน และไม่ควรไปหลงกลเล่นบท “ผู้ร้าย” ให้ราคา เรียกคนให้มาดู “ละครลิง” ของพวกเขาฟรีๆ เลย.