เมื่อเวลา 12.00 น. วานนี้ (9ก.พ.) นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย แถลงถึงกรณีกลุ่มพิทักษ์กฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ (พปส.) ร้องเรียนไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อให้ออกมาชี้แจงการให้อนุญาตก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้ามถนนเชื่อมระหว่างอาคารเซ็นทรัลเอมบาสซีย์ พาร์ค และ อาคารเซ็นทรัล ชิดลม ว่า ขอชื่นชมทางกลุ่ม พปส. ที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการทำหน้าที่ตรวจสอบความไม่ชอบธรรมของการสร้างสะพานแห่งนี้ ทั้งการทวงถามข้อเท็จจริงจากทาง กทม. และการร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรี ให้เข้ามาตรวจสอบ ผิดกับข้าราชการและนักการเมืองที่มักใช้อำนาจบนความไม่ถูกต้อง ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สนใจแต่ประโยชน์ส่วนตน และของพวกพ้องเป็นหลัก โดยเฉพาะข้าราชการและผู้มีอำนาจในกทม. ทั้งที่เป็นจังหวัดซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่มากที่สุด และเป็นแหล่งอารยธรรมทางการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของประเทศ
“รู้สึกละอายใจแทนเหล่าข้าราชการ และกลุ่มผู้มีอำนาจในประเทศ ที่ต้องให้เด็กรุ่นหลังมาชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่นเดียวกับการแสดงออกของนักศึกษาผ่านกิจกรรมล้อการเมือง ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เมื่อไม่กี่วันก่อน ที่สะท้อนว่าเด็กและเยาวชน มีมุมมองความเป็นห่วงบ้านเมืองมากกว่าผู้ใหญ่ และผู้มีอำนาจในประเทศ และอยากถามว่าหลักค่านิยม 12 ประการ ที่ย้ำให้คนในชาติใช้ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะข้อที่ 12 ที่ว่าให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ข้าราชการและผู้มีอำนาจได้ซึมซับเองบ้างหรือไม่” นายอุเทน กล่าว
นายอุเทน กล่าวอีกว่า ตนได้ร่วมกับทาง พปส. ลงพื้นที่สำรวจสะพานเชื่อมระหว่างเซ็นทรัลเอมบาสซีย์-เซ็นทรัล ชิดลม พบว่าไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์การขออนุญาตสร้างสะพานลอยของ กทม. ทั้งเรื่องความกว้างของถนน และประโยชน์ที่คนทั่วไปจะได้รับ ถือว่าเข้าข่ายการเอารัดเอาเปรียบสังคมอย่างชัดเจน ใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับห้างสรรพสินค้าของตัวเอง โดยมี กทม. เป็นผู้ให้อนุญาต ส่งผลให้มูลค่าสินค้า ค่าบริการ และค่าเช่าพื้นที่ของทั้ง 2 ห้างสูงเกินความเป็นจริง และมีผลให้ราคาสินค้า และบริการในละแวกใกล้เคียงถีบตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะต่างฝ่ายก็ต่างอ้างราคาของกันและกัน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้บริโภค ขณะที่นายทุนได้ประโยชน์จากความช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นายอุเทน กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ทางกลุ่ม พปส. ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ ตนได้ติดตามความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ พบว่ายังมีประชาชนอีกจำนวนมาก ที่เข้าใจประเด็นข้อเรียกร้องของ พปส. คลาดเคลื่อนไป เนื่องจาก พปส. ต้องการชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น แต่ประชาชนบางส่วนกลับมองเรื่องความสะดวกสบาย โดยไม่คำนึงถึงการละเมิดสิทธิประโยชน์ในสมบัติของชาติที่ตัวเองก็ร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การที่ประชาชนคนไทยยังยึดติดกับความสะดวกสบายเป็นหลัก ก็ถือเป็นต้นตอให้กลุ่มนายทุนเข้ามาแสวงหาประโยชน์ได้โดยง่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การกอบโกยผลประโยชน์ของร้านสะดวกซื้อแบรนด์ใหญ่ๆ จนทำให้บรรดาร้านขายของชำ ต้องเจ๊งตามกันไปจนเกือบสูญพันธ์แล้ว
“มีคำกล่าวว่า ตามสบายคือไทยแท้ ซึ่งค่อนข้างตรงกับเรื่องนี้ หลายคนบอกว่ามีสะพานเชื่อมให้เดินข้ามระหว่างห้างก็ดีแล้ว จะไปโวยวายทำไม แต่ไม่เคยคิดถึงผลเสียที่ตามมา หรือกระทั่งการที่ตัวเองโดนเอาเปรียบ ถูกละเมิดสิทธิ เพราะถือเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกับคนในชาติ” นายอุเทน ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ตัวแทนกลุ่ม พปส.ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เพื่อให้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว หลังจากที่เคยยื่นหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 19 ม.ค.58 แต่ยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากทาง กทม.
“รู้สึกละอายใจแทนเหล่าข้าราชการ และกลุ่มผู้มีอำนาจในประเทศ ที่ต้องให้เด็กรุ่นหลังมาชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม เช่นเดียวกับการแสดงออกของนักศึกษาผ่านกิจกรรมล้อการเมือง ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เมื่อไม่กี่วันก่อน ที่สะท้อนว่าเด็กและเยาวชน มีมุมมองความเป็นห่วงบ้านเมืองมากกว่าผู้ใหญ่ และผู้มีอำนาจในประเทศ และอยากถามว่าหลักค่านิยม 12 ประการ ที่ย้ำให้คนในชาติใช้ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะข้อที่ 12 ที่ว่าให้คิดถึงผลประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ข้าราชการและผู้มีอำนาจได้ซึมซับเองบ้างหรือไม่” นายอุเทน กล่าว
นายอุเทน กล่าวอีกว่า ตนได้ร่วมกับทาง พปส. ลงพื้นที่สำรวจสะพานเชื่อมระหว่างเซ็นทรัลเอมบาสซีย์-เซ็นทรัล ชิดลม พบว่าไม่น่าจะเข้าหลักเกณฑ์การขออนุญาตสร้างสะพานลอยของ กทม. ทั้งเรื่องความกว้างของถนน และประโยชน์ที่คนทั่วไปจะได้รับ ถือว่าเข้าข่ายการเอารัดเอาเปรียบสังคมอย่างชัดเจน ใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับห้างสรรพสินค้าของตัวเอง โดยมี กทม. เป็นผู้ให้อนุญาต ส่งผลให้มูลค่าสินค้า ค่าบริการ และค่าเช่าพื้นที่ของทั้ง 2 ห้างสูงเกินความเป็นจริง และมีผลให้ราคาสินค้า และบริการในละแวกใกล้เคียงถีบตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะต่างฝ่ายก็ต่างอ้างราคาของกันและกัน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนผู้บริโภค ขณะที่นายทุนได้ประโยชน์จากความช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นายอุเทน กล่าวด้วยว่า หลังจากที่ทางกลุ่ม พปส. ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้ ตนได้ติดตามความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางต่างๆ พบว่ายังมีประชาชนอีกจำนวนมาก ที่เข้าใจประเด็นข้อเรียกร้องของ พปส. คลาดเคลื่อนไป เนื่องจาก พปส. ต้องการชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น แต่ประชาชนบางส่วนกลับมองเรื่องความสะดวกสบาย โดยไม่คำนึงถึงการละเมิดสิทธิประโยชน์ในสมบัติของชาติที่ตัวเองก็ร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การที่ประชาชนคนไทยยังยึดติดกับความสะดวกสบายเป็นหลัก ก็ถือเป็นต้นตอให้กลุ่มนายทุนเข้ามาแสวงหาประโยชน์ได้โดยง่าย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การกอบโกยผลประโยชน์ของร้านสะดวกซื้อแบรนด์ใหญ่ๆ จนทำให้บรรดาร้านขายของชำ ต้องเจ๊งตามกันไปจนเกือบสูญพันธ์แล้ว
“มีคำกล่าวว่า ตามสบายคือไทยแท้ ซึ่งค่อนข้างตรงกับเรื่องนี้ หลายคนบอกว่ามีสะพานเชื่อมให้เดินข้ามระหว่างห้างก็ดีแล้ว จะไปโวยวายทำไม แต่ไม่เคยคิดถึงผลเสียที่ตามมา หรือกระทั่งการที่ตัวเองโดนเอาเปรียบ ถูกละเมิดสิทธิ เพราะถือเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกับคนในชาติ” นายอุเทน ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ตัวแทนกลุ่ม พปส.ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เพื่อให้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว หลังจากที่เคยยื่นหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 19 ม.ค.58 แต่ยังไม่ได้รับการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากทาง กทม.