ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ก.พ. 2558 กับกิจกรรมฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 70 ถือเป็นอีกปีที่มีเสียงกล่าวขาน ฮือฮาจากทั้งคนนอกและคนในกับทั้งผลการแข่งขัน และกิจกรรมที่ถูกฝ่ายบ้านเมืองจับตาดู มีหลายคนตั้งคำถามถึงกิจกรรมขบวนล้อการเมืองของฝั่งจุฬาฯ ว่าหายไปไหน ?
มีคำตอบจากการบอกเล่าของอดีตนิสิตจุฬาฯที่ชื่อ “Chris Potranandana” เขียนผ่านบล็อกส่วนตัวเผยแพร่เมื่อกลางดึกวันที่ 8 ก.พ. ผ่าน http://www.blogger.com/profile/14718336914618086578 มีใจความดังนี้ ...
“เนื่องจากขบวนล้อการเมืองของธรรมศาสตร์ทำได้ดีมากในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - มธ. ในปีนี้
ตัวหุ่น “Corrupt ท่าน” ที่สื่อถึงผู้พิพากษาทั้งหลายที่ไปรับตำแหน่งการเมือง เปลี่ยนเป้าหมายไปสู่หนทางแห่งอำนาจ หรือ มุกการเปลี่ยนฉากหลังให้ท่านผู้นำที่กำลังฮิตในเน็ต เอาไปใส่ให้คนดูทางบ้านดู)
ก็เห็นหลายๆ คน มีคำถามว่า
“แล้วจุฬาล่ะ?”
“เกิดอะไรขึ้นกับจุฬา”
“จุฬามีขบวนล้อการเมืองไหม”
ผมพอจะมีประสบการณ์ในเรื่องพวกนี้อยู่บ้าง จึงอยากจะมาแชร์ให้ฟังตรงนี้ครับ
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ตอนเรียนอยู่ทีนิติ จุฬาฯ ปี 4 ตอนนั้นผมเป็นรองหัวหน้านิสิตฝ่ายกิจการภายนอกกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานที่ไป “ประมูล” มาจากส่วนกลางที่เรียกว่า อบจ. (องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) กิจกรรมขบวนล้อกาบการณ์ในเรื่องพวกนี้อยู่บ้าง จึงอยากจะมาแชร์ให้ฟังตรงนี้ครับ
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ตอนเรียนอยู่ทีนิติ จุฬาฯ ปี 4 ตอนนั้นผมเป็นรองหัวหน้านิสิตฝ่ายกิจการภายนอกกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานที่ไป “ประมูล” มาจากส่วนกลางที่เรียกว่า อบจ. (องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ซึ่งงานอย่างงานบอลเป็นงานใหญ่มาก ก็เลยต้องแบ่งหน้าที่กันทำ
คนไม่คุ้นเคยอาจจะไม่เข้าใจ ยกตัวอย่างเช่น ในส่วนของบัตร ให้คณะสหเวชเป็นคนรับผิดชอบ งานส่วนของเนื้อหาให้อักษร รับผิดชอบ
ซึ่งในปีนั้น ด้วยความที่ว่า ผมชอบการเมืองมาก และคิดว่า นี่ล่ะโอกาสที่ใฝ่ฝันมานานแล้ว ในงานบอลปีที่ 66 ผมจึงไปประมูล ขบวนล้อการเมืองของจุฬาฯ (ที่ถูกเรียกว่า “ขบวนสะท้อนสังคม” เราอยากเรียกว่า ล้อการเมืองมาก แต่ ธรรมศาสตร์ เค้าไม่ยอมให้เราใช้ชื่อ คงเพราะว่าเค้าทำแบรนด์มาหลายปี แล้ว จุฬาไม่เคยทำมานานมากแล้ว) โดยเราตกลงกันว่า นิติจะทำคอนเซปต์ ส่วนถาปัด จะช่วยทำหุ่นให้
ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นก็มีเยอะครับ ประเด็นใหญ่ที่สุดที่เราพบคือ
“การเซ็นเซอร์ในจุฬามีอยู่จริง”
เราออกแบบ ทำแปลน วางแผนกันอยู่หลายรอบ แต่ทุกรอบต้องกลับไป finalize ที่อาจารย์ (ผู้บริหารจุฬา)
หลายๆ ปีที่ ไอเดียหลายอย่าง มักจะถูกเซ็นเซอร์โดย คนในคณะเอง (ที่คิดแบบว่า คณะอยู่ดีๆจะไปยุ่งกับการเมือง หาเรื่องทำไม หรือประเภท ความคิดการเมืองของคุณ ไม่ได้representคนทั้งคณะ เพราะฉะนั้น ถ้ากูเงียบ มึงต้องเงียบด้วย 55+) หรือ คนใน อบจ. (ที่คิดว่า จะประจบอาจารย์ หรือไม่ก็ คิดแบบเดียวกับพวกแรก คือ จะไปหาเรื่องเดือดร้อน ทำไม)
แต่ผมโชคดีมาก ที่ปีนั้น คนในคณะหลายๆ คนเอาด้วย และ อบจ. ปีนั้นเห็นด้วย ทุกๆ คนอยากจะเห็นจุฬา มีบทบาททางสังคมบ้าง
แต่ปรากฏว่า สุดท้าย ผมก็เจอจังๆ กับตัวเองครับ ผู้บริหารจุฬา (อาจารย์) เรียกเข้าไปพบ ขอให้ปรับ ขอให้แก้คอนเซปต์ เพราะคิดว่า อาจแรงเกินไป ไม่มีความจำเป็นต้องศัตรูๆ บลาๆ
ตอนแรก เราอยากจะทำตีมการเมืองเต็มที่ (แพลนหลักๆ คือ เสื้อเหลือง เสื้อแดง ทะเลาะกันจริง แต่หารู้ไม่ ว่าประเทศนี้ทหารคุม) สุดท้าย ที่ทำออกมาได้จริงๆ เป็นตีม สิทธิในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of expression)
ตัวอย่างที่เค้าแก้ ที่ผมจำได้ชัดๆ อย่างเช่น ก่อนหุ่นตัวสุดท้าย ที่เป็น ท้อปบู้ตเหยียบคนเสื้อเหลืองเสื้อแดง จะออก เราดีไซน์กันว่า ให้มีป้ายผ้า “ประชาชนต้องมาก่อน” แล้วให้ทหารถือปืนจี้ประชาชนเดินรอบสนามฟุตบอล สุดท้าย ฉากนี้ถูกห้าม พวกเราจึงพยายามทำเป็นว่า ทหารเดินตามประชาชนแล้วให้ถือปืนไขว้หลัง
ซึ่งทุกวันนี้ ผมยังกลับมาคิดอยู่ว่า ถ้าเราฝีน เค้าจะทำอะไรเราได้ จะไล่เราออกยังงั้นหรือ คงไม่มีทาง แล้วทำไมเราถึงยอมทำตามที่ผู้มีอำนาจสั่ง เพียงแค่เค้าบอกว่า ไม่เหมาะสม
คือ โดยสภาพ ณ เวลานั้น ปัจจัยหลายๆอย่าง มันทำผมตัดสินใจเปลี่ยน “เพียงเพราะอาจารย์(ซึ่งไม่ได้สอนผมด้วยซ้ำ) บอกสภาพต่างๆที่ว่านี้ อาจเป็น typical ของเด็กจุฬา ที่กล่าวไปแล้ว
เช่น หาเรื่องใส่ตัวทำไมวะ กลัวมีปัญหา กลัวทะเลาะกับเพือน อาจารย์สั่งก็ทำๆ ไป ง่ายกว่า ผมเชื่อว่า ด้วยสภาพสังคมต่างๆ ในจุฬา มันทำให้การ “เซ็นเซอร์ตัวเอง” เป็นสิ่งที่ง่ายกว่า จะทำในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ
เพราะฉะนั้น สิ่งที่นักศึกษา มธ. ทำในงานบอลครั้งนี้ ผมจึงชื่นชมมาก
(ขนาดแค่ อ.สั่ง ผมยังยอมเปลี่ยน แต่ปีนี้ ทหารสั่ง ยังไม่ยอม ผมถือว่าของจริงผมไม่แน่ใจ ว่าขบวนล้อการเมืองของจุฬาปีนี้ ยังมีอยู่หรือไม่
รู้ข่าว บอกผมหน่อยนะครับ อาจจะมี แต่สื่ออาจไม่ให้พื้นที่ก็เป็นไปได้)
ปล.1 เราไม่ได้ ยอมง่ายๆนะครับ ลองดูรูปแรกที่ หุ่นนิสิต ที่ปิดหู ปิดตา แล้วถูกพลาสเตอร์สีแดง แปะที่ปากซะก่อน (ประท้วงใส่ซึ่งๆ หน้า)
ปล 2 ลองดูรูปถัดๆ ไป ที่เราจะสื่อว่า สังคมไทย ฟังแต่สื่อ ฟังแต่คนรวย แต่ กับความคิดเห็นของนิสิต คนจน คนด้อยโอกาส กลับไม่มีคนแคร์ (ถูกเซนเซอร์ด้วยซ้ำ ฮา)
เรามีป้ายผ้า ประมาณว่า “เสรีภาพในการแสดงความคิดเป็นสิ่งที่สำคัญ”
อันนี้อันเด็ด (แต่ผมหารูปไม่ได้) คือ “มีแต่ควายเท่านั้นที่คิดเหมือนกันทุกตัว”
แล้วก็ต่อด้วยรูปพวกนี้ แล้วปิดท้าย ถามคนไทยว่า เรายอมได้หรือ
รูปประเทศไทยที่เราแซว ทหาร ตรงๆ ว่า ภาคเหนือ อีสานแดง ภาคใต้ กลางเหลือง แต่ เขียว(ทหาร) จริงๆนั่นแหละที่ล้อมรอบประเทศไทย
ปล 3 เรายังแซวการเมืองได้อยู่นิดหน่อย อันนี้ตามที่เล่า คือ ประชาชน มาก่อน แล้วมีทหารเดินตามหลัง(ไม่ได้จี้ตรงๆ แต่ยังบังคับอยู่)
ปล 4 งานบอลปี 66 ผ่านไป 4 ปีแล้ว แต่ ประเด็นในสังคมไทยยังเหมือนเดิมนะครับ เราทายแม่นซะด้วยว่า 1. ทหารคุมจริงๆ 2. สังคมที่คนไม่เห็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สุดท้ายก็ถูกพรากไปจริงๆ ครัช
ปล สุดท้าย ขอบคุณ เพื่อนๆ น้องๆ (ทั้งนิติ และ ถาปัด) ทุกคนที่มีส่วนร่วมทำให้จุฬามีขบวนล้อการเมืองอีกครี่งในปี 2553 และถ้ามันยังมีต่อ ก็ขอให้วันเทียบมธ.เค้าให้ได้ซักวันหนึ่ง
EDUCATION น.บ. (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น.บ.ท. GDip in Economics, University of Nottingham LL.M., University of California, Berkeley (Fulbright Scholarship)
http://www.facebook.com/ChrisPotra